งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

จัดทำโดย อาจารย์วิษณุ สมัญญา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "จัดทำโดย อาจารย์วิษณุ สมัญญา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 จัดทำโดย อาจารย์วิษณุ สมัญญา
ระบบหายใจ (Respiratory  System) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จัดทำโดย อาจารย์วิษณุ สมัญญา

2 สาระการเรียนรู้ 1 ความสำคัญของระบบหายใจที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการ 2 วิธีดูแลรักษาระบบหายใจให้ทำงานตามปกติ

3 ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย....
สวัสดีคะเพื่อน ๆ ก่อนอื่นเราขอแนะนำตัวก่อน พร้อมรึยังค่ะ… ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย.... เราชื่อ..หนูหริ่ง วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ เรียนรู้เรื่อง ระบบหายใจ ไปพร้อม ๆ กันเลย……… Let’S go…

4 ความหมายของระบบหายใจ
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ร่างกายของเราไม่ต้องการกับก๊าชออกซิเจนที่อยู่นอกร่างกายของเรา ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นต่อเรามาก ระบบหายใจประกอบด้วยจมูก หลอดลม ปอด ถุงลม กะบังลมและซี่โครง

5 ความสำคัญของระบบหายใจ
1.  แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างปอดกับอากาศภายนอก 2.  ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย 3.  ช่วยในการรับกลิ่น เนื่องจากที่จมูกมีเซลล์และประสาทรับกลิ่นอยู่ด้วย 4.  ช่วยในการขับสารเคมีบางชนิดเมื่อเข้าสู่ร่างกาย 5.  ช่วยทำให้เกิดเสียงโดยอาศัยหลอดเสียง ซึ่งเป็นอวัยวะในระบบหายใจ

6 การหายใจระดับเซลล์ หมายถึง กระบวนการทำปฏิกิริยาในการเผาผลาญสารอาหารหรือการสลายสารอาหารเพื่อทำให้เกิดพลังงานออกมา Energy เอนไซม์ C6H12O6 + O2 CO2 + H2O +

7

8 มีเมือกเหนียว ๆ ทำหน้าที่ดักจับฝุ่น ละอองและจุลินทรีย์
ช่องจมูก (Nasal cavity) ช่วยในการกรองอากาศ มีเมือกเหนียว ๆ ทำหน้าที่ดักจับฝุ่น ละอองและจุลินทรีย์ มีขนเล็ก ๆ หรือ ซีเลีย (Cilia) อยู่บนเซลล์ที่ช่วยในการพัดพาเมือกขึ้นมาที่จมูกและคอหอย

9 คอหอยส่วนปาก เป็นทางผ่านของ อาหารและอากาศ
คอหอย (Pharynx) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากจมูกและปาก มีลักษณะคล้ายกรวย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ คอหอยส่วนจมูก เป็นทางผ่านของอากาศอย่างเดียว คอหอยส่วนปาก เป็นทางผ่านของ อาหารและอากาศ คอหอยส่วนกล่องเสียง เป็นทางผ่านของอากาศอย่างเดียว คอหอย (Pharynx)

10 เป็นแหล่งกำเนิดเสียงและเป็นทางผ่าน ของอากาศ
กล่องเสียง (Larynx) และฝาปิดกล่องเสียง (Epiglottis) ประกอบด้วยอวัยวะที่เป็นกระดูกอ่อนมีลักษณะเป็นสันนูนออกมาตรงแนวกลาง เรียกว่า ลูกกระเดือก และจะมีเส้นเสียง (Vocal cords) เป็นแหล่งกำเนิดเสียงและเป็นทางผ่าน ของอากาศ กล่องเสียง (Larynx) ฝาปิดกล่องเสียง (Epiglottis) ซึ่งทำหน้าที่เปิดปิดกล่องเสียง เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเข้าไปในกล่องเสียงและหลอดลม

11 หลอดลม (Trachea) เป็นหลอดกลมๆประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดลมแฟบได้ ง่าย และทำให้อากาศผ่านเข้าออก ได้สะดวก

12 ขั้วปอด (Bronchus) เป็นส่วนที่ต่อจากหลอดลมโดยจะแยกเป็น 2 ข้างแล้วแตกแขนงย่อยออกไปยังปอด เรียกว่า แขนงขั้วปอด ขั้วปอดข้างขวาจะลาดกว่า ดังนั้น เวลาสำลักสิ่งแปลกปลอมจะทำให้ สิ่งแปลกปลอม มีโอกาสตกลง ทางด้านขวาได้ ขั้วปอด (Bronchus)

13 ปอด (Lungs) ปอดมี 2 ข้างมีลักษณะคล้ายฟองน้ำลอยน้ำได้ ล้อมรอบด้วยเยื่อหุ้มปอด ซึ่งสร้างของเหลวลื่นๆ เพื่อช่วยป้องกันการเสียดสีระหว่างปอดกับซี่โครงในระหว่างการหายใจ ในเด็กมีสีชมพู ในผู้ใหญ่อาจจะมีสีคล้ำและมีจุดดำเป็นหย่อมที่เกิดการสะสมของฝุ่นละออง เช่น จาก ควันบุหรี่ หรือท่อไอเสียรถยนต์เป็นต้น เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ โดยนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำ ออกซิเจนเข้าสู่เลือด

14 ถุงลม (Alveolus) มีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็กนับล้าน ๆ ถุง โดยมีร่างแหเส้นเลือดฝอยล้อมรอบแต่ละถุงไว้และผนังของถุงลมมีความบางและชุ่มชื้น เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซโดย กระบวนการแพร่ โดยแพร่ จาก ความเข้มข้นมากไปหาความเข้มข้น น้อย

15 ก๊าซออกซิเจน แพร่จากถุงลมเข้าสู่เส้นเลือดฝอย ส่วนในเส้นเลือดฝอยมีคาร์บอนไดออกไซด์มากจึงแพร่ผ่านจากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม

16 กระบวนการหายใจ

17 การหายใจเข้า (Inspiration) การหายใจออก (Expiration)
- กระดูกซี่โครงเลื่อนสูงขึ้น - กะบังลมเลื่อนต่ำลง - ปริมาตรช่องอกเพิ่มขึ้น - ความดันอากาศภายในช่องอกลดต่ำลง - อากาศภายนอกผ่านเข้าสู่ปอด - กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง - กะบังลมเลื่อนสูงขึ้น - ปริมาตรช่องอกลดลง ความดันภายในช่องอกอากาศสูงเพิ่มขึ้น - อากาศภายในออกจากปอด

18 ศูนย์ควบคุมการหายใจของมนุษย์ที่สำคัญอยู่ที่สมองส่วนท้ายที่เรียกว่า Medulla oblongata
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ กล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อกระดูกซี่โครง

19 ปอดของผู้ใหญ่ จุอากาศได้ประมาณ 5-6 ลิตร
ปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าและออกปกติแต่ละครั้งโดยเฉลี่ยประมาณ 500 cm3 อีกส่วนหนึ่งประมาณ 2,500 – 3,000 cm3 จะถูกสำรองไว้สำหรับหายใจเข้าปกติ ความจุอากาศของปอด อากาศประมาณ 1,000 – 1,100 cm3 สำหรับหายใจออกที่นอกเหนือจากการหายใจปกติ ที่เหลือประมาณ 1,000 – 1,500 cm3 เป็นอากาศที่ตกค้างในปอด

20 ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการหายใจ
ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในกระแสเลือด มากจะทำให้ร่างกายตอบสนองให้มีการหายใจถี่ขึ้น ลักษณะหรือโครงสร้างของร่างกาย เช่น ความจุปอดที่แตกต่างกัน ความผิดปกติหรือสภาวะของร่างกาย การได้รับสารต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่

21

22 โรคถุงลมปอดอักเสบ หรือโรคถุงลมโป่งพอง
เป็นโรคที่เนื้อปอดถูกทำลาย ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก สาเหตุของถุงลมโป่งพอง ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ การสูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจาก การสูดดมสิ่งที่เป็นพิษ เช่น มลภาวะ ไอเสีย ฝุ่น สารเคมี เป็นระยะเวลานานๆ

23 วิธีการดูแลรักษาระบบหายใจ
1. รักษาสุขภาพให้ดี  โดยการ รับประทานอาหาร  พักผ่อน  และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 4.ปิดปากและจมูกเวลาไอ  หรือจาม 5. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ 2. แต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ  เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อป้องกันการเป็นหวัด 6. ไม่ใช้สิ่งของปนกับผู้อื่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ 3. อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์  ไม่อับชื้นแออัด โดยเฉพาะสถานที่ที่มีควันบุหรี่  7. ระวังการกระแทกอย่างแรงกับอวัยวะการหายใจ ได้แก่หน้าอก และปอด

24 แบบฝึกหัด เรื่อง ระบบย่อยอาหาร
แบบฝึกหัด เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ให้เพื่อน ๆ ดูภาพด้านซ้ายมือ แล้วตอบคำถามด้านขวามือให้ถูกต้องนะครับ

25 จุดที่ลูกศรชี้คืออะไร. เกี่ยวข้องกับระบบใดในร่างกาย
จุดที่ลูกศรชี้คืออะไร เกี่ยวข้องกับระบบใดในร่างกาย หน้าที่และความสำคัญของระบบนี้ คือ

26 ภาพนี้คืออะไร. เกี่ยวข้องกับระบบใดในร่างกาย
ภาพนี้คืออะไร เกี่ยวข้องกับระบบใดในร่างกาย หน้าที่และความสำคัญของระบบนี้ คือ

27 เฉลยคำตอบ . จุดที่ลูกศรชี้คืออะไร หลอดลม เกี่ยวข้องกับระบบใดในร่างกาย ระบบหายใจ หน้าที่และความสำคัญของระบบนี้ คือ เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดลมแฟบได้ง่าย และทำให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวก

28 เฉลยคำตอบ . ภาพนี้คืออะไร ถุงลม เกี่ยวข้องกับระบบใดในร่างกาย ระบบหายใจ หน้าที่และความสำคัญของระบบนี้ คือแลกเปลี่ยนก๊าซโดยกระบวนการแพร่ โดยแพร่ จากความเข้มข้นมากไปหาความเข้มข้นน้อย

29 ….Bye Bye…. หนูหริ่ง ว่า เพื่อน ๆ คงได้ความรู้กันพอสมควรนะค่ะ
แต่ถ้าเพื่อนอยากทดสอบความรู้ของตัวเองก็สามารถกลับไปทำแบบทดสอบได้ไหมนะค่ะลองดู!!! หนูหริ่ง ว่า เพื่อน ๆ คงได้ความรู้กันพอสมควรนะค่ะ หนูหริ่งต้องไปแล้วนะค่ะแต่ถ้าอยากเจอกันก็เข้ามาเรียนรู้ ไปพร้อมกับ หนูหริ่งได้ใหม่นะค่ะ เป็นไงกันบ้างค่ะ หลังจากที่ได้เรียนกันไปแล้ว ….Bye Bye….

30 บรรณานุกรม กฤษณ์ มงคลปัญญา และอมรา ทองปาน. (2542). ชีววิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สมพงษ์ จันทร์โพธิ์ศรี. (2537). คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ม. 2. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง จำกัด. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.กรุงเทพฯ:สกสค.ลาดพร้าว. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: สกสค.ลาดพร้าว. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2553). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: สกสค.ลาดพร้าว.


ดาวน์โหลด ppt จัดทำโดย อาจารย์วิษณุ สมัญญา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google