งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Biology (40243) Miss Lampoei Puangmalai

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Biology (40243) Miss Lampoei Puangmalai"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Biology (40243) Miss Lampoei Puangmalai
บทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อ Biology (40243) Miss Lampoei Puangmalai

2 บทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อ 9.1 ต่อมไร้ท่อ
บทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อ 9.1 ต่อมไร้ท่อ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.3 การควบคุมการสร้างและหลั่งฮอร์โมน 9.4 ฟีโรโมน

3 จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายตำแหน่งโครงสร้างและหน้าที่ของต่อมไร้ท่อที่สำคัญของคน รวมทั้งชนิดของฮอร์โมนที่สำคัญที่สร้างขึ้นจากต่อมไร้ท่อ 2. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และสรุปกลไกการควบคุมการทำงานของฮอร์โมน พร้อมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของฮอร์โมน กับฟีโรโมน รวมทั้งยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากฮอร์โมน และฟีโรโมนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน 3. ตระหนักถึงความสำคัญในการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์

4 9.1 ต่อมไร้ท่อ ต่อมไร้ท่อควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกายให้เกิดดุลยภาพได้อย่างไร พ.ศ.2391, Arnold A. Berthold (นักสรีรวิทยาชาวเยอรมัน) ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของลูกไก่เพศผู้ ไปเป็นไก่เพศผู้ที่โตเต็มวัย โดยจัดการทดลองเป็น 3 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 ไก่เจริญตามปกติ ชุดที่ 2 ตัด testis ของลูกไก่ออก พบว่า เมื่อโตขึ้นจะมีลักษณะคล้ายไก่เพศเมีย (หงอน, เหนียงคอสั้น ขนหางสั้น ไม่ค่อยสู้ไก่ตัวอื่น) ชุดที่ 3 ตัด testis ของลูกไก่ออก แล้วนำ testis ของลูกไก่อีกตัวมาปลูกถ่าย พบว่า เมื่อโตขึ้นจะเป็นไก่ตัวผู้ทั่วๆ ไป

5 The endocrine system The endocrine system helps regulate and maintain various body functions by synthesizing (making) and releasing hormones, chemical messengers. The major areas of control and integration include responses to stress and injury, growth and development, absorption of nutrients, energy metabolism, water and electrolyte balance, reproduction, birth, and lactation.

6 The endocrine system

7 The endocrine system The endocrine system is composed of glands that release their hormones directly into the bloodstream for chemical signaling of target cells. These glands include the pineal gland, the pituitary gland, the thyroid gland, the parathyroid glands, the pancreas, the adrenal glands, the ovaries (in females) or testes (in males), the stomach and small intestine, the hypothalamus, the thymus,

8 What are hormones ? Hormones are chemical substances created by the body that control numerous body functions. They actually act as "messengers" to coordinate functions of various body parts. Most hormones are proteins consisting of amino acid chains. Some hormones are steroids, fatty cholesterol-produced substances.

9 hormones Functions controlled by hormones include:
activities of entire organs growth and development reproduction sexual characteristics usage and storage of energy levels of fluid, salt, and sugar in the blood

10

11 Gland 1. exocrine gland ex. salivary gland , sweat gland
2. endocrine gland ex. (to be continue)

12 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะสำคัญ
1. pineal gland, 2. pituitary gland, 3. thyroid gland, 4. parathyroid glands, 5. pancreas, 6. adrenal glands, 7. ovaries (in females) or testes (in males), 8. placenta, 9. thymus gland, 10. stomach and small intestine,

13 1. Pineal gland pineal gland ในสัตว์เลือดเย็น ไม่สร้างฮอร์โมน แต่เป็นกลุ่มของ เซลล์รับแสง (photoreceptor cell) ในคนต่อมนี้อยู่ระหว่าง cerebrum ซีกซ้ายและขวา สร้างฮอร์โมน melatonin มีหน้าที่ ควบคุมการเจริญเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากไป จะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้ากว่าปกติ ถ้าต่อมนี้ถูกทำลาย เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ

14 Pineal gland The pineal body is located below the corpus callosum, a part of the brain. It produces the hormone melatonin.

15 hypothalamus The hypothalamus is located in the brain, near the optic chiasm. It secretes hormones that stimulate or suppress the release of hormones in the pituitary gland, in addition to controlling water balance, sleep, temperature, appetite, and blood pressure.

16 http://www. besthealth

17 2. Pituitary gland ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) อยู่ติดกับส่วนล่างของ hypothalamus แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ adenohypophysis (anterior lobe) Intermediate lobe neurohypophysis (posterior lobe)

18 Pituitary gland The pea-size pituitary gland is called the "master gland" because it regulates many key functions. The pituitary gland has an adenohypophysis (anterior lobe) and a neurohypophysis (posterior lobe). The adenohypophysis produces and secretes 7 hormones in response to commands from the hypothalamus: Thyroid Stimulating hormone (TSH) Adrenocorticotropic hormone (ACTH) Follicle Stimulating hormone (FSH) Luteinizing hormone (LH) Prolactin (PRL) Growth hormone (GH) Melanocyte-stimulating hormone (MSH)**

19 ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior lobe)
Growth hormone (GH) Gonadotrophin (Gn) Follicle Stimulating hormone (FSH) Luteinizing hormone (LH) Prolactin (PRL) Adrenocorticotrophin hormone (ACTH) Thyroid Stimulating hormone (TSH) Endorphin Melanocyte-stimulating hormone (MSH)

20 Growth hormone (GH) หน้าที่ ควบคุมการเจริญเติบโต
อีกชื่อหนึ่ง คือ Somatotrophin (STH) วัยเด็ก มีมากเกินไป ทำให้ร่างกายสูงใหญ่ผิดปกติ (gigantism) ถ้าขาด GH จะมีลักษณะเตี้ยแคระ (Dwarfism) วัยผู้ใหญ่ มีมากเกินไป ทำให้กระดูกแขน ขา คาง ขากรรไกร มีความผิดปกติ (acromegaly) ถ้าขาด จะไม่ปรากฏอาการเด่นชัด แต่ระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำกว่าคนปกติ ทำให้เครียด หงุดหงิดง่าย

21

22 Gigantism

23 Acromegaly http://www.sd-neurosurgeon.com/diseases/pit_tumors.html

24 Gonadotrophin (Gn) Gonadotrophin (Gn) เพศชาย เพศหญิง
Follicle Stimulating hormone (FSH) Luteinizing hormone (LH) เพศชาย FSH กระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะ และหลอดสร้างอสุจิ LH กระตุ้น interstitial cell หรือ Leydig cell ในการหลั่งฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) เพศหญิง FSH กระตุ้นการเจริญของ follicle สร้างฮอร์โมน estrogen LH กระตุ้นการตกไข่ และเกิด corpus luteum จะสร้างฮอร์โมน progesterone

25

26 Prolactin (PRL) กระตุ้นการสร้างต่อมน้ำนม เพื่อเลี้ยงทารกหลังคลอด

27 Adrenocorticotrophin hormone (ACTH)
กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอก ให้หลั่งฮอร์โมนตามปกติ

28 Thyroid Stimulating hormone (TSH)
กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนให้เป็นปกติ

29 Endorphin มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เป็นสารระงับความเจ็บปวด
มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เป็นสารระงับความเจ็บปวด เป็นสารที่ทำให้เรามีความคิดในทางสร้างสรรค์ เพิ่มความตื่นตัว มีชีวิตชีวา มีความสุข จึงเรียกสารนี้ว่า สารแห่งความสุข

30 ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง (Intermediate lobe)
เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของ pituitary ทำหน้าที่สร้าง Melanocyte Stimulating Hormone (MSH) ใน fish และ amphibians มีผลให้รงควัตถุ melanin ในเซลล์ melnocyte กระจายตัวออกมา ทำให้สีผิวเข้มขึ้น ถ้า MSH เลิกกระตุ้น สีผิวก็จะจางลงเหมือนเดิม ในสัตว์เลือดอุ่นอาจมีผลหมือนกับ ACTH

31 ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior lobe)
เป็นส่วนที่สร้างมาจาก ปลายแอกซอนของ neurosecretory cell จากสมองส่วน hypothalamus แล้วมาปล่อยที่ posterior lobe นี้ ก่อนหลั่งสู่ร่างกาย ได้แก่ Vasopressin or antidiuretic hormone (ADH) Oxytocin

32

33 Vasopressin / antidiuretic homone (ADH)
ควบคุมการดูดกลับน้ำของท่อหน่วยไต กระตุ้นให้หลอดเลือดแดงหดตัว

34 Oxytocin ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่มดลูกบีบตัว
แพทย์จึงใช้ฮอร์โมนนี้ช่วยในการคลอดของมารดา กระตุ้นให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ ต่อมน้ำนมให้หดตัว เพื่อขับน้ำนมออกมาเลี้ยงทารก

35 Hormones of the Pituitary Gland:
Anterior Pituitary : the Adenohypophysis  Hormone Target Function  TSH thyroid gland thyroid hormone ACTH adrenal cortex corticosteroids FSH ovary germ cell production LH ovary androgens , estrogens PRL breast lactation HGH tissues of the body growth and maintenance  Posterior Pituitary: the Neurohypophysis  Oxytocin breast, uterus lactation, uterine contraction Vasopressin kidneys water reabsorption

36

37 3. Thyroid gland ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ติดกับกล่องเสียง (larynx) มีลักษณะเป็น 2 lope มีส่วนบาง ๆ ของ parathyroid gland ติดอยู่ด้วยข้างละ 2 ต่อม

38 Thyroid gland The thyroid gland has 2 lobes connected by an isthmus (small connecting stalk) and is in the lower part of the neck just below the larynx. which affect metabolism, body heat, and bone growth. The thyroid gland produces 3 hormones : Thyroxine (T4) Triiodothyronine (T3) Calcitonin

39 Thyroid gland

40 การค้นพบของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ thyroid gland
พ.ศ.2426 E.Kocher แพทย์ชาวสวิส ตีพิมพ์ผลงานที่ได้จากการตัด thyroid gland ของคนไข้จำนวนหนึ่งออก พบว่า เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต พ.ศ.2438 Magnus Levy นำ thyroid gland ของแกะมาทำให้แห้งและบดละเอียด ให้คนปกติกิน ปรากฏว่าทำให้มี metabolism สูงขึ้น เป็นที่มาของการรักษาคนไข้ โดยการให้กิน thyroid gland ของแกะที่บดละเอียด พ.ศ.2439 C.Z.Boumann พบว่า เซลล์ใน thyroid gland มีปริมาณ I2 สูงกว่าเซลล์อื่นถึง 100 เท่า พ.ศ.2448 David Marine พบว่า โรคคอพอก เกิดจากขาดสาร I2

41 thyroid gland มีผู้สกัดสารเคมีจาก thyroid gland เรียกสารสกัดที่ได้ว่า thyroxin Thyroid follicle ทำหน้าที่ สร้างฮอร์โมน thyroxin ถ้าขาดฮอร์โมน thyroxin ในวัยเด็ก จะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและสมอง ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ ผิวหยาบแห้ง ผมบาง ปัญญาอ่อน เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า cretinism ในวัยผู้ใหญ่ มีอาการเหนื่อยง่าย น้ำหนักเพิ่ม อ่อนแอ ติดเชื้อง่าย ความจำเสื่อม เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า myxedema

42 Thyroxine (T4) & T3

43 โรคเกี่ยวกับ thyroxin
โรคคอพอก (goiter) ที่เกิดจากขาด I2 เนื่องจาก thyroid gland ไม่สามารถสร้าง thyroxin ได้ มีอาการเหมือน myxedema แต่มีคอโตด้วย (thyroxin ยับยั้งการหลั่ง TSH) โรคคอพอกเป็นพิษ (toxic goiter) เนื่องจาก thyroid gland ถูกกระตุ้นให้สร้างฮอร์โมนมากเกินไป มีอาการคอพอกไม่โตมากนัก และอาจตาโปนด้วย นอกจากนี้ ยังมีผล กับการเกิด metamorphosis ของลูกอ๊อดด้วย

44

45 goiter

46 Calcitonin Calcitonin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก thyroid gland แต่สร้างจากกลุ่มเซลล์ที่มีต้นกำเนิดจาก thyroid follicle เรียกเซลล์เหล่านี้ว่า C-cell หรือ parafollicle cell ทำหน้าที่ กระตุ้นการสะสมของแคลเซียมในกระดูก ลดการดูดกลับของแคลเซียมที่ไต ลดการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก ทำงานร่วมกับฮอร์โมนจาก parathyroid gland และ vitamin D

47 4. Parathyroid gland ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) มีความสำคัญสำหรับ mammal เท่านั้น สร้าง parathormone / parathyroid hormone (PTH) ทำหน้าที่ ควบคุมสมดุลแคลเซียมในเลือด โดยมีผลกับ กระดูก ลำไส้เล็ก ไต ทำงานได้ดีมากขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับวิตามิน D

48 Parathyroid gland parathyroid glands secretes a parathyroid hormone,
which affects calcium levels in the blood.

49

50 Calcium metabolism Most calcium in the body is in crystalline form (calcium phosphate as hydroxyapatite salts) in the teeth and bone. The level of calcium in the blood is regulated by 3 hormones : parathyroid hormone, calcitonin, vitamin D.

51

52 thyroid and parathyroids
The thyroid gland and parathyroid glands are located in front of the neck, below the larynx (voice box). The thyroid plays an important role in the body's metabolism. Both the thyroid and parathyroid glands also play a role in the regulation of the body's calcium balance.

53 5. Pancreas ตับอ่อน (pancreas) ทำหน้าที่ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ในตับอ่อนมีกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า Islet of Langerhans ประกอบด้วย β-cell สร้างฮอร์โมน insulin α-cell สร้างฮอร์โมน gIucagon

54 pancreas The pancreas is located across the back of the abdomen, behind the stomach. The pancreas plays a role in digestion, as well as hormone production. The pancreas secretes insulin and glucagon, which affect the body's absorption of glucose, the body's main source of energy.

55

56

57 การค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ : pancreas
พ.ศ.2411 Paul Langerhans พบกลุ่มเซลล์ที่แตกต่างจากเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ของ เรียกเซลล์กลุ่มนี้ว่า Islets of Langerhans พ.ศ.2432 Johann Von Mering and Oscar Minkovski ตัดตับอ่อนของสุนัขมีผลต่อการย่อยไขมัน และมีมดขึ้นปัสสาวะของสุนัขตัวนี้ ต่อมาสุนัขก็ตาย พ.ศ.2455 มีผู้ทดลองพบว่า Islets of Langerhans ผลิตสารบางอย่างมาในกระแสเลือด โดยให้ชื่อว่า insulin พ.ศ.2411 F.G.Banting and C.H.Best พบว่าเมื่อมัดท่อตับอ่อนของสุนัขแล้ว สุนัขไม่สามารถสร้างเอนไซม์ได้ แต่ Islets of Langerhans ยังคงทำงานได้อย่างปกติ และได้สกัด insulin ออกมาฉีดให้กับสุนัขที่เป็นโรคเบาหวาน สุนัขก็ยังมีชีวิตเป็นปกติ จากผลงานนี้เองทำให้ Banting ได้รับรางวัลโนเบล ในปี พ.ศ.2466

58 insulin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก β-cell ที่บริเวณส่วนกลางของ Islets of Langerhans หน้าที่ คือ ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ เมื่อในเลือดมีน้ำตาลสูง insulin จะหลั่งมากระตุ้นให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อ เปลี่ยนกลูโคสให้เป็นไกลโคเจน สะสมไว้ ถ้ากลุ่มเซลล์ที่สร้าง insulin ถูกทำลาย ทำให้เป็นโรคเบาหวานได้

59 gIucagon เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก α-cell เป็นเซลล์อีกประเภทหนึ่งของ Islets of Langerhans ทำหน้าที่ คือ เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ (ตรงข้ามกับ insulin) เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ glucagon จะไปกระตุ้นการสลายตัวของไกลโคเจนในตับและกล้ามเนื้อ ให้เป็นกลูโคส แล้วปล่อยออกมาในเลือด

60 การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

61 โรคเบาหวาน เกิดจากความผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนของ Islets of Langerhans มักมีอาการ กระหายน้ำผิดปกติ น้ำหนักตัวลด อ่อนเพลีย เมื่อยล้า มีอาการคันตามผิวหนัง ตาฟาง เป็นต้น แบบที่ 1 เกิดจาก pancreas ไม่สามารถสร้าง insulin ได้ การรักษา จึงต้องฉีด insulin ทุกวัน ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยช็อกเพราะขาดน้ำตาล แบบที่ 2 เกิดจาก pancreas สามารถสร้าง insulin ได้ปกติ แต่ตัวรับ insulin ผิดปกติ insulin จึงไม่สามารถทำงานได้ พบมากถึง 90% ของคนที่เป็นโรคนี้ การรักษา ต้องควบคุมอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจึงได้ผล มักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ตาพร่ามัว , ระบบหมุนเวียนเลือดผิดปกติ , ไตบกพร่อง เป็นต้น

62 6. Adrenal gland ต่อมหมวกไต (adrenal gland) แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
1. ต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex) สร้างฮอร์โมนได้มากกว่า 50 ชนิด กลุ่มฮอร์โมนที่สำคัญ มีดังนี้ glucocorticoids mineralocorticoids sex hormone 2. ต่อมหมวกไตชั้นใน (adrenal medulla) สร้างฮอร์โมนได้ 2 ชนิด คือ epinephrine / adrenaline norepinephrine / noradrenaline

63 Adrenal gland The pair of adrenal glands are located on top of both kidneys. Adrenal glands work hand-in-hand with the hypothalamus and pituitary gland adrenal cortex secretes hydrocortisone, which affects metabolism. Also secretes androgen hormone and aldosterone, which affect blood pressure and saline balance.

64

65 ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex) สร้างฮอร์โมนได้มากกว่า 50 ชนิด กลุ่มฮอร์โมนที่สำคัญ มีดังนี้ Glucocorticoids Mineralocorticoids sex hormone

66 Glucocorticoids ตัวอย่างฮอร์โมน คือ cortisol หน้าที่
1. ควบคุม metabolism ของคาร์โบไฮเดรต 2. ควบคุมสมดุลแร่ธาตุ การมีมากเกิดไป ทำให้เกิดโรค Cushing’s syndrome

67 Cushing’s syndrome มีความผิดปกติเกี่ยวกับ ของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากมีการสลายไขมันที่แขนขา แต่มีการสะสมไขมันที่บริเวณกลางลำตัว เช่น ใบหน้า คอ ท้อง เป็นต้น

68 mineralocorticoids ตัวอย่างฮอร์โมน คือ aldosterone
หน้าที่หลัก คือ ควบคุมสมดุลน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย ถ้าขาดอาจส่งผลได้ร่างกายสูญเสียน้ำและโซเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

69 sex hormone ฮอร์โมนเพศที่สร้างจาก adrenal cortex นี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้าต่อมนี้สร้างฮอร์โมนเพศมากเกินไป ทำให้เกิดความผิดปกติทางเพศได้ โดยเด็กจะเจริญเป็นหนุ่มสาวเร็วขึ้น ถ้า adrenal cortex ถูกทำลาย จนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ ทำให้เป็นโรค Addison’s disease

70 Addison’s disease มีอาการ ดังนี้ ซูบผอม ผิวหนังตกกระ
เสียสมดุลแร่ธาตุในร่างกาย

71 ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนใน
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนใน (adrenal medulla) สร้างฮอร์โมนได้ 2 ชนิด คือ epinephrine / adrenaline norepinephrine / noradrenaline

72 epinephrine / adrenaline
ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น กระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วขึ้น ความดันเลือดสูง ทำให้ artery ขยายตัว เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน ต่อมหมวกไตส่วนใน นี้จะกระตุ้นให้หลั่ง epinephrine มากกว่าปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น จึงมีพลังงานมากกว่าปกติ เช่น แบกโอ่งน้ำ กระโดดขึ้นต้นไม้สูง ๆ เป็นต้น

73 norepinephrine / noradrenaline
หลั่งออกมาจากปลายเซลล์ประสาทซิมพาเทติกได้ด้วย ผลของฮอร์โมนคล้ายกับ epinephrine มาก ต่างกันที่ ทำให้ artery บีบตัว

74 http://www. besthealth

75 7. Sex organs : ovaries (in females) or testis (in males)
รังไข่ (ovary) สร้างฮอร์โมนเพศได้หลายชนิด ซึ่งเป็น steroid hormone เช่น LH FSH

76 Ovaries and testis ovary
A female's ovaries are located on both sides of the uterus, below the opening of the fallopian tubes (tubes that extend from the uterus to the ovaries). In addition to containing the egg cells necessary for reproduction, the ovaries also produce estrogen and progesterone. testis A male's testes are located in a pouch that hangs suspended outside his body. The testes produce testosterone and sperm.

