งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมายของการจัดการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมายของการจัดการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 MGT 228 การจัดการสมัยใหม่ ( MANAGEMENT) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการ

2 ความหมายของการจัดการ
คือ กระบวนการในการประสานงานงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiently) และประสิทธิผล ( Effectively)

3 ความแตกต่างของ Efficiently และ Effectively
ประสิทธิภาพ Efficiently : วัดจากความสามารถของการทรัพยากรที่ใช้ ( input ) กับผลผลิต ( output ) ที่ได้ถ้าผลผลิตมาโดยใช้ทรัพยากรน้อย หรือประหยัดที่สุดก็ถือว่ามีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล Effectively : วัดจากความสามารถในการบรรลุเป้าหมายขององค์การซึ่งมักเป็นในระยะยาว ถ้าองค์การสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ได้ในระยะยาวก็ถือว่ามีประสิทธิผลบางครั้งการปฏิบัติงานอาจมีประสิทธิภาพแต่ไม่ประสิทธิผลก็เป็นได้

4 วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
Output Increased But Same Input O I Output Increased But Input Decreased Same Output But Input Decreased Output & Input Increased But Increasing Ratio of Input is Lower than Output Same Output & Input But Output Value Added O(OVA)

5 องค์ประกอบของหน้าที่การจัดการ
1. แบ่งเป็น 3 ประการ ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินการ การควบคุม 2. แบ่งเป็น 4 ประการ ประกอบด้วย การจัดองค์การ การอำนวยการ

6 3. แบ่งเป็น 5 ประการ ประกอบด้วย
การวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคคล การอำนวยการ การควบคุม

7 4. แบ่งออกเป็น 7 ประการ ( POSDCORB )
การวางแผน : planning การจัดองค์การ : organizing การจัดบุคคล : staffing การอำนวยการ : directing การประสานงาน: co-ordinating การรายงาน: reporting การงบประมาณ : budgeting

8 หน้าที่การจัดการ ( Management Functions )
หน้าที่ทางการจัดการสามารถแบ่งได้หลายหน้าที่ซึ่งในที่นี้ จะหน้าทางการจัดการออกเป็น 5 ประการ ประกอบด้วย 1. การวางแผน (Planning) 2. การจัดองค์การ (Organizing) 3. การจัดบุคคลเข้าทำงาน (Staffing) 4. การชักนำ (Leading) 5. การควบคุม (Controlling)

9 หน้าที่การจัดการ ( Management Functions )
1. การวางแผน ( Planning ) : เป็นหน้าที่แรกที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทาง(Direction) ภารกิจ( Mission) เป้าหมาย (Goals) และวัตถุประสงค์ขององค์การ ตลอดจนกรอบความคิด แนวทางวิธีการปฏิบัติ (Procedure) 2. การจัดองค์การ (Organizing) : คือการจัดทำโครงสร้างองค์การ (Organization Structure ) และกำหนดระบบงาน (Work System) บทบาท (Role) อำนาจหน้าที่ (Authority) ความรับผิดชอบ (Responsibility) และหน้าที่( Duty) ของบุคลากร

10 3. การจัดบุคคลเข้าทำงาน ( Staffing) : คือการจัดบุคคลให้เหมาะสมกับงานทั้งในด้านคุณภาพ และปริมาณงาน “ Put the right man on the right job “ 4. การนำ (Leading ) : คือความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ และผู้ตาม ในการชี้เป้าหมาย โดยการชักจูง กระตุ้น เปลี่ยนแปลงผู้ตามหรือให้ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถด้วยความเต็มใจ 5. การควบคุม ( Controlling ) : คือกระบวนการในการกำหนดขั้นตอนการติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และแก้ไข ให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมจริง

11 การจัดการ (Management)
Planning Organizing Staffing Leading Control เป้าหมาย กลยุทธ์ แผนย่อย How? Who? สรรหา พัฒนา สั่งการ จูงใจ แก้ปัญหา ตรวจสอบแผน GOALS

