คุณค่าและการพัฒนาพยาบาลเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวช ปทิดา ภาณุพิศุทธ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีธัญญา 14 ธันวาคม 2558
นโยบายกรมสุขภาพจิต ประจำปี 2558 - 2559 นโยบายกรมสุขภาพจิต ประจำปี 2558 - 2559 นโยบายที่ 1 : การพัฒนาระบบส่งเสริมและป้องกัน ปัญหาสุขภาพจิตทุกกลุ่มวัย และกลุ่มผู้พิการ นโยบายที่ 2 : การพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิต และจิตเวช นโยบายที่ 3 : การพัฒนาคุณภาพระบบบริหาร จัดการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช นโยบายที่ 4 : การพัฒนาความเป็นเลิศทางบริการ/ วิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช
คุณค่าและการพยาบาล คุณค่า หมายถึง สิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง การพยาบาล หมายถึง การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย เพื่อบรรเทาอาการโรค ยับยั้งการลุกลามของโรค การประเมินภาวะสุขภาพ การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพอนามัย การป้องกันโรค อาศัยหลักวิทยาศาสตร์ และศิลปะการ พยาบาล
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลสุขภาพจิต (Mental Health Nursing) หมายถึง การกระทำต่อบุคคล (Individual) หรือผู้รับบริการ (Client) ในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำรงส่งเสริมสุขภาพจิต และการควบคุมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การเจ็บป่วยทาง จิตเวชโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาล การพยาบาลจิตเวช (Psychiatric Nursing) หมายถึง การกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือและฟื้นฟู สภาพ เมื่อเจ็บป่วยทางจิตเวช รวมทั้งการช่วยเหลือ แพทย์กระทําการรักษาโรคทางจิตเวช โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปการพยาบาล
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช เป็นสาขาพยาบาลเฉพาะทาง มุ่งเน้นให้การพยาบาลและบำบัด ผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวชและสุขภาพจิต ด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การบำบัดทางจิต การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิต
การพยาบาลเป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ มิสฟลอเรนซ์กล่าวว่า การพยาบาลเป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ ศิลปะได้มาจากการจัดระบบในการปฏิบัติการพยาบาล วิทยาศาสตร์ได้มาจากองค์ความรู้ที่แท้จริง มีเหตุผลในการปฏิบัติ
การจำแนกโรคทางจิตเวช ประเทศไทยได้นำบัญชีแยกโรคระหว่างประเทศฉบับ แก้ไขครั้งที่ 10 (ICD - 10 = International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problem) ตาม WHO ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม (Mental and behavioral disorders = F00 - F99) โรคระบบประสาท (Diseases of the nervous system = G00 - G99)
การจำแนกโรคทางจิตเวช ความผิดปกติทางจิตใจที่มีสาเหตุจากโรค รวมทั้งที่มี อาการทางกาย (Organic, including symptomatic, mental disorders : F00 – F09) ความผิดปกติทางจิตใจและพฤติกรรมเนื่องจาการใช้วัตถุ ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Mental and behavioral disorders due to psychoactive substance use: F10 - F19) จิตเภท พฤติกรรม แบบจิตเภทและความหลงผิด (Schizophrenia, schizotypal and delusional disorders : F20 - F29)
การจำแนกโรคทางจิตเวช ความผิดปกติทางอารมณ์ (Mood affective disorders: F30 - F39) โรคประสาท อาการทางกายที่เกิดจากจิตใจและ ความเครียด (Neurotic stress-related and somatoform disorders : F40 - F49) กลุ่มอาการด้านพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติ ทางสรีรวิทยาและ ปัจจัยทางร่างกาย (Behavioral syndromes associated with physiological disturbances and physical factors : F50 - F59)
การจำแนกโรคทางจิตเวช ความผิดปกติของพฤติกรรมและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ (Disorders of adult personality and behavior : F60 - F69) ภาวะปัญญาอ่อน (Mental retardation : F70 - F79) ความผิดปกติของพัฒนาการทางจิตใจ (Disorders of psychological development : F80 - F89)
การจำแนกโรคทางจิตเวช พฤติกรรมและอารมณ์ที่มักเริ่มต้นในวัยเด็กและวัยรุ่น (Behavioral and emotional disorders with onset usually occurring in childhood and adolescence : F90 - F98) ความผิดปกติทางจิตใจที่มิได้ระบุรายละเอียด (Unspecified mental disorder : F99)
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๒๕๕๓ 1. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ “พยาบาลวิชาชีพ” อันดับ 1 เป็นอาชีพที่มีเกียรติ สังคมให้การยอมรับและยกย่องผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ 30.42% อันดับ 2 การให้บริการของพยาบาลระหว่างของรัฐและ เอกชน มีความแตกต่างกัน เช่น การพูดจา กริยา ท่าทางและเลือกปฏิบัติ เป็นต้น 22.61% อันดับ 3 ควรมีหน้าที่รักษาพยาบาล ดูแลผู้ป่วยทั้งทางด้าน ร่างกายและจิตใจให้เป็นไปตามมาตรฐานและ จรรยาบรรณวิชาชีพ 20.64% อันดับ 4 ต้องเสียสละ อดทนและมีใจรักในวิชาชีพ 15.20% อันดับ 5 เป็นอาชีพที่หางานทำได้ไม่ยาก 1.13% อ.กฤษณา เฉลียวศักดิ์, พยม.การพยาบาลผู้ใหญ่ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๒๕๕๓
พยาบาลแบบไหน ที่ประชาชนต้องการ อันดับ 1 จิตใจดี สุภาพ ยิ้มแย้ม เป็นกันเองกับทุกคน/ ให้บริการที่ประทับใจ 41.29% อันดับ 2 เป็นคนดี ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม 19.33% อันดับ 3 เป็นผู้ที่เสียสละและทุ่มเท โดยเฉพาะในพื้นที่ ห่างไกล หรือในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 17.02% อันดับ 4 มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ สามารถให้ ความรู้ แก่ประชาชนในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพอนามัย ได้อย่างถูกต้อง/เรียนรู้ และพัฒนาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ 14.41% อันดับ 5 ต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในอาชีพ ปฏิบัติหน้าที่อย่าง เต็ม กำลังความสามารถ 7.95%
ความหมายของคุณค่า เป็นความเชื่อของบุคคล กลุ่มคน หรือสังคม เกี่ยวกับ ความมีค่าของความคิด เจตคติ ประเพณี และได้ลงมือ ปฏิบัติตามสิ่งที่เชื่อ เป็นความศรัทธายอมรับจากความรู้สึก มากกว่าเหตุผล ข้อเท็จจริง
ประเภทของคุณค่า คุณค่าส่วนบุคคล Personal values เป็นสิ่งที่บุคคลให้คุณค่าตามความเชื่อและทัศนคติของตน คุณค่าทางวัฒนธรรม Cultural values คุณค่าแห่งวิชาชีพ Professional values เป็นสิ่งที่วิชาชีพให้คุณค่า และจะกำหนดเป็นจรรยาบรรณวิชาชีพ Fry, 1994
คุณค่าของวิชาชีพพยาบาล คุณค่าในสังคมไทย คุณค่าของวิชาชีพพยาบาล
การหาความกระจ่างในคุณค่าในสังคมไทย เลือกความเชื่อและพฤติกรรม การให้คุณค่าของความเชื่อ และพฤติกรรม การกระทำตามคุณค่า
การหาความกระจ่างในคุณค่า จะช่วยพยาบาลได้อย่างไร? ตระหนักถึงความสำคัญของความแตกต่างระหว่างบุคคล ลดความขัดแย้งระหว่างคุณค่า ส่งเสริมให้พยาบาลได้แสดงบทบาท advocacy ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่สอดคล้องกับคุณค่าของตน รู้จักและเข้าใจตนเอง พัฒนาตนเอง
คุณค่าในงานพยาบาล: ความหมายและประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพ กนกอร ธารา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช, จิราพร เกศพิชญวัฒนา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ตามแนวคิด ปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) ของ Heidegger วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและประสบการณ์ คุณค่าในงานของพยาบาลวิชาชีพ ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทย จำนวน 16 คน ได้รับการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกับการแปล ความหมายในปรากฏการณ์ (Hermeneutic phenomenology) โดยใช้วิธีการของ Van Manen (1990)
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ความหมายคุณค่าในงานพยาบาล ประกอบด้วย 3 ประเด็น หลัก คือ 1) คุณค่าจากการดูแล ได้แก่ ดูแลครอบคลุมแบบ องค์รวม ดูแลให้พ้นทุกข์ และดูแลด้วยความเอื้อ อาทร คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ 2) คุณค่าจากการให้ ได้แก่ การให้ที่ตรงตามความ ต้องการของผู้รับ และการให้ด้วยความเต็มใจ ไม่หวังผลตอบแทน 3) คุณค่าจากความปีติในใจ ได้แก่ รู้สึกอิ่มใจ เหมือน ได้ทำบุญ และที่สุดของความภูมิใจ
ประสบการณ์คุณค่าในงานพยาบาล มี 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การใช้องค์ความรู้ทางการพยาบาล นำไปสู่คุณค่าในงาน ได้แก่ การใช้ความรู้เพื่อแสดงถึงบทบาทวิชาชีพพยาบาล การใช้ความรู้ ในการช่วยเหลือดูแลเพื่อนมนุษย์ 2) การได้รับคำชื่นชม ทำให้เห็นคุณค่าของงานได้แก่ การได้มองเห็นความหมายของงาน เกิดกำลังใจในการทำงาน 3) การได้เรียนรู้ชีวิตจากการทำงาน ได้แก่ เรียนรู้ที่จะเข้าใจผู้อื่น เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิต
สวัสดี