งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คู่มือวิชาโดยสังเขป ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คู่มือวิชาโดยสังเขป ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คู่มือวิชาโดยสังเขป ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์
SSC 281 เศรษฐศาสตร์ (Economics) คู่มือวิชาโดยสังเขป ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์ 1

2 คู่มือวิชาโดยสังเขป ผศ.ดร. จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์
ชื่อวิชา : SSC 281 Economics ( ) รายละเอียดเนื้อหาวิชา ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ การดำเนินกิจกรรม และการตัดสินใจทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาคและมหภาค การหาแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภายใน และภายนอกประเทศ และผลกระทบอันเกิดจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ 2

3 ชื่อวิชา : SSC 281 เศรษฐศาสตร์ (Economics)
เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro) ความรู้ทั่วไปด้านเศรษฐศาสตร์ การกำหนดราคาโดยอุปสงค์และอุปทาน (Demand & Supply) ความยืดหยุ่นของ D&S ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิต ตลาด เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro) รายได้ประชาชาติ ส่วนประกอบของรายได้ ป.ช.ช รายได้ ป.ช.ช. ดุลยภาพ ภาวะเงินเฟ้อและการว่างงาน เงินและนโยบายการเงิน การคลังสาธารณะ การค้าและการเงินระหว่างประเทศ 3

4 ขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์
SSC 281 เศรษฐศาสตร์ (Economics) ขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) : การศึกษาพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจย่อยๆ ในระบบเศรษฐกิจ อันได้แก่ กลุ่มผู้บริโภค , ผู้ผลิต , เจ้าของปัจจัยการผลิต ภายใต้ขอบเขตของทรัพยากรที่มีอยู่ และภายใต้เป้าหมายของการแสวงหาผลได้สูงสุด ศึกษาเรื่องของการกำหนดราคา และปริมาณของผู้บริโภค ,ผู้ผลิต และเจ้าของปัจจัยการผลิต ศึกษาการทำงานของกลไกราคา ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจในส่วนของเศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ ทฤษฎีผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ทฤษฎีการกำหนดราคาสินค้า เป็นต้น 4

5 ขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์ (ต่อ)
เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) : ศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ ได้แก่ ศึกษาปริมาณการบริโภคมวลรวม , การออมมวลรวม , การลงทุนรวม ,ปริมาณการผลิตมวลรวม และภาวะการจ้างงานของประเทศ ศึกษาถึงระดับราคาสินค้าและบริการ ระดับรายได้ของประเทศ ภาวะการเงินการคลัง การค้าระหว่างประเทศ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนแนวนโยบายในการช่วยให้ระบบเศรษฐกิจเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ 5

6 วัตถุประสงค์การสอนเชิงพฤติกรรม
เมื่อนักศึกษาเรียนจบวิชานี้จะมีความสามารถ 1. อธิบายความแตกต่างระหว่างเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค 2. อ่านข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจได้ 3. คาดคะเนแนวโน้มทางเศรษฐกิจได้ 4. ตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 6

7 ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
ช่วยให้ผู้ศึกษาได้ตระหนักและเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจในชีวิตประจำวันที่ตน ประสบอยู่ และสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของผู้ศึกษา ช่วยให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจบทบาทของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ 7

8 วิธีการสอน การบรรยาย การทำแบบฝึกหัด การทำรายงานกลุ่ม วิธีการวัดผล
การบรรยาย การทำแบบฝึกหัด การทำรายงานกลุ่ม วิธีการวัดผล - สอบกลางภาค คะแนน - สอบปลายภาค คะแนน - การเข้าห้องเรียน/กิจกรรม/แบบฝึกหัด คะแนน - รายงานกลุ่ม คะแนน 8

9 Text Books (หนังสือ/ตำรา/เอกสารประกอบการเรียนการสอน/ตำราประกอบการเรียน) จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. เอกสารประกอบการสอน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ. วัณรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (เศรษฐศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป). สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. รัตนา สายคณิต และ ชลลดา จามรกุล. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. วัณรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. บ. ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, กรุงเทพฯ. วัณรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค. บ. ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, กรุงเทพฯ. นราทิพย์ ชุติวงศ์. หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค,โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. รัตนา สายคณิต. มหเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. บ.ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, กรุงเทพฯ. 9

10 References (หนังสืออ้างอิง) และ Other reading (Optional)
1. Samuelson, P.A, Nordhaus, W.D. Economics. (17th edition), McGraw- Hill. 2. Sloman, J. Economics (6th edition), Prentice Hall 3. Begg, D.(2009). Foundations of Economics. (4rd Edition), McGraw-Hill, London. (Begg).  Other reading (Optional) 1. นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์. (2549) เศรษฐศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 2. ณรงค์ชัย อัครเศรษณี (2555) กระตุกต่อมคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) สำนักพิมพ์งานบริหารและพัฒนา องค์ความรู้ (องค์กรมหาชน), กรุงเทพฯ. 10

