Don Bosco Banpong Technological College ชื่อผลงานวิจัย ศึกษาความพร้อมด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียน ปวช. 3 ต่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ตามรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับ สถานประกอบการ วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ชื่อผู้วิจัย นายธีรยุทธ หนูนันท์ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง
Don Bosco Banpong Technological College ปัญหาการวิจัย 1. นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 2. นักเรียนบางคนไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือ สถานการณ์จริงได้ ทำให้ผู้วิจัยสนใจว่า ความพร้อมของนักเรียนเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพร้อมด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียน ปวช. 3 ต่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ตามรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสถานประกอบการ
Don Bosco Banpong Technological College กรอบแนวคิดในการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แนวคิดของ Good (1973) ด้านความพร้อมในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ และการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (กาญจนา ปราบพาล 2553:บทคัดย่อ)
Don Bosco Banpong Technological College ภาพแผนภูมิกรอบแนวคิดการวิจัย ตัวแปรต้น นักเรียนระดับ ปวช. 3 สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง ตัวแปรตาม ความพร้อมด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ต่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ตามรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสถานประกอบการ 1. ความหมายของความพร้อม หลักการ แนวคิดการเตรียมความพร้อม 2. ความหมายของประชาคมอาเซียน 3. ความสำคัญของภาษาอังกฤษต่อ ประชาคมอาเซียน
Don Bosco Banpong Technological College ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ปวช. 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 6 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 215 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้น ปวช. 3 สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง จำนวน 82 คน สุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย เป็นแบบสอบถามเพื่อศึกษาความพร้อมด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้น ปวช. 3 ต่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ตามรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสถานประกอบการ จำนวน 10 ข้อ
Don Bosco Banpong Technological College การรวบรวมข้อมูล 1. ดำเนินการเก็บข้อมูลจากนักเรียน จำนวน 82 คน โดยการแจกแบบสอบถาม ให้กับนักเรียนด้วยตนเอง 2. นำแบบสอบถามทั้งหมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์เพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป สถิติที่ใช้ในการวิจัย โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และนำเสนอด้วยตารางประกอบความเรียงแบบบรรยาย
Don Bosco Banpong Technological College
Don Bosco Banpong Technological College สรุปผลการวิจัย 1. ระดับความพร้อมของนักเรียนต่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน พบว่าค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. จากการเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2. นักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียนทั้งใน ด้านสภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความสำคัญของประชาคม อาเซียนต่อตัวนักเรียนเอง 3. นักเรียนยังขาดความรู้ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ และยังคงเตรียมตัวไม่พร้อม เท่าที่ควรกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
Don Bosco Banpong Technological College ข้อเสนอแนะ 1. นักเรียนควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียน 2. วิทยาลัยควรส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียน และสร้างแรงจูงใจให้ นักเรียนทุกคนเห็นถึงความสำคัญด้านการใช้ภาษาอังกฤษทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน 3. ครูผู้สอนควรสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนอยู่เสมอ และชี้ให้เห็น ความสำคัญของการเป็นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน 4. ในการวิจัยครั้งต่อไปควรทำการเปรียบเทียบว่านักเรียนมีความพร้อมด้านการใช้ ภาษาอังกฤษต่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเพิ่มขึ้นหรือไม่
Don Bosco Banpong Technological College ผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการทำวิจัยพบว่า ปัญหาในการสร้างความพร้อมให้นักเรียนของวิทยาลัยเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนมีอยู่หลายประการ โดยเฉพาะประเด็นที่เกิดผลกระทบต่อตัวผู้วิจัยเอง คือ การนำเสนอแผนการสร้างความตระหนักให้กับผู้บริหารและครู เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมด้านความสนใจ กระตือรือร้น ต่อการจัดสภาพแวดล้อม อุปกรณ์และสื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษต่อประชาคมอาเซียน ซึ่งถ้าระดับวิทยาลัยและครูตระหนักในข้อนี้ จะสามารถแก้ปัญหาการขาดความรู้ของนักเรียนที่อยู่ในวิทยาลัยได้