งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)
คือ การสอบเพื่อวัดความรู้ ความสามารถของนักศึกษา ในการนำหลักวิชาการ (ทฤษฎี แนวคิด) และประสบการณ์ ในการเรียนระดับบัณฑิตศึกษาไปประยุกต์ใช้

2 ลักษณะของการสอบประมวลความรู้
1. ข้อเขียน (Written) 2. ปากเปล่า (Oral) บางสาขา/ คณะ/มหาวิทยาลัยอาจมีการดำเนินการสอบประมวลความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้ทั้งสองลักษณะร่วมกัน

3 ความครอบคลุมของการสอบประมวลความรู้
ทุกรายวิชาที่ต้องเรียนหรือกำหนดไว้ในหลักสูตร หรือเฉพาะวิชาแกนอันเป็นหัวใจของแต่ละสาขา หรือหลักสูตร

4 ขอบเขตของการสอบประมวลความรู้
ในแต่ละสาขา/หลักสูตรมักมีขอบเขตของการสอบโดยเน้นให้ นักศึกษานำทฤษฎีหลัก ๆ ที่เป็นทฤษฎีแกนของสาขา มาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง

5 ข้อแนะนำสำหรับการเตรียมตัวสอบ
ต้องศึกษาทบทวนแต่ละกระบวนวิชาหรือวิชาแกนของหลักสูตร เริ่มจากศึกษา ……. คำอธิบายรายวิชา Course description หาคำสำคัญ Keywords ของกระบวนวิชานั้น ๆ หาทฤษฎี/แนวคิดที่สำคัญ (Main theories/concepts) ในกระบวนวิชานั้น ๆ พร้อมกันนั้นให้วิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ที่เกี่ยวข้องกับสาขาหรือหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่

6 ต้องวิเคราะห์ เพื่อนำเอาทฤษฎี แนวคิด หลักการมาแก้ไข
ปัญหานั้น ๆ เขียนเป็นร่างก่อน แล้วหัดแต่งข้อสอบ แล้วตอบคำถาม ให้อ่านตรวจทานหลาย ๆ รอบ ถ้าเขียนได้เชื่อมโยงสละสลวย อ่านแล้วจะรื่น ๆ ถ้าเขียนไม่ดี อ่านแล้วจะสะดุด

7 เกณฑ์ในการวัดทักษะ 1. ทักษะในการกำหนดประเด็นปัญหา
(Ability to identify problems) ต้องสามารถระบุปัญหาที่สำคัญในปรากฏการณ์ทางสังคม (Social Phenomena) หรือกรณีศึกษา (Case study) ที่กำหนดให้ศึกษา พร้อมระบุสาเหตุของปัญหานั้น ๆ ได้

8 ในการแก้ปัญหา 2. ทักษะในการกำหนดหาทางเลือก
(Ability to propose alternatives solutions) ต้องสามารถเสนอทางเลือกในการแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งอาจมีทางเลือกมากกว่าหนึ่งอย่าง โดยต้องแสดงความรู้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งชี้เหตุผลและอธิบายวิธีการของแต่ละทางเลือกได้อย่างเหมาะสม

9 3. ทักษะในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ
(Ability to analyze & select the best alternative) ต้องมีการวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานั้น ๆ โดยต้องทำการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของทางเลือกทั้งหมดในเชิงข้อมูลปริมาณและคุณภาพ ให้ชัดเจน ตลอดจนสรุปได้ว่าทางเลือกไหนดีที่สุด

10 4. ทักษะในการนำเสนอด้วยวิธีการเขียน
(Ability for written presentation) การนำเสนอในรูปของการเขียนรายงาน จะต้องมีการจัดลำดับการเขียนเนื้อหาที่กล่าวมาทั้งหมดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และคำนึงถึงความสะดวกในการตรวจด้วย

11 รองคณบดีฝ่ายจัดการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ เช่น รองคณบดีฝ่ายจัดการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ รศ. ดร. เกียรติสุดา สินสุข ได้แนะนำว่า ในแต่ละสาขาวิชานักศึกษาต้องดูที่เป้าหมาย ปรัชญาของหลักสูตรว่าต้องการอะไร เพราะกระบวนการสร้างแต่ละหลักสูตรมีการกำหนดเป้าหมายบัณฑิตว่า ต้องการให้มีคุณลักษณะอย่างไร แล้วดำเนินการสร้างหลักสูตร – วิชาแกน - รายวิชา .ให้สอดรับกัน

12 สาเหตุที่สอบประมวลความรู้ไม่ผ่าน
1. จับหัวใจสำคัญของหลักสูตรที่เรียนไม่ได้ 2. คำตอบที่เขียนไม่ครอบคลุม แคบเกินไป 3. ทักษะการนำเสนอ ไม่ว่าการเขียน การพูด ขาดการจัดลำดับ ขั้นตอน (ไม่เตรียมตัว ไม่ฝึกซ้อมการคิดวิเคราะห์มาล่วงหน้า)

13 4. ด้วยมีการให้คะแนนเป็นกลุ่ม หาค่าเฉลี่ย บางคนจัดการในการตอบไม่ดี เช่น ไม่ตอบทุกข้อ หรือให้น้ำหนักข้อใดข้อหนึ่งเกินไป 5. ขาดการเตรียมตัวที่ดี ไม่อ่านทบทวนเนื้อหาวิชาแกนของหลักสูตร ตลอดจนปรากฏการณ์ในสังคม 6. ขาดการวิเคราะห์ ทฤษฎี แนวคิด ให้ไปเชื่อมโยงกับปัญหาหรือปรากฏการณ์ในสังคม

14 การสอบข้อเขียน มีหลายรูปแบบแล้วแต่สาขาวิชาจะกำหนด
สำหรับ รป.ม. มี 2 ข้อ 1. เกี่ยวกับงานวิจัย (โครงร่าง I.S.) 2. เกี่ยวกับเนื้อหาหลักที่เรียน

15 การออกข้อสอบเกี่ยวกับงานวิจัย
ตัวอย่างคำถาม 1. หัวข้อวิจัยที่ท่านทำการศึกษา ที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกก.หลักสูตร 1.1 สาเหตุสำคัญที่ท่านสนใจศึกษาเรื่องนี้ เพราะอะไร มีวัตถุประสงค์และสมมติฐานในการศึกษาอย่างไร 1.2 แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ให้บรรยายพอสังเขป และจงบอกว่าแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวสามารถนำไปสู่คำตอบและตอบสมมติฐานได้อย่างไร

16 การตอบข้อเขียนเกี่ยวกับงานวิจัย
- คำถามของส่วนนี้ออกสอบเหมือนกันทุกครั้ง - เป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องนำโครงร่างวิจัยมาเขียนตอบ - ควรฝึกเขียนให้มีความเชื่อมโยงกัน - ต้องตอบวัตถุประสงค์ได้ ตอบสมมติฐานได้ - ถ้างานวิจัยไม่มีสมมติฐานก็ไม่ต้องตอบข้อนี้ ปกติเป็นงานเชิงคุณภาพ (สัมภาษณ์)

17 การออกข้อสอบเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาหลัก
ตัวอย่างคำถาม - ระบบราชการปัจจุบันของไทยเป็นอย่างไร อุปสรรคมีอย่างไร ถ้าจะพัฒนาต้องทำอย่างไร จะใช้แนวคิดอะไรมาอธิบาย

18 ข้อสอบเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาหลัก
- ข้อสอบมักเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน - ข้อสอบจะถามถึงเนื้อหาวิชาหลัก ประกอบด้วย 1) นโยบายสาธารณะ 2) การเงินการคลัง (การคลังภาครัฐ) 3) การจัดการองค์กร 4) การบริหารงานบุคคล หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์

19 การตอบข้อสอบเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาหลัก
1. ใช้แนวคิด ทฤษฎี หรือตัวแบบ 2. ใช้สถานการณ์ที่เป็นอยู่จริง เช่น นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน หรือสถานการณ์การเมืองที่เชื่อมโยงภาครัฐในปัจจุบัน 3. วิเคราะห์ข้อเท็จจริง 4. บอกข้อดีข้อเสียได้ 5. มีข้อเสนอแนะ

20 ตัวอย่างการตอบข้อสอบเกี่ยวกับการคลังภาครัฐ
1. ใช้ทฤษฎีลูกโป่งของ ดร.ป๋วย 2. ใช้แนวคิดของ Musgrave 3. ใช้นโยบายของรัฐบาล เช่น โครงการต่าง ๆ 4. วิเคราะห์ 5. ข้อดี ข้อเสีย 6. ข้อเสนอแนะ 7. สรุป

21 ตัวอย่างการตอบข้อสอบเกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. ใช้หลักอุปถัมภ์ คุณธรรม หรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 2. ใช้แนวคิดตาม พรบ.ข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน 3. วิเคราะห์ 4. ข้อดี ข้อเสีย 5. ข้อเสนอแนะ 6. สรุป

22 ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะ
1. การแบ่งเวลาในการทำข้อสอบแต่ละส่วน 2. การเรียงลำดับเนื้อหา 3. ลายมือต้องเขียนตัวโต ให้อ่านง่าย 4. การใช้ keyword หรือถ้อยคำสำคัญ หากขีดเส้นใต้จะชัดเจนขึ้น 5. เมื่อขึ้นเนื้อหาส่วนใหม่ ควรย่อหน้าให้ชัดเจน 6. ควรมีความเป็นตัวของตัวเองในการตอบ 7. ควรมีข้อมูลในการตอบด้วยการติดตามข่าว อ่านหนังสือพิมพ์ อ่านเว็บไซต์ หรือบทความทางวิชาการ


ดาวน์โหลด ppt การสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google