กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โครงงานคืออะไร หลักการของการเรียนรู้ของ โครงงาน จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ ด้วยโครงงาน โครงงานกับการเรียนรู้แบบต่างๆ ลักษณะเด่นของการเรียนรู้ด้วย.
Advertisements

นางสาวจันสิมา ดีสมบูรณ์ ชื่อเล่น น้องเก๋ ตำแหน่ง ครู วิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีชัยนาท Phone : Facebook :
การแต่งตั้ง เลื่อน ย้าย ข้าราชการ
การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนที่พ้นโทษ
แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔
การค้าระบบใหม่ กับการเปลี่ยนแปลงของโลก
ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานท้องถิ่น
บทที่ 11 กฎหมายและจริยธรรม ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ส่วนที่ 1 ความเบื้องต้น
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law
เอกสารรายวิชา: : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
หลักสิทธิมนุษยชนกับการดำเนินคดีที่เป็นธรรม
กฎหมายการค้าของเอกชนระหว่างประเทศ วิวัฒนาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law (ตอน 02)
Chapter 2 Subjects of International Law
ด้านการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law (ตอน 02)
กระบวนทัศน์การบริหารงานยุติธรรม
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
Controlling 1.
วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
Techniques of Environmental Law
คู่มือคุณภาพ Quality Manual
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ และ (ฉบับที่
การพัฒนาการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
เทศบาลนครขอนแก่น ยินดีต้อนรับ
บทบาทการสร้างประโยชน์ต่อประเทศไทยผ่านการเชื่อมองค์ความรู้และ แนวปฏิบัติจากนานาชาติและสหประชาชาติ
กรอบแนวคิดในการพัฒนา มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัย
วิชา กฎหมายกับสังคม (Law and Society) (SSP 2403) อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1-4.
(1) ภาวะการหางานทำของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อีคอมเมิร์ซกับจริยธรรม กฎหมาย และสภาพแวดล้อมทางสังคม
กฎหมายอาญา(Crime Law)
ธรรมาภิบาลในภาครัฐ โดย สุธรรม ส่งศิริ.
รางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2560
ส่วนรับรองด้านการปศุสัตว์ สพส.
แผนภูมิและไดอะแกรมการเคลื่อนที่
แนวทางการดำเนินงานเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกร ปี 2559
ธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
สิทธิรับรู้ของประชาชน
หลักการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย :
มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
การตรวจเอกสาร ใบคำขออนุญาตประกอบวิชาชีพครู
เรื่องอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
สำนักงาน กศน.จังหวัดยะลา
แนวทางการประเมิน กองทุนหลักประกันสุขภาพ
กฎหมายสิ่งแวดล้อม : การฟ้องคดีสิ่งแวดล้อม
การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interests)
แนวคิดหลัก 1. Systematic 2. Sustainable 3. Measurable
สัญลักษณ์พยากรณ์อากาศ
Why’s KM ?.
Review - Techniques of Environmental Law
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การศึกษาว่าด้วย “ศาลไทย”
อุทธรณ์,ฎีกา.
โครงการฟันเทียมพระราชทาน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 การประชุมเชิงปฏิบัติการ.
บทที่ 3 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณกรรม
กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
狗隻的訓練 聖士提反女子中學附屬小學 孫晞庭.
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
หัวหน้ากลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข
3. ระบบศาลในกฎหมายปกครอง
การตั้งมาตรฐานคุณภาพ
ความเป็นกลางในยุคดิจิทัล
เสรีประชาธิปไตย นิติรัฐ/นิติธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจ
โดย อ.ดร. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
การกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ
Principles of codification
2 ปีแห่งการพัฒนาสหกรณ์
ใบงานกลุ่มย่อย.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

แนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา(Ideology in criminal procedure) Crime Control Model ถ้าปล่อยให้มีการกระทำความผิด/ผู้กระทำความผิดไม่ถูกลงโทษ สังคมจะเกิดความไม่สงบสุข เพื่อระงับ ปราบปรามอาชญากรรม ต้องยอมให้ จนท รัฐ ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ได้บ้าง Due Process Model กระบวนการนำตัวผู้กระผิดมาลงโทษ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ การกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายย่อมได้รับการปฏิเสธ

ควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) ผู้กระทำผิดไม่ถูกลงโทษ สังคมไม่สงบสุข การไม่เคารพเชื่อฟังกฎหมาย การกระทำความผิด -เลียนแบบ -ทำผิดซ้ำอีก -กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ -ผู้เสียหายไม่พอใจ -การแก้แค้นด้วยตนเอง

ควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) ผู้กระทำผิดถูกลงโทษ สังคมสงบสุข การเคารพเชื่อฟังกฎหมาย การกระทำความผิด -ไม่กล้าทำผิด -เข็ดหลาบ -ผู้เสียหายพอใจ -กฎหมายศักดิ์สิทธิ์

ควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) -ให้ความสำคัญกับการค้นหาข้อเท็จจริงในชั้นตำรวจกับอัยการ -ยอมรับให้เจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพได้บ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่า บุคคลนั้นเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ มีหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษหรือไม่ -เฉพาะบุคคลซึ่งมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เพียงพอที่จะถูกลงโทษเท่านั้นที่จะถูกส่งดำเนินการขั้นต่อๆไปของกระบวนการยุติธรรม ผู้ที่มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานไม่เพียงพอ บุคคลนั้นก็จะถูกคัดกรองออกจากระบบ(Screening)

ควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model)   สอบสวน อัยการ ศาล                      ? ? ? Screening Process

กระบวนการนิติธรรม(Due Process Model) -การค้นหาข้อเท็จจริง ซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการ หรือฝ่ายปกครองจะเชื่อถือได้เพียงใด เพราะวิธีปฏิบัติของตำรวจ และ อัยการเป็นการดำเนินงานในที่รโหฐาน (ไม่เปิดเผย) และจะมีความแน่ใจ ได้อย่างไรว่า การค้นหาข้อเท็จจริงของพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้เกิดจาก อคติ ไม่ใช้วิธีการล่อลวง ขู่เข็ญ และสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ

กระบวนการนิติธรรม(Due Process Model) -บุคคลไม่ควรจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรรมเพียงเพราะ มีหลักฐานว่าเขากระทำความผิด บุคคลจะมีความผิดต่อเมื่อได้รับการ พิจารณาคดี หรือไต่สวนอย่างเป็นทางการและกระทำโดยองค์ที่มีความ เป็นกลาง ภายใต้การให้ความคุ้มครองสิทธิอย่างเต็มที่แล้ว

กระบวนการนิติธรรม(Due Process Model) รูปแบบกระบวนการนิติกรรมเห็นว่ากระบวนการนำตัวผู้กระทำผิดมา ลงโทษจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย เช่น - การให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนตัวของบุคคล( Privacy right ) - การไม่ยอมรับฟังพยานหลักฐานที่ได้จากการสืบสวนที่มิชอบ (The exclusionary rule) การแจ้งให้ผู้ถูกซักถามหรือสืบสวนทราบถึงสิทธิของตนก่อน (Miranda warning)

ใครเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีอาญา(หลักการดำเนินคดีอาญา) Private Prosecution ผู้เสียหายสามารถดำเนินคดีอาญาได้ มาจากแนวคิดแก้แค้นทดแทน ถ้าผู้เสียหายไม่ดำเนินคดี ผู้กระทำผิดก็ไม่ถูกลงโทษ Popular Prosecution ประชาชนทุกในสังคมมีสิทธิดำเนินคดีอาญาได้ แม้ไม่ใช่ผู้ถูกกระทำ, การกระทำความผิดเป็นการกระทำต่อคนทุกคนในสังคม คนที่ไม่ทราบข้อเท็จจริง อาจทำให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ Public Prosecution ความสงบสุขเป็นเรื่องของรัฐ รัฐจึงเป็นผู้เสียหาย ถ้ารัฐไม่ดำเนินคดี คนอื่นก็ดำเนินการไม่ได้

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผู้เสียหาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

