ครูปฏิการ นาครอด.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Gastrointestinal Tract (GI tract) Hepatobiliary System
Advertisements

ซอฟต์แวร์.
เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
จัดทำโดย นางคนึงนิตร เมืองอินทร์ ครูผู้ช่วย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสิตาราม
นายทอง ทองงาม ครูผู้ช่วย
เรื่อง สีต่างๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Introduction to Enzymes
Phylum Mollusca อ.แน็ต.
ใครๆมักถือเอาความสำเร็จว่า เป็นพรที่ได้รับจากสวรรค์ แต่แท้ที่จริงแล้ว พรดังกล่าวได้มาจาก ความพยายามอย่างลำบากตรากตรำของตัวบุคคลเองต่างหาก.
วันดี อภิณหสมิต DIGESTIVE SYSTEM Development of บทเรียน
Anatomy of the Alimentary System
BIOL OGY.
New drugs treatment of type 2 DM
แบบทดสอบสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2
เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล
คำถามที่มีคนอยากรู้คำตอบ ในวิชาชีวเคมีก่อนสอบ
ส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ทบทวนบทเรียน ENGLISH CLASS 6.
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
นางวรรณี ศรีดนุเดช การพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน 0-9
วาดรูปด้วย Paint ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Present Simple Tense By Aranya Chaichana
ทางเดินอาหาร (The gut)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สงขลา เขต 3
แบบรูปและความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต
View 1. Sagittal midline Aorta and left hepatic lobe
Class Aplacophora.
Parts of the Body กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดย ครูชาลิดา รายรัตน์ โรงเรียนบ้านโป่ง สพท.เชียงราย เขต 2.
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดย นางสาวสุพิน ปณะการ โรงเรียนบ้านโป่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชียงราย เขต 2.
Without necrosis or rupture With necrosisWith rupture 15.4 [2/13]37.5[6/16]55.6 [5/9]
ด้าน สิ่งแวดล้อ มและ สุขภาพ EHA อสธ จ. ระบบอนามัย สิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา.
Lymphatic drainage of the head and neck
ปรัชญาชีวิตเพื่อวิถีพอเพียงในชีวิตประจำวัน ตอน “ชีวิต คือ อะไร”
โครงสร้างและการทำงานของสัตว์
ปริมาณสารสัมพันธ์ Stoichiometry.
เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวต (Chemical basic of organisms)
Biochemistry II 2nd Semester 2017
Biochemistry II 2nd Semester 2016
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและ การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและ การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
Biology (40243) Miss Lampoei Puangmalai
ระบบการดูดซึมอาหารของร่างกายและความต้องการพลังงาน
Biochemistry II 1st Semester 2018
วิชาการเลี้ยงสุกร ระดับปวช.
Biochemistry II 1st Semester 2018
พลังงาน (Energy).
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
งานสำนักงาน นางสมพร แผ่วจะโปะ โดย
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
การเปลี่ยนแปลงบริษัทและควบรวมกิจการ
พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน
กิจกรรมที่7 บทบาทของโลหะทองแดงในปฏิกิริยา
Biochemistry II 2nd Semester 2018
Biochemistry II 2nd Semester 2018
สารละลายกรด-เบส.
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรมรชาติ
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ SBR
ระบบย่อยอาหาร.
การสังเคราะห์ด้วยแสง
ระบบการจัดซื้อ ระบบปฏิบัติในการจัดซื้อ ระบบเอกสารในจัดซื้อ
จัดทำโดย อาจารย์วิษณุ สมัญญา
Biochemistry II 1st Semester 2019
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
แผนการเรียนรู้เพศศึกษา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ครูปฏิการ นาครอด

เรื่อง ระบบย่อยอาหาร (Digestion System)

กระบวนการย่อยอาหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. การย่อยเชิงกล (Mechanical Digestion) เป็นขั้นตอนที่อาหารชิ้นใหญ่ถูกทำให้เป็นชิ้นเล็กลง โดยการบดเคี้ยวด้วยฟัน หรือ การบีบตัวของทางเดินอาหาร

2. การย่อยเชิงเคมี (Chemical Digestion) เป็นขั้นตอนที่โมเลกุลของสารอาหารโมเลกุลใหญ่ ถูกเปลี่ยนสภาพให้มีโมเลกุลเล็กลง โดยใช้เอนไซม์(Enzyme)เป็นสารประเภทโปรตีนช่วยเร่งปฏิกิริยา