12 ความสำคัญของการจัดการ
1. การจัดการเป็นขององค์การ กล่าวคือองค์การจะประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำเป็นจะต้องมีระบบการจัดการที่ดี 2. การจัดการเป็นเทคนิควิธีการที่ทำให้สมาชิกภายในองค์การเกิดจิตสำนึกร่วมกันในการปฏิบัติงาน 3. การจัดการเป็นการกำหนดขอบเขตในการทำงานของสมาชิกในองค์การไม่ให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อน 4. การจัดการเป็นการแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานให้องค์การเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด

13 ความแตกต่างระหว่างการจัดการและการบริหาร(Management and Administration)
Management : การจัดการหมายถึงกระบวนการในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) และประสิทธิผล ( Effective) โดยการสั่งการและการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น Administration : การบริหาร หมายถึง การกำหนดแนวทาง นโยบาย การสั่งการ การอำนวยการ การสนับสนุน การตรวจสอบ ให้สามารถดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมาย โดยอาศัยคนอื่นเป็นผู้ทำ

14 ความแตกต่างระหว่างการจัดการและการบริหาร(Management and Administration)
กำหนดนโยบาย ดำเนินการตามนโยบาย

15 ระดับของการจัดการ Level of Management
ในการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์การ ระดับของอำนาจในการควบคุม และสั่งงานย่อมมีความแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งได้ 3 ระดับคือ Top Management Middle Management First – Line Management Non managerial Employees

16 Top Management การจัดการในระดับสูง Top Management งานที่ต้องทำ
พิจารณาและทบทวนแผนระยะยาว ประเมินผลการปฎิบัติงานของแผนงานหลักต่างๆ ประเมินเจ้าหน้าที่ชั้นบริหารและเตรียมการคัดเลือกนักบริหารตำแหน่งสำคัญ ปรึกษาหารือกับผู้บริหารระดับรองลงไปในเรื่องราวและปัญหาสำคัญต่างๆ

17 Middle Management การจัดการในระดับกลาง Middle Management งานที่ต้องทำ
จัดทำแผนระยะปานกลางโดยยึดถือตามแผนระยะยาวของฝ่ายบริหารระดับสูง ประเมินผลงานบริหารเพื่อพิจารณาความสามารถของหัวหน้างานและเตรียมการให้การเลื่อนขั้น วางนโยบายของฝ่าย-ติดตามผลการปฎิบัติงานของงานด้านการผลิต

18 First – Line Management
จัดทำรายละเอียดแผนปฎิบัติงานสำหรับระยะสั้นโดยยึดถือตามแผนระยะปานกลางของผู้บริหารระดับกลาง ติดตามผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหรือหัวหน้างาน พิจารณามอบหมายงานให้กับพนักงาน ติดต่อกับพนักงานผู้ปฏิบัติโดยใกล้ชิด

19 หน้าที่การจัดการในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน
TOP : PLAN + ORGANIZE + CONTROL MIDDLE : PLAN + ORGANIZE + STAFF FIRST LINE : LEADING

20

21 ทักษะทางการจัดการ (Managerial Skills)
หมายถึง ความสามารถที่แสดงพฤติกรรมหรือปฎิบัติงานอย่างถูกต้อง โดยที่ผู้บริหารไม่ว่าอยู่ในระดับใดต้องมีทักษะทางการจัดการที่สำคัญ 3 ประการดังนี้ 1. ทักษะทางด้านเทคนิค(Technical Skill ) : ความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการและขั้นตอนการปฎิบัติให้งานสำเร็จตามที่ต้องการ 2. ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ( Human Relations Skill ): ความสามารถในการปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น 3. ทักษะด้านความคิด( Conceptual Skill ) : ความสามารถในการมองภาพรวม และวิเคราะห์แนวทางในการแก้ปัญหา

22 ทักษะและระดับการจัดการ


ดาวน์โหลด ppt ความหมายของการจัดการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google