งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กระบวนการเรียกร้องสิทธิและการดำเนินคดีผู้บริโภค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กระบวนการเรียกร้องสิทธิและการดำเนินคดีผู้บริโภค"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กระบวนการเรียกร้องสิทธิและการดำเนินคดีผู้บริโภค

2 ช่องทางการเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภค
ร้องเรียนที่สคบ. หรือหน่วยงานอื่นที่ เช่น อย. ,กรมการค้าภายใน เจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อหาข้อยุติ เจรจาไม่สำเร็จ ผู้บริโภคจะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ผู้บริโภค/ผู้มีอำนาจฟ้องแทนผู้บริโภค ฟ้องคดีต่อศาล 1. คดีแพ่ง: ผู้บริโภค v. ผู้ประกอบธุรกิจ 2. คดีแพ่งตามพ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย = คดีผู้บริโภค ภายใต้พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 คดีอื่นๆ ภายใต้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

3 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
เจตนารมณ์ - เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย ให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขึ้น สะดวก มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม - เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดีขึ้น

4 วันบังคับใช้กฎหมาย * หนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป * ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ บังคับใช้วันที่ 23 สิงหาคม 2551 มาตรา 66 “บรรดาคดีผู้บริโภคซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ศาลนั้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุด”

5 หลักการของกฎหมาย สะดวก การยื่นคำฟ้องหรือคำให้การคู่ความอาจกระทำด้วยวาจาผ่าน "เจ้าพนักงานคดี" ก็ได้ ประหยัด ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม พิสูจน์ง่าย กำหนดหน้าที่หรือภาระการพิสูจน์ให้เป็นธรรม ผู้ใดเป็นผู้รู้เห็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ผู้นั้นต้องเป็นผู้พิสูจน์ รวดเร็ว หลังรับฟ้องแล้ว ศาลต้องนัดพิจารณาโดยเร็วที่สุด ไกล่เกลี่ย กำหนดวิธีการไกล่เกลี่ยและประนีประนอมในชั้นศาล ภาระการพิสูจน์ตกอยู่ที่ผู้ประกอบธุรกิจถ้า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผลิต การประกอบ การออกแบบ ส่วนผสม การให้บริการ หรือการดำเนินการใดๆ ที่อยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของคู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ

6 คดีอย่างไร เป็นคดีผู้บริโภค
คดีอย่างไร เป็นคดีผู้บริโภค มาตรา 3 1. คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภค (หรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค) กับ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งพิพาทกันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ 2. คดีแพ่งตามพ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดีข้างต้น 4. คดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้

7 องค์ประกอบของคดีผู้บริโภค
1.1 ต้องเป็นคดีแพ่งระหว่าง ผู้บริโภค/ ผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค กับ ผู้ประกอบธุรกิจ

8 ผู้บริโภค = ผู้บริโภคตามพ. ร. บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ. ศ
ผู้บริโภค = ผู้บริโภคตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ ผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ผู้บริโภคตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 (ก) ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจที่เสียค่าตอบแทน (ข) ผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้ เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม (ค) ผู้ที่ได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับ บริการ นิติบุคคลก็เป็นผู้บริโภคได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่ซื้อสินค้าหรือบริการมาเพื่อใช้จริง มิใช่ใช้เพื่อ การประกอบธุรกิจเพื่อขายต่อซึ่งสินค้าหรือบริการนั้น เช่น บริษัทซื้อรถตู้มาใช้รับส่งพนักงาน ถือว่าเป็นผู้บริโภค

9 ผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
หมายถึง ผู้ได้รับความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคมและมูลนิธิซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การ รับรอง

10 ผู้ประกอบธุรกิจ = ผู้ประกอบธุรกิจตามพ. ร. บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ. ศ
ผู้ประกอบธุรกิจ = ผู้ประกอบธุรกิจตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ ผู้ประกอบการตามพ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่ เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 นาย ก นำเข้าเครื่องหนังจากบริษัทต่างประเทศ เพื่อขายปลีกให้กับลูกค้าใน ประเทศไทย -ระหว่างนาย ก กับบริษัทต่างประเทศ เป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่??? -ระหว่างนาย ก กับลูกค้าในประเทศ เป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่??? -บุคคลธรรมดาเป็นผู้ประกอบธุรกิจได้หรือไม่???