รูปแบบการดำเนินคดีอาญา การดำเนินคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มี 2 ลักษณะ การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ เป็นการดำเนินการโดยเจ้าพนักงานของรัฐ (พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ) ทั้ง ความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย และเอกชนเป็นผู้เสียหาย ในความผิดที่เอกชนเป็นผู้เสียหาย รัฐจะดำเนินคดีแทนเอกชนได้ต่อเมื่อ ผู้เสียหายได้มอบคดี ให้รัฐดำเนินคดีแทน โดยการร้องทุกข์ให้รัฐดำเนินคดีแทนตนเอง 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ราชทัณฑ์ ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ผู้เสียหาย อัยการ ศาล คุมประพฤติ ผู้เสียหาย สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน(ผู้เสียหาย) เป็นการดำเนินคดีโดย เอกชน เป็นผู้ฟ้องผู้ต้องกระทำผิดต่อศาลด้วยตนเอง ซึ่งอาจจะเกิด จากหลายสาเหตุ เช่น ผู้เสียหายไม่ประสงค์ให้รัฐดำเนินคดีแทนตนเอง หรือเจ้าพนักงานไม่ ดำเนินคดีให้ ราชทัณฑ์ ฟ้อง คุมประพฤติ ศาล ผู้เสียหาย สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 ผู้เสียหาย ป.วิ.อ. ม.2(4) “บุคคลผู้ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดฐานใดฐาน หนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6” จากมาตราข้างต้นผู้เสียหาย จึงมี 2 ประเภท 1. ผู้เสียหายที่แท้จริง หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำ ความผิดฐานใดฐานหนึ่ง(โดยตรง) 2. ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลที่ไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริง แต่ กฎหมายให้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดี ผู้มีอำนาจดำเนินคดี ผู้เสียหาย ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ผู้เสียหายตาม ป.อ. ผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดี ผู้มีอำนาจดำเนินคดี 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

หลักเกณฑ์การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง พิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. มีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น ประการแรกต้องพิจารณาว่า การกระทำของผู้กระทำมีกฎหมายบัญญัติว่าเป็น ความผิด(อาญา) หรือไม่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญา กฎหมายสาร บัญญัติ (ประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ. ที่มีโทษทางอาญาอื่นๆ) อาจมีผู้เสียหายที่แท้จริง ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญา ไม่มีผู้เสียหายทางอาญา อาจมีผู้เสียหายในทางแพ่ง 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 2. บุคคลนั้นได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เมื่อพบว่ามีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ก็พิจารณาต่อไป ว่า บุคคลใดเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดนั้น 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 เป็นผู้ได้รับความเสียหาย อาจเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง ไม่เป็นผู้ได้รับความเสียหาย อาจเป็นผู้ได้รับความเสียหายในทางแพ่ง (ม.420) 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

การพิจารณาการเป็นเสียหายตามแนวของ อ.คณิต ณ นคร แนวทางการวินิจฉัยการเป็นผู้เสียหาย แนวทางของ ดร.คณิต ณ นคร แนวทางของศาลยุติธรรม การพิจารณาการเป็นเสียหายตามแนวของ อ.คณิต ณ นคร อ.คณิต ณ นคร ให้พิจารณาจากคุณธรรมของกฎหมายในเรื่องนั้นๆว่า คือ อะไร คุณธรรมทางกฎหมาย ได้แก่ สิ่งที่กฎหมายมุ่งจะคุ้มครอง ผู้เสียหาย คือ บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของคุณธรรมทางกฎหมาย 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 เช่น ก. ใช้ปืนยิง ข. หนึ่งนัด ถูกต้นขาแต่ไม่ถูกอวัยวะสำคัญรักษา 30 วันก็หายเป็นปกติ การกระทำของ ก. เป็นการกระทำความผิดต่อชีวิต ร่างกาย ความผิดต่อชีวิต ร่างกาย กฎหมายมุ่งคุ้มครองอะไร คุณธรรมของกฎหมาย เจ้าของคุณธรรม ชีวิต ร่างกาย นาย ข. ความสงบสุขของประชาชน รัฐ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 นาย ก. ยืมรถของนาย ข. ไปซื้อตั๋วรถที่สถานีรถไฟระหว่างจอดรถเพื่อลงไปซื้อตั๋ว นาย ค. ได้ขโมยรถคันดังกล่าวไป เช่นนี้ถ้า นาย ก. เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ ติดตามจับกุมนาย ค. มาดำเนินคดีหรือไม่ มีการการะทำผิดอาญาหรือไม่ ตอบ มี ความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานลักทรัพย์ มีสิ่งที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะคุ้มครองอะไรบ้าง(คุณธรรมทางกฎหมาย) 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 คุณธรรมทางกฎหมายในความผิดฐานลักทรัพย์ คุณธรรมของกฎหมาย เจ้าของคุณธรรม กรรมสิทธิ์ นาย ข. สิทธิครอบครอง นาย ก. ความสงบสุขของประชาชน รัฐ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 สรุป แนวทางของอาจารย์คณิต ต้องรู้ว่า ความผิดแต่ละเรื่อง แต่ละฐานความผิด มีวัตถุประสงค์คุ้มครองเรื่องอะไร ความผิดเรื่องหนึ่ง ฐานหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องมีคุณธรรมทางกฎหมายเรื่องเดียว เท่านั้น 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายตามแนวการวินิจฉัยของศาล ศาลพิจารณาจากประเภทของกฎหมาย ก. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองสิทธิของเอกชน เช่น ชีวิต ร่างกาย อนามัย ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เสรีภาพ สิ่งดังกล่าวเป็นของบุคคลใด บุคคลนั้น คือ ผู้เสียหาย ข้อสังเกต ความผิดที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองสิทธิเอกชนบางฐานความผิด รัฐก็เป็นผู้เสียหายได้ หาก ความผิดนั้นเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 ข. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ที่คุ้มครองรัฐ หรือเจ้าพนักงานของรัฐโดยเฉพาะ โดย ปกติรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่อาจเป็นผู้เสียหายได้ เช่น ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิด เกี่ยวกับเงินตรา เป็นต้น 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 ยกเว้นแต่เอกชนคนหนึ่งคนใดจะได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการกระทำ ความผิดนั้น ก็สามารถเป็นผู้เสียหายในความผิดนั้นได้ ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ คือ การกระทำความผิดกระทบต่อสิทธิของปัจเจก ชนในทางหนึ่งทางใด เช่น ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือสิทธิในด้านใดด้านหนึ่ง แต่ผลกระทบต่อสิทธิของปัจเจกชน นั้นจะต้องเป็นผลโดยตรงมาจากการ กระทำความผิดอาญานั้น 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 ตัวอย่าง 227/2531 นายดำไม่พอใจที่บิดาของตน ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ พี่น้องของ นายดำ เท่าๆกัน ทั้ง ที่ได้เคยขอทรัพย์มรดกบางชิ้นจากบิดา แล้ว นายดำจึงไปขอให้นายขัน ปลัดอำเภอซึ่งเป็นเพื่อนสนิท ให้ช่วยทำให้นายดำ ได้รับมรดกของบิดา เพียงคนเดียว นายขันได้อาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าช่วยนายอำเภอทำพินัยกรรมให้ชาวบ้านให้แก่ชาวบ้าน ปลอม พินัยกรรมของบิดานายดำ ว่ายกมรดกให้แก่ นายดำ แต่เพียงผู้เดียว หลังจากบิดาตาย นายดำ ได้นำพินัยกรรมปลอมไปรับโอนมรดกที่สำนักงานที่ดิน เจ้าพนักงาน ที่ดินไม่ทราบว่าเป็นพินัยกรรมปลอม จึงโอนที่ดินให้แก่ นายดำ แต่เพียงผู้เดียว 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 ตัวอย่าง 227/2531 การกระทำของ นายขัน มีความผิดหรือไม่ ความผิดดังกล่าวมีคุณธรรมทางกฎหมายอะไร ใครเป็นเจ้าของคุณธรรมดังกล่าว พี่น้องของนายดำ เป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวหรือไม่ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 คำพิพากษาฎีกาที่ 227/2531 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานกระทำต่อหน้าที่ราชการในการปลอมแปลง พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองแล้วนำไปใช้ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมฉบับที่แท้จริง ได้รับความเสียหายโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมเอกสาร ม.161 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มี วัตถุประสงค์คุ้มครองรัฐ ดังนั้นปกติถือว่ารัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย แต่การปลอมพินัยกรรมยัง มีผลกระทบต่อโจทก์ ซึ่งเป็นทายาทในฉบับที่แท้จริงด้วย ดังนั้น โจทก์ จึงเป็นผู้เสียหาย 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 ทำไม ? กฎหมายกำหนดว่า ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมหลายฉบับมีข้อความขัดกัน ให้ถือ ว่าพินัยกรรมฉบับเก่าถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง (ป.