เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ชุมชนศึกษาและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน วิชา ชุมชนศึกษาและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน SIM 2114 อาจารย์ดร. วาสนา สุรีย์เดชะกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
แนวคิดและความหมายชุมชน ชุมชน Community กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งหนึ่ง มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีศรัทธา ความเชื่อ เชื้อชาติ การงาน ความรู้สึกนึกคิด ความสนใจที่คล้ายคลึงกัน มีการเกื้อกูลกัน ในการอยู่ร่วมกัน ชุมชนในรูปแบบใหม่ ชุมชน การพัฒนาเทคโนโลยี
การศึกษาชุมชน ความหมายของการศึกษาชุมชน กระบวนการศึกษาและอธิบายชุมชนอย่างเป็นระบบว่าชุมชนนั้นมีสภาพโดยรวมเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร มีรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชุมชนเป็นอย่างไร มีการจัดระเบียบทางสังคมอย่างไร มีปัจจัยหรือมีอิทธิพลจากภายนอกมาเกี่ยวข้องอย่างไร มีองค์ความรู้อะไรบ้าง มีวิธีการและศักยภาพอย่างไรในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน
วัตถุประสงค์ในการศึกษาชุมชน การศึกษาชุมชนเพื่อหาข้อเท็จจริงต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน การศึกษาชุมชนเพื่อทดสอบความรู้เดิมให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การศึกษาชุมชนเพื่อนำข้อเท็จจริงไปใช้ประโยชน์ในงานพัฒนา
ประเภทของการศึกษาชุมชน การจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการนำความรู้ไปใช้ การจำแนกตามเนื้อหาข้อมูลที่จะนำไปใช้ - ศึกษาชุมชนแบบข้อมูลโดยละเอียด - ศึกษาชุมชนแบบข้อมูลเฉพาะ การจำแนกตามวิธีการเก็บข้อมูล - ศึกษาชุมชนแบบสำรวจ - ศึกษาชุมชนแบบการมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด - ศึกษาชุมชนแบบเอกสาร - ศึกษาชุมชนแบบอื่นๆ
ประเภทของการศึกษาชุมชน ( ต่อ ) การจำแนกตามวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล - การศึกษาชุมชนแบบปริมาณ - การศึกษาชุมชนแบบคุณภาพ การจำแนกตามผู้กระทำการศึกษา การจำแนกตามทรรศนะของผู้ศึกษา - การศึกษาชุมชนโดยบุคคลภายนอกชุมชน - การศึกษาชุมชนโดยบุคคลภายในชุมชน
แนวคิดในการศึกษาชุมชน ปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมมี ๒ ระดับ - ปรากฏการณ์ในระดับผิวหน้า - ปรากฏการณ์ในระดับเบื้องหลังผิวหน้า ปรากฏการณ์ทางสังคมมีความสลับซับซ้อน แต่ละมิติมีความสัมพันธ์กัน ปรากฏการณ์ทางสังคมในสังคมหนึ่งถูกกำหนดขึ้นและเข้าใจความหมายรู้กันในกลุ่มคนซึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเดียวกัน การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม ต้องอาศัยการเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมหนึ่งๆ
มิติ / ประเด็นของการศึกษาชุมชน โครงสร้างทางสังคม ( Social Structure ) สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ ( Ecology ) กลไก หรือ วัฒนธรรม ( Culture )
ข้อพิจารณาในการศึกษาชุมชน ต้องศึกษาประวัติศาสตร์หมู่บ้านและรูปแบบการใช้ทรัพยากร ต้องศึกษาผู้นำและบทบาทผู้นำ ต้องศึกษา ทั้งในด้านความสัมพันธ์และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม ต้องมีการสร้างแบบจำลอง ( Model ) เพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาชุมชนและอธิบายชุมชน
เทคนิคการศึกษาชุมชน การประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน ( Rapid Rural Appraisal - RRA ) การประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Rural Appraisal - PRA ) การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research - PAR )
เทคนิคการศึกษาชุมชน ( ต่อ ) การศึกษาวิเคราะห์ระบบชนบท ( Rural System Analysis - RSA ) การวิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร ( Agro – ecosystem Analysis - AA ) การวิเคราะห์ชุมชนด้วยความละเอียดอ่อน ( Soft System Analysis - SSA )
เทคนิคการศึกษาชุมชน ( ต่อ ) แผนที่ความคิด ( Mind Mapping ) เทคนิค A – I – C ( Appreciation Influence Control ) SWOT ( SWOT Analysis )
เทคนิคการศึกษาชุมชน ( ต่อ ) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาอนาคตร่วมกัน ( Future Search Conference - FSC ) กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ( Social Learning Process - SLP )
วิธีการและกระบวนการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน การสังเกต ( Observation ) การสัมภาษณ์ ( Interview ) การสนทนากลุ่ม ( Focus Group ) การใช้ข้อมูลเอกสาร การเข้าสนาม การศึกษาแบบผสมผสาน
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การทบทวนข้อมูลมือสอง ( Review of Secondary Sources ) การสังเกตการณ์โดยตรง ( Direct Observation ) แผนที่วงจรข่าย ( Network Map ) การสัมภาษณ์ ( Interview ) แบบสอบถามอย่างสั้น ( Short Questionnaire )
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ( ต่อ ) ประวัติบุคคล ( Biography ) การทำประวัติพื้นที่ ( Local History ) เส้นเวลา ( Time Line ) การศึกษารายกรณี ( Case Study )
พยายามมองให้พ้นจากตนเอง ขจัดทรรศนะที่มีไว้ล่วงหน้าออกไปเสียก่อน การวิเคราะห์ชุมชน แนวคิดในการวิเคราะห์ชุมชน มองโดยยึดค่านิยม ความเชื่อ ความคุ้นเคย และแบบแผนการใช้ชีวิตของตนเองเป็นหลัก และมองเพียงปรากฏการณ์ผิวเผิน มองโดยยึดตนเองเป็นหลัก แต่มีความเห็นว่าบางส่วนของสังคมยังไม่เหมาะสม ต้องมีการแก้ไข มองโดยยึดตนเองเป็นหลัก แต่เพิ่มความพยายามในการศึกษาต้นตอของปรากฏการณ์ต่างๆในมุมที่กว้างขึ้น พยายามมองให้พ้นจากตนเอง ขจัดทรรศนะที่มีไว้ล่วงหน้าออกไปเสียก่อน
หลักการวิเคราะห์ชุมชน ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน ศึกษาสาเหตุของปัญหา ศึกษาความสามารถในการแก้ไขปัญหา ศึกษาลู่ทางในการแก้ไขปัญหา
กระบวนการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทรรศนะ เปรียบเทียบ สังเกต และจัดหมวดหมู่ข้อมูลเนื้อหา แยกแยะ ตีความ สรุปความ ขยายความ และประเมินค่าข้อมูลเนื้อหา ค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ และสรุปเนื้อหา สร้างความรู้ความเข้าใจ สรุปเนื้อหาที่นำไปปฏิบัติได้
การวิเคราะห์ชุมชนกับการพัฒนา เป็นกระบวนการซึ่งทำให้เห็นถึงปฏิกิริยาหรือการตอบสนองต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การวางแผนพัฒนา เป็นการศึกษาวิจัยระดับจุลภาคที่เน้นเฉพาะในท้องถิ่นที่ขอบเขตพื้นที่ไม่กว้าง ทำให้เจาะลึกเข้าไปค้นคว้าและวิเคราะห์ปัญหาเฉพาะของท้องที่นั้นๆได้สะดวก
การวิเคราะห์ชุมชนกับการพัฒนา ( ต่อ ) เป็นการศึกษาวิจัยระดับจุลภาคทำให้วิเคราะห์ได้ว่ากลุ่มใดมีฐานะเช่นใด และมีปัญหาใด ในกระบวนการวิเคราะห์ชุมชนร่วมกับสมาชิกของชุมชนเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการพัฒนาการวิจัยเชิงคุณภาพ ส่งผลให้การพัฒนาชุมชนประสบความสำเร็จ
เงื่อนไขและขอบเขตการประยุกต์ใช้ ระบบรัฐบาล ระบบชุมชน นักพัฒนา