การบริหารจัดการองค์การ บทที่ 1. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
การจัดองค์การ (Organizing) การจัดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ คือ ตัวบุคคล และหน้าที่การงาน เพื่อทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพสามารถบรรลุเป้าหมายได้ จะสามารถกำหนดได้จากโครงสร้างองค์การ (Organization Structure) หรือแผนภูมิขององค์การ (Organization Chart)ซึ่งเป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ของแต่ละบุคคล
องค์การ Input Process Output การรวมตัวที่ค่อนข้างถาวรของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีความสนใจร่วมกันที่ต้องการจะดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหมู่คณะ ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีการแบ่งหน้าที่กันปฏิบัติของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล Input Process Output
เครื่องมือและอุปกรณ์ แผนดำเนินงานองค์การ ปัจจัย Input กระบวนการ Process ผลผลิต Output คน การวางแผน ผลิตผล เงิน การจัดองค์การ บริการ วัสดุ การจัดบุคคล ผลกำไร เครื่องมือและอุปกรณ์ - เทคโนโลยี การอำนวยการ ความพอใจ การควบคุม
การจัดองค์การ (Organizing) ปัจจัย Input คือ ทรัพยากรเพื่อการลงทุน เช่น คน เงิน วัตถุดิบ เครื่องจักร เทคโนโลยี รวมถึงที่ดินและอาคาร
การปฏิบัติ การผลิต การทำงาน การบริหารจัดการ กระบวนการ Process การปฏิบัติ การผลิต การทำงาน การบริหารจัดการ การวางแผน การจัดองค์การ ประกอบด้วย การจัดบุคคล การอำนวยการสั่งการ การควบคุม เพื่อการดำเนินงาน
การจัดองค์การ (Organizing) ผลผลิต Output ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามกระบวนการเป็นผลการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายต่างๆ ผลิตผล เช่น การผลิตสินค้าต่างๆที่เป็นการบริการ สถานพยาบาล
การบริหารจัดการองค์การ บาร์โทลและมาติน (Bartol and Martin) ให้ความหมายของการบริหารจัดการองค์การ คือ การวางแผน (Planning) การกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ ตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติ การจัดองค์การ (Organizing) การจัดปัจจัยทรัพยากรต่างๆ บุคคลเข้าสู่โครงสร้างของการแบ่งงานตามภารกิจหน้าที่ต่างๆ
การนำหรือการสั่ง (Leading or Directing) การมอบหมายสั่งการให้บุคลากรปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามโครงสร้างงานที่กำหนด การควบคุม (Controlling) การติดตามตรวจสอบ กำกับ ดูแลและการแก้ไขให้เป็นปตามมาตรฐานคุณภาพตามเป้าหมายที่ต้องการ
การบริหารจัดการหรือเรียกว่า PAPOSDCORB การกำหนดนโยบาย (Policy) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทิศทางการผลิตและการบริการ การจัดแบ่งและใช้อำนาจหน้าที่ (Authority) เพื่อการบังคับบัญชา วินิจฉัย สั่งการ ตัดสินใจ การวางแผน (Planning) กำหนดผลที่ต้องการของการผลิตนำมากำหนดกิจกรรมและวิธีการดำเนินงาน ระยะเวลา ปัจจัยที่จะต้องใช้ ผู้รับผิดชอบ การจัดการองค์การ (Organizing) จัดกลุ่มงานตามโครงสร้างขององค์การ
การบริหารจัดการหรือเรียกว่า PAPOSDCORB การจัดบุคลากร (Staffing) เข้าหน่วยงานหรือเข้ากลุ่มงานต่างๆ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน กำหนดสายงานการบังคับบัญชาและการควบคุมงาน การพัฒนาบุคลากร การสร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังใจ การสั่งการหรือการอำนวยการ (Directing) เป็นการใช้อำนาจและอิมธิพลโดยผู้บริหารต่อผู้ปฏิบัติงานจนบรรลุผลตามเป้าหมาย การประสานงาน (Coordinating) ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งหน้าที่ต่างๆเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่ม การสื่อสารในองค์การ การระดมความคิด ความร่วมมือ ขจัดปัญหาความขัดแย้ง
การบริหารจัดการหรือเรียกว่า PAPOSDCORB การประเมินและรายงาน (Reporting) การใช้ปัจจัยการปฏิบัติงานตามแผน การปฏิบัติงานได้มาตรฐาน การนำผลการปฏิบัติและผลที่ได้รับนำมาเป็นข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงาน การจัดงบประมาณ (Budgeting) ปัจจัยทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานครอบคลุมถึงงบประมาณที่จะใช้ในการลงทุน
ประสิทธิผลขององค์การ กิบสันและคณะ (Gibson and Others) นิยามไว้ว่า ประสิทธิผลเป็นเรื่องของการกระทำหรือความพยายามจะมีประสิทธิผลสูงต่ำเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าผลที่ได้นั้น ตรง ครบถ้วน ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประสิทธิผลของบุคคล ประสิทธิผลแบ่งได้ 2 ระดับคือ ประสิทธิผลขององค์การ
ประสิทธิผลของบุคคล ลักษณะของบุคคลที่มีความสามารถปฏิบัติงานใดๆหรอืปฏิบัติกิจกรรมใดๆแล้วประสบผลสำเร็จทำให้บังเกิดผลตรงตามที่มีวัตถุประสงค์และผลที่เกิดขึ้นมีลักษณะคุณภาพ เช่น ความถูกต้อง ความมีคุณค่า ความเหมาะสมดีงาม
ประสิทธิผลขององค์การ การผลิต (Production) การดำเนินการผลิตให้ได้ผลผลิตทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ตรงกับความต้องการขององค์การ ประสิทธฺภาพ (Efficiency) ถ้าอัตราส่วนระหว่างปัจจัยทรัพยากร (Input) ที่ใช้กับผลผลิต (Output) มีความเหมาะสมในลักษณะที่ใช้ปัจจัยทรัพยากรได้คุ้มค่า ความพึงพอใจ (Satisfaction) ถ้าการดำเนินงานขององค์การนำมาซึ่งความสำเร็จสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของสมาชิกในองค์การ
ประสิทธิผลขององค์การ การปรับเปลี่ยน (Adaptiveness) องค์การมีกลไกที่สามารถปับเปลี่ยนการดำเนินงานได้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ การพัฒนา (Development) องค์การสามารถเพิ่มพูนศักยภาพขององค์การให้เจริญก้าวหน้าตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
ประสิทธิภาพ กิบสันและคณะ (Gibson and Others) ของประสิทธิภาพคืออัตราส่วนของผลผลิตต่แชอปัจจัย เช่น อัตราการได้ผลตอบแทน ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิต อัตราการสูญเปล่าสิ้นเปลืองการใช้ทรัพยากร อัตราส่วนของผลกำไรต่อค่าใช้จ่ายในการลงทุน
องค์ประกอบที่นำไปสู่ประสิทธิภาพขององค์การ สมิธ (Smith) ให้กรอบแนวคิดขององค์ประกอบการดำเนินงานองค์การที่นำไปสู่ความมีประสิทธิภาพของการผลิต ปัจจัย -ปัจจัยมนุษย์ -ปัจจัยนอกจากมนุษย์ กระบวนการ -การจัดองค์การ -การตัดสินใจและระบบข้อมูล -การวางแผนและควบคุม ผลผลิต องค์ประกอบองค์การที่นำไปสู่ผล
องค์ประกอบของการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน สิ่งแวดล้อมนอกองค์การ สิ่งแวดล้อมในองค์การ ,วัฒนธรรมองค์การ ผลผลิต -ผลิตผล -บริการ -ความพึงพอใจ ปัจจัย -ทุน -อาคาร -อุปกรณ์ -เทคโนโลยี -บุคลากร กระบวนการ -การบริหารจัดการ
สิ่งแวดล้อมนอกองค์การ ได้แก่ ตลาดความต้องการของลูกค้า สภาพเศรษฐกิจของสังคม ภาวะเงินเฟ้อ สภาพคล่องทางการเงินการธนาคาร กำลังการซื้อของลูกค้า ความสะดวกในการบริการ เทคโนโลยี
สิ่งแวดล้อมในองค์การ คือ นโยบาย วิสัยทัศน์ละปรัชญาขององค์การที่จะกำหนดทิศทางของการดำเนินงานขององค์การวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยขององค์การ คือ สภาพความพร้อมขององค์การในด้านที่ดิน อาคารสถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ เงินทุน เทคโนโลยีและศักยภาพของบุคลากร องค์ประกอบด้านตัวบุคคล ปรัชญาและอุดมการณ์ บุคลิกภาพ ความต้องการ ค่านิยม การมีเป้าหมาย ความเชื่อมั่นตนเอง ความสามารถในการพิชิตอุปสรรค
สรุป การมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ในการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ การเพิ่มความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้า ความพึงพอใจในผลผลิตขององค์การ สิ่งแวแดล้อมขององค์การ วัฒนธรรมขององค์การ การสร้างจูงใจ การปรับปรุงบุคลิกภาพ การพัฒนาค่านิยม ความเชื่อมั่นในตนเอง