งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา จังหวัดร้อยเอ็ด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา จังหวัดร้อยเอ็ด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา จังหวัดร้อยเอ็ด
ผลกระทบของการควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อประสิทธิภาพ การจัดทำบัญชีของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนในประเทศไทย Effects of Strategic Internal Control on Accounting Preparation Efficiency of Private Technological and Vocational Education Colleges in Thailand ผู้วิจัย กิตติศักดิ์ มะลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา จังหวัดร้อยเอ็ด วิจัยบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Mahasarakham University

2 การบรรลุเป้าหมายขององค์กร ประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี
บทนำ การบรรลุเป้าหมายขององค์กร การปฏิบัติตามขั้นตอนและนโยบาย การมอบหมายอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทักษะปฏิบัติ ความรู้ความชำนาญ ความซื่อสัตย์สุจริต การพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง อื่น ๆ การควบคุมภายใน เชิงกลยุทธ์ ประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี Mahasarakham University

3 ประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี
ความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์กับประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี 2. เพื่อทดสอบผลกระทบของการควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี ประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี การควบคุมภายใน เชิงกลยุทธ์ ความสัมพันธ์ ผลกระทบ Mahasarakham University

4 การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์
กรอบแนวคิดของการวิจัย การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ 1) ด้านนโยบายและขั้นตอนการ ปฏิบัติงานที่ดี 2) ด้านการเซ็นอนุมัติจากผู้มีอำนาจ 3) ด้านการมอบหมายอำนาจหน้าที่ อย่างชัดเจน 4) ด้านความซื่อสัตย์และ ความสามารถของพนักงาน 5) ด้านการตรวจสอบภายใน ประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี 1) ด้านความเข้าใจได้ 2) ด้านความเชื่อถือได้ 3) ด้านความครบถ้วน 4) ด้านความเกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจ 5) ด้านความทันเวลา H1 สุขุม โพธิสวัสดิ์ (2553 : ) สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ : 26 – 30) Mahasarakham University

5 ประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี
สมมุติฐานของการวิจัย H1 : การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ มีความสัมพันธ์และผลกระทบกับประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี ประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี การควบคุมภายใน เชิงกลยุทธ์ ความสัมพันธ์ ผลกระทบ Mahasarakham University

6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (งานวิจัยในประเทศ)
สมใจ พวงนิล (2554 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษา ผลกระทบของการควบคุมภายใน ทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการรายงานทางการเงินของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การควบคุมภายในทางการบัญชีที่ดี ประสิทธิภาพการรายงานทางการเงิน ด้านความเข้าใจได้ ด้านขั้นตอนการปฏิบัติงาน ด้านความเกี่ยวข้อง กับการตัดสินใจ ด้านการสอบทานงบการเงิน ด้านแบ่งแยกหน้าที่ ความรับผิดชอบ ด้านความเชื่อถือได้ ด้านการเปรียบเทียบกันได้ Mahasarakham University

7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (งานวิจัยในประเทศ)
กุสุมา โสเขียว (2549 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษา ผลกระทบของประสิทธิภาพการควบคุมภายในและสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของบริษัทจดทะเบียน ในประเทศไทย ประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ด้านความเชื่อถือได้ ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านความเปรียบเทียบ กันได้ ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านกิจกรรมควบคุม Mahasarakham University

8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (งานวิจัยต่างประเทศ)
Kallunki และ Silvola (2008 : 20) ได้ศึกษา ผลกระทบของระบบ การควบคุมภายในทางการบริหารที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบริษัท ในประเทศฟินแลนด์ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ระบบการควบคุมภายใน การควบคุมภายในทางการบริหารที่นำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของบริษัท แบบเป็นระบบทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายระยะยาวในอนาคตได้มากกว่าแบบไม่เป็นระบบ ซึ่งเป็นที่นิยมมากของบริษัทขนาดกลางและบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งระบบการควบคุมภายในทางการบริหาร คือการตรวจสอบการตัดสินใจทั่วทั้งองค์กร รวมถึงประสิทธิภาพของการจัดการในองค์กร Mahasarakham University

