งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การศึกษาว่าด้วย “ศาลไทย”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การศึกษาว่าด้วย “ศาลไทย”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การศึกษาว่าด้วย “ศาลไทย”
โดย ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 หัวข้อสำคัญในการศึกษา
แนวทางการศึกษาการทำงานของศาล ความเป็นการเมืองของศาล บทบาทการทำงานของศาลในบริบทความขัดแย้ง การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย Court Watch การดูหมิ่นศาล กับ การละเมิดอำนาจศาล การตรวจสอบควบคุมการทำงานของศาล การจัดระบบบริหารจัดการ และความเป็นอิสระของศาล

3 แนวทางการศึกษาการทำงานของศาล
ตุลาการภิวัฒน์ “การเมืองเชิงตุลาการ” (Judicialization of the Politics) - แนวความคิดแบบนิติศาสตร์เชิงกลไก เชิงสถาบัน - ระบบอำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง กับ การตั้งศาลเพื่อควบคุม บทบาท 4 เรื่องของศาล ผู้กำกับกฎเกณฑ์ประชาธิปไตย 2) การสั่นคลอนเอกสิทธิ์ของสถาบันจากการเลือกตั้ง 3) ศาลเข้ามารับรองการเปลี่ยนแปลงระบอบ 4) ศาลมีบทบาทในการสร้างความหมายของวาทกรรมเกี่ยวกับชาติ

4 แนวทางการศึกษาการทำงานของศาล
ความอิสระของศาล กับ บทบาททางการเมืองของศาล Dressel 2013 ศาลมีความอิสระสูง แต่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองน้อย ในญี่ปุ่น มาเลเซีย ศาลมีความอิสระน้อย เข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมืองน้อย ในกัมพูชา ศาลมีความอิสระสูง เข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมืองมาก ในเกาหลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อาจเรียกแบบว่า “Judicial Activism”  ความเป็นอิสระของศาลไทยต่ำ แต่เข้าไปมีบทบาททางการเมืองสูง เรียกว่า “Politicization of the Judiciary” “ตุลาการเชิงการเมือง” สมชาย เสนอ “การเมืองเชิงตุลาการ” Judicialization of the politics

5 ความเป็นการเมืองของศาล
รัฐบาลรัฐสภา เป็นอำนาจที่ด้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับฝ่ายตุลาการ ความเสื่อมถอยของหลักการไม่พิจารณาปัญหาทางการเมือง เดิมศาลจะไม่ยุ่งกับข้อถกเถียงในทางการเมือง (political question doctrine) ตัดสินเฉพาะข้อพิพาททางกฎหมาย ใครมีความชอบธรรมมากกว่ากันระหว่างนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง กับผู้พิพากษาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือระหว่างสถาบันของเสียงส่วนใหญ่ กับสถาบันของชนชั้นนำ ตุลาการภิวัฒน์ และวิกฤตการเมือง ความขัดแย้งในสังคมไทย

6 ความเป็นการเมืองของศาล
ตุลาการภิวัฒน์ กับ การขยายพรมแดนเขตอำนาจในการรับข้อพิพาท การแปลงความขัดแย้งทั้งหลายให้กลายเป็น ข้อพิพาททางกฎหมาย เรื่องการเมืองโดยแท้ อำนาจฝ่ายอื่นโดยแท้ แต่ศาลเข้าแทรกแซง ความน่าเชื่อถือของศาล ไม่เคารพหลักการพื้นฐานทางกฎหมาย ความอิสระของศาล ที่ไร้การยึดโยงประชาชน/การตรวจสอบ การใช้ศีลธรรม/นิยาม “ความยุติธรรม” ชุดเดียวตัดสินข้อพิพาท การไม่ใช้ “กฎหมาย” โดยลำเส้น “การแบ่งแยกอำนาจ”

