หลักการและแนวคิดในการเขียนโครงการ เพื่อการพัฒนานิสิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย แก้ววังชัย
“โครงการเพื่อการพัฒนานิสิต” ทำอย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จในชีวิตการงาน สร้างจุดเด่นให้ตัวเราในการทำงานด้วยการ “ทำงานเป็น” ด้วยการฝึกประสบการณ์จาก “โครงการเพื่อการพัฒนานิสิต”
ความหมายของคำว่า “โครงการเพื่อการพัฒนานิสิต” โครงการ (PROJECT) เป็นกิจกรรมที่จะจัดขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ปรากฏอยู่ในแผนงาน (PROGRAM) และนโยบาย (POLICY) ของการพัฒนานิสิตสู่ความเป็น “บัณฑิตที่พึงประสงค์” และสอดรับกับเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ค่านิยม ปรัชญามหาวิทยาลัย รวมถึงสอดรับกับกรอบมาตรฐาน TQF โดยแต่ละโครงการที่จัดขึ้นในแต่ละครั้ง อาจมีกิจกรรมที่มากกว่า หนึ่งอย่าง แต่มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วันเวลา สถานที่ การดำเนินการ และงบประมาณ
ความสำคัญของ “โครงการเพื่อการพัฒนานิสิต” โครงการเพื่อการพัฒนานิสิต เป็นระบบและกลไกการส่งเสริมและสนับสนุน ให้นิสิตได้เรียนรู้ชีวิตผ่านกระบวนการของการ “เรียนนอกหลักสูตร” หรือ “เรียนนอกชั้นเรียน” มุ่งให้นิสิตมี “ทัศนคติที่ดี” ต่อ “การเรียน”และ “การดำเนินชีวิต” มี “ความรับผิดชอบ” ต่อตนเองและสังคม เข้าใจปรากฏการณ์ “ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม” เพื่อนำไปสู่การใช้ชีวิตในสังคมได้อย่าง “เป็นสุข” ตลอดจนการเป็น “บัณฑิตที่พึงประสงค์” ของมหาวิทยาลัย และสังคม ...เก่ง ดี มีสุข
ค่านิยมและคุณธรรม 4 ประการของนิสิต “มมส”
MSU FOR ALL... พึ่งได้ Moral M U S Unity Social Responsibility
Social Responsibility ค่านิยมของนิสิต มมส M Moral Social Responsibility MSU FOR ALL (พึ่งได้) S U Unity
ประพฤติดี มีวินัย คุณลักษณะ ด้านคุณธรรม4 ประการ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัด คุณลักษณะ 4 ประการ ประพฤติดี มีวินัย ใส่ใจ สิ่งแวด ล้อม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีน้ำใจ สามัคคี มารยาทดี วินัยต่อตนเอง มีความรับผิดชอบ การพึ่งพาตนเอง ยึดมั่นในกฎ ระเบียบข้อบังคับ วินัยต่อสังคม สถานศึกษา ชุมชน สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ
ประเภท/ลักษณะโครงการ (Project Characteristic) ลักษณะอันเป็นประเภทของโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ระบบและกลไก) 1.บำเพ็ญประโยชน์และสิ่งแวดล้อม 2.ศิลปวัฒนธรรม 3.นิสิตสัมพันธ์และวิชาการ 4.กีฬาและนันทนาการ
ที่มาของโครงการพัฒนานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1.กิจกรรมที่จัดโดยมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยเพื่อนิสิต) หมายถึง กิจกรรมที่มหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานในมหาวิทยาลัย (กองกิจการนิสิต คณะ สถาบัน สำนัก) ได้จัดขึ้น เช่น กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศ กิจกรรมเทางามสัมพันธ์ กิจกรรมสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ กิจกรรมวันสถาปนามหาวิทยาลัย 2.กิจกรรมที่จัดโดยองค์กรนิสิต (นิสิตเพื่อนิสิต) หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นโดยองค์กรนิสิต ได้แก่ สภานิสิต องค์การนิสิต สโมสรนิสิต ชมรม และกลุ่มนิสิต โดยกรณีชมรมนั้นประกอบด้วยชมรมในสังกัดองค์การนิสิต และชมรมในสังกัดสโมสรนิสิตคณะ