9 วิธีการดำเนินการวิจัย
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง (ผู้บริหารฝ่ายบัญชีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนในประเทศไทย) ภูมิภาค จำนวนประชากร กลุ่มตัวอย่าง (คน) จำนวนผู้ตอบ แบบสอบถาม (คน) 1. ภาคกลาง 154 89 2. ภาคเหนือ 29 23 3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 137 54 4. ภาคใต้ 55 19 5. ภาคตะวันออก 43 14 6. ภาคตะวันตก 13 4 รวม 431 203 แบบสอบถาม จำนวน 203 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ Aaker, Kumar และ Day (2001) ได้นำเสนอว่า อัตราการตอบกลับอย่างน้อย ร้อยละ 20 ถือว่ายอมรับได้ว่า จำนวนตัวอย่างของแบบสอบถามมีความเหมาะสมเพียงพอที่จะนำไปวิเคราะห์ข้อมูลได้ Mahasarakham University

10 วิธีการดำเนินการวิจัย(ต่อ)
คุณภาพของเครื่องมือ ตัวแปร ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ 0.855 – 0.968 ประสิทธิภาพการทำบัญชี 0.808 – 0.885 0.915 – 0.957 Nunnally (1978) ได้นำเสนอว่า การทดสอบค่าอำนาจจำแนกเกินกว่า 0.40 เป็นค่าที่ยอมรับได้ว่าเครื่องมือมีคุณภาพ เหมาะสมที่จะนำไปใช้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้ Nunnally และ Berstein (1994) ได้นำเสนอว่า การหาค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา อยู่ในระดับมากกว่า 0.70 เป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างได้ Mahasarakham University

11 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
วิธีการดำเนินการวิจัย(ต่อ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การหาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามเป็นรายข้อ (Discriminant Power) โดยใช้เทคนิค Item – total Correlation และ การหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability Test) โดยใช้วิธีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha-coefficient Method ) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) 3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบคุณลักษณะของตัวแปร คือ การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (Multicollinearity Test) โดยหาค่า Variance Inflation Factors (VIFs) 4. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ F - test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) Mahasarakham University

12 สรุปผลการวิจัย ตาราง 1 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของการควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์กับประสิทธิภาพการทำบัญชีโดยรวม ตัวแปร EFAC ICA ICB ICC ICD ICE VIFs 4.24 4.40 4.34 4.38 4.33 S.D. 0.60 0.57 0.58 0.54 0.64 0.754* 0.698* 0.786* 0.792* 0.801* 0.686* 0.762* 0.733* 0.705* 2.733 0.759* 0.738* 0.750* 2.876 0.805* 0.820* 4.479 0.793* 3.710 3.852 *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตาราง 1 พบว่า ตัวแปรอิสระแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กันหรืออาจเกิดเป็น Multicollinearity ดังนั้น ผู้วิจัยจึงทำการทดสอบ Multicollinearity โดยใช้ค่า VIFs ปรากฏว่าค่า VIFs ของตัวแปรอิสระการควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ มีค่าตั้งแต่ ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 10 แสดงว่า ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Black : 585) Mahasarakham University

13 การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิภาพการทำบัญชี โดยรวม
สรุปผลการวิจัย(ต่อ) ตาราง 2 การทดสอบความสัมพันธ์ของสัมประสิทธิ์การถดถอยของการควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์กับประสิทธิภาพการทำบัญชีโดยรวม การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิภาพการทำบัญชี โดยรวม t p-value สัมประสิทธิ์ การถดถอย ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ค่าคงที่ ( ) ด้านนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ดี (ICA) ด้านการเซ็นอนุมัติจากผู้มีอำนาจ (ICB) ด้านการมอบหมายอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน (ICC) ด้านความซื่อสัตย์และความสามารถพนักงาน (ICD) ด้านการตรวจสอบภายใน (ICE) 0.247 0.011 0.143 0.279 0.296 0.189 0.062 0.063 0.079 0.077 0.067 3.950 0.179 1.818 3.624 4.449 0.929 0.000* 0.858 0.071 F = p = Adj R2= *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตาราง 2พบว่า การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ ด้านนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ที่ดี (ICA) ด้านความซื่อสัตย์และความสามารถของพนักงาน (ICD) และด้านการตรวจสอบภายใน (ICE) มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีโดยรวม (EFAC) Mahasarakham University

14 การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ ด้านนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ดี ประสิทธิภาพ การจัดทำบัญชี ด้านความซื่อสัตย์และความสามารถของพนักงาน ด้านการตรวจสอบภายใน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวก Mahasarakham University

15 การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์
อภิปรายผลการวิจัย การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ ด้านนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ดี ประสิทธิภาพ การจัดทำบัญชี สมใจ พวงนิล (2554 : บทคัดย่อ) พบว่า การควบคุมภายในทางการบัญชีที่ดี เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการ สามารถควบคุมดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา ได้แก่ ด้านการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ ด้านการกระทบยอดบัญชีย่อย ด้านการสอบทานงบการเงิน และด้านการประยุกต์ใช้มาตรฐานการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านการเปรียบเทียบกันได้ Mahasarakham University

16 การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์
อภิปรายผลการวิจัย (ต่อ) การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ ด้านความซื่อสัตย์และความสามารถของพนักงาน ประสิทธิภาพ การจัดทำบัญชี ตลาดหลัดทรัพย์แห่งประเทศไทย (2548 : 28) กล่าวว่า การควบคุมภายใน เป็นกระบวนการหรือขั้นตอนการทำงานที่เป็นผลมาจากการออกแบบของคณะกรรมการเพื่อให้งานที่ทำออกมามีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจต่อลูกค้า และส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร โดยเฉพาะงานด้านการจัดทำบัญชี ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงินจำเป็นที่องค์กรจะต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้าน และที่สำคัญต้องมีความซื่อสัตย์ และมีระเบียบวินัย ในการปฏิบัติงาน Mahasarakham University

17 การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์
อภิปรายผลการวิจัย (ต่อ) การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ ด้านการตรวจสอบภายใน ประสิทธิภาพ การจัดทำบัญชี มนชยา สภานุชาต (2554 : บทคัดย่อ) พบว่า ผู้บริหารที่มีการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ ด้านการตรวจสอบภายในที่ดี ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการสื่อสาร และการอนุมัติ ด้านการจัดการทรัพยากร ด้านนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ด้านการร่วมมือ และประสานงาน และด้านการรายงานต่อคณะกรรมการ จะมีความสำเร็จในการดำเนินงานตรวจสอบโดยรวม และเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ ด้านการจัดหาและการใช้ทรัพยากร ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านความพอใจของทุกฝ่าย ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้น ว่ามีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ Mahasarakham University

18 สรุปการวิจัย การควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี ดังนั้น วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนในประเทศไทย ควรนำข้อสนเทศที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในทางบัญชี เพื่อให้การจัดทำบัญชีนำเสนอข้อมูลที่มีคุณภาพ ทำให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจ และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ Mahasarakham University

19 ข้อเสนอแนะ 1. ควรศึกษาผลกระทบของการควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีกับกลุ่มตัวอย่างอื่น เช่น ผู้บริหารฝ่ายบัญชีของวิทยาลัยอาชีวศึกษา ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นต้น เพื่อเปรียบเทียบว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร 2. ควรศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบกับปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี เช่น นโยบายทางการบัญชีขององค์กร โครงสร้างขององค์กร เป็นต้น เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการกำหนดทิศทางการจัดทำบัญชีที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3. ควรมีการศึกษาวิจัยโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากแบบสอบถาม เช่น การสอบถามเชิงลึก หรือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลรายละเอียด ครบถ้วน และเจาะลึกในหัวข้อที่ต้องการ สามารถให้เข้าใจในข้อมูลระหว่างกันและกันได้ดี วิธีนี้ก่อให้เกิดผลการวิจัยที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถืออย่างสูงสุด Mahasarakham University

20 Thank you E-mail : kittisak_malai@hotmail.com
สถานที่ทำงาน : วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา จังหวัดร้อยเอ็ด โทรศัพท์ : Mahasarakham University


ดาวน์โหลด ppt วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา จังหวัดร้อยเอ็ด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google