เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สรุปกลุ่ม 5 ทิศทางการพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขันในระดับสากลของไทย
Advertisements

จุดเน้น สพฐ. ปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก
Chapter 7: Point Estimation
รศ.ดร. ชวินทร์ ลีนะบรรจง
สิ่งฟุ่มเฟือย การบริโภค สิ่งจำเป็น.
บทที่ 1 Signal Space and Gram-Schmidt Orthogonalization Procedure.
Sustainable Healthcare & Health Promotion
ระบบเครือข่ายห้องปฏิบัติการแห่งชาติ
ระบบการส่งเสริมสหกรณ์ (Cooperative Promotion System)
จัดทำโดย ด.ญ.ดวงเดือน รักนุ้ย ชั้น ป.4/2 เลขที่31
โครงงานการออมเพื่อคอมพิวเตอร์
บทเรียนช่วยสอน วิชา เศรษฐศาสตร์ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ จัดทำโดย ครูธณัชพงษ์ ศักดิ์ชัชวาล มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระสังคมศึกษา โรงเรียนอุดมดรุณี อ.เมือง.
เศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy.
สหเวชศาสตร์(กายภาพบำบัด)
THEORIES of POLITICAL ECONOMY And POLITICAL ECONOMY of DEVELOPMENT ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.
รหัส หนังสือหมวดวิชาชีพพื้นฐาน หลักเศรษฐศาสตร์
เศรษฐกิจพอเพียง โดย ด.ช.พีรดนย์ ศรีสอน.
ในแผนกการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ปีการศึกษา 2555
ดร. สมบัติ สุวรรณพิทักษ์ กระทรวงศึกษาธิการ
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๕ ( เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท ) ปี การศึกษา ๒๕๕๙ ดร. กัมพล ไชยนันท์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์
ระบบการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ ปี 2558 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการผลิตโดยเกษตรกร และ / หรือองค์กรเกษตรกรในพื้นที่และกิจกรรม.
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
แม่แบบที่ดีของการบริการ
ประเด็น สิ่งที่ชื่นชม แนวทางการพัฒนา
นักวิชาการเงินและบัญชี ชำนาญการ
การควบคุมและกำกับดูแล
แนวความคิดและนโยบายในการพัฒนาประเทศ concept and policy of development
Market System Promotion & Development Devision
Road to the Future - Future is Now
การเตรียมความพร้อมของSMEsไทยสู่...
ความรู้เกี่ยวกับการ นำเข้าและส่งออก
สถานการณ์การผลิตและการตลาด พืชตระกูลถั่ว
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
Chapter I Introduction to Law and Environment
ทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์ และสิ่งแวดล้อม เหมือนและต่างกันอย่างไร
การดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
Techniques of Environmental Law
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy
คู่มือวิชาโดยสังเขป ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์
ประเด็นภารกิจไตรมาส 2-4 ปี 61 ที่มอบจังหวัดในเขตตรวจฯฯ
ระบบเศรษฐกิจ.
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
การเปลี่ยนแปลงบริษัทและควบรวมกิจการ
แนวทางการจัดทำรายงาน
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
แนวทางการบริหารงานเพื่อสอดรับ กับการปรับระบบบริหารงานบุคคล
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ กองทุนแม่ของแผ่นดิน
แผนขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2561
รายงานการประเมินตนเอง
การตรวจสอบภายในภาครัฐ
กระบวนการเรียกร้องสิทธิและการดำเนินคดีผู้บริโภค
บทที่ 7: นโยบายของรัฐและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาการเกษตร
กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 25๖๑
แนวคิด การจัดทำยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาค โดย ว่าที่ ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์
การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ภายใต้ความมั่นคงและมั่งคั่ง
การวิเคราะห์ข้อมูล เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
กองคลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี
การขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ปี 2561
Review - Techniques of Environmental Law
พืชเกษตรอย่างครบวงจรในระดับพื้นที่
ปัญหา อุปสรรคและแนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เชิงกลยุทธ์
ปรัชญา ของ เศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy
การเขียนย่อหน้า.
งาน Trade Association’s President Club (TAP)
เศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy.
อ.พรพนา ปัญญาสุข วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ผู้วิจัย
Chapter I Introduction to Law and Environment
4. เกณฑ์การให้คะแนนการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต หน้าแรก เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต จัดทำโดย สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพังงา

(Sufficiency economy) เศรษฐกิจพึ่งตนเอง (Self-sufficiency economy) ความสุดโต่งและทางสายกลางของระบบเศรษฐกิจ กระแสหลัก กระแสรอง/ทางเลือก เศรษฐกิจสังคมนิยม (Socialism economy) เศรษฐกิจทุนนิยม (Capitalism economy) เข้าใจ ธรรมชาติมนุษย์ ยอมรับ ข้อจำกัด เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency economy) โลกาภิวัตน์ ชี้โทษ ให้เห็นทุกข์ ชี้จุดอ่อน ให้แก้ไข เศรษฐกิจการค้า (Trade economy) เศรษฐกิจพึ่งตนเอง (Self-sufficiency economy) ไม่มีขอบเขตประเทศ ทั้งบนโลกในอวกาศ (ใช้ space ในอวกาศเป็นสินทรัพย์ พึ่งตนเอง 100 % - ปิดประเทศ

แนวพระราชดำริ “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตลดา พระราชวังดุสิต วันพุธที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๗

“...ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในหลายประเทศเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ การทุ่มเทสร้างเครื่องจักรกลอันก้าวหน้า และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นใช้ในการผลิต ทำให้ผลผลิตทางอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นรวดเร็วและมากมาย จนอาจถึงขั้นฟุ่มเฟือย พร้อมกันนั้นก็ทำให้คนว่างงานลงเพราะถูกเครื่องจักรกลแย่งไปทำ เป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากตกต่ำทางเศรษฐกิจขึ้น เพราะคนที่ว่างงานยากจนลงและผู้ผลิตก็ขาดทุนเพราะสินค้าขายไม่ออกจึงน่าจะต้องดัดแปลงแนวคิดแนวปฏิบัติในการส่งเสริมความเจริญด้านอุตสาหกรรมไปบ้างให้สมดุลกับด้านอื่นๆ เพื่อความอยู่รอด...” พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘

“...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง... ...ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้ มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่างก็มาบอกว่าล้าสมัย จริงอาจจะล้าสมัยคนอื่นเขาต้องมีเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่า เศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าผลิตให้พอเพียงได้... ...ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไป ทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมด แม้แค่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถอยู่ได้ การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่ายๆ โดยมากคน ก็ใจร้อน เพราะเดือดร้อน แต่ว่าถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้...” พระราชดำรัส พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

“...คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่งมีความหมายกว้างออกไปอีกไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง...” “...พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ...” “...Self-sufficient นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรที่มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง...” “...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ-มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...” พระราชดำรัส พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

“...เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเขาตีความว่าเป็นเศรษฐกิจชุมชน หมายความว่า ให้พอเพียงในหมู่บ้าน หรือในท้องถิ่นให้สามารถที่จะมีพอกิน เริ่มด้วย พอมี พอกิน พอมีพอกินนี้ได้พูดมาหลาย ๑๐ กว่าปีมาแล้วให้พอมีพอกิน แต่ว่าพอมีพอกินนี้ เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ เมื่อปีที่แล้วบอกว่าถ้าพอมีพอกิน คือ พอมีพอกินของตัวเองนั้น ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน แต่ว่าค่อยๆ พัฒนาขึ้นมา...” พระราชดำรัส พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ “...เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีก แปลเป็นภาอังกฤษว่า Sufficiency Economy ภาษาไทยก็ ต่อว่า ว่าไม่มี Sufficiency Economy แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้ ก็หมายความว่า ประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ่มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแล้วทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นสิ่งปฏิบัติยากที่สุด...” พระราชดำรัส พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓

"... ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือ ทำจากรายได้ 200 – 300 บาท ขึ้นไป เป็น 2 หมื่น 3 หมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำเป็น Self – Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิด คือ เป็น Self – Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดู TV ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อ TV ดู เขาต้องการดูเพื่อสนุกสนานในหมู่บ้านไกล ๆ ที่ฉันไป เขามี TV เขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัด Suit และยังใส่ Necktie Versace อันนี้ก็เกินไป...“ พระราชดำรัส พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ ตำหนักเปี่ยมสุข เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔

แนวพระราชดำริ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานไว้นั้นกระชับและชัดเจนยิ่ง นอกจากนี้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้สรุปความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ดังนี้ “เศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self – Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว”

คำนิยามเศรษฐกิจพอเพียง “ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน”

ความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - กรอบแนวคิด : แนวทางที่ควรจะเป็น มองโลกเชิงพลวัตร มุ่งเน้นความยั่งยืน - คุณลักษณะ : ใช้ได้ทุกระดับมีแนวคิดทางสายกลาง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย “๓ องค์ประกอบ ๒ เงื่อนไข” - ๓ องค์ประกอบ : ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว - ๒ เงื่อนไขกำกับ : ความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และคุณธรรม ( จิตใจ / ปฏิบัติ )

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self – Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน โดยต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือ ตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ ไม่ใช่มุ่งหวังแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเองย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้า และฐานะทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นไปตามลำดับต่อไปได้

หลักการพึ่งพาตนเอง 1. ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเอง มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี ดังกระแสพระราชดำรัส เกี่ยวกับการพัฒนาคนความว่า “...บุคคลต้องมีรากฐานทางจิตใจที่ดี คือ ความหนักแน่นมั่นคงในสุจริตธรรมและความมุ่งมั่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้จนสำเร็จ ทั้งต้องมีกุศโลบายหรือวิธีการอันแยบยลในการปฏิบัติงานประกอบพร้อมด้วยจึงจะสัมฤทธิผลที่แน่นอน และบังเกิดประโยชน์อันยั่งยืนแก่ตนเองและแผ่นดิน...”

2. ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรงเป็นอิสระดังกระแสพระราชดำรัส ความว่า “...เพื่อให้งานรุดหน้าไปพร้อมเพรียงกัน ไม่ลดหลั่น จึงขอให้ทุกคนพยายามที่จะทำงานในหน้าที่อย่างเต็มที่ และให้มีการประชาสัมพันธ์กันให้ดี เพื่อให้งานทั้งหมดเป็นงานที่เกื้อหนุนสนับสนุนกัน...”

3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างชาญฉลาดพร้อมทั้งการเพิ่มมูลค่าโดยให้ยึดหลักการของความยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังกระแสพระราชดำรัส ความว่า “...ถ้ารักษาสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมนึกว่าอยู่ได้อีกหลายร้อยปี ถึงเวลานั้นลูกหลานของเราอาจหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป เป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา แต่เราก็ทำได้ ได้รักษาสิ่งแวดล้อมไว้ให้พอสมควร...”

4. ด้านเทคโนโลยี จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่มีทั้งดีและไม่ดี จึงต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านและเลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการของสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ สังคมไทย ดังกระแสพระราชดำรัส ความว่า “...การเสริมสร้างสิ่งที่ชาวบ้านชาวชนบทขาดแคลนและต้องการ คือความรู้ในด้านเกษตรกรรม โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นสิ่งเหมาะสม...” “...การใช้เทคโนโลยีอย่างใหญ่โตเต็มรูปหรือเต็มขนาดในงานอาชีพหลักของประเทศย่อมจะมีปัญหา...”

5. ด้านเศรษฐกิจ แต่เดิมนักพัฒนามักมุ่งที่การเพิ่มรายได้ และไม่มีการมุ่งที่จะลดรายจ่าย ในเวลาเช่นนี้จะต้องปรับทิศทางใหม่ ดังกระแสพระราชดำรัส ความว่า “...การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้ เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตนเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้าที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่งและขั้นต่อไปก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตนเอง...” “...หากพวกเราร่วมมือร่วมใจกัน ทำสักเศษหนึ่งส่วนสี่ ประเทศชาติของเราก็สามารถรอดพ้นจากวิกฤติได้...”

เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงสำหรับเกษตรกรตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีใหม่ 3 ขั้น คือ ขั้นที่หนึ่ง มีความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย ขั้นที่สอง รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการรวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม ขั้นที่สาม สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคราชการในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการ และข่าวสารข้อมูล

แนวคิดของระบบเศรษฐกิจแบบพออยู่พอกินกับการแก้ไขวิกฤติทางเศรษฐกิจและปัญหาทางสังคมของไทย ประการแรก เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือหลักการที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ประการที่สอง เศรษฐกิจแบบพอเพียงให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ประการที่สาม เศรษฐกิจแบบพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน

เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้ที่อยู่นอกภาคการเกษตร การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงหลักการ 3 อย่าง คือ 1. ความพอประมาณ 2. ความมีเหตุผล 3. การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว โดยมีความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรมเป็นเงื่อนไขสำคัญในทางปฏิบัติ โดยความพอประมาณ หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) นำสู่ ชีวิต / เศรษฐกิจ / สังคม สมดุล / มั่นคง / ยั่งยืน

“ความพอประมาณ” = ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ( ทั้งทางด้านเศรฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ และ ด้านเทคโนโลยี )

“ความมีเหตุผล” = การตัดสินใจเกี่ยวกับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพัฒนาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

“การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว” = การเตรียมตัว ให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วย ความ รอบรู้ เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความ รอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวัง ในขั้นปฏิบัติ

เงื่อนไข คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง 1. ยึดความประหยัด ดังกระแสพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า “...ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง...” 2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต ดังกระแสพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า “...ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นหลักสำคัญ...” 3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกัน ดังกระแสพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า “...ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำไม่ใช่ ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น...”

4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ดังกระแสพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า “...การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้ เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตนเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไปก็คือ ให้มีเกียรติว่า ยืนได้ด้วยตัวเอง...” 5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งที่ชั่วให้หมดสิ้นไป ดังกระแสพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า “...พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น...”

สวัสดี