กระบวนการย่อยอาหาร การย่อยทางเคมีจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้น้ำย่อยเฉพาะอย่างปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนี้ จะต้องมีน้ำเข้ามาร่วมในกระบวนการแตกสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง เราเรียกกระบวนการแตกสลายสารอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ ให้มีโมเลกุลเล็กลงโดยอาศัย น้ำว่า ไฮโดรไลซีส (Hydrolysis) ดังสมการ           เอนไซม์ซูเครส C12H22O11 + H2O      C6H12O6 + C6H12O6

อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ปากและฟัน (mouth and teeth) 1. การย่อยเชิงกล โดยการบดเคี้ยวอาหารด้วยฟัน 2. การย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลส (Amylase)หรือไทยาลิน (Ptyalin ) จะย่อยแป้งให้เป็น Dextrin ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่เล็กกว่าแป้ง แต่ใหญ่กว่าโมเลกุลของน้ำตาล และอาจถูกย่อยไปถึงโมเลกุลเชิงคู่ คือ มอลโทส ได้

การย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ถูกย่อยครั้งแรกบริเวณใดเป็นอันดับแรก ปาก กระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่

ต่อมน้ำลาย (Salivary glands) สร้างน้ำลายได้วันละ 1-1.5 ลิตร มี pH = 6.0-7.0 มีปริมาณแคลเซียมสูงมาก ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมออกจากสารเคลือบฟัน น้ำลายประกอบด้วย 1. เอนไซม์ อะไมเลส 2. น้ำ (97-99%) 3. เมือก (musin) เป็นสารคาร์โบไฮเดรตผสมโปรตีน ทำให้อาหาร รวมกันเป็นก้อนกลืนสะดวก

ต่อมน้ำลาย (Salivary glands) ของคนมี 3 คู่ 1. ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (sublingual gland) มีต่อมเล็ก ๆ จำนวนมากต่อมนี้จะสร้างน้ำเมือกมากกว่าสร้างน้ำย่อย 2. ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง (submandibulary gland ) มีท่อ วาร์ตัน(warton’s duct) เปิดสู่เพดานล่างของปาก ต่อมนี้สร้างน้ำย่อยอะไมเลส มากกว่าสร้างเมือก 3. ต่อมน้ำลายข้างกกหู (parotid gland ) เป็นต่อมน้ำลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยอะไมเลส ถ้าหากมีเชื้อไวรัสเข้าไปในต่อมนี้ จะทำให้เกิดคางทูม

หลอดอาหาร ( Esophagus ) เมื่ออาหารผ่านลงสู่หลอดอาหาร จะทำให้เกิดการหดตัวของผนังกล้ามเนื้อ ติดต่อกันเป็นลูกคลื่น ซึ่งเรียกว่าเพอริสตัสซีส (Peristalsis) ไล่ให้อาหารเคลื่อนลงสู่กระเพาะ

คอหอย (pharynx) เป็นท่ออยู่ระหว่างด้านหลังของช่องปากและหลอดลม บริเวณนี้เป็น จุดเชื่อมระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหารโดยมีกลไกควบคุมการส่งอาหารหรืออากาศคนละเวลากัน นอกจากนี้ยังประกอบด้วยต่อน้ำเหลือง 3 คู่อยู่รอบ ๆ คอหอย มีหน้าที่ดักจับเชื้อโรค เรียกว่า “ต่อมทอนซิล” (tonsil)

กระเพาะอาหาร (Stomach) มีความยาวประมาณ 10 นิ้ว กว้าง 5 นิ้ว ขณะไม่มีอาหารขนาดประมาณ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อกินอาหารจะขยายได้อีก 10- 40 เท่า

กระเพาะอาหารจะสร้างเอนไซม์Pepsin และ Rennin ซึ่งจะทำงานได้นั้นต้องมี กรดไฮโดรคลอริ (HCl) เป็นตัวกระตุ้น มาย่อยโปรตีน ให้มีขนาดเล็กลงแต่ยังไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้

โปรตีน + น้ำ เปปซิน เพปไทด์ ( Peptide) โปรตีนในน้ำนม + น้ำ เรนนิน พาราเคซีน (paracasein) อาหารจะอยู่ในกระเพาะอาหารนานประมาณ 3 ชั่วโมง อาหารที่ผ่านกระเพาะจะมีลักษณะเหลวเละ เรียกว่า ไคม์ (Chyme)

ลำไส้เล็ก (Small Intestine) เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของทางเดินอาหาร มีความยาวประมาณ 6-7 เมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน 1.ดูโอดีนัม (Duodenum) ยาวประมาณ 0.30 เมตร เป็นบริเวณอยู่ต่อจากกระเพาะอาหาร สารที่สร้างจากตับและตับอ่อนจะมาที่ส่วนต้นของดูโอดีนัม 2. เจจูนัม (Jejunum) ยาวประมาณ 2.5 เมตร เป็นส่วนที่ถัดจาก ดูโอดีนัม 3. ไอเลียม (Ileum) ยาวประมาณ 4 เมตร เป็นส่วนที่ติดอยู่กับลำไส้ใหญ่ มีการย่อยอาหารและดูดซึมอาหาร

ลำไส้เล็ก ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นลอนตามขวาง มีส่วนยื่นเล็กๆมากมายเป็นตุ่ม เรียกว่า วิลลัส (Villus พหูพจน์เรียกว่า Villi) ผิวด้านนอกของเซลล์วิลลัสยังมีส่วนที่ยื่นออกไป เรียกว่า ไมโครวิลไล (Microvilli) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหาร

น้ำย่อยจากลำไส้เล็ก มอลเทส (Maltase) ย่อยมอลโทส ให้กลูโคส ซูเครส (Sucrase) ย่อยซูโครส (น้ำตาล) เป็นกลูโคสและฟรักโทส แล็กเทส (Lactase) ย่อยแล็กโทส ให้กลูโคสกับกาแล็กโทส เพปทิเดส (Peptidase) ย่อยเพปไทด์ ให้กรดอะมิโน อะไมเลส ( Amylase) ย่อยแป้ง ให้มอลโทส ไลเปส (lipase) ย่อยไขมัน ให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล

วิลลัส

เอนไซม์จากตับอ่อน ส่งมาที่ลำไส้เพื่อช่วยย่อย เอนไซม์จากตับอ่อน ส่งมาที่ลำไส้เพื่อช่วยย่อย อะไมเลส (Amylase) ย่อยแป้ง ให้เป็นน้ำตาลมอลโทส ไลเปส (lipase) ย่อยไขมัน ให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล ทริปซิน (Trypsin) ย่อยโปรตีน ให้เป็นกรดอะมิโน ตับอ่อนยังส่งโซเดียมไบคาร์บอเนต NaHCO3 มาทำให้ให้เกิดสภาพเบสในลำไส้เล็ก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อความคุมน้ำตาลในเลือด

ตับอ่อน (pancrese)

ภาพต่อไปนี้เป็นภาพอะไร

ให้นักเรียนโยงเส้นจับคู่ข้อความที่สัมพันธ์กัน กระเพาะ Bile ตับอ่อน HCl ลำไส้เล็ก Vitamin K, B12 ลำไส้ใหญ่ Tripsin ตับ Parotid gland ต่อมน้ำลาย Sucrase

ให้นักเรียนเติมชื่ออวัยวะของร่างกายให้สัมพันธ์ภาพ. Alphabet Buttons Appear Here

ให้นักเรียนจับคู่ข้อความที่มีความสัมพันธ์กันให้ถูกต้อง ตับ (liver) เรนนิน (rennin) กระเพาะ (stomach) อะไมเลส (amylase) ต่อมน้ำลาย (salivary glands) มอลเทส (maltase) ลำไส้เล็ก (small intestine) ไลเพส (lipase) ตับอ่อน (pancreae) น้ำดี (bile)

https://www.youtube.com/watch?v=b20VRR9C37Q

สัตว์ที่ทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ เป็นทางเดินอาหารมีลักษณะเป็นถุงมีช่องเปิดทางเดียว ทำหน้าที่เป็นทั้งปากและทวารหนัก เรียกว่าช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีกลุ่มเซลล์ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย ออกมาย่อยอาหารและดูดซึมสารที่ย่อยแล้วเข้าไป ส่วนกากก็ขับออกทางปาก

สัตว์ที่ทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ เป็นทางเดินอาหารที่มีลักษณะเป็นท่อยาว มีทางเปิด 2 ทาง คือปากซึ่งเป็นทางเข้าของอาหาร และทวารหนักซึ่งเป็นทางออกของกากอาหาร ภายในทางเดินอาหารจะ มีอวัยวะที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ บด เคี้ยว และทำหน้าที่ย่อยอาหาร

การย่อยอาหารของหนอนตัวกลมและไส้เดือนดิน หนอนตัวกลม ปาก คอหอย ลำไส้ ทวารหนัก ไส้เดือนดิน ปาก ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร กระเพาะบดอาหาร ลำไส้ ทวารหนัก

ลิ้นทะเลมี Radular เป็นที่ถูอาหารลักษณะคล้ายแผ่นกระดาษทรายแทนฟัน แมลงสาบมีเริ่มมีส่วนของทางเดินอาหารเปลี่ยนไปเป็นต่อมน้ำลายช่วยสร้างน้ำลาย