งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โดย รศ ดร. ประณีต ส่งวัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โดย รศ ดร. ประณีต ส่งวัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โดย รศ ดร. ประณีต ส่งวัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การวิเคราะห์ข้อมูลและ เขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดย รศ ดร. ประณีต ส่งวัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตรี จักร ศูล P.Songwathana, 2012

2 สรุปความหมายของการวิจัยเชิงคุณภาพ
เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยการค้นหาความจริงที่เป็นไปโดยธรรมชาติ พยายามสร้างความรู้ความเข้าใจจากการมองภาพรวมอย่างรอบด้าน ใช้นักวิจัยเป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ใช้วิธีวิเคราะห์ตีความหมายในแบบอุปนัยหรืออุปมานเป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

3 คุณลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ลักษณะของคำถาม ประเภทของข้อมูล การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง บทบาทของผู้ศึกษา เทคนิคการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอ ทำไม อย่างไร ข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความเชื่อ เลือกเจาะจง ความหลากหลาย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ไม่ควบคุม เป็นธรรมชาติ (naturalistic method) และใช้วิธีการหลากหลาย (multi-method) บรรยาย เป็นองค์รวม

4 วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อรวบรวมข้อมูลและทบทวนองค์ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติจากเอกสารและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาประสบการณ์ ปัญหา และข้อเสนอแนะในการจัดการภัยพิบัติของระบบสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 3 พื้นที่ของจังหวัดภาคใต้ เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการภัยพิบัติของระบบสาธารณสุขที่ดี

5 กลุ่มตัวอย่าง (ผู้ให้ข้อมูล)
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมี 3 กลุ่ม 1) กลุ่มผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติหรือผู้ให้การช่วยเหลือ 3) กลุ่มที่ประสบภัยหรือได้รับผลกระทบ คุณสมบัติของผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ หรือได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำ เป็นผู้ที่ยินดีในการให้ข้อมูล

6 วิธีการเก็บข้อมูล การสัมภาษณ์ In-depth interview
การสนทนากลุ่ม Focus group discussion การสังเกต Observation การบันทึกภาคสนาม Field note การวิเคราะห์เอกสาร Documentation การศึกษาชีวประวัติ Life history

7 แนวคำถามสำหรับกลุ่มผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ (กลุ่ม 1 and 2)
การเตรียมความพร้อม เพื่อการจัดการภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำ จากประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ของท่าน ท่านได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนเตรียมความพร้อม เพื่อการจัดการภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำ และได้ปฏิบัติตามแผนเพื่อเตรียมรับภัยพิบัติมากน้อยอย่างไรบ้าง การเตรียมรับภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำ แผนหรือกลยุทธ์ที่ทำมีความเหมือนหรือแดกต่างไปจากภัยพิบัติอื่นๆอย่างไร อะไรที่เป็นองค์ปรกอบหลักหรือเป็นส่วนสำคัญในการเตรียมรับภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำ การเตรียมความพร้อมเพื่อการจัดการภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำที่สำคัญที่สุดคือเรื่องใด และมีอะไรที่ทำให้คิดว่าเรื่องดังกล่าวสำคัญที่สุด

8 ชนิดของคำถาม Probing ใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์จากขึ้น มักต่อจากคำถามแรกเป็นวิธีการเพื่อทำให้เกิดความชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อต้องการเข้าใจความหมาย Hypothesis question เป็นการถามถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ทางเลือก หรือความคิดเห็น และถามผู้ให้ข้อมูลว่าคิดอย่างไร หรือจะทำอย่างไรในสถานการณ์นั้น Contrast question เป็นการถามให้เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์ความเหมือน ความแตกต่าง Posing the ideal ถามข้อมูลเพื่อบรรยาย และวิเคราะห์สถานการณ์สมมุติที่อาจจะเกิดขึ้นและเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน

9 Tips and techniques for Indepth
คำถาม “ทำไม” ให้เปลี่ยนเป็น “อย่างไร” ทำไม เป็นผลจากการตัดสิน อย่างไร จะบอกถึงกระบวนการ พยายามให้ผู้ให้ข้อมูลเล่าเรื่องราวแบบอิสระหรือเป็นธรรมชาติ ค้นหาที่มาของเสียงหัวเราะ ร้องไห้ หรือเงียบ ใช้แนวคำถามในการสัมภาษณ์อย่างระมัดระวัง อดทนต่อความเงียบ

10 การสนทนากลุ่ม:กระบวนการเริ่มต้นเพื่อทำความเข้าใจ
การทักทาย เป็นช่วงเวลาของการทำความคุ้นเคยกัน การจัดการเกี่ยวกับแบบฟอร์มการลงทะเบียนก่อนการสนทนากลุ่ม การยินยอม การอธิบายวัตถุประสงค์และความสำคัญของการสนทนากลุ่ม การอนุญาตให้เข้าร่วมกิจกรรมและการบันทึกเทป การกำหนดกติกาของปฏิสัมพันธ์และข้อจำกัดต่าง ๆ การขออนุญาตจัดการกับสถานการณ์ที่ยุ่งยาก การอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนการของการสนทนากลุ่ม

11 สิ่งที่ควรทำขณะดำเนินการ
ควรใช้การสังเกต ตั้งใจฟังและให้เกียรติ จับประเด็น ถามเชื่อมโยง ตรวจสอบความเข้าใจ สะท้อนข้อมูล และโยนคำถาม/ความคิดให้สมาชิกกลุ่มช่วยกันให้ความเห็น การใช้เทคนิคกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มแต่ละคนได้พูดอย่างเต็มที่ ให้อภิปราย ขยายความ ยกตัวอย่าง ต้องไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าถูกคุกคาม กรณีมีรายละเอียดมาก ขอดูแผนภาพหรือเอกสารช่วย กรณีไม่สามารถอัดเทป ควรจดบันทึกเฉพาะคำหรือข้อความสำคัญ แล้วค่อยขยายละเอียด ควรยุติการสัมภาษณ์ เมื่อพบว่าผู้ให้ข้อมูลมีความรู้สึกเหนื่อย หรือไม่สามารถให้ข้อมูลต่อ หรือเกินเวลาที่กำหนด ควรถามความเห็นของผู้ให้ข้อมูลก่อนทุกครั้ง

12 เมื่อสิ้นสุดการเก็บข้อมูลแต่ละครั้ง
จบการสัมภาษณ์/สนทนากลุ่มทุกครั้ง จะต้องเขียนบันทึกสรุปของตนเอง ว่าได้อะไร ความรู้สึก บรรยากาศ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะดำเนินการ เพื่อเป็นแฟ้มงานสนาม ถอดความและอ่านข้อมูลที่ได้เพื่อตรวจสอบ ทบทวนและวิเคราะห์เบื้องต้น วางแผนการเก็บข้อมูลและเตรียมประเด็นคำถามครั้งต่อไป การฝึกบ่อยๆจะช่วยให้มีความมั่นใจ และมีเทคนิคการถาม การเจาะลึกได้ดีขึ้น

13 เมื่อไรจะเสร็จสิ้นกระบวนการเก็บข้อมูล?
ข้อมูลมีความอิ่มตัว ไม่มีอะไรใหม่เพิ่ม อ๋อ ทุกข้อคำถาม ได้สาระชัดเจน ครอบคลุม มีข้อมูลสนับสนุน

14 ความสัมพันธ์ระหว่างการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
ปริมาณ งาน การวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บข้อมูล ระยะเวลา P.Songwathana, 2012

15 การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ
เป็นการจำแนกแยกแยะข้อมูล จัดข้อมูลออกมาเป็นกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง กระบวนการจัดระเบียบข้อมูลที่ได้มาและสรุปตีความ เพื่อตอบประเด็นที่ต้องการรู้หรือสงสัย เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ แผนที่ แผนภูมิ ตารางรายการ รูปภาพ เครือข่ายของเหตุและผล การจัดแยกประเภทของคำ ความคิด ความเชