หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ (Searching for Information)
ผลการเรียนรู้ 1. สามารถบอกความหมายของการสืบค้นข้อมูลได้ 2. สามารถบอกประเภทของการสืบค้นข้อมูลได้ 3. สามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้
ความหมายของการสืบค้นข้อมูล การสืบค้นข้อมูล (Information Retrieval) หมายถึง กระบวนการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ คือ “การค้นหาข้อมูล” ที่ มีความหมายเน้นไปทางด้านการค้นหาข้อมูลโดยใช้เครื่องมือช่วยค้น ประเภทที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ของห้องสมุด ฐานข้อมูลออนไลน์
ประเภทของการสืบค้นข้อมูล การสืบค้นข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. การสืบค้นข้อมูลด้วยระบบมือ (Manual System) 2. การสืบค้นข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอัตโนมัติ (Automation System) นักเรียนสรุป ข้อมูลลงในสมุด
กิจกรรม ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลที่นักเรียนระบุไว้ ในใบงานที่ 4 ข้อ 2 (ทำลงในใบงานที่ 5)
นักเรียนคิดว่าข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้ามา มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และมีวิธีการตรวจสอบได้อย่างไร
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลได้ จาก 12 องค์ประกอบ 1. บอกวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลไว้ในเว็บไซต์ 2. การเสนอเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์ 3. เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรม 4. มีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล (ต่อ) 4. มีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์ 5. มีการให้ที่อยู่ (E-mail address) ที่ผู้อ่านสามารถติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ 6. มีการอ้างอิงหรือระบุแหล่งที่มาของข้อมูลของเนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์ 7. สามารถเชื่อมโยง (Link) ไปเว็บไซต์อื่นที่อ้างถึงได้ 8. มีการระบุวันเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล (ต่อ) 9. มีการระบุวันเวลาในการปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด 10. มีช่องทางให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น 11. มีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจใช้ข้อมูลที่ ปรากฏบนเว็บไซต์ 12. มีการระบุว่า เป็นเว็บไซต์ส่วนตัวหรือระบุแหล่งที่ให้การสนับสนุนในการสร้างเว็บไซต์
ลักษณะของข้อมูลที่ดี 1 ความถูกต้อง (Accuracy) 2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน (Update) 3. ความสมบูรณ์ (Complete) 4. ตรงตามความต้องการ (Relevance) 5. สามารถตรวจสอบได้ (Verifiable)
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหนังสือ/วารสาร/บทความ 1. มีการระบุชื่อผู้เขียนหนังสือ/วารสาร/บทความ หรือระบุชื่อหน่วยงาน 2. มีการอ้างอิงหรือระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในหนังสือ/วารสาร/บทความ 3. มีการระบุเวลาในการเผยแพร่ข้อมูล เช่น ปีที่พิมพ์ ฉบับที่ ฯลฯ 4. เนื้อหาไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรม
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต 1. มีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์ 2. มีการอ้างอิงหรือระบุแหล่งที่มาของข้อมูลของเนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์ 3. สามารถเชื่อมโยง (Link) ไปเว็บไซต์อื่นที่อ้างถึงได้ 4. มีการระบุวันเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ / ปรับปรุงครั้งล่าสุด 5. เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรม
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ 1. ตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล 2. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากการทดลอง 1. มีการควบคุมตัวแปร 2. มีการทดลองซ้ำกันหลายครั้ง 3. มีการบันทึกผลการทดลอง
กิจกรรม การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล (ใบงานที่ 6) กิจกรรม การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล (ใบงานที่ 6) ให้นักเรียนตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ในใบงานที่ 5 โดยใช้แบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล