การเปลี่ยนแปลง การปกครองพ.ศ.2475 สถานการณ์ก่อนการเปลี่ยนแปลง: เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรรลุนิติภาวะแล้วใน พ.ศ. 2417 ทรงปรับปรุงการเมืองไทยให้ทันสมัย โดยทรงจัดตั้งสภาขึ้น 2 สภา คือ 1. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) 2. สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council)
การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มเจ้านาย และข้าราชการใน ร. ศ การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มเจ้านาย และข้าราชการใน ร.ศ. 103 (พ.ศ.2427) มีเจ้านายและข้าราชการ จำนวนหนึ่ง ที่รับราชการ ณ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน และ กรุงปารีส นำโดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น นเรศร์วร ฤทธิ์ ได้ร่วมกัน ลงชื่อในเอกสารกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน ร.ศ . 103 ทูลเกล้าฯ ตรงกับวันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ. 2427 แต่ผลที่ตามมา คือ รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่า ... เมืองไทย ยังไม่พร้อมที่จะปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ
สถานการณ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน รัชกาลที่ 5 , ในรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2449: เทียนวรรณ เป็นปัญญาชนคนหนึ่งในยุคนั้น เสนอ ข้อเขียนในนำระบบรัฐสภามาใช้ แต่รัชกาลที่ 5 ทรงยืนยันว่าการปกครองของสยาม ที่มีอยู่ยังเหมาะสมดี ในช่วงต้นสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดกบฏ ร.ศ . 130 เหตุการณ์ ร.ศ. 130 คณะนายทหารหนุ่ม ภายใต้การนำของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ ได้วางแผนยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะถูกจับกุมก่อน ลงมือปฏิบัติงาน
สถานการณ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ในรัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่าการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยควรมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากชาวไทยยังไม่พร้อม ที่จะปกครองในระบอบประชาธิปไตยเพราะเป็นระบอบใหม่ (สำหรับคนไทยส่วนใหญ่) พระองค์จึงทรงตั้งดุสิตธานี เพื่อ.. ฝึกให้ขุนนาง และข้าราชการทดลองปกครอง และบริหารราชการท้องถิ่น ที่เรียกว่า... เทศบาล
สถานการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 ในสมัยรัชการที่ 7 มีการร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ฉบับแรก ผู้ร่าง คือ พระยา กัลยาณ ไมตรี ฉบับที่ 2 ผู้ร่าง คือ นาย เรมอนด์ บี. สตี เฟนส์ และพระยาศรีวิศาลวาจา แต่รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับนี้ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้ ด้วยคณะอภิรัฐมนตรีเห็นว่าควรยืดระยะเวลาการพระราชทานรัฐธรรมนูญออกไปอีก พระองค์จึงทรงยับยั้งการพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ การที่พระองค์ทรงลังเลพระราชหฤทัย จึงทำให้คณะราษฎร ซึ่งได้เตรียมการไว้แล้ว ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้ในที่สุด
สาเหตุของเปลี่ยนแปลง การปกครองของประเทศไทย พ.ศ.2475 1. ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 2. การศึกษาตามแนวความคิดตะวันตก ความเคลื่อนไหว ของสื่อมวลชน 3. สถานการณ์คลังของประเทศ และการแก้ปัญหา 4. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง
คณะราษฎร คณะราษฎร คือ กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการ ปฏิวัติ ยึดอำนาจจาก รัชกาลที่ 7 เปลี่ยนแปลงการปกครอง ของสยาม จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมี พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะราษฎร
คณะราษฎร ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายทหารบก ทหารเรือ พลเรือน และราษฎร พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันตรี หลวงพิบูลสงคราม นาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (พจน์ พหลโยธิน) เป็นหัวหน้า (แปลก ขิตตะสังคะ) (สินธุ์ กมลนาวิน) (ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้า
หลัก 6 ประการของคณะราษฎร 1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง 2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกๆ คนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฎร อดอยาก 4. จะต้องให้ราษฎรได้สิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่) 5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น 6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
สรุปผลจาก การปฏิวัติของคณะราษฎร 1.คณะราษฎรได้ก่อการปฏิวัติ ได้สำเร็จ ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ คือ ... ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นเป็นระบอบการปกครอง โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยคณะราษฎร ได้ออกประกาศแถลงการณ์ เพื่อชี้แจงที่ต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองให้ประชาชนเข้าใจ 2. คณะราษฎรได้แต่งตั้งผู้รักษาการพระนคร ฝ่ายทหารขึ้น 3 นาย ได้แก่ 1. พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา 2. พ.อ.พระยาทรง สุร เดช 3. พ.อ.พระยาฤทธิ์ อัคเนย์ โดยให้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารประเทศ
สรุปผลจาก การปฏิวัติของคณะราษฎร 3. คณะราษฎรได้มีหนังสือกราบบังคับทูล อันเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับคืนสู่พระนคร พระองค์ทรง ตอบรับคำกราบบังคับทูล อัญเชิญของคณะราษฎร และทรงกลับสู่ พระนคร ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 4. รัชกาลที่ 7 ได้ทรงลงพระนามในพระราชกำหนดนิรโทษกรรม การยึดอำนาจของคณะราษฎร และทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทย(ฉบับชั่วคราว) วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 5. วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยแรกตามธรรมนูญการปกครองประเทศชั่วคราว
สรุปผลจาก การปฏิวัติของคณะราษฎร 6. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก 7. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก 8. นายปรีดี พนมยงค์ เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก 9. วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2475 พระยานิติศาสตร์ไพศาล จดทะเบียนจัดตั้ง สมาคมคณะราษฎร ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองแรกของไทย 10. วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ฉบับแรก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
หมุดคณะราษฎร หมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ณ ตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศคณะราษฎร มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ" จัดทำขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทย มีพิธีฝังหมุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2479 โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และหัวหน้าคณะราษฎรเป็นผู้ฝังหมุด