พ.พ. ม.1697) ดังนั้นการการทำพินัยกรรมปลอมจึงมีผลกระทบต่อโจทก์ เพราะจะทำให้ถูกเพิก ถอนสิทธิในการรับมรดกโดยกฎหมายดังกล่าว 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 นาย ก. อยากได้เงินจากบริษัทประกันภัยที่ตนได้ทำประกันความรับผิดของตนเองที่มีต่อผู้อื่น(ประกันภัยค้ำจุน) ไว้ นาย ก. จึงสร้างเรื่องว่าตนขับรถชนรถของนาย ข. บาดเจ็บซึ่งมีผลทำให้บริษัทต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ นาย ข. แทนนาย ก. ตามสัญญาประกันภัย แต่ตามสัญญาประกันภัยจะต้องมีหลักฐานการเกิดอุบัติเหตุจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ นาย ก. จึงไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงเรื่องดังกล่าว แล้วนำหลักฐานการแจ้งความไปขอรับเงินประกันที่ บริษัทจะต้องจ่ายให้แก่นาย ข. บริษัทไม่ทราบว่าเป็นความเท็จได้จ่ายเงินให้แก่นาย ก. ไป ต่อมาบริษัทรู้ความจริง จึงฟ้องนาย ก. ข้อหาแจ้ง ความเท็จตาม มาตรา 137 และ แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน และเอกสาร ราชการ มาตรา 267 บริษัทประกันภัยเป็นผู้เสียหายในความผิดทั้งสองหรือไม่ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9179/2547 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9179/2547  จำเลยที่ 3 แจ้งความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 3 ได้ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชน จำเลยที่ 4 ได้รับบาดเจ็บ เพื่อประสงค์ให้พนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงาน ประจำวันเกี่ยวกับคดี ซึ่งเป็นเอกสารราชการเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานเท่านั้น อันเป็นการกระทำต่อ เจ้าพนักงานโดยตรง โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้เจาะจงว่ากล่าวถึงโจทก์เลย โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย โดยตรง แม้ข้อความเท็จนั้นจะครบองค์ประกอบเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งมิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่กระทบกระเทือนถึง โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 3 ใน ส่วนหลังเกิดขึ้นหลังจากการกระทำผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้า พนักงานตำรวจและ เจ้าพนักงานตำรวจได้จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้ว เป็นการ กระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 ตัวอย่าง ฎีกาที่ 2415/2535 นายเอ ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า รถจักรยานยนต์ของตนถูกนาย บี ขโมยไป ซึ่งเป็น ความเท็จ นายบี จึงเป็นโจทก์ฟ้องนาย เอ ข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 173 นายบีเป็นผู้เสียหาย หรือไม่ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2535 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2535 จำเลย ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นความ เท็จ ทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญา แม้ความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 137เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งปกติรัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงก็ตาม แต่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จากการร้องทุกข์ของจำเลยซึ่งเป็นเท็จ โจทก์ย่อมเป็น ผู้เสียหายที่แท้จริงในข้อหาดังกล่าวและมีอำนาจฟ้อง 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 ความแตกต่างระหว่าง ฎีกาที่ 9179/2547 กับ ฎีกาที่ 2415/2535 ฎีกาที่ 9179/2547 แจ้งความ แสดงหลักฐานเท็จ ได้เงิน ฎีกาที่ 2415/2535 แจ้งความ ชื่อเสียง 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 ค. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้กระทำ หรือมิให้กระทำการใดเพื่อ ประโยชน์ในทางปกครอง การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่อาจเป็นผู้เสียหาย ได้เลย เช่น พระราชบัญญัติอาวุธปืน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขับรถด้วยความประมาทชน นาย ข.ได้รับบาดเจ็บสาหัส ปรากฏว่ารถที่ นาย ก. ขับ ไม่มี พ.ร.บ. ประกันบุคคลที่ 3 และ นาย ก. ก็ไม่มีใบอนุญาต ขับรถด้วย นาย ข. เป็นผู้เสียหายในความผิดใดบ้าง มีการกระทำผิดกฎหมายอาญาหรือไม่ 1. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ป.อ. ม. 297 2. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์หรือผู้อื่นได้รับความเสียหาย พ.ร.บ.จราจรทางบก 3. ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต พ.ร.บ. จราจรทางบก 4. ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ.ประกันบุคคลที่ 3 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 1. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ป.อ. ม. 297 คุณธรรมทางกฎหมาย ? 2. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์หรือผู้อื่นได้รับความเสียหาย พ.ร.บ.จราจรทางบก 3. ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต พ.ร.บ. จราจรทางบก 4. ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ.ประกันบุคคลที่ 3 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

3. บุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย การที่จะถือว่าบุคคลใดเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานใดหรือไม่ มิได้พิจารณาเพียงแต่ว่าได้มีการกระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด และบุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำความผิด เท่านั้น แต่บุคคลนั้นจะต้องมีฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย กล่าวคือจะต้องมิได้เป็นผู้เสียหายซึ่งมีลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้

ก. ผู้เสียหายที่มีส่วนในการกระทำความผิด คำพิพากษาฎีกาที่ 1604/2508 โจทก์จำเลยต่างขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้รถชนกันและโจทก์ ได้รับบาดเจ็บนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการโดยประมาท โจทก์จึงมีส่วนในการกระทำผิดทางอาญาด้วย โดยนิตินัยถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสีย หายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา2(4)

ข. ผู้เสียหายที่ยินยอมสมัครใจกระทำความผิดนั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2481,643/2486 กู้ทำสัญญายอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้เกินอัตราในกฎหมายโดยสมัครใจผู้กู้ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษผู้ให้กู้ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ คำพิพากษาศาลฎีกาที่577/2496,1828-1829/2497 ผู้สมัครใจเข้าวิวาททำร้ายกันจะมาฟ้องคู่วิวาทฐานทำร้ายร่างกายไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2510 ผู้ตายกับจำเลยสมัครใจชกมวยพนันเอาเงินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถือว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายไม่ได้ บิดาของผู้ตายย่อม ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตาย

ค. ผู้เสียหายที่ร่วมกระทำผิด หรือใช้ให้กระทำผิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่955/2502 หญิงยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ถือว่าหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำผิดด้วย จึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้หญิงนั้นจะถึงแก่ความตาย บิดาของหญิงนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องผู้ทำให้หญิงแท้ลูกได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2524 ผู้เสียหายใช้ให้จำเลยนำเงินไปซื้อสลากกินรวบอันเป็นความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638-1640/2523 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยสามารถนำบุตรชายผู้เสียหายเข้าโรงเรียน นายสิบทหารบกได้โดยสอบคัดเลือกพอเป็นพิธีเท่านั้น และเรียกเงินเพื่อนำไปให้คณะกรรมการเพื่อช่วยบุตรผู้เสียหายให้เข้าเรียนได้ ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้จำเลยไป ถือว่าผู้เสียหายได้ร่วมกับ จำเลยนำสินบนไปให้เจ้าพนักงาน ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1 End ขอบคุณครับ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

ไม่มีส่วนในการกระทำความผิด(ผู้เสียหายโดยนิตินัย) ไม่เป็นผู้มีส่วนในการกระทำความผิด ไม่เป็นผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ไม่มีส่วนรู้เห็นการกระทำความผิด

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับผู้เสียหายโดยนิตินัย คำพิพากษาฎีกาที่ 1604/2508 โจทก์จำเลยต่างขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้รถชนกันและโจทก์ ได้รับ บาดเจ็บนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการโดยประมาท โจทก์จึงมีส่วนในการกระทำผิดทางอาญาด้วย โดยนิติ นัยถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา2(4) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2481,643/2486 กู้ทำสัญญายอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้เกินอัตราในกฎหมาย โดยสมัครใจผู้กู้ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษผู้ให้กู้ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียก ดอกเบี้ยเกินอัตราฯ คำพิพากษาศาลฎีกาที่577/2496,1828-1829/2497 ผู้สมัครใจเข้าวิวาททำร้ายกันจะมาฟ้องคู่วิวาทฐานทำ ร้ายร่างกายไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2510 ผู้ตายกับจำเลยสมัครใจชกมวยพนันเอาเงินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถือว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายไม่ได้ บิดาของผู้ตายย่อม ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่955/2502 หญิงยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ถือว่าหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำผิดด้วย จึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้หญิงนั้นจะถึงแก่ความตาย บิดา ของหญิงนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องผู้ทำให้หญิงแท้ลูกได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2524 ผู้เสียหายใช้ให้จำเลยนำเงินไปซื้อสลากกินรวบอันเป็นความผิด จึงไม่ใช่ ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638-1640/2523 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยสามารถนำบุตรชายผู้เสียหายเข้า โรงเรียน นายสิบทหารบกได้โดยสอบคัดเลือกพอเป็นพิธีเท่านั้น และเรียกเงินเพื่อนำไปให้คณะกรรมการเพื่อช่วยบุตร ผู้เสียหายให้เข้าเรียนได้ ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้จำเลยไป ถือว่าผู้เสียหายได้ร่วมกับ จำเลยนำสินบนไปให้เจ้า พนักงาน ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย

ตั้งแต่หน้านี้นำมาจาก Facebook: Absolute LAW

END