7 การประกอบสร้างสำนึก “สองมาตรฐาน”
ความยุติธรรมที่มาช้าคือความอยุติธรรม: ระยะเวลาดำเนินคดี อาวุธที่เท่าเทียมกัน: กระบวนการดำเนินคดีที่ดี สองมาตรฐาน: ผลคำพิพากษาในคดีประเภทเดียวกัน แต่ดำเนินคดีกับคนละกลุ่ม อคติบังตา: การกำหนดธงคำพิพากษาล่วงหน้า ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง: จริยธรรมของผู้พิพากษา กับ เรื่องอื้อฉาว คนคุ้นเคยกันทั้งนั้น: ที่มาของผู้พิพากษาไทย กับ เครือข่ายชนชั้นนำ ฤดูมรสุมเรือเล็กไม่ควรออกจากฝั่ง: อำนาจและบทบาทที่เพิ่มขึ้น กับ ความชอบธรรมที่ลดลง ความกลัวทำให้เสื่อม: ศาลกับการยึดโยงกับประชาชน ด้วย ข้อหาดูหมิ่นศาล ละเมิดอำนาจศาล

8 บทบาทการทำงานของศาลในบริบทความขัดแย้ง
ผลกระทบของ ตุลาการภิวัฒน์ จากคำพิพากษาศาล ปิยบุตร 2560 ส่งผลกำจัดนักการเมืองออกจากตลาดการเมือง ปกป้องความศักดิ์สิทธิ์และแดนอำนาจของศาล/องค์กรอิสระ ทำลายความชอบธรรมทางการเมือง ให้องค์กรอื่นเข้าแทรก ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง ชะงักงัน โดยมีสิ่งที่เกื้อหนุนให้เกิดตุลาการภิวัฒน์ คือ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ผู้ฟ้องคดี วาทกรรมทางการเมืองเรื่อง “ตุลาการภิวัฒน์” และ การสร้างให้ศาลเป็นสถาบัน “เป็นกลางและอิสระทางการเมือง/ผลประโยชน์”

9 บทบาทการทำงานของศาลในบริบทความขัดแย้ง
ระบอบเผด็จการ กับ กฎหมายและศาล แปลงความต้องการของเผด็จการทหารให้เป็น “กฎหมาย” นำกฎหมายของ “เผด็จการ” ไปใช้บังคับตาม นำกฎหมาย “ที่มีอยู่แล้ว” ไปใช้ลิดรอนสิทธิมนุษยชน นำกฎหมายที่มีอยู่แล้วไปบิดเบือนรับใช้เป้าหมายของเผด็จการ ตุลาการภิวัฒน์ ถือเป็น ศาลรับรองปกป้องการรัฐประหาร? การต่อสู้กับตุลาการภิวัฒน์เพื่อปรับดุลยภาพ หลักการแบ่งแยกอำนาจ

10 การการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย Court Watch
โครงการติดตามและสังเกตการณ์การทำงานของศาล สภาพปัญหาที่พบชัดเจนในกระบวนการศาล - ความไม่พร้อมในการรองรับกลุ่มเสี่ยง ผู้ด้อยโอกาส เช่น ผู้พิการ ล่าม - บทบาทของทนายขอแรงที่ไม่พร้อม ไร้ประสิทธิภาพ - สมาธิและการเคารพต่อคู่กรณีของบุคลากรในกระบวนการศาล - องค์คณะ และการให้ความเสมอภาค/ความเป็นธรรมต่อคู่กรณี - ข้อกำหนด แนวปฏิบัติที่นำไปสู่การเลือกประติบัติ กีดกัน ไม่เปิดเผย - บทบาทของผู้พิพากษาที่อาจขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน วิธีพิจารณาคดี

11 การดุหมิ่นศาล กับ การละเมิดอำนาจศาล
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในอังกฤษตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ไทยในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตั้งแต่ ร.ศ.127 เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งปี 2478 จึงเป็นความผิดเฉพาะในมาตรา และใช้กับคดีทุกประเภท ทุกชั้นศาล เป็นความผิดต่อศาล ศาลเป็นผู้เสียหายโดยตรง ให้อำนาจศาลไว้เป็นพิเศษที่ทำให้ผู้พิพากษาไม่ต้องดำเนินตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

12 การดูหมิ่นศาล กับ การละเมิดอำนาจศาล
การละเมิดที่เกิดขึ้นต่อหน้าศาลจะเป็นวัน “ครบวงจร” ศาลเห็นเอง พิจารณาเอง พิพากษาเองได้ สั่งลงโทษเองได้ หากเป็นการกระทำที่ไม่ได้เกิดต่อหน้าศาล ศาลก็สามารถพิจารณา ค้นหา ไต่สวนข้อเท็จจริงลับหลังจำเลยได้ ทั้งเป็นดุลพินิจของศาลว่าการกระทำใดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ศาลออกข้อกำหนดเพื่อรักษาความสงบหรือเพื่อให้กระบวนการพิจารณาดำเนินไปได้ด้วยความรวดเร็ว ห้ามไม่ให้ประพฤติตนไปในทางก่อความรำคาญ

