ประกันภัยกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ประภาศ คงเอียด รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้
มาตรการของรัฐที่สำคัญ - การปฏิรูปการประกันภัยการเกษตร - บริการรับประกันภัยต่อ - มาตรการอื่น ๆ เช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (IHQ)
การปฏิรุปการประกันภัยการเกษตร - เป็นมาตรการที่ออกโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง - เพื่อจัดการความเสี่ยงในการทำเกษตรกรรม เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย แมลงศัตรูพืช - ผู้เอาประกันภัย (เกษตรกร) สามารถที่จะโอนความเสี่ยงไปยังผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) โดยเกษตรกรจ่ายค่าเบี้ยประกันเพื่อความคุ้มครองทางการเงิน หรือได้รับการชดเชยหากเกิดความเสียหาย - ธ.ก.ส. เริ่มมีผลิตภัณฑ์ประกันภัยการเกษตรในปี 2554 ตามมาตรการ (แต่ไม่มีกฎหมายรองรับ)
แนวทางการปฏิรูปของคณะกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการประกันภัยการเกษตร ระยะสั้น (1-3 ปี) -ให้มีการออกกฎหมายเป็นพระราชบัญญัติครอบคลุมการประกันภัยการเกษตรและปศุสัตว์ -ปรับเปลี่ยนเกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยยกเลิกการอ้างอิงประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่และมีความล่าช้า มาเป็นการใช้ดัชนีน้ำฝน (weather index) หรือดัชนีผลผลิตต่อพื้นที่ (area yield index) -แก้ปัญหาอัตราค่าเบี้ยประกันภัยสูง แต่วงเงินคุ้มครองต่ำ -สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรกลับมาซื้อประกันภัยซ้ำ -จูงใจให้บริษัทประกันภัยเข้าร่วมโครงการมากขึ้น
แนวทางการปฏิรูปของคณะกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการประกันภัยการเกษตร ระยะกลาง (3-5 ปี) -เพิ่มพื้นที่เป้าหมายโดยการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ บูรณาการส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และเข้าถึงชุมชน -ศึกษาวิจัยรูปแบบการรับประกันภัยอื่นๆ และริเริ่มโครงการนำร่อง -เพิ่มการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ โดยร่วมมือกับกรมอุตุฯ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศฯ สำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์ -เพิ่มบทบาทภาครัฐในการรับประกันภัย เน้นการช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติร้ายแรง
แนวทางการปฏิรูปของคณะกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการประกันภัยการเกษตร ระยะยาว (10 ปี) - เพิ่มพื้นที่เป้าหมาย ขยายโครงการรับประกันภัยไปยังพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หรือลำไย -หาแนวทางการจัดพื้นที่เกษตรกรรม (zoning) ที่เหมาะสม พัฒนารูปแบบการรับประกันภัย - พัฒนาการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการพัฒนาการประกันภัยการเกษตร -กระทรวงการคลัง (โดย สศค.) -กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (โดยกรมส่งเสริมการเษตร และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) -กระทรวงมหาดไทย (โดยกรมการปกครอง และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) -ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ -สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
บริการรับประกันภัยต่อ -ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีฯ ฉบับที่ 207 (ใช้บังคับ 30 เม.ย. 2558 เป็นต้นไป) -มูลค่าของการให้บริการรับประกันวินาศภัยต่อ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ไม่ต้องมารวมเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เฉพาะส่วนลดประกันภัยต่อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการประกันภัยต่อได้หักออกจากค่าเบี้ยประกันภัยต่อ