11 ข้อสังเกต ผู้ให้บริการก็เป็นผู้ประกอบการ เช่น บริการสินเชื่อแก่ สมาชิก โดยออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิก โดยมีการ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นการตอบแทน คดีพิพาทระหว่างผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลกับผู้ได้รับความ เสียหายจากการรักษาพยาบาลโดยผู้เสียหายไม่ได้ชำระค่า รักษาพยาบาลเอง เพราะประกันสังคมหรือบริษัทประกันชีวิตเป็นผู้ ชำระค่ารักษา โรงพยาบาลเป็นผู้ให้บริการหรือไม่ คดีลักษณะนี้เป็นคดี ผู้บริโภคหรือไม่???

12 1.2 พิพาทกันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ

13 คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ที่ 365/2552 ได้ พิเคราะห์จากข้อเท็จจริง ของคู่ความแล้ว เห็นว่า บริษัทห้างสรรพสินค้า ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า ส่วนบริษัทรักษาความปลอดภัย เป็นผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณลานจอด รถในบริษัทห้างสรรพสินค้า ซึ่งสถานที่จอดรถดังกล่าว ทั้งสองบริษัทจัดไว้เพื่อ อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าที่มาซื้อสินค้า โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการหรือ ค่าตอบแทน ทั้งสองบริษัทจึงไม่อยู่ในฐานะผู้ให้บริการที่จอดรถหรือผู้ประกอบ ธุรกิจใน เรื่องดังกล่าว และผู้เสียหายประสงค์จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนราคา รถที่หายไป จึงมิใช่ข้อพิพาทที่สืบเนื่องจากการบริโภคสินค้า ไม่เป็นคดีผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 3 (1) วินิจฉัย ณ วันที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ.2552

14

15

16

17 นายเอเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัทไฟแนนซ์ ต่อมานายเอผิดนัดชำระ ค่างวด บริษัทไฟแนนซ์จึงฟ้องนายเอ
หากต่อมา นายเอชำระราคาค่าเช่าซื้อครบแล้วแต่บริษัทไฟแนนซ์ไม่ ยอมโอนทะเบียนรถยนต์ให้ นายเอไม่พอใจจึงนำเรื่องไปร้องเรียนนักข่าวจนเป็นข่าวใหญ่โต บริษัทไฟแนนซ์จึงฟ้องนายเอว่ากล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายทำให้ บริษัทเสียชื่อเสียงเป็นการหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 1ล้านบาท

18 แองจี้สมัครบัตรเครดิต และนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าแล้วไม่ชำระหนี้ สถาบัน การเงินจึงฟ้องแองจี้ให้ชำระหนี้ เจเน็ตไปพักที่โรงแรม แล้วมีคนร้ายแอบเข้ามาช่วงแม่บ้านทำความสะอาด ห้องพักแล้วลักทรัพย์สินของเจเน็ตไปจนสิ้น เจเน็ตจึงฟ้องเจ้าของโรงแรม อารยาสั่งซื้อเครื่องสำอางจากตัวแทนขายตรง เมื่อใช้ไปแล้วปรากฏว่ามีอาการ แพ้ จึงส่งสินค้าคืนตัวแทนขายตรงเพราะผู้ขายบอกว่า ไม่พอใจยินดีคืนเงิน อย่างไรก็ตามตัวแทนขายตรงไม่ยอมคืนเงินให้ อารยาจึงฟ้องตัวแทนขายตรงให้ คืนเงิน ป้าแอ๋วตั้งร้านขายของชำมากว่า 10 ปี ต่อมามีร้านค้า Modern Trade ขนาด ใหญ่มาเปิดในบริเวณใกล้เคียงและจัดโปรโมชั่น ลดราคาสินค้าถูกกว่าร้านป้า แอ๋ว เป็นเหตุให้รายได้ของป้าแอ๋วลดลงไปมากจึงต้องการฟ้องร้านค้า Modern Trade

19 ผู้รักษาการตามกฎหมาย (ม.6)
หรือ มาตรา 3(2) ต้องเป็นคดีแพ่ง ต้องเป็นคดีพิพาทตาม พ.ร.บ. ความรับผิดต่อความ เสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ประธานศาลฎีกา ผู้รักษาการตามกฎหมาย (ม.6) ประธาน ศาลอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีใด เป็นคดีผู้บริโภค (ม.8)

20 การฟ้องคดีผู้บริโภค 1. ฟ้องคดีที่ศาลใด 2. การยื่นคำฟ้อง 3. ค่าฤชาธรรมเนียมในการขึ้นศาล 4. บทกำหนดโทษแก่ผู้บริโภคที่ใช้สิทธิไม่สุจริต 5. กระบวนการพิจารณาคดีผู้บริโภค

21 1. ฟ้องคดีที่ศาลใด มาตรา 17 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องผู้บริโภคเป็นคดีผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลอื่นได้ด้วย ให้ผู้ประกอบธุรกิจเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้เพียงแห่งเดียว ถ้าเป็นคดีแพ่งทั่วไป โจทก์จะต้องยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น เช่นที่ที่มีการทำสัญญากัน

22 เช่น แดงมีภูมิลำเนาอยู่ชลบุรี แต่ไปทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัทเหลืองที่สำนักงานบริษัทเหลืองที่จังหวัดยะลา ต่อมาแดงผิดสัญญาเช่าซื้อ บริษัทเหลืองต้องการฟ้องแดงให้ส่งมอบรถยนต์คืนและชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง บริษัทเหลืองจะต้องยื่นฟ้องที่ศาลใด ก่อนพ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคมีผลบังคับใช้ คดีนี้เป็นคดีแพ่งปกติ บริษัทเหลืองสามารถเลือกฟ้องแดงได้ที่ศาลจังหวัดยะลาซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิด หรือศาลจังหวัดชลบุรีที่เป็นภูมิลำเนาของจำเลย แต่ปัจจุบัน คดีนี้เป็นคดีผู้บริโภค มาตรา 17 กำหนดให้บริษัทเหลืองต้องยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดชลบุรีเท่านั้น เพื่อความสะดวกของผู้บริโภค

23 2. การยื่นคำฟ้อง หลักการ โจทก์สามารถยื่นคำฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ (มาตรา 20) (2.1) คำฟ้องด้วยวาจา ในกรณีที่โจทก์ประสงค์จะฟ้องด้วยวาจา ให้เจ้าพนักงานคดีจัดให้มีการบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องแล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ เจ้าพนักงานคดี คือใคร??? เจ้าพนักงานคดีเป็นหน่วยงานใหม่ในระบบศาลไทย เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคในการฟ้องคดีและศาลในการเสาะหาพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี

24 2. การยื่นคำฟ้อง (2.2) คำฟ้องเป็นหนังสือ ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หากคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญในเรื่องใด เจ้าพนักงานคดีอาจให้คำแนะนำแก่โจทก์เพื่อจัดทำคำฟ้องให้ถูกต้องครบถ้วน

25 3. ค่าฤชาธรรมเนียมในการขึ้นศาล
3. ค่าฤชาธรรมเนียมในการขึ้นศาล ในคดีแพ่งทั่วไป ผู้ที่ยื่นฟ้องต้องมีหน้าที่ในการชำระค่าธรรมเนียมศาล สำหรับคดีมีทุนทรัพย์ โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 2.50 บาท ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ในคดีผู้บริโภค ถ้าผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคเป็นผู้ฟ้อง ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ข้อสังเกต ถ้าผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ฟ้องต้องเสียค่าธรรมเนียมเสมือนเป็นคดีแพ่งทั่วไป

26 4. บทกำหนดโทษแก่ผู้บริโภคที่ใช้สิทธิไม่สุจริต
4. บทกำหนดโทษแก่ผู้บริโภคที่ใช้สิทธิไม่สุจริต มาตรา 18 วรรคสอง ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่าผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคนำคดีมาฟ้องโดย ไม่มีเหตุผลอันสมควร เรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควร ประพฤติตนไม่เรียบร้อย ดำเนินกระบวนพิจารณาอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดีหรือที่ไม่จำเป็น หรือ มีพฤติการณ์อื่นที่ศาลเห็นสมควร ศาลอาจมีคำสั่งให้บุคคลนั้นชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับการยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้ หากไม่ปฏิบัติตาม ให้ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

27 5. กระบวนการพิจารณาคดีผู้บริโภค
5. กระบวนการพิจารณาคดีผู้บริโภค ศาลมีระบบไกล่เกลี่ย - โดยให้คู่ความเจรจาตกลงกัน หากตกลงกันได้ทั้งสองฝ่าย ก็จะได้ข้อยุติร่วมกัน ศาลใช้ระบบวิธีไต่สวน - ศาลสามารถรวบรวมพยาน หลักฐาน และซักถามพยานได้ ไม่เหมือนกับการพิจารณาคดีแพ่งทั่วไป ที่ใช้ระบบกล่าวหา ที่โจทก์ต้องแสวงหาพยาน หลักฐาน นำสืบเองทั้งหมด

28 การรับฟังพยานหลักฐาน
มาตรา 10 นิติกรรมใดที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องคดีได้ ไม่ต้องนำมาใช้บังคับ มิให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 94 มาบังคับใช้ (การสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร) มาตรา 11 ข้อตกลงใด ๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากที่ทำสัญญาไว้ เช่น ข้อความโฆษณา หรือประกาศต่างๆ ถึงแม้มิได้ระบุข้อเสนอนั้นลงไปในสัญญา ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซึ่งสามารถนำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงได้

29 ภาระการพิสูจน์ มาตรา 29 กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระการพิสูจน์
มาตรา 29 กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระการพิสูจน์ ในประเด็นที่ต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการผลิต การประกอบ การออกแบบ หรือส่วนผสมของสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินการใด ๆ ที่อยู่ในความรู้เห็นของผู้ประกอบธุรกิจโดยเฉพาะ

30 อำนาจในการพิพากษาของศาล
1. มาตรการของศาลเกี่ยวกับสินค้า 2. การพิพากษาเกินคำขอ 3. ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ 4. ผลของคำพิพากษาที่มีต่อผู้เสียหายในคดีอื่น 5. พิพากษาให้หุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลที่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลหรือผู้รับมอบทรัพย์สินจากนิติบุคคลดังกล่าวรับผิดร่วมกับนิติบุคคล

31 1. มาตรการของศาลเกี่ยวกับสินค้า
1. มาตรการของศาลเกี่ยวกับสินค้า (1.1) กรณีสินค้าที่ซื้อไปชำรุดบกพร่อง แล้วผู้บริโภค (หรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค) เป็นโจทก์ฟ้องขอให้ผู้ประกอบธุรกิจรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้า หลัก หากศาลเชื่อว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวมีอยู่ในขณะส่งมอบสินค้านั้นและไม่อาจแก้ไขให้กลับคืนสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติ หรือถึงแม้จะแก้ไขแล้วแต่หากนำไปใช้บริโภคแล้วอาจเกิดอันตรายแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยของผู้บริโภคที่ใช้สินค้านั้น ให้ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้าใหม่ให้แก่ผู้บริโภคแทนการแก้ไขซ่อมแซมสินค้าที่ชำรุดบกพร่องนั้นก็ได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะของสินค้าที่อาจเปลี่ยนทดแทนกันได้ พฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ ตลอดจนความสุจริตของผู้บริโภคประกอบด้วย

32 หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการใช้สินค้าหรือได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้านั้น ให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้บริโภคชดใช้ค่าใช้ ทรัพย์หรือค่าเสียหาย แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนั้นได้ตามที่ เห็นสมควร บริษัทนำเข้ารถยนต์จากญี่ปุ่นมาจำหน่ายในไทย นายบีซื้อรถยนต์จากบริษัท ปรากฏว่าตั้งแต่ออกจากโชว์รูม เครื่องยนต์มักจะดับแบบไม่มีสาเหตุ ระบบแอร์ และระบบความร้อนก็มีปัญหา นายบีแจ้งให้บริษัททราบแล้ว และมีการซ่อมแซม หลายครั้งแต่ปัญหายังคงเรื้อรัง นายบีควรทำอย่างไร??? ร้องเรียนต่อสคบ. หากนายบีคิดว่าอยากเจรจากับบริษัทก่อน โดยเจ้าหน้าที่ สคบ. จะเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยให้ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ บริษัทรถ มักจะปฏิเสธ ไม่ยอมเปลี่ยนรถคันใหม่ให้ผู้บริโภคในขั้นตอนนี้

33 ข่าวทุบทิ้ง CR-V ป้ายแดงประจานฮอนด้า

34 นายบีฟ้องคดีผู้บริโภคเองได้
หากเจรจาไม่สำเร็จ นายบีจะขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตั้ง ตัวแทนเพื่อดำเนินคดีแทนตามมาตรา 39 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ก็ได้ นายบีฟ้องคดีผู้บริโภคเองได้ ฟ้องต่อศาลแพ่งที่ตนมีภูมิลำเนาหรือที่ทำสัญญา ไม่เสียค่าธรรมเนียมเพราะนายบีใช้สิทธิโดยสุจริต สามารถขอศาลให้สั่งผู้ประกอบการเปลี่ยนรถคันใหม่แทนรถคันเดิมแทนการ ซ่อมแซมก็ได้ หากปรากฏว่ารถดังกล่าวไม่อาจแก้ไขให้กลับคืนสภาพที่ใช้งานได้ ตามปกติ หรือถึงแม้จะแก้ไขแล้วแต่หากนำไปใช้บริโภคแล้วอาจเกิดอันตราย และศาลจะเป็นผู้พิจารณาถึงความเหมาะสมในการออกคำสั่ง หากไม่มีรถให้เปลี่ยนแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้บริษัทเอคืนเงินราคารถ ให้แก่นายบีได้ แต่หากนายบีได้ใช้รถไประยะหนึ่งแล้ว หรือนายบีนำรถไปทุบ หน้าโชว์รูมเพื่อประชดบริษัทเอ นายบีก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้บริษัทเอด้วย เช่นกัน

35 (1.2) กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ยังมีสินค้าที่ได้จำหน่ายไปแล้วหรือที่เหลืออยู่ ในท้องตลาดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยของ ผู้บริโภคโดยส่วนรวม และไม่อาจใช้วิธีป้องกันอย่างอื่นได้ หลัก ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งดังต่อไปนี้ (ก) ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดการประกาศและรับสินค้าดังกล่าวคืนจากผู้บริโภค (Recall) เพื่อทำการแก้ไขให้ปลอดภัยหรือเปลี่ยนให้ใหม่ภายในเวลาที่กำหนด โดยค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจเอง หรือหากแก้ไขไม่ได้ ให้ใช้ราคาตามที่ศาล เห็นสมควร (ข) ห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลือ (ค) เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่ายกลับคืน (ง) ทำลายสินค้าที่เหลือ

36 2. การพิพากษาเกินคำขอ การพิพากษาเกินคำขอ หมายถึง คดีที่โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายไม่ถูกต้อง หรือวิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยียวยาความเสียหายตามฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายให้เหมาะสมได้ แม้จะเกินที่โจทก์ขอก็ตาม ข้อสังเกต ศาลมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอในคดีคุ้มครองผู้บริโภคได้ เฉพาะในคดีที่ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคเป็นโจทก์เท่านั้น

37 บริษัทสยามสั่งนมผงสำหรับเลี้ยงทารกยี่ห้อซันลู่ที่มีสารเมลานีนผสมอยู่ จาก ผู้ผลิตในประเทศจีนเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย นางต้นข้าวซื้อนมไปเลี้ยง หลานอายุ 2 ขวบ ปรากฏว่าหลานเป็นโรคนิ่วในไต นางต้นข้าวจึงฟ้องบริษัท สยามเป็นคดีผู้บริโภคและเรียกค่ารักษาพยาบาล 500,000 บาท หากศาลพิจารณาแล้วได้ความจากผู้เชี่ยวชาญที่ศาลขอให้มาให้ความเห็นว่า อาการเจ็บป่วยของหลานโจทก์ไม่มีทางรักษาให้หายขาด ร่างกายก็ทรุดโทรม เร็วเพราะไตวายตั้งแต่ยังเล็ก ถ้าไม่ผ่าตัดเปลี่ยนไตคงมีชีวิตอยู่ได้ไม่ถึง 10 ขวบ ศาลจะกำหนดค่าเสียหายเป็นเงิน 2,000,000 บาทซึ่งมากกว่าที่โจทก์ขอ ก็ได้

38 3. ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ
3. ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ ศาลมีอำนาจพิพากษาสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดได้ เมื่อปรากฏว่า 1. ถ้าการกระทำที่ถูกฟ้องร้องเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม หรือ 2. จงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย หรือ 3. ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโดยไม่สนใจต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค หรือ 4. กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษกำหนดได้ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด แต่ถ้าค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดมีจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาท ให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ไม่เกินห้าเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด

39 กรณีตามตัวอย่างนมผงซันลู่ หากศาลเห็ว่าบริษัทสยามรู้อยู่แล้วว่านมผง ยี่ห้อซันลู่ถูกห้ามจำหน่ายในหลายประเทศ เนื่องจากมีสารเมลานีนปนเปื้อน ในปริมาณมาก แต่ในประเทศไทยยังไม่มีใครรู้ อีกทั้งราคาที่ซื้อมาก็ถูกกว่า ยี่ห้ออื่นมาก บริษัทสยามขายนมผงยี่ห้อนี้หลายเดือนแล้ว สร้างผลกำไรให้ บริษัทมหาศาลแต่บริษัทไม่เคยคำนึงถึงสุขภาพของเด็กทารกที่ดื่มนมนี้เข้า ไปเลย ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะผู้มีอาชีพ ศาลจะกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มเติมอีกไม่เกิน 2 เท่าของ ค่าเสียหายที่ศาลกำหนด (2,000,000x2 = 4,000,000)

40 4. ผลของคำพิพากษาที่มีต่อผู้เสียหายในคดีอื่น
ประเทศไทยยังไม่มี Class Action เมื่อคดีถึงที่สิ้นสุดแล้ว หากมีการฟ้องร้องผู้ประกอบการรายเดียวกันและมีข้อเท็จจริงเดียวกับคดีผู้บริโภคคดีก่อน ศาลจะถือว่าข้อเท็จจริงยุติเช่นเดียวกับคดีก่อน

41 5. พิพากษาให้หุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลที่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลหรือผู้รับมอบทรัพย์สินจากนิติบุคคลดังกล่าวรับผิดร่วมกับนิติบุคคล ในคดีแพ่งทั่วไป มีปัญหาหลังจากศาลพิพากษาให้นิติบุคคลต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย นิติบุคคลไม่มีทรัพย์สินเพียงพอ มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของนิติบุคคลนั้นเป็นประโยชน์ของบุคคลภายนอกไปแล้ว กรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ถ้าได้กระทำไปในฐานะกรรมการหรือผู้ถือหุ้นตามปกติ

42 มาตรา 44 “ในคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งถูกฟ้องเป็นนิติบุคคล หากข้อเท็จจริง ปรากฏว่านิติบุคคลดังกล่าวถูกจัดตั้งขึ้นหรือดำเนินการโดยไม่สุจริต หรือมี พฤติการณ์ฉ้อฉลหลอกลวงผู้บริโภคหรือมีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของนิติ บุคคลไปเป็นประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และทรัพย์สินของนิติบุคคลมีไม่ เพียงพอต่อการชำระหนี้ตามฟ้อง เมื่อคู่ความร้องขอหรือศาลเห็นสมควร ให้ศาล มีอำนาจเรียกหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลที่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของ นิติบุคคลหรือผู้รับมอบทรัพย์สินจากนิติบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นจำเลยร่วม และ ให้มีอำนาจพิพากษาให้บุคคลเช่นว่านั้นร่วมรับผิดชอบในหนี้ที่นิติบุคคลมีต่อ ผู้บริโภคได้ด้วย เว้นแต่ผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำ ดังกล่าว หรือในกรณีของผู้รับมอบทรัพย์สินนั้นจากนิติบุคคลจะต้องพิสูจน์ได้ว่า ตนได้รับทรัพย์สินมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ผู้รับมอบทรัพย์สินจากนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งให้ร่วมรับผิดไม่เกิน ทรัพย์สินที่ผู้นั้นได้รับจากนิติบุคคลนั้น”

43 ปัญหาจากการใช้พ.ร.บ. ฉบับนี้
คดีผู้บริโภคมีจำนวนมากขึ้น ปี 2552 มีการฟ้องคดีผู้บริโภคถึง 356,230 คดี เมื่อเทียบกับคดีแพ่งทั่วประเทศ 6.5 แสนคดี เป็นคดีผู้บริโภค 3.5 แสนคดี มากกว่า 50% ของ คดีแพ่ง คดีกู้ยืม ค้ำประกัน สินเชื่อบุคคล 146,465 คดี บัตรเครดิต 92,680 คดี กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา 52,924 คดี เช่าซื้อรถยนต์ 33,884 คดี ที่เหลือเป็นคดีเล็ก ๆ ที่มียอดหนี้ไม่เกิน 30,000 บาท มกราคม-มิถุนายน ปี 2553 มีการฟ้องคดีผู้บริโภค 139,034 คดี มากกว่าร้อยละ 90 ของคดีผู้บริโภค ผู้ประกอบการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้บริโภค

44 ปัญหาจากการใช้พ.ร.บ. ฉบับนี้
เจ้าพนักงานคดีมีไม่เพียงพอ ผู้บริโภคยังคงต้องแบกรับภาระในการรวบรวมพยานหลักฐาน ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บค่าฤชาธรรมเนียมศาล ผู้บริโภคยังไม่รู้จักพ.ร.บ.ฉบับนี้

45 บริษัท บ้านและที่ดินทำเลทอง จำกัด สำนักงานใหญ่อยู่ที่ กทม
บริษัท บ้านและที่ดินทำเลทอง จำกัด สำนักงานใหญ่อยู่ที่ กทม. ประกอบกิจการปลูกบ้านจัดสรรในจังหวัดชลบุรี ในการประกาศโฆษณาขายบ้านและที่ดิน มีการแสดงภาพและรายละเอียดไว้ในแผ่นพับโฆษณาว่าจะมีการจัดสรรที่ดินส่วนกลางเป็นโรงเรียน สโมสรของหมู่บ้านและสระว่ายน้ำ นายแดงสนใจโครงการของบริษัทฯเพราะโฆษณา จึงได้ทำสัญญากับบริษัทฯที่ชลบุรี ในสัญญาระบุรายละเอียดต่างๆและเงื่อนไขไว้หลายข้อ แต่ไม่มีการระบุเรื่องการจัดสรรที่ดินส่วนกลางดังกล่าว ต่อมาบริษัทฯ ล้มเลิกการสร้างโรงเรียน สโมสร สระว่ายน้ำส่วนกลาง นายแดงจึงฟ้องบริษัทฯเพราะต้องการเลิกสัญญาและขอเงินมัดจำคืน คดีนี้เป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ต้องฟ้องศาลในจังหวัดใด เสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ บริษัทฯ อ้างว่าสัญญาไม่มีระบุเรื่องการสร้างโรงเรียน สโมสร สระว่ายน้ำ บริษัทฯจึงไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการและปฏิเสธไม่คืนเงินมัดจำให้นายแดง หากนิสิตเป็นศาลจะตัดสินอย่างไร บริษัทฯต้องชดใช้ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษแก่นายแดงหรือไม่ ผู้ทำสัญญาซื้อบ้านในโครงการอีก 10 คนได้ข่าวนายแดงจึงฟ้องบริษัทฯ เช่นเดียวกัน บริษัทฯกลัวต้องรับผิดจึงชิงจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทฯ และกรรมการหนีไปต่างประเทศ


ดาวน์โหลด ppt กระบวนการเรียกร้องสิทธิและการดำเนินคดีผู้บริโภค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google