77

78 Testis เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่ม Leydig cell จะได้รับการกระตุ้นโดย LH จาก anterior pituitary gland ให้สร้างฮอร์โมนเพศชาย (androgens) ที่สำคัญที่สุด คือ testosterone มีหน้าที่ 1. มีความสามารถในการสืบพันธุ์ได้ 2. มีลักษณะแตกเนื้อหนุ่ม เช่น มีลูกกระเดือก มีขนตามร่างกาย ไหล่กว้าง สะโพกแคบ กล้ามเนื้อเจริญเติบโตเป็นมัด เป็นต้น

79 Ovary รังไข่ (ovary) มีแหล่งสร้างฮอร์โมน 2 แห่ง คือ
Follicle cell Corpus luteum เมื่อรังไข่ได้รับ FSH จาก pituitary gland จะมีการสร้าง follicle cell มาล้อมรอบ oocyte หลายชั้น ในระยะก่อนไข่ตก follicle cell ที่ล้อมรอบไข่จะสร้างฮอร์โมน estrogen มีหน้าที่ คือ 1. มีบทบาทในการเกิดลักษณะเพศหญิง เช่น เสียงเล็ก สะโพกผาย อวัยวะเพศและเต้านมมีขนาดโตขึ้น มีขนขึ้นตามร่างกาย เป็นต้น 2. ควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่ และเยื่อบุมดลูก

80 Ovary ถ้า estrogen มีปริมาณสูง จะกระตุ้น anterior pituitary gland ให้หลั่ง LH มากระตุ้น oocyte ระยะที่ 2 ให้หลุดอกจาก follicle เรียกว่า การตกไข่ หลังจากนั้น follicle ---- corpus luteum

81 Ovary corpus luteum สร้าง progesterone ซึ่งทำงานร่วมกับ estrogen
ช่วยกระตุ้นการเจริญของเยื่อบุชั้นในของผนังมดลูกให้หนาขึ้น เพื่อรอการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสม ช่วยกระตุ้นต่อมน้ำนม (mammary gland) ให้เติบโต แต่ไม่กระตุ้นการสร้างน้ำนม

82 Ovary Egg cell ที่ไม่ได้รับการผสมกับ sperm
corpus luteum จะเปลี่ยนแปลง และหยุดการสร้าง progesterone ทำให้เยื่อบุมดลูกสลายตัวถูกขับออกจากมดลูก เรียกว่า ประจำเดือน (menstruation) มีการเจริญเติบโตของ ชุดใหม่ โดยการควบคุมจาก FSH และ LH จาก anterior pituitary gland

83 http://faculty. southwest. tn

84 8. Placenta รก (placenta) เมื่อไข่ที่ถูกผสม ฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้ว เซลล์ของรก จะเริ่มหลั่งฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotrophin (HCG) ทำหน้าที่ กระตุ้น corpus luteum ในรังไข่ให้เจริญต่อไป และ สร้าง progesterone เพิ่มขึ้น

85 9. Thymus gland ต่อมไทมัส (thymus gland) มีลักษณะเป็นพู
อยู่ระหว่างกระดูกอก กับหลอดเลือดใหญ่ของหัวใจ มีหน้าที่สร้าง เม็ดเลือดขาว T-cell การแบ่งเซลล์ และพัฒนาการของ T-cell อาศัยฮอร์โมน thymosin ซึ่งสร้างจาก thymus gland thymosin จึงทำหน้าที่ เกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกัน

86 thymus The thymus is located in the upper part of the chest and
produces T-lymphocytes (white blood cells that fight infections and destroy abnormal cells).

87 10. Stomach and small intestine
กระเพาะอาหาร (stomach) สร้างฮอร์โมน gastrin ทำหน้าที่ กระตุ้นการหลั่งเอนไซม์และกรดไฮโดรคลอริก ลำไส้เล็ก (small intestine) สร้างฮอร์โมน secretin จากบริเวณ duodenum ทำหน้าที่ กระตุ้น pancreas ให้หลั่งเอนไซม์ และโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต และ กระตุ้นการบีบตัวของท่อน้ำดี ขณะที่อาหารจากกระเพาะอาหาร -- ลำไส้เล็ก

88 References สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 3. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : หน้า.

89 Thank you Miss Lampoei Puangmalai Major of biology
Department of science St. Louis College Chachoengsao


ดาวน์โหลด ppt Biology (40243) Miss Lampoei Puangmalai

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google