ดร.จันทร์ ติยะวงศ์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดร.จันทร์ ติยะวงศ์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
ความเป็นมาและปัญหาของการวิจัย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 มาตราที่ 24 ได้ กำหนดแนวการจัดการศึกษาในส่วนของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยระบุให้ผู้เรียนได้ ฝึกทักษะและกระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มา ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น รักการอ่าน เกิดการใฝ่รู้อย่าง ต่อเนื่อง ผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วน สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอน สามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรู้ Thailand 4.0 Pyramid of Learning
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือ ปฏิบัติเรื่องสมการกำลังสองในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการคณิตศาสตร์ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนสุรนารีวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 51 คน
การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียน ลงมือปฏิบัติ
สังเคราะห์จาก การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ หลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และทฤษฎีการเรียนแบบร่วมมือ
เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล 1) ใบกิจกรรมที่เป็นปัญหาปลายเปิด 2) แบบบันทึกการสังเกตกิจกรรมการเรียนการสอน 3) แบบบันทึกเหตุการณ์ในการเรียนการสอน 4) แบบบันทึกความคิดเห็นของนักเรียนและผู้สอน 5) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 6) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 7) แบบประเมินกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 8) แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และ 9) แบบประเมินความพึงพอใจ
การวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบทีเทียบกับเกณฑ์ (t-test แบบ dependent)
ผลการวิจัย 1. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติมี 6 ขั้น 1) การเตรียมพร้อมเพื่อการเรียนรู้(Preparation for Learning) 2) กระบวนการคิด (Process of Thinking) 3) การนำเสนอผลงาน (Presenting) 4) การสรุปองค์ความรู้ (Conclusion) 5) การนำไปใช้ (Application) และ 6) การประเมินและสะท้อนผล(Assessment)
2. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 75% 2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ 75% 2.2 นักเรียนมีกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้าน การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารและการนำเสนอ การเชื่อมโยง และ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สูงกว่าเกณฑ์ 75% 2.3 นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา การทำงาน อย่างเป็นระบบ และความมีน้ำใจ สูงกว่าเกณฑ์ที่ 75%
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับดีมาก คำสำคัญ : การเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน และ ความพึงพอใจ
กรอบแนวคิดการวิจัย
( One Short Case Study Design) หรือ (One Group Posttest Only Design) แบบแผนการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบหลังสอนเทียบกับเกณฑ์ ( One Short Case Study Design) หรือ (One Group Posttest Only Design)
การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ครั้งที่ 1 การทดลองรายบุคคล โดยทดลองกับนักเรียน 1 คน ซึ่งมีระดับความสามารถปานกลาง เพื่อ พิจารณาเกี่ยวกับภาษา กิจกรรม และความเหมาะสมของระยะเวลาโดยผู้วิจัยจดบันทึก สังเกต ซักถาม เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข 2. ครั้งที่ 2 การทดลองกลุ่มเล็ก ผู้วิจัยแก้ไขการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากการทดลองครั้ง ที่ 1 จากนั้นนำไปทดลองกับนักเรียน 12 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มประกอบด้วย นักเรียนที่เรียน เก่ง ปานกลาง และอ่อนในอัตราส่วน 1 : 2 : 1 โดยสังเกตนักเรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อดูข้อบกพร่อง ในเรื่องการจัดกิจกรรม และเวลาที่ใช้เป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ จากการสังเกตและสัมภาษณ์อย่าง ไม่เป็นทางการได้พบว่า นักเรียนสามารถทำใบกิจกรรมที่สร้างขึ้นได้หมด มีความเข้าใจในปัญหา ปลายเปิดและมีความพึงพอใจในการทำกิจกรรม เรื่อง สมการกำลังสอง
3. ครั้งที่ 3 การทดลองภาคสนาม 3.1 นำข้อบกพร่องจากการทดลองกลุ่มเล็กมาปรับแก้ไข แล้วนำไปใช้กับกลุ่มใหญ่ เป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยได้แบ่งกลุ่มนักเรียนที่คละความสามารถตามคะแนนเดิมที่เป็นคะแนนเฉลี่ยจากชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 และกำหนดให้นักเรียนตั้งชื่อทั้ง 7 กลุ่มเป็นประเภทของขนมไทย ผลการนำไปใช้ พบว่านักเรียนสามารถปฏิบัติตามกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 6 ขั้นด้วยดีและเกิดผลงานประจักษ์ มีความพึงพอใจกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ปรับปรุงมาแล้วนี้ 3.2 นำการจัดการเรียนรู้มาใช้ในการปฏิบัติการสอนจริงกับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนสุรนารีวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 51 คน ใช้เวลา 9 ชั่วโมง โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติมี 6 ขั้น
สรุปผลการวิจัย 1.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ มี 6 ขั้นได้แก่ การเตรียมพร้อมเพื่อการเรียนรู้ (Preparation for Learning) 2) กระบวนการคิด (Process of Thinking) 3) การนำเสนอผลงาน (Presentation) 4) การสรุปองค์ความรู้ (Conclusion) 5) การนำไปใช้ (Application) และ 6) การประเมินและสะท้อนผล (Assessment and Reflection) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารและนำเสนอ การ เชื่อมโยง และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์ ความ รับผิดชอบ การตรงต่อเวลา การทำงานอย่างเป็นระบบ และความมีน้ำใจ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ สูง กว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับดีมาก
อภิปรายผล พระราชบัญญัติฯ2542 ชิ้นงาน (Tasks) ตอบปัญหาปลายเปิด(Open Ended Problems) Polya การเรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ (Active Learning) สมรรถนะสำคัญ 5 อย่าง
ข้อเสนอแนะ 1. ครูควรเน้นการทำความเข้าใจในปัญหาปลายเปิดและการผลิตชิ้นงานในแต่ละขั้นการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนของนักเรียน เพื่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพ 2. การจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นนี้ตรงวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษาและสอดคล้องกับการ ประเมินตามสภาพจริง ในขั้นการนำเสนองานนั้นไม่เฉพาะแต่นำเสนอโดยประกอบชิ้นงานในแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด แต่ควรประยุกต์ให้มีการนำเสนอที่หลากหลายกว่านี้ เช่นการนำเสนอด้วย power point ซึ่งเป็นการแสดง ถึงการใช้สมรรถนะทางเทคโนโลยี 3. ครูควรมีการใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญนี้เพื่อส่งเสริมการคิดของ นักเรียนในวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆที่นอกเหนือจากคณิตศาสตร์ เนื่องจากสามารถประเมินได้ครบทั้ง 3 ด้านคือด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะและกระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 4. การจัดการเรียนรู้นี้ไม่เพียงแต่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเท่านั้น สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ในหลักสูตรอบรมครูบรรจุใหม่ หรือหลักสูตรการพัฒนาตนเองให้มีวิทยฐานะสูงขึ้น
ขอบคุณครับ