W6H..ที่ผู้จัดทำโครงการหรือผู้วิเคราะห์โครงการต้องคำนึงถึง Why Why (จะทำไปทำไม?).. จะต้องวิเคราะห์ว่า... โครงการนั้นมีเหตุผลอย่างไรที่จะต้องทำ มีความจำเป็นอย่างไรจึงต้องทำโครงการนี้ ข้อมูลสภาพปัญหา ข้อมูลสภาพแวดล้อมทั่วไปเกี่ยวกับโครงการที่นำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการต้องชัดเจน ครบถ้วน และเป็นจริง What When Where Who Whom How
What W6H..ที่ผู้จัดทำโครงการหรือผู้วิเคราะห์โครงการต้องคำนึงถึง (จะทำอะไร?).. จะต้องวิเคราะห์ว่า... โครงการนั้นมีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ชัดเจนหรือไม่ วัตถุประสงค์มีความสอดคล้องกับนโยบายมากน้อยเพียงใด กิจกรรมใดบ้างที่ต้องดำเนินการ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ มีการกำหนดแผน/แนวทางการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม/ขั้นตอนอย่างชัดเจนหรือไม่ Why What When Where Who Whom How
When W6H..ที่ผู้จัดทำโครงการหรือผู้วิเคราะห์โครงการต้องคำนึงถึง Why When (จะทำเมื่อใด?).. จะต้องวิเคราะห์ว่า... โครงการนั้น จะเริ่มดำเนินงานและสิ้นสุด แล้วเสร็จเมื่อใด ระยะเวลาและช่วงการดำเนินงานเหมาะสมหรือไม่ ระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมสอดคล้อง เหมาะสมหรือไม่ What When Where Who Whom How
Where W6H..ที่ผู้จัดทำโครงการหรือผู้วิเคราะห์โครงการต้องคำนึงถึง (จะทำที่ไหน?).. จะต้องวิเคราะห์ว่า... สถานที่ของการดำเนินงานโครงการอยู่ที่ใด เป็นแหล่ง หรือสถานที่เหมาะสมหรือไม่ Why What When Where Who Whom How
Who W6H..ที่ผู้จัดทำโครงการหรือผู้วิเคราะห์โครงการต้องคำนึงถึง Why Who (ใครทำ?).. จะต้องวิเคราะห์ว่า... ใครบ้างเป็นผู้ทำโครงการนั้น ผู้รับผิดชอบมีคุณสมบัติและความเหมาะสมหรือไม่ หากมีหลายหน่วยงาน มีการกำหนดหน่วยงานหลักหรือเจ้าภาพไว้อย่างชัดเจน เหมาะสมหรือไม่ และมีการกำหนดบทบาทแต่ละหน่วยงานไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ What When Where Who Whom How
Whom W6H..ที่ผู้จัดทำโครงการหรือผู้วิเคราะห์โครงการต้องคำนึงถึง (ทำเพื่อใคร?).. จะต้องวิเคราะห์ว่า... ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการเป็นใคร มีความต้องการ จำเป็น เหมาะสมหรือไม่ ความพร้อมของกลุ่มเป้าหมาย สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณีปฏิบัติด้านสังคมของกลุ่มเป้าหมาย เป็นอย่างไร Why What When Where Who Whom How
How W6H..ที่ผู้จัดทำโครงการหรือผู้วิเคราะห์โครงการต้องคำนึงถึง (ทำอย่างไร?).. จะต้องวิเคราะห์ว่า... มีวิธีการดำเนินงาน หรือบริหารโครงการอย่างไร จึงจะทำให้โครงการบรรลุเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ พิจารณาปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ และกลยุทธ์การดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลและความคุ้มค่า Why What When Where Who Whom How
องค์ประกอบของโครงการที่ใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชื่อโครงการ องค์กร/หน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการองค์กร หลักการและเหตุผล (ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ) วัตถุประสงค์
องค์ประกอบของโครงการที่ใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ต่อ) เป้าหมาย ลักษณะกิจกรรม ระยะเวลาการดำเนินการ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ประเภทของการจัดกิจกรรม งบประมาณค่าใช้จ่าย ผลที่คาดว่าจะได้รับ การประเมินผลโครงการ
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ประกอบของโครงการ
ชื่อโครงการ ( Project Title ) ควรเป็นชื่อที่เฉพาะเจาะจง กะทัดรัด และสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ควรเป็นชื่อที่จำได้ง่าย มีความหมาย และเร้าความสนใจ ควรเป็นชื่อที่สื่อถึงแนวคิดหลักของโครงการ ควรใช้คำที่มีความหมายเชิงบวกและสุภาพ ควรเป็นชื่อที่ระบุวัตถุประสงค์ หรือกลุ่มเป้าหมาย
ตัวอย่างชื่อโครงการ โครงการธรรมะในสถานศึกษา โครงการสานฝันร่วมใจ ต้านไฟป่า โครงการค่ายความรู้นี้พี่ให้น้อง โครงการ มมส ร่วมใจห่วงใยชุมชน (1 คณะ 1 หมู่บ้าน) โครงการเผยแพร่ดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสาน โครงการเยาวชนไทยต้ายภัยยาเสพติด โครงการเปิดโลกกิจกรรม โครงการฝึกอบรมทักษะการเขียนโครงการ โครงการทอดเทียนพรรษามหากุศล
ผู้รับผิดชอบโครงการ (Project Responsibility) ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจมีมากกว่า 1 คน และถ้าเป็นไปได้ ควรระบุตำแหน่งของผู้รับผิดชอบโครงการว่าดำรงตำแหน่งใด ในองค์กรใด หรือมีสถานะใดในการรับผิดชอบโครงการดังกล่าว เช่น หัวหน้าโครงการ เช่น นายพนัส ปรีวาสนา หัวหน้าโครงการ นายสมปอง มูลมณี รองหัวหน้าโครงการ นายรุ่งโรจน์ แฉล้มไธสง เลขานุการ
หลักการและเหตุผล (ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ) (Reason for Project Determination) เป็นส่วนที่แสดงถึงมูลเหตุของการจัดโครงการ หรือแสดงความสำคัญของโครงการที่มีต่อการแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์องค์กร หรือการสะท้อนความต้องการขององค์กร ซึ่งอาจระบุข้อมูลที่เชื่อมโยงระหว่างองค์กรและประเด็นที่จะจัดโครงการเข้าด้วยกัน ตลอดจนการเชื่อมโยงทฤษฎี นโยบาย หลักการหรือสถานการณ์มาสนับสนุนเพื่อให้เห็นความสำคัญของโครงการที่จะจัดขึ้น โดยข้อมูลที่นำมากล่าวอ้าง ต้องระบุแหล่งที่มาอย่างเป็นรูปธรรม
องค์ประกอบของหลักการและเหตุผล วรรคแรก ต้องระบุเหตุผล ที่มาที่ไปและความสำคัญของการจัดโครงการ ซึ่งอาจรวมถึงการสะท้อนสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งหากมีตัวเลขที่เป็นสถิติเข้ามาเกี่ยวข้องจะทำให้โครงการ ดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น (ระบุแหล่งอ้างอิงของสถิติ) วรรคสอง ต้องอธิบายเหตุผลของการจัดโครงการว่า “ทำเพื่ออะไร, ทำอย่างไร, วรรคสาม ส่วนมากจะเป็นสรุปจากวรรคสอง และกล่าวถึงการต่อยอดของโครงการ ว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง สามารถเพิ่มเติมอะไรได ้ หลังจากโครงการเสร็จแล้ว เป็นต้น
วัตถุประสงค์ (Objectives) เป็นส่วนที่สะท้อนให้เห็นถึง “เจตนารมณ์” หรือ “ความต้องการ” ของการจัดโครงการ สื่อให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการจะบรรลุอย่างกว้างๆ แต่ไม่คลุมเครือ โดยโครงการแต่ละโครงการอาจมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อ คือ วัตถุประสงค์หลัก และวัตถุประสงค์รอง การเขียนวัตถุประสงค์ในโครงการ ควรเขียนเรียงลำดับเป็นข้อๆ และเรียงลำดับตามความสำคัญของวัตถุประสงค์ โดยให้สัมพันธ์กับหลักการและเหตุผลที่ปรากฏในโครงการ
วัตถุประสงค์ (ต่อ) หลักการเขียนวัตถุประสงค์ที่ดี (หลัก SMART) คือ 1. Sensible and Specific : มีความเป็นไปได้และมีความเฉพาะเจาะจง ในการดำเนินการโครงการ 2. Measurable : สามารถวัดและประเมินผลระดับของความสำเร็จได้ 3. Attainable : ระบุถึงการกระทำที่สามรถปฏิบัติได้ มิใช่สิ่งเพ้อฝัน 4. Reasonable and Realistic : ต้องระบุให้มีความเป็นเหตุเป็นผล และสอดคล้องกับความเป็นจริง 5. Time : มีการกำหนดขอบเขตของเวลาที่จะกระทำให้สำเร็จได้อย่างชัดเจน
เป้าหมาย เป็นสิ่งบ่งบอกคุณลักษณะของความเป็น ทีม เป้าหมาย (Goal) คือ “ผลงาน” หรือ “ผลลัพธ์” ที่จะเกิดขึ้น หรือต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อโครงการเสร็จสิ้นลง มีลักษณะคล้ายกับ “วัตถุประสงค์” แต่มีความเป็นรูปธรรมกว่า และมีลักษณะเฉพาะเจาะจงในสิ่งที่อยากจะ ให้เกิดขึ้นภายใต้กรอบระยะเวลาที่โครงการระบุ โดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือ (1) เป้าหมายเชิงปริมาณ (ผู้ได้รับประโยชน์) (2) เป้าหมายเชิงคุณภาพ (สิ่งที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับประโยชน์) เป้าหมาย เป็นสิ่งบ่งบอกคุณลักษณะของความเป็น ทีม
ลักษณะการปฏิบัติงาน ( Work Procedure) 1.รูปแบบกิจกรรม : ระบุรายละเอียดของสิ่งที่ต้องทำในโครงการ คล้ายกับกำหนดการ แต่เป็นการสะท้อนเฉพาะประเด็นหลักตั้งแต่ต้น จนจบโครงการ เช่น การระบุหัวข้อการบรรยาย หัวข้อการเสวนา หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็น หรือชื่อการจัดกิจกรรมนันทนาการ 2.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน : ระบุแนวทางการดำเนินงานในลักษณะ ของกระบวนการบริหารจัดการในระบบ PDCA เช่น ขั้นเตรียมการ (ต้นน้ำ) ขั้นดำเนินการ (กลางน้ำ) ขั้นประเมินผล (ปลายน้ำ) โดยการระบุรายลเอียดว่าในแต่ละขั้นตอนต้องดำเนินการอย่างไร
การพัฒนาระบบการบริหารโครงการ ผ่านวงจร PDCA
PDCA : เป็นกระบวนคุณภาพพื้นฐาน ที่ต้องนำไปใช้ในการจัดโครงการเพื่อการพัฒนานิสิตหรือกิจกรรมอื่นๆ เพื่อให้กิจกรรมที่จัดขึ้นบรรลุวัตถุประสงค์ โดยผู้ริเริ่ม คือ ศาสตราจารย์เดมมิ่ง (Deming’s cycle)
Plan วางแผนการดำเนินงาน
Do การดำเนินการตามแผน
Check การประเมินแผน/ผล
Act หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน
วัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินงาน (Duration and Place) 1.วันเวลา : เป็นการระบุเงื่อนไขอันเป็น “กำหนดการ” หรือ “ระยะเวลา” (วัน เดือน ปี) ที่ต้องดำเนินการให้แล้ว เสร็จเพื่อให้เกิด “ผลงาน” หรือ “ผลลัพธ์” ที่กำหนดไว้ ตามวัตถุประสงค์การจัดโครงการ 2.สถานที่ : เป็นการระบุว่ากิจกรรมนั้นจะทำ ณ สถานที่แห่งใด ซึ่งต้องระบุให้ครอบคลุม เช่น ตำบล อำเภอ จังหวัด
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นส่วนขยายจากประเด็น “เป้าหมาย” ซึ่งต้องระบุว่าในโครงการที่จัดขึ้นนั้นได้ตั้งเป้าหมายว่าจะมีผู้เข้าร่วมกี่คน และในแต่คนนั้นมีสถานะเช่นใด เช่น 1.กลุ่มผู้ดำเนินงาน 1.1 ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.2 อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ 2.กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ 2.1 นิสิต 2.2 อื่นๆ เช่น อาจารย์ / ประชาชน
งบประมาณค่าใช้จ่าย ( Budgets) เป็นการประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรต้องระบุ หรือจำแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน รวมถึงการระบุแหล่งที่มาของงบประมาณให้จัดเจน ภายใต้แนวคิดของการใช้งบประมาณที่ประหยัด ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร แต่ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า โดยปกติ งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมพัฒนานิสิตจะประกอบด้วยแหล่งที่มาที่สำคัญ ๆ คือ เงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินงบประมาณแผ่นดิน งบประมาณอื่นๆ เช่น การจัดหาเอง หรือได้รับการสนับสนุนจากบุคคล หรือองค์กรในและนอกมหาวิทยาลัย
หลักการจัดทํางบประมาณโครงการและจัดสรรทรัพยากรโครงการแบบ 4E'S Economy ความประหยัด การเสนองบประมาณโครงการจะต้องเป็นไปโดยมีความประหยัด ใช้ทรัพยากรทุกอย่างให้คุ้มค่าที่สุด และได้คุณภาพของผลงานดีที่สุด Efficiency ความมีประสิทธิภาพ ต้องมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับ และทุกคนมีความพึงพอใจในผลงานที่เกิดขึ้น โดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ประหยัดที่สุด และได้รับผลตอบแทนคุ้มค่า
หลักการจัดทํางบประมาณโครงการและจัดสรรทรัพยากรโครงการแบบ 4E'S Effectiveness ความมีประสิทธิผล ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อนำผลที่เกิดขึ้นไปเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หากได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ก็ถือว่ามีประสิทธิผล Equity ความยุติธรรม การใช้ทรัพยากร ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ทุกฝ่ายปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องและคล่องตัว และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ (Benefits) เป็นการสะท้อนความคาดหวังว่าเมื่อเข้าร่วมโครงการแล้ว จะได้รับสิ่งใดกลับมาบ้าง และใครคือผู้ที่จะได้ประโยชน์ จากการจัดโครงการ ซึ่งต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรม
การประเมินโครงการ ( Project Evaluation ) การประเมินผลโครงการเสร็จสิ้นแล้ว บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ได้ผลสัมฤทธิ์ หรือผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่ ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยอาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือช่วยชี้วัด เช่น แบบสอบถามความพึงพอใจ หรือการสังเกตพฤติกรรม ภาพถ่าย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) เพื่อสรุปงานและถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างคณะทำงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อนำผลที่ได้ไปขยายผล หรือหาทางป้องกันเพื่อมิให้ปัญหาเก่าๆ เกิด โดยบุคลากรมีกิจรรมเชิงการพูด การฟัง และการสื่อสารที่สร้างสรรค์ คือ สุนทรียะทางการสนทนา
ลักษณะโครงการที่ดี
ลักษณะของโครงการที่ดี 1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาได้ 2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจำเพาะเจาะจงโดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้คือ โครงการอะไร (ชื่อโครงการ) ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ (หลักการและเหตุผล) ทำเพื่ออะไร (วัตถุประสงค์) ปริมาณที่จะทำเท่าไร (เป้าหมาย) ทำอย่างไร (วิธีดำเนินการ)
ลักษณะโครงการที่ดี (ต่อ) ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน (งบประมาณ แหล่งงบประมาณ ใครทำ (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ต้องประสานงานกับใคร (หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน) บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ (การประเมินผล) เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร (ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ)