งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ธรรมาภิบาลในภาครัฐ โดย สุธรรม ส่งศิริ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ธรรมาภิบาลในภาครัฐ โดย สุธรรม ส่งศิริ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ธรรมาภิบาลในภาครัฐ โดย สุธรรม ส่งศิริ

2 การผนึกกำลังเพื่อขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยให้กระทรวง กรม และส่วนราชการต่างๆ เร่งกำหนดกลยุทธ์/แผนงาน/โครงการ/นวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ด้วยการรณรงค์การดำเนินการให้เกิดผลตามเป้าหมายอย่างมีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้กระแสของความมุ่งมั่นในการดำเนินการเรื่องจริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาครัฐเกิดขึ้นได้ตามคำประกาศวาระแห่งชาติของท่านนายกรัฐมนตรีต่อไป

3 การยกร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมธรรมาภิบาลภาครัฐ
การจัดตั้ง “สภาธรรมาภิบาลแห่งชาติ” ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจำนวนประมาณ ๒๐ คน เพื่อเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนกระแสคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของสังคม การจัดตั้งองค์กรสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาครัฐ ได้แก่ “สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลภาครัฐ” เพื่อรับผิดชอบในการพัฒนา ส่งเสริม ป้องกัน และปราบปราม ตลอดจนจัดทำมาตรฐานจรรยาบรรณสำหรับ - ข้าราชการการเมือง - ข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่ภาครัฐในทุกระดับ

4 การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในระดับองค์การและระดับบุคคล
การสร้างกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวในด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการ เพื่อผลักดันให้เกิดองค์การสุจริตธรรมที่มีศักดิ์ศรี (Organizational Integrity) ในภาคราชการทุกระดับในวงกว้าง

5 ในการดำเนินการจะดำเนินการตามยุทธศาสตร์ หลัก ๗ ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ในการดำเนินการจะดำเนินการตามยุทธศาสตร์ หลัก ๗ ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสร้างกลุ่มผู้นำและผลักดันให้เกิดองค์การแห่งสุจริตธรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยม และการพัฒนาข้าราชการ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การให้คำปรึกษา แนะนำ และการจัดการความรู้ เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลให้เอื้อต่อการส่งเสริม คุณธรรม และจริยธรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การวัดผลและตรวจสอบด้านจริยธรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๗ การวางระบบสนับสนุนและปัจจัยพื้นฐานด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล

6 ความหมายของธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล ( Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น ธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น (

7 ความหมายของธรรมาภิบาล
UNESCAP ได้กำหนดว่า หลักธรรมาภิบาล ควรประกอบด้วย 8 หลักการคือ (What is good governance: 1.      การมีส่วนร่วม (participatory) 2.      นิติธรรม (rule of law) 3.      ความโปร่งใส(transparency) 4.      ความรับผิดชอบ (responsiveness) 5.      ความสอดคล้อง(consensus oriented) 6.      ความเสมอภาค (equity and inclusiveness) 7.      การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (effectiveness and efficiency) และ 8.      การมีเหตุผลอธิบายได้ (accountability) (What is good governance:

8 ความหมายของธรรมาภิบาล
สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดไว้โดยได้เสนอเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า หลักธรรมาภิบาลนั้นประกอบด้วย 6 หลักการคือ 1.      หลักคุณธรรม 2.      หลักนิติธรรม 3.      หลักความโปร่งใส 4.      หลักความมีส่วนร่วม 5.      หลักความรับผิดชอบ 6.      หลักความคุ้มค่า แต่จะเป็นหลักการใดก็ตาม ก็จะเห็นว่าหลักการทั้งหลายล้วนมีจุดมุ่งหมายที่จะรักษา “ความสมดุล” ในมิติต่างๆไว้ เช่น หลักคุณธรรมก็คือการรักษาสมดุลระหว่างตนเองกับผู้อื่น คือไม่เบียดเบียน ผู้อื่นหรือ ตัวเองจนเดือดร้อน ซึ่งการที่มีความโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ตรวจสอบ ก็เพื่อมุ่งให้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความสมดุลดังกล่าวว่าอยู่ในวิสัยที่ยอมรับได้ ส่วนหลักความรับผิดชอบ ก็ต้องสมดุลกับเสรีภาพที่เป็นสิ่งที่สำคัญของทุกคน และหลักความคุ้มค่า ก็ต้องสมดุลกับหลักอื่นๆ เช่น บางครั้งองค์การอาจมุ่งความคุ้มค่าจนละเลยเรื่องความเป็นธรรมหรือโปร่งใส หรือบางครั้งที่หน่วยงาน โปร่งใสมากจนคู่แข่งขันล่วงรู้ความลับที่สำคัญในการประกอบกิจการ ความสมดุล หรือ ธรรม จึงเป็น ส่วนประกอบที่สำคัญของธรรมาภิบาล

9 หลักของธรรมาภิบาลในภาครัฐ
ยึดมั่นในหลักของวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่ประชาชนหรือผู้ที่มาใช้บริการ (Clear statement-high service quality) ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในหน้าที่และบทบาทของตน (Public Statement ว่าจะทำหน้าที่อย่างไรโดยวิธีอะไรที่จะบรรลุเป้าหมาย) ส่งเสริมค่านิยม (Values) ขององค์กร และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของ ธรรมาภิบาลโดยการปฏิบัติหรือพฤติกรรม (Behaviors) (moral integrity and etiquette in the responsiveness to the diverse public) มีการสื่อสารที่ดี การตัดสินใจอย่างโปร่งใส และมีการบริหารความเสี่ยง ที่รัดกุม (Providing information to flow two-ways) พัฒนาศักยภาพและความสามารถของส่วนบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง และให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ผู้บริหารต้องมีความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง) การเข้าถึงประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อการทำงานและผลงานอย่างจริงจัง

10 ต้องมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในวัตถุประสงค์และผลผลิตที่ตั้งใจจะทำให้
1. ธรรมาภิบาล คือ การยึดมั่นในวัตถุประสงค์ขององค์กรและ ผลผลิตที่จะส่งมอบให้แก่ประชาชนและผู้ที่มารับบริการ ต้องมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในวัตถุประสงค์และผลผลิตที่ตั้งใจจะทำให้ ผู้รับได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นเลิศ คุ้มค่ากับภาษีที่เสียให้แก่รัฐบาล องค์กรจะต้องมีการประกาศ (statement) พันธกิจและวัตถุประสงค์ ขององค์กรที่ชัดเจน และใช้เป็นแนวทางในการวางแผน การปฏิบัติงานขององค์กรนั้นๆ

11 2. ธรรมาภิบาล คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในหน้าที่ และบทบาทของตน
2. ธรรมาภิบาล คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในหน้าที่ และบทบาทของตน บุคลากรต้องเข้าใจในหน้าที่ของผู้บริหาร เข้าใจอย่างแจ่มชัดในความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้บริหาร รวมทั้งต้องมั่นใจว่าทุกคนปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตน มีความเข้าใจอย่างชัดเจนในความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับประชาชนผู้รับบริการ ผู้บริหารควรแจ้งให้ประชาชนได้ทราบในการประกาศสาธารณะ (Public Statement) ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตน โดยระบุให้ทราบถึงการปฏิบัติงานที่พอเหมาะกับขนาดและความซับซ้อน (Complexity) ขององค์กร

12 นำค่านิยมขององค์กรมาใช้ปฏิบัติ
3. ธรรมาภิบาล คือ การส่งเสริมค่านิยม (Values) ขององค์กร และแสดง ให้เห็นถึงคุณค่าของธรรมาภิบาลโดยการปฏิบัติหรือพฤติกรรม นำค่านิยมขององค์กรมาใช้ปฏิบัติ ผู้บริหารองค์กรประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ผู้บริหารตัดสินและวินิจฉัยอย่างโปร่งใสและเปิดเผย บริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารทำตัวเป็นตัวอย่างในการให้บริการแก่ประชาชน ทุกชนชั้นอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

13 4. ธรรมภิบาล คือ มีการสื่อสารที่ดี มีการตัดสินใจอย่างโปร่งใส และมีการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม
การตัดสินใจทุกครั้ง ต้องกระทำอย่างโปร่งใสและยุติธรรม ใช้ข้อมูลที่ดี รวมทั้งคำแนะนำและการสนับสนุน ต้องมั่นใจว่ามีระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระบบการทำงาน ต้องมีระบบตรวจสอบการทำงานทุกอย่าง เพื่อให้แน่ใจว่า ทุกอย่างดำเนินไปตามแผนการทำงาน มีการตรวจสอบความถูกต้องของรายงานบัญชีการเงิน รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ที่ผลิตโดยองค์กร

14 5. ธรรมภิบาล คือ การพัฒนาศักยภาพและความสามารถของส่วนบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องและให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต้องมั่นใจว่าผู้ที่ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นผู้บริหารจัดการนั้น มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในหน้าที่นั้นๆ พัฒนาความสามารถของผู้ที่ทำหน้าที่ในส่วนบริหาร รวมทั้งมีการประเมินผลงาน ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ มีความเชื่อมโยงในการทดแทนบุคลากรในสายบริหารจัดการ เพื่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานขององค์กร ผู้บริหารจัดการจะต้องมีความรับผิดชอบในผลงาน โดยการประเมินผลงานเป็นระยะๆ ทั้งนี้รวมทั้งการประเมินความต้องการในการฝึกอบรม หรือการพัฒนาทักษะที่ต้องการใช้ในการปฏิบัติหน้าที่

15 6. ธรรมภิบาล คือ การเข้าถึงประชาชนและต้องรับผิดชอบต่อการทำงานและผลงานอย่างจริงจัง
ต้องมีความเข้าใจถึงขอบเขตของความรับผิดชอบ ริเริ่มการวางแผนที่จะติดต่อกับประชาชน เพื่อให้ทราบถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในผลงานของตน ริเริ่มการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อบุคลากรภายในองค์กร ประสานงานกับหน่วยเหนือ หรือผู้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด

16 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ. ศ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีความมุ่งหมายให้บรรลุเป้าหมายตามที่มาตรา 6 บัญญัติไว้ คือ เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ประชาชนได้รับความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการ มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

17

18

19

20 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม ชีวิตที่สมดุลและมีความสุข-เศรษฐกิจที่มั่นคงและสมดุล สังคมที่มีคุณธรรมและยั่งยืน

21 คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย โดยตลอดมานานกว่า 30 ปี เป็นการชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกและสรรพสิ่งต่างๆ ในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นทางสายกลางที่พอประมาณ ใช้หลักวิชาการที่มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

22 การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ต้องอาศัยทั้ง ความรู้ ความรอบคอบ ระมัดระวัง และคุณธรรม เป็นพื้นฐาน โดยเงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ แบ่งปัน และไม่ตระหนี่

23 หนทางปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ระดับครอบครัว ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นแก่ชีวิต ภายใต้งบประมาณของตัวเองอย่างพอเพียง ต้องมีเงินออมทรัพย์อย่างน้อยร้อยละ 15 ของรายได้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสิ่งที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดไว้ และเป็นเงินสะสมเพื่อความมั่นคงในครอบครัว หมั่นเพียรในหน้าที่การงานและความรู้ เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์และการพัฒนาต่างๆ ยึดถือและปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิต ให้อยู่ในคุณธรรมและหลักคำสอนของศาสนา

24 หนทางปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(ต่อ) ระดับองค์กร มีเป้าหมายในการปฏิบัติงานที่พอเหมาะกับความต้องการของผู้ที่มารับบริการ (ประชาชน) ใช้งบประมาณอย่างประหยัดแต่ได้ผลคุ้มค่า พัฒนาวัฒนธรรมขององค์กรให้มีความสุจริตยุติธรรมในการทำงาน บนรากฐานคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม วางแผนงานทุกอย่างบนพื้นฐานของการรู้จริง เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีผลงานดีเยี่ยม ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทุกแผนกให้มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี

25 หนทางปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(ต่อ) ระดับประเทศ (ตัวอย่าง) ใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ พัฒนาภาคเกษตรกรรม ซึ่งมีประชากรถึงร้อยละ 49 ให้อยู่ได้ตามแนวพระราชดำริ โดยสร้างโอกาสให้ทุกคนสามารถทำกิน และอยู่ได้อย่างพอเพียง พัฒนาคุณธรรมและศีลธรรมให้เป็นรากฐานในการดำเนินชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประจำชาติ ดำเนินนโยบายต่างประเทศ โดยยึดหลักความต้องการของประเทศชาติและประชาชนก่อน โดยเฉพาะเรื่องนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ใช้นโยบายด้านการเงินและการคลังเป็นเครื่องมือในการรักษาเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศ

26 หนทางปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(ต่อ) ระดับประเทศ (ตัวอย่าง) ดำเนินนโยบายให้กับการประกันสุขภาพประชาชนทั่วไปอย่างพอเพียงตามหลักการรักษาพยาบาลและสาธารณสุขโดยรวม ใช้นโยบายภาษีในการลดช่องว่างในการกระจายรายได้ให้เป็นธรรมมากขึ้น และใช้นโยบายภาษีนำเข้า เพื่อสกัดกั้นสิ่งฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็นต่อการครองชีพในระบบพอเพียง พัฒนาการศึกษาให้เยาวชนและนิสิตนักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไปให้รู้ทันความก้าวหน้าของโลก และมีความรู้พอที่จะปกป้องระบบเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศไม่ให้ถูกทำลายไป ให้การบริการทางสังคมแก่ประชาชนที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพและด้วยความเสมอภาคโดยเท่าเทียมกัน

27 หนทางปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(ต่อ) ระดับประเทศ (ตัวอย่าง) ให้ความคุ้มครองแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมีเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยอาจขอความร่วมมือจากประชาชนให้ร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อให้สังคมเราปลอดภัยและอยู่อย่างปราศจากความหวาดกลัว เพิ่มการกวดขันในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เข้มแข็งและเอาจริงมากขึ้น เพื่อรักษาป่าไม้ต้นน้ำและทรัพยากรชายฝั่งทะเลไม่ให้ถูกทำลายไป ความผิดทางศีลธรรมและจริยธรรม จะต้องได้รับการลงโทษให้หนัก เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง ทั้งนี้เพื่อจรรโลงศีลธรรมให้อยู่คู่สังคมไทยตลอดไป

28 การอภิปราย: การเสริมความรู้เรื่องประชาธิปไตยที่มีเหตุผล

29 อาจารย์สุธรรม ส่งศิริ
ขอบคุณครับ อาจารย์สุธรรม ส่งศิริ


ดาวน์โหลด ppt ธรรมาภิบาลในภาครัฐ โดย สุธรรม ส่งศิริ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google