13 การดูหมิ่นศาล กับ การละเมิดอำนาจศาล
กรณีที่ยื่นคำร้องต่อศาล เช่น ประชาชนรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม รู้สึกว่าศาลมีอคติ ศาลก็บอกให้แก้ไขข้อความ หากไม่แก้จะลงโทษละเมิดอำนาจศาล  ผู้พิพากษาจดคำพยานผิดพลาด นั่งพิจารณาไม่ครบองค์คณะ ถ้าจะให้พิจารณาต่อไปจะทำให้ไม่ได้รับความยุติธรรม อันนี้ศาลพิจารณาเห็นว่าไม่ผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ยังไม่สามารถสรุปหลักอะไรได้เลย หากตกเป็นจำเลยในคดีนี้ก็จะคาดเดาค่อนยากว่าจะทำอย่างไร แนวทางการต่อสู้คดีไม่ชัดเจน

14 การประกอบสร้างอัตลักษณ์ “ตุลาการไทย”
“อำนาจในอัตลักษณ์ตุลาการ” กฤษณ์พชร 2558 เกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างไร เขารู้สึกว่าตนเองเป็นใคร และสังคมมองว่าเขาเป็นอย่างไร ความเป็นคนดี หรือผู้ทรงศีล ความเป็นผู้ดี หรือการเป็นสุภาพบุรุษ ความเป็นผู้รู้ ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ทรงความรู้ด้านกฎหมาย ความเป็นผู้ภักดี การทำงานในพระปรมาภิไธย ความเป็น “คนดี ผู้ดี ผู้รู้ ผู้ภักดี” สร้างอำนาจพิเศษให้ผู้พิพากษาไทย

15 ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน
การแสวงหาความจริง (Truth seeking) ทั้งในด้านของรัฐและด้านของประชาชน การดำเนินคดี (Prosecution) กับผู้กระทำผิดกฎหมาย การชดเชยและเยียวยา (Reparation) ไม่ว่าฝ่ายใดจะผิด การปฏิรูปสถาบัน (Institutional reform) ที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคม การปรองดอง (Reconciliation) หรือการให้อภัยกันอย่างจริงใจ และสมัครใจ แต่มิใช่ยกเว้นความผิดแบบนิรโทษกรรมเหมารวม

16 การตรวจสอบควบคุมการทำงานของศาล
การนำคำพิพากษาทุกคดีขึ้นสู่ระบบอินเตอร์เน็ต Public Hearing and Live E-Court การตั้งคณะกรรมผู้เชี่ยวชาญที่มาจากภาควิชาการและภาคประชาชน เพื่อ ทำความเห็นคู่ขนาน หรือวิเคราะห์วิจารณ์คำพิพากษา การสร้างความชัดเจนแน่นอนเกี่ยวกับฐานความผิดและการใช้ดุลยพินิจของศาลในเรื่อง การดูหมิ่นศาล และละเมิดอำนาศาล ระบบความรับผิดของศาล จาก การบิดเบือนกฎหมาย การให้สัตยาบันธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ

17 การจัดระบบบริหารจัดการ และความเป็นอิสระของศาล
แก้ไขกระบวนการสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในศาลมหาชน ที่มาจากข้าราชการ และตุลาการอาชีพ ให้มีความหลากหลายตามความต้องการความชำนาญการเกี่ยวกับข้อเท็จจริงมากขึ้น ปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในศาลยุติธรรม ซึ่งเดิมเน้นการสอบ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญในการพิจารณาข้อเท็จจริงแห่งอรรถคดี ไปสู่การแสวงหาผู้ที่มีประสบการณ์ ช่ำชอง การประเมินประสิทธิภาพการทำงานตามแนวทางเศรษฐศาสตร์ การจัดสรรทรัพยากร กลไกการคัดสรร และเลื่อนขึ้น/เลื่อนลง


ดาวน์โหลด ppt การศึกษาว่าด้วย “ศาลไทย”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google