ข้อสังเกตจากการตรวจสอบงบการเงิน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักตรวจสอบการเงินและบริหารพัสดุที่ ๑๙ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
การติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากข้อสังเกตจากการตรวจสอบ งบการเงินสำหรับงวดปีก่อน 1. เงินฝากธนาคาร 1.1 เงินฝากธนาคาร ประกอบด้วย เงินฝากธนาคาร–เงินในงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และเงินฝากไม่มีรายตัว ณ วันสิ้นงวด มียอดคงเหลือตามบัญชี (ระบบ GFMIS) สูงกว่ายอดคงเหลือจากธนาคาร (Statement) โดยมีการจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร แต่ไม่ครบทุกหน่วยเบิกจ่าย ทำให้มิทราบสาเหตุของความแตกต่างดังกล่าว ข้อเสนอแนะ ตรวจสอบหาผลต่าง กรณียอดเงินฝากธนาคารสูงกว่าบัญชีและ ไม่สามารถหาสาเหตุได้ให้นำเงินฝากคงเหลือดังกล่าวส่งเป็น รายได้แผ่นดิน และกรณียอดเงินฝากธนาคารต่ำกว่าบัญชี ให้ตั้ง คณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง ในการตรวจสอบหาสาเหตุของผลต่าง อาจจัดให้มีการฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร
การติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากข้อสังเกตจากการตรวจสอบ งบการเงินสำหรับงวดปีก่อน (ต่อ) 2. ลูกหนี้เงินยืม 2.1 มีการยืมเงินครั้งใหม่โดยยังไม่ได้ส่งใช้เงินยืมครั้งเก่า ซึ่งไม่เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 54 กำหนด 2.2 มีการอนุมัติเงินยืมเกินความจำเป็น เนื่องจาก มีการส่งคืนเงินสดจำนวนสูง (ร้อยละ 15 ขี้นไป) ซึ่งไม่เป็นไปตามที่ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 54 กำหนด 2.3 ส่งใช้เงินยืมเกินระยะเวลาตามที่ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 60 กำหนด
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ. ศ ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๕๔ การอนุมัติให้ยืมเงินเพื่อใช้ในราชการ ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติให้ยืมเฉพาะเท่าที่จำเป็น และห้ามมิให้อนุมัติ ให้ยืมเงินรายใหม่ในเมื่อผู้ยืมมิได้ชำระคืนเงินยืมรายเก่าให้เสร็จสิ้นไปก่อน ข้อ ๖๐ ให้ผู้ยืมส่งหลักฐานการจ่ายและเงินเหลือจ่ายที่ยืมไป (ถ้ามี) ภายในกำหนดระยะเวลา ดังนี้ (๑) กรณีเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน หรือการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ หรือกรณีเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ให้ส่งแก่ส่วนราชการผู้ให้ยืมโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือธนาณัติ แล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับจากวันได้รับเงิน (๒) กรณีเดินทางไปราชการอื่น รวมทั้งการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ให้ส่งแก่ส่วนราชการผู้ให้ยืมภายในสิบห้าวันนับจากวันกลับมาถึง (๓) การยืมเงินเพื่อปฏิบัติราชการนอกจาก (๑) หรือ (๒) ให้ส่งแก่ส่วนราชการผู้ให้ยืมภายในสามสิบวันนับจากวันได้รับเงิน
การติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากข้อสังเกตจากการตรวจสอบ งบการเงินสำหรับงวดปีก่อน (ต่อ) 2. ลูกหนี้เงินยืม (ต่อ) ข้อเสนอแนะ กำชับให้ผู้มีอำนาจอนุมัติเงินยืม และผู้ยืมเงินปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 อย่างเคร่งครัด และเร่งรัดจัดให้มีการควบคุมภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติ เรื่องเงินยืมราชการให้รัดกุมยิ่งขึ้น กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเงินยืมราชการต้องตรวจสอบประมาณการค่าใช้จ่ายของผู้ยืมให้มีความ เหมาะสมและใกล้เคียงกับความเป็นจริงก่อนเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติเงินยืม
การติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากข้อสังเกตจากการตรวจสอบ งบการเงินสำหรับงวดปีก่อน (ต่อ) 3. วัสดุคงเหลือ บัญชีวัสดุคงเหลือของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ไม่ได้ปรับปรุงยอดคงเหลือให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการตรวจสอบการรับ-จ่ายพัสดุประจำปีตรวจนับได้ ณ วันสิ้นงวด ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0423.3/ว267 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2558 เรื่อง คู่มือการบัญชีภาครัฐสำหรับส่วนราชการ บทที่ 7 การปรับปรุงตามเกณฑ์คงค้าง
การติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากข้อสังเกตจากการตรวจสอบ งบการเงินสำหรับงวดปีก่อน (ต่อ) 3. วัสดุคงเหลือ (ต่อ) ข้อเสนอแนะ สั่งการให้ทุกหน่วยเบิกจ่ายปฏิบัติตามคู่มือการบัญชีภาครัฐสำหรับส่วนราชการ อย่างเคร่งครัด และรายงานยอดวัสดุคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดต่อสำนักงานเลขานุการกรม–ส่วนบริหารงานการเงิน บัญชี และงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบการจัดทำงบการเงินในภาพรวม และเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบต่อไป
การติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากข้อสังเกตจากการตรวจสอบ งบการเงินสำหรับงวดปีก่อน (ต่อ) 4. ที่ดินบริเวณพุทธมณฑล สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ บันทึกรับรู้จำนวนเนื้อที่ของที่ดินบริเวณพุทธมณฑลไม่ครบ 2,500 ไร่ โดยบันทึกจำนวน 71 แปลง รวมเนื้อที่ 2,018 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวา โดยเนื้อที่ตามที่ระบุไว้ในโฉนดของทั้ง 71 แปลง ตรวจพบว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพียง 1,792 ไร่ 3 งาน 92 ตารางวา จึงขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติตรวจสอบภายในข้อเท็จจริงของผลต่างที่ปรากฏ
การติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากข้อสังเกตจากการตรวจสอบ งบการเงินสำหรับงวดปีก่อน (ต่อ) 4. ที่ดินบริเวณพุทธมณฑล (ต่อ) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รับรู้มูลค่าที่ดินจำนวน 71 แปลง เนื้อที่ 2,018 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวา ด้วยราคาประเมินของที่ดินบริเวณใกล้เคียง คิดเป็นเงิน 10,495,394,000.00 บาท ซึ่งการรับรู้มูลค่าที่ดินดังกล่าวไม่ได้รับรู้ด้วยราคาทุนตามที่นโยบายการบัญชีกำหนด จึงขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติหารือกรมบัญชีกลางเพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการบันทึกมูลค่าที่ดินบริเวณพุทธมณฑล เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีภาครัฐไม่ได้กำหนดวิธีการทางบัญชีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้
การติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากข้อสังเกตจากการตรวจสอบ งบการเงินสำหรับงวดปีก่อน (ต่อ) 5. ค่าล่วงเวลา - มีการเบิกจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นประจำทุกเดือน - การเบิกจ่ายสูงกว่าที่กำหนดไว้ในแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี - ไม่มีการประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือขออนุมัติปฏิบัติงานล่วงเวลา ซึ่งเป็นการปฏิบัติไม่เป็นไปตาม ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550 ข้อ 5 ที่กำหนดว่า การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายก่อนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยให้พิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็นต้องอยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในครั้งนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ของงานราชการเป็นสำคัญ และให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบและวิธีการจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ
การติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากข้อสังเกตจากการตรวจสอบ งบการเงินสำหรับงวดปีก่อน (ต่อ) 5. ค่าล่วงเวลา (ต่อ) ข้อเสนอแนะ จัดให้มีระบบการควบคุมภายในเรื่องการเบิกจ่ายค่าล่วงเวลาให้เหมาะสมรัดกุม โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความคุ้มค่า เป็นที่ตั้ง เพื่อให้สอดคล้องเป็นไปตามที่ระเบียบกำหนด รวมทั้งควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามประมาณการ ในแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต้องกำหนดให้มีการจัดทำแผนการปฏิบัติงานให้ชัดเจนในหนังสือขออนุมัติเพื่อปฏิบัติงานล่วงเวลา เพื่อควบคุมการใช้จ่ายเงิน และสามารถตรวจสอบความจำเป็นของการปฏิบัติงานนั้น ๆ ได้
ข้อสังเกตจากการตรวจสอบงบการเงินสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (ต่อ) 3. เงินอุดหนุนวัด มิได้กำหนดแนวปฏิบัติให้วัดที่รับเงินอุดหนุนจัดทำรายงานผลการดำเนินการและการใช้จ่ายเงิน แจ้งมายังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รวมทั้งไม่ได้กำหนดรูปแบบรายงานดังกล่าวขึ้นใช้อย่างเป็น ทางการ ทำให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเงินอุดหนุนนั้นมีการใช้จ่าย เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีความคุ้มค่าคุ้มประโยชน์หรือไม่ จึงขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กำหนดหลักเกณฑ์และรูปรายงาน รวมทั้งกำหนด หัวข้อในรายงานให้ชัดเจน รวมทั้งให้มีการรายงานผลการดำเนินงานทางการเงินด้วย
Thank you