สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การตัดสินใจ โดยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นกับงานชลประทาน
Advertisements

กลยุทธ Strategy ค่านิยมที่ ใช้ร่วมกัน Shared value ระบบ System
Copy by Batch File โครงสร้างคอมพิวเตอร์ และภาษาแอสเซมบลี้
ศูนย์ข่าวกรองจังหวัดชายแดนภาคใต้
Computer Program คือ ขั้นตอนการทำงาน ของคอมพิวเตอร์
Ch 2 Resistive Circuits วงจรซึ่งประกอบไปด้วย Resistors กับ Sources วงจรซึ่งประกอบไปด้วย Resistors กับ Sources กฎหลักพื้นฐานของการวิเคราะห์วงจรมี 2 ข้อคือ.
การอภิปราย หัวข้อ “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติและเตรียม ความพร้อมรับมืออุบัติเหตุทางถนน” นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผอ.กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๕ ( เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท ) ปี การศึกษา ๒๕๕๙ ดร. กัมพล ไชยนันท์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกประวัติ ความเป็นมาของโปรแกรม FreeMind ได้ 2. บอกความหมายและสามารถเลือกใช้โปรแกรม Open Source Software ได้ 3. บอกความหมายของการอับโหลดและการดาวน์
และการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
Traning ผู้ต้องขัง เขตภาคเหนือตอนล่าง
ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานท้องถิ่น
ส่วนที่ 1 ความเบื้องต้น
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law
เอกสารรายวิชา: : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
การค้าระหว่างประเทศและกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
บทที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี และพัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
ดำรงตำแหน่ง : 18 ธ.ค. 59 อายุ : 59 ปี การศึกษา :
จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
แบบจำลองแรงโน้มถ่วง.
ตอนที่ 2 ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
พลังงาน (Energy).
กลุ่มอาชีวอนามัย สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
หน่วยการเรียนที่ 2 ข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูล
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า
การเสริมสร้างศักยภาพเมืองชายแดน ภายใต้ประชาคมอาเซียนที่จังหวัดสระแก้ว กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ.
การเพิ่มกลุ่มข้อมูลลงในกราฟโดยใช้ Graph Wizard
บทที่ 1 ความเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความรับผิดละเมิด
การพัฒนาระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ National e-Payment
การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕)
วิชา กฎหมายกับสังคม (Law and Society) (SSP 2403) อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1-4.
กฎหมายอาญา(Crime Law)
แนวบรรยาย เรื่อง หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง
ระบบรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ)
ธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
การบรรยาย การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ในการอำนวยความยุติธรรม
การถ่ายทอดพลังงานของระบบนิเวศ
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์
NETWORK GRAPH การวิเคราะห์วงจรข่ายโดยกราฟ ปิยดนัย ภาชนะพรรณ์
ด้านระบบสารสนเทศสุขภาพ
สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดชัยภูมิ
บทที่ 6 บุคคล บุคคลคือผู้ทรงสิทธิหน้าที่ในกฎหมาย (Subject of Law)
แนวทาง/ทิศทางการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในวัยเด็กและวัยรุ่น
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครนายก
สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 จังหวัดสระแก้ว
แสง และการมองเห็น.
เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล
กองอสังหาริมทรัพย์ กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก.
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ดร. สุทธศรี วงษ์สมาน รองเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้สอนวิชากฎหมายธุรกิจและภาษีอากร(bus226)
สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง
สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 รอบที่ 2
สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดสุรินทร์
แนวทางการปฏิบัติเมื่อบุคลากรสัมผัสเลือด หรือสิ่งคัดหลั่งขณะปฏิบัติงาน
นิเทศงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
โรเบิร์ต บอยล์ Robert Boyle
แนวทางปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ทำหน้าที่งบประมาณ
การรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตก และการจัดทำประมวลกฎหมาย
การจัดการเงินทุนหมุนเวียน
Newton’s Second Law Chapter 13 Section 2 Part 2.
หัวหน้ากลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข
การบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement)
3. ระบบศาลในกฎหมายปกครอง
* 07/16/96 Next *.
โดย อ.ดร. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ Songkrant.p@cmu.ac.th วิชากฎหมายปกครอง (177341) สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ Songkrant.p@cmu.ac.th

ฝ่ายปกครอง เค้าโครงการบรรยายและกิจกรรม 1. เฉลยงานชิ้นที่ 2 และข้อสังเกตต่องานของนักศึกษา อภิปราย หลักรวมอำนาจ แบ่งอำนาจและกระจายอำนาจ ทำแบบทดสอบความเข้าใจ 4. เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง 5. บ่อเกิดของกฎหมาย

งานชิ้นที่ 2 1. หากพิจารณาจากเนื้อหาที่เรียนมา นักศึกษาเห็นว่าควรจะจัดให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นองค์กรทางปกครองประเภทใด เพราะเหตุ 2. หากพิจารณาจากเนื้อหาที่เรียนมา นักศึกษาเห็นว่าควรจะจัดให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)เป็นองค์กรทางปกครองประเภทใด เพราะเหตุใด

แนวคำตอบ หลักการ การจัดองค์กรของฝ่ายปกครองแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. แบบรวมอำนาจ ซึ่งเป็นการจัดการปกครองโดยรวมอำนาจวินิจฉัยสั่งการไว้ที่ราชการส่วนกลาง องค์กรทางปกครองตามหลักการนี้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ๒. แบบกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นการจัดการปกครองโดยกระจายอำนาจบางประการให้หน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ราชการส่วนกลางเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการ องค์กรทางปกครองตามหลักการนี้ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายกหรือรัฐมนตรี แต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลเท่านั้น

แนวคำตอบ ปรับหลักการกับข้อเท็จจริง กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) จากข้อเท็จจริงที่ว่า DSI เป็น หน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ภายใต้กระทรวงยุติธรรม ประกอบกับ พ.ร.บ. การสอบสวนคดี พิเศษ พ.ศ. 2547 กำหนดให้ ร.ม.ต. ยุติธรรมเป็นผู้รักษาการและมี อำนาจออกกฎระเบียบเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย อำนาจวินิจฉัยสั่งการของ องค์กรนี้จึงอยู่ที่ราชการส่วนกลางและอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของ ร.ม.ต. ยุติธรรม DSI จึงเป็นองค์กรทางปกครองแบบรวมอำนาจ

แนวคำตอบ ๒. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ม.ช.) จากข้อเท็จจริงที่ว่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นหน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551 ให้เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการ มีภารกิจในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายและมีอำนาจเพียงกำกับดูแล แต่ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยงานนี้ แสดงให้เห็นว่าอำนาจวินิจฉัยสั่งการต่าง ๆ อยู่ที่ ม.ช. ไม่ได้อยู่ที่ส่วนกลาง ม.ช. จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองแบบกระจายอำนาจทางกิจการ

แนวคำตอบ สรุป กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นองค์กรทางปกครองตามหลัก รวมอำนาจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นองค์กรทางปกครองตามหลัก กระจายอำนาจ

ข้อสังเกตต่องานชิ้นที่ 2 นักศึกษาฟันธงเร็วเกินไป โดยไม่มีการอ้างอิงถึงหลักการและเหตุผลที่ได้เรียนมาเป็นฐานประกอบการตอบ นักศึกษาหลายคนตอบตามความเห็นตนเองโดยไม่มีหลักการหรือหลักฐานอ้างอิง นักศึกษาบางหลายคนฟันธงถูกแต่เหตุผลผิด หรือให้เหตุผลถูกแต่ฟันธงผิดแสดงถึงความสับสน โดยเฉลี่ยนักศึกษาได้คะแนนประมาณ ๒.๕ เต็ม ๕ ซึ่งต้องปรับปรุงทั้งรูปแบบและวิธีการตอบคำถาม

หลักการรวมอำนาจ นิยาม เป็นหลักที่วางระเบียบบริหารโดยมอบอำนาจในการ ปกครองให้แก่ราชการส่วนกลางอันได้แก่ กระทรวง กรมต่าง ๆ ของรัฐและมีเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางซึ่งขึ้นตรงต่อกัน ตามลำดับชั้นการบังคับบัญชาเป็นผู้ดำเนินการปกครองทั้ง ประเทศ

ลักษณะการจัดโครงสร้าง กระทรวง กรม ๑ สำนัก ๑ สำนัก ๒ กรม๒

ลักษณะสำคัญของหลักการรวมอำนาจ มีการรวมกำลังในการบังคับต่าง ๆ คือ ทหารและตำรวจให้ขึ้นต่อส่วนกลาง ประเทศที่จัดระเบียบราชการบริหารแบบรวมอำนาจจะไม่ปล่อยให้กำลังทหารหรือตำรวจส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อส่วนกลาง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถใช้กำลังเหล่านี้บังคับได้อย่างเด็ดขาดเมื่อจำเป็น

ลักษณะสำคัญของหลักการรวมอำนาจ ๒. มีการรวมอำนาจวินิจฉัยสั่งการไว้ที่ส่วนกลาง การจัดการปกครองแบบรวมอำนาจต้องมีการมอบอำนาจวินิจฉัยสั่งการขั้นสุดท้ายแก่ราชการส่วนกลาง แม้อาจมีการแบ่งอำนาจให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ตามส่วนภูมิภาค แต่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของราชการส่วนกลาง

ลักษณะสำคัญของหลักการรวมอำนาจ ๓. มีลำดับชั้นการบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ (Hierachy) การจัดการปกครองแบบนี้ จะมีการติดต่อสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างเจ้าหน้าที่ตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา ลำดับชั้นการบังคับบัญชาหมายถึง ระดับแห่งอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งขึ้นต่อกันตามลำดับ เจ้าหน้าที่ลำดับสูงมีอำนาจบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ระดับต่ำกว่าและต้องรับผิดชอบในกิจการของผู้ใต้บังคับบัญชา

ลักษณะของลำดับชั้นการบังคับบัญชา รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี

ลักษณะสำคัญของหลักการรวมอำนาจ ๓. มีลำดับชั้นการบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ (Hierachy) อำนาจของผู้บังคับบัญชาจำแนกได้ 4 อย่าง อำนาจที่จะออกคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับปฏิบัติ อำนาจควบคุมกิจการที่ผู้ใต้บังคับปฏิบัติ อำนาจที่จะลงโทษทางวินัย อำนาจที่จะให้บำเหน็จความดีความชอบ

หลักการแบ่งอำนาจ นิยาม เป็นหลักการที่ราชการบริหารส่วนกลางมอบอำนาจวินิจฉัยสั่งการ บางส่วนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้แทนของราชการบริหารส่วนกลางซึ่ง ส่งไปประจำปฏิบัติราชการตามเขตการปกครองต่าง ๆ ของ ประเทศ แต่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังเป็นผู้ที่ราชการส่วนกลางแต่งตั้ง ทั้งสิ้น และอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง หลักการ แบ่งอำนาจเป็นส่วนหนึ่งของหลักการรวมอำนาจ

ลักษณะของการแบ่งอำนาจ ศูนย์กลางยังอยู่ที่ส่วนกลาง ภูมิภาค

ข้อดีของหลักการรวมอำนาจ ด้านการเมือง : เป็นเอกภาพ มีเสถียรภาพ บริหารจัดการได้ง่าย ขึ้นกับศูนย์กลางอำนาจเดียว ด้านการคลัง : มีเสถียรภาพทางการคลัง มีศูนย์กลางการใช้จ่ายงบศูนย์เดียว ประหยัด ด้านความเสมอภาค : สามารถทำให้เกิดความเสมอภาคต่อประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้

ข้อเสียของหลักการรวมอำนาจ ความล่าช้าในกระบวนการตัดสินใจและปฏิบัติภารกิจบริการสาธารณะ การตัดสินใจไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่ส่งเสริมหลักการปกครองตนเอง

หลักการกระจายอำนาจ นิยาม หลักการกระจายอำนาจเป็นวิธีการที่รัฐมอบอำนาจปกครอง บางส่วนให้องค์กรอื่นนอกจากองค์กรของราชการส่วนกลางจัดทำ บริการสาธารณะบางอย่างโดยมีอิสระตามสมควร ไม่ต้องอยู่ ภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง เพียงแต่อยู่ในการ กำกับดูแลเท่านั้น

ลักษณะสำคัญของหลักการกระจายอำนาจ ๑.มีการแยกหน่วยงานออกไปเป็นนิติบุคคลอิสระจากราชการบริหารส่วนกลาง การแยกหน่วยงานออกไปให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลมหาชนต่างหากจากราชการส่วนกลาง เพื่อให้มีฐานะเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งที่มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่ของตนเอง กับมีความเป็นอิสระในการจัดทำบริการสาธารณะที่ได้รับมอบหมายไม่ต้องรับคำสั่งจากส่วนกลาง ส่วนกลางทำหน้าที่เพียงกำกับดูแล เป็นสาระสำคัญของหลักการกระจายอำนาจ

ลักษณะสำคัญของหลักการกระจายอำนาจ ๒. มีการเลือกตั้งผู้ปกครองของตนเอง การเลือกตั้งเป็นลักษณะสำคัญของหลักการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะการกระจายอำนาจปกครองให้แก่ท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง ถ้าไม่มีการเลือกตั้งก็ไม่นับว่ามีการปกครองท้องถิ่นอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของการกระจายอำนาจตามกิจการ

ลักษณะสำคัญของหลักการกระจายอำนาจ ๓. องค์กรตามหลักการกระจายอำนาจต้องมีอิสระ (Autonomy) ความมีอิสระในการจัดทำบริการสาธารณะที่ได้รับมอบหมายเป็นสาระสำคัญของหลักการกระจายอำนาจ องค์กรต้องมีอำนาจวินิจฉัยสั่งการและดำเนินกิจการได้ด้วยงบประมาณของตน ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของราชการส่วนกลาง

รูปแบบการกระจายอำนาจทางปกครอง ๑. การกระจายอำนาจตามพื้นที่ เป็นการกระจายอำนาจตามอาณาเขต โดยให้ท้องถิ่นต่าง ๆ ปกครองตนเอง โดยภายในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ จะได้รับมอบอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะหลาย ๆ ด้าน ท้องถิ่นดังกล่าวต้องดำเนินการด้วยงบประมาณและบุคคลากรของตนเองและโดยหลักจะทำได้เฉพาะภายในเขตพื้นที่ของตนเท่านั้น

รูปแบบการกระจายอำนาจทางปกครอง ๒. การกระจายอำนาจตามกิจการ เป็นวิธีการกระจายอำนาจโดยมอบบริการสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่งให้องค์กรซึ่งมิได้อยู่ในสังกัดของราชการส่วนกลางรับไปดำเนินการด้วยเงินทุนและเจ้าหน้าที่ของตนเอง เพื่อความมีประสิทธิภาพ การกระจายอำนาจประเภทนี้เป็นการมอบอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะทางเทคนิคหรือเศรษฐกิจที่เฉพาะเจาะจงไม่ได้มอบอำนาจหลาย ๆ อย่างเช่นการปกครองท้องถิ่น และ การกระจายอำนาจประเภทนี้ไม่ถูกจำกัดโดยเขตพื้นที่

ข้อดีของหลักการกระจายอำนาจ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจเรื่องสาธารณะ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนได้ดีและรวดเร็ว เกิดความชอบธรรมในการใช้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ เป็นเงื่อนไขให้การบริหารจัดการเป็นไปตาม หลักธรรมาภิบาล

ข้อเสียของหลักการกระจายอำนาจ อาจนำไปสู่ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ใช้งบประมาณสูง ไม่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ การบริการสาธารณะขาดความเป็นเอกภาพและอาจนำไปสู่ความไม่เสมอภาคในการให้บริการสาธารณะได้ง่าย

ข้อแตกต่างของหลักการแบ่งอำนาจกับกระจายอำนาจ ๑. การจัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาคตามหลักการแบ่งอำนาจ เป็นการจัดระเบียบราชการบริหารตามหลักรวมอำนาจไม่ใช่ตามหลักกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น เพราะการมอบอำนาจให้ส่วนภูมิภาคนั้นที่สุดแล้วอำนาจวินิจฉัยสั่งการสุดท้ายยังอยู่ที่ส่วนกลาง ขณะที่การกระจายอำนาจเป็นการตัดอำนาจของส่วนกลางไปให้ท้องถิ่นดังนั้นในเรื่องนั้น ๆ อำนาจวินิจฉัยสั่งการสุดท้ายจึงอยู่ที่ท้องถิ่น

ข้อแตกต่างของหลักการแบ่งอำนาจกับกระจายอำนาจ ๒. เจ้าหน้าที่ของส่วนภูมิภาคเป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวง กรม อันเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้แต่งตั้งทั้งสิ้น แต่เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคถือหลักการแต่งตั้ง ขณะที่การแต่งตั้งผู้ปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือหลักการเลือกตั้ง

วาทกรรมว่าด้วยการคอรัปชั่นของ อปท. (The Nation 20 ก.ย. 58) พบข้อมูล การสอบเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานส่วนตำบล จำนวน 19 อบต. ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม มีการทุจริต คาดวางเงินสูงกว่า 400 ล้านบาท

วาทกรรมว่าด้วยการคอรัปชั่นของ อปท. ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดอาญาและร่ำรวยผิดปกติที่ประเมินมูลค่าความเสียหายได้ ตั้งแต่ปี 56-58 พบในหน่วยงานรัฐ 53 เรื่อง มูลค่าความเสียหาย 4.03 แสนล้านบาท หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 30 เรื่อง 1.21 แสนล้านบาท และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 110 เรื่อง 168 ล้านบาท รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 5.25 แสนล้านบาท (สำนักข่าวไทย 15 ต.ค. 2558)

ตารางแสดงการทุจริตของ อปท. (2543-2550) ลำดับ หน่วยงาน จำนวนเรื่องที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริต จำนวนคนที่ถูกกล่าวหา 1 อบต. (5,335) 3,235 5,778 2 เทศบาล (2,440) 1,705 2,766 3 อบจ. (76) 283 441 4 กทม. 273 442 5 พัทยา 12 40

แบบทดสอบ จากบทเรียนเรื่องการโครงสร้างองค์กรของฝ่ายปกครองที่แบ่งเป็นแบบรวม อำนาจ แบ่งอำนาจ กระจายอำนาจ นั้น ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละไม่ เกิน ๔ คน และให้นึกศึกษาค้นหาหน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นเป็นตาม หลักการ ดังต่อไปนี้ ( ๓๐ นาที) รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ๑๐ หน่วยงาน แบ่งอำนาจ ๑๐ หน่วยงาน กระจายอำนาจตามพื้นที่ ๕ องค์กร กระจายอำนาจตามกิจการ ๑๐ องค์กร

เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง มีอำนาจสั่งการฝ่ายเดียวให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ต้องกระทำการหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่างได้ เช่น อธิการบดี ออกคำสั่งลงโทษทางวินัยนักศึกษาโดยการไล่ออก คำสั่งนี้เป็นการใช้อำนาจฝ่ายเดียวและมีผลยันนักศึกษาที่ถูกสั่งทันที จนกว่าคำสั่งนี้จะถูกยกเลิกหรือเพิกถอน การอุทธรณ์คำสั่งไม่มีผลระงับคำสั่งโดยอัตโนมัติ

เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง 2. ฝ่ายปกครองมีอำนาจตามกฎหมายในการใช้มาตรการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจศาล เช่น กรณีข้าราชการก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหน่วยงานรัฐ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ส่วนราชการต้นสังกัดมีอำนาจออกคำสั่งให้ข้าราชผู้นั้นนำค่าเสียหายมาชำระภายในกำหนดเวลา หากไม่ทำตาม ม. 57 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ให้อำนาจหน่วยงานยึดหรืออายัดทรัพย์ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระตามคำสั่งได้ โดยไม่ต้องฟ้องศาล

เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง 3. ทรัพย์สินของฝ่ายปกครอง โดยเฉพาะทรัพย์สินที่ใช้ในการ จัดทำบริการสาธารณะ มีสถานะพิเศษยิ่งกว่าทรัพย์สินเอกชน ไม่ อาจถูกครอบครองปรปักษ์ หรือยึดขายทอดตลาดได้ เช่น คณะนิติศาสตร์ มช. จ้างผู้รับเหมามาก่อสร้างอาคารเรียน ต่อมา คณะฯ ไม่ชำระเงินค่าจ้าง ผู้รับเหมาจะฟ้องคดีเพื่อขอให้นำอาคารเรียน ดังกล่าวไปขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ไม่ได้ เพราะอาคารเรียน เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะ

เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง อำนาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเลิกสัญญาบางชนิดที่ ทำกับเอกชนได้ฝ่ายเดียว เช่น ม.ช. ทำสัญญาจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารทางการแพทย์ ต่อมามีงานวิจัยพบว่าจุดบริเวณที่ก่อสร้างอาคารอยู่บนแนวรอยเลื่อนที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว ม.ช. จึงแก้ไขสัญญาโดยให้ผู้รับเหมาใช้แบบแผนและวัสดุก่อสร้างใหม่ที่สามารถรองรับปัญหาแผ่นดินไหวได้ โดยที่ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับเหมา

เหตุผลที่กฎหมายปกครองให้เอกสิทธิ์แก่ฝ่ายปกครอง เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้บริการสาธารณะดำเนินไปได้อย่างไม่ขาดตอนและบรรลุผลได้ตามวัตถุประสงค์

บ่อเกิดของกฎหมาย นิยาม ที่มาของกฎเกณฑ์อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่จริงใน บ้านเมือง ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า source of law บ่อเกิดของกฎหมายแตกต่างจากกฎหมายในแง่ที่ว่ามันเป็น รูปแบบหรือวิธีการที่สร้างกฎหมายขึ้นมา ส่วนกฎหมายมุ่ง หมายถึงเนื้อหาของกฎเกณฑ์ที่เป็นนามธรรมและบังคับใช้ ทั่วไป

ประเภทของบ่อเกิดของกฎหมาย บ่อเกิดที่เป็นลายลักษณ์อักษร รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น

ประเภทของบ่อเกิดของกฎหมาย ๒. บ่อเกิดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป คำถาม คำพิพากษา และคำอธิบายกฎหมายของนัก กฎหมายมีฐานะเป็นบ่อเกิดของกฎหมายหรือไม่?

ลำดับชั้นบ่อเกิดของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ/กำหนด กฎหมายลำดับรอง กฎหมายองค์การบัญญัติ

การแก้ไขปัญหากฎหมายขัดหรือแย้งกัน กฎหมายลำดับต่ำกว่าขัดหรือแย้งต่อกฎหมายระดับสูงกว่าไม่ได้ กฎหมายในระดับชั้นเดียวกัน ๒.๑) กฎหมายใหม่ย่อมตัดกฎหมายเก่า ๒.๒) กฎหมายเฉพาะย่อมตัดกฎหมายทั่วไป