11 บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ 11

12 ความหมายของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่อยู่ในสังคม ความหมายของเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกหนทางในการใช้ทรัพยากรการผลิตอันมีอยู่จำกัด สำหรับการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์ 12

13 ความหมายของเศรษฐศาสตร์ (ต่อ)
จากนิยามของเศรษฐศาสตร์ มีคำที่ควรให้ความสนใจ 5 คำ คือ - การเลือก (Choices) - ทรัพยากรการผลิต หรือปัจจัยการผลิต (Productive Factors) - การมีอยู่จำกัด (Scarcity) - สินค้าและบริการ (Goods and Services) - ความต้องการที่ไม่สิ้นสุด (Unlimited Wants) 13

14 การเลือก (Choices) เกิดขึ้นเนื่องจากทรัพยากรต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เราจึงต้องเลือกใช้ทรัพยากรเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด หรือให้ได้ความพอใจมากที่สุด 14

15 ทรัพยากรการผลิต (Productive Factors)
ที่ดิน (Land) ผลตอบแทน คือ ค่าเช่า (Rent) แรงงาน (Labour) หรือ ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) ผลตอบแทนคือค่าจ้าง (Wage) ทุน (Capital) ผลตอบแทน คือ ดอกเบี้ย (Interest) ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ผลตอบแทน คือ กำไร (Profit) 15

16 การมีจำกัด (Scarcity)
ทรัพยากรในโลกล้วนมีอยู่จำกัด เมื่อนำไปผลิตสินค้าและบริการจะได้สินค้าและ บริการจำกัด 16

17 สินค้าและบริการ (Goods and Services)
สิ่งที่ได้จากการทำงานร่วมกันของปัจจัยการผลิตต่างๆ เป็นสิ่งที่มีอรรถประโยชน์ (Utility) มากกว่าศูนย์ - เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods) - ทรัพย์เสรี (Free Goods) 16

18 เศรษฐทรัพย์ (Economic goods)
สินค้าที่มีต้นทุนการผลิตและจัดหา ดังนั้นจึงมีราคา โดยปกติผู้บริโภคเป็นผู้จ่ายค่าสินค้าโดยตรง แต่บางกรณีผู้บริโภคกับผู้จ่ายค่าสินค้าอาจเป็นคนละคนกัน เศรษฐทรัพย์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สินค้าเอกชน (Private Goods) สินค้าสาธารณะ (Public Goods) 17

19 ทรัพย์เสรี หรือสินค้าไร้ราคา (Free Goods)
หมายถึงสินค้าบริการที่ไม่มีต้นทุนในการจัดหา จึงไม่มีราคาที่ต้องจ่าย ได้แก่ สิ่งที่มีจำนวนมากมายตามธรรมชาติเกินกว่าความต้องการของมนุษย์ เช่น แสงแดด สายลม น้ำฝน อากาศ น้ำทะเล 18

20 ความต้องการไม่จำกัด (Unlimited Wants)
ความต้องการทางด้านจิตใจ (Mental Wants) ความต้องการทางด้านวัตถุ (Material Wants) 19

21 ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic Economic Problems)
ปัญหาจะผลิตอะไร (What) ปัญหาจะผลิตอย่างไร (How) ปัญหาผลิตเพื่อใคร (For Whom) 20

22 ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆกับการแก้ปัญหาพื้นฐาน (Economic System and Solution)
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned Economy) ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) 21

23 หน่วยเศรษฐกิจ (Economic Units) และความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจ
หน่วยงานเศรษฐกิจต่างๆ ที่มีอยู่แต่ในระบบเศรษฐกิจ ทำหน้าที่เพื่อแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจนั้นๆ หน่วยเศรษฐกิจประกอบด้วย ครัวเรือน (Household) ธุรกิจ (Firm) องค์การรัฐบาล (Government Agency) 1 2 3 22

24 กระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (Economic Circular Flow)
ค่าตอบแทน “ตลาดปัจจัย” ปัจจัยการผลิต ครัวเรือน ธุรกิจ สินค้าและบริการ “ตลาดสินค้า” ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ 23

25 แบบฝึกหัดบทที่ 1 1. ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
2. ทรัพยากรการผลิตหรือปัจจัยการผลิตประกอบด้วยอะไรบ้าง 3. สินค้าและบริการแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง 4. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง 5. ระบบเศรษฐกิจแบ่งได้เป็นกี่ประเภท 6. เศรษฐศาสตร์จุลภาคต่างจากมหภาคอย่างไร 7. หน่วยเศรษฐกิจประกอบด้วยอะไรบ้าง 24


ดาวน์โหลด ppt คู่มือวิชาโดยสังเขป ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google