สงครามครูเสด
สภาพของเหตุการณ์โดยสรุป วันเวลา ระหว่าง พ.ศ. 1639-1834 กลุ่ม/บุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้นับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม
เพิ่มเติมเสริมความรู้ ถ้าเราอยากรู้คริสต์ศักราชก็ให้เอา 543 ไปลบออก พ.ศ. 1639-1834 = ค.ศ. 1096 -1291
สาเหตุของเหตุการณ์ที่สำคัญ เป็นเรื่องขัดแย้งทางด้านศาสนา แต่สงครามครูเสดยังมีเบื้องหลังอีกหลายประการดังนี้ การขยายตัวของจักรพรรดิอิสลาม จักรพรรดิแห่งโรมันตะวันออก สันตะปาปา
เหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นบ้าง การทำสงครามครูเสดมี 8 ครั้ง การรบครั้งที่ 4 มีจุดมุ่งหมายมิได้ต่อสู้กับพวกนอกศาสนา แต่เป็นการนำศาสนามาบังหน้าเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเพราะขุนนางที่ยกทัพไปแทนที่จะโจมตีกรุงเยรูซาเลม แต่กลับปล้นกรุงคอนสแตนติโนเปิล จนได้รับความเสียหาย และทำให้คริสต์ศาสนิกชนคลายความศรัทธาต่อผู้ทำสงครามครูเสด
เพิ่มเติมเสริมความรู้ กินเวลา 200 ปี ครั้งที่ 1 ระหว่างปี 1095 - 1101 ครั้งที่ 2 ระหว่างปี 1147 - 1149 ครั้งที่ 3 ระหว่างปี 1188 - 1192 ครั้งที่ 4 ระหว่างปี 1201 - 1204 ครั้งที่ 5 ระหว่างปี 1217 - 1221 ครั้งที่ 6 ระหว่างปี 1228 - 1229 ครั้งที่ 7 ระหว่างปี 1248 - 1254 ครั้งที่ 8 ระหว่างปี 1270
ผลสรุปของเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นบ้าง การทำสงครามครูเสดไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจาก ชาวตะวันตกไม่มีแม่ทัพที่มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุด ขาดการลำเลียงอาวุธ ขาดการลำเลียงอาหาร ตลอดจนขัดแย้งกันเอง จึงไม่สามารถรวมกำลังยึดครองกรุงเยรูซาเลมได้อย่างถาวร
เกิดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบสถ์ เซนต์โซเฟีย
เพิ่มเติมเสริมความรู้
เพิ่มเติมเสริมความรู้ ในช่วงแรกทัพครูเสดมีชัยตีได้เมืองต่างๆ ตามทาง จนกระทั่งได้ อันติอ๊อก (Antioch) เมืองหลวงของซีเรีย แต่ก็สูญเสียกำลังพลไปมาก เหลือม้าศึกเพียงแค่ 2,000 ตัวเท่านั้น ครั้นแล้วจึงมุ่งตรงไปยังนครเยรูซาเลม ซึ่งขณะนั้นตกอยู่ในการครอบครองของอียิปต์ ทัพครูเสดตีเยรูซาเลมได้ในเดือนกรกฎาคมปี 1099 จับมุสลิมและยิวฆ่าเสียราว 70,000 คน จากนั้นพวกครูเสดจึงตั้ง กอดเฟรย์แห่ง บุยอินยอง ผู้นำทัพเบลเยียม ขึ้นเป็นกษัตริย์ ปกครองเยรูซาเลม ส่วนเหล่านักรบครูเสดก็แยกย้ายกันเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน
เพิ่มเติมเสริมความรู้ vs
เพิ่มเติมเสริมความรู้ สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่ง ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง นักรบฝ่ายคริสเตียนกับนักรบมุสลิม โดยนักรบจากยุโรปมักมีร่างกายใหญ่โตบึกบึน แต่งกายออกศึกในชุดหุ้มเกราะอันหนักอึ้ง แม้กระทั่งม้าศึกก็มีเกราะหุ้มกำบัง อาวุธที่ใช้ก็เป็น ดาบและโล่ที่มีน้ำหนัก ส่วนทางฝ่ายมุสลิมจะมีรูปร่างเล็กกว่า สวมเสื้อหนังและใช้ดาบซาระเซนรูปโค้งดั่งเคียวและ คมกริบ นักรบมุสลิมจะรบอย่างคล่องแคล่วปราดเปรียว ในขณะที่นักรบครูเสดอุ้ยอ้ายเทอะทะ แต่มีอาวุธที่หนักหน่วงกว่า และมีอุปกรณ์ป้องกันตนเหนือกว่า
เพิ่มเติมเสริมความรู้
เพิ่มเติมเสริมความรู้
ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลัง ด้านการเมือง ส่งผลกระทบต่อยุโรป คือ ระบบฟิวดัลถูกทำลายลง มีผลให้หน่วยปกครองที่เรียกว่า แมเนอร์สลายลง เจ้าขุนนางได้สูญเสียกำลังคนและกำลังทรัพย์ไปในการรบ นอกจากนี้ทาสที่ติดดินที่ไปรบและรอดชีวิตกลับมาได้รับอิสระ สามารถประกอบอาชีพได้โดยเสรี ทำให้อำนาจของเจ้าขุนนางลดลง สถานบันกษัตริย์จึงเริ่มมีอำนาจขึ้นมาแทน
เพิ่มเติมเสริมความรู้ ที่มา : ETV ติวเข้มสังคมศึกษาโดย อ.วราภรณ ตันติวิวัฒน สถาบันกวดวิชา Pinnacle
ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลัง ด้านเศรษฐกิจ การค้าเริ่มฟื้นตัวขึ้น มีการสร้างถนนและสะพาน การค้าทางทะเล - ทางบกเจริญขึ้น มีการตั้งศูนย์การค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเหนือและทะเลบอลติก มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ ความรุ่งเรืองทางการค้าทำให้บรรดาพ่อค้ามั่งคั่งร่ำรวย มีอำนาจในทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งสามารถขยายอำนาจของตนสู่การเมืองการปกครองในระยะต่อมา
ด้านสังคม ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลัง ความเจริญด้านการค้าทำให้สถาบันสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิดชุมชนเมืองขึ้น การที่ชาวยุโรปยุคกลางได้เดินทางออกมาจากแมเนอร์ทำให้เห็นคนและวัฒนธรรมที่ต่างกันไป เช่นพบชาวเอเชียที่แต่งกายด้วยผ้าฝ้าย มัสลิน แพรไหม ที่ตัดเย็บ อย่างประณีตใช้เครื่องหอมชโลมกาย ตกแต่งร่างกายด้วยอัญมณีต่างๆ รับประทานอาหารปรุงด้วยเครื่องเทศ ทำให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปกว้างขวางขึ้น วรรณคดีในยุคนี้แต่งโดยภาษาถิ่น มีเรื่องง่ายๆ หรือโคลงกลอนที่สะท้อนชีวิตประจำวันที่อาจเป็นเรื่องรัก เสียดสีสังคม และบางครั้งเป็นเรื่องหยาบโลน
เพิ่มเติมเสริมความรู้ สังฆนายกเออร์บันที่ 2 นำทัพครูเสดในช่วงแรก เพิ่มเติมเสริมความรู้ รู้ไหมว่าทำไมจึงชื่อสงครามครูเสด ? เพราะสังฆนายกเออร์บันได้กำหนดให้ทุกคนที่ไปรบ ติดเครื่องหมายกางเขนไว้ที่ตัว กองทัพนี้จึงได้ชื่อว่า ครูเสด (Crusade) คือ มาจากคำว่า Cross ที่หมายถึงไม้กางเขนนั่นเอง สังฆนายกเออร์บันที่ 2 (Urban II)
ทบทวนความรู้กันหน่อย ขอให้โชคดีทุกคน
คำถามทบทวน สงครามครูเสด 1.ความขัดแย้งระหว่างศาสนา...............กับศาสนา...............เป็นเหตุให้เกิดสงครามครูเสด ระหว่าง ค.ศ.....................ถึง ค.ศ. .............. 2.สงครามครูเสดเกิดขึ้นในสมัยใด(ประวัติศาสตร์ หรือ ก่อนประวัติศาสตร์) และช่วงใด (สมัยโบราณ หรือ สมัยกลาง หรือ สมัยฟื้นฟูวิทยาการ หรือ สมัยใหม่ หรือ สมัยปัจจุบัน) 3. สงครามครูเสดสิ้นสุดลงตรงกับสมัยใดในประวัติศาสตร์ไทย
นำเสนอโดย ครูขณิฐภรณ์ พรหมปลูก กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ครูขณิฐภรณ์ พรหมปลูก กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง Krutick_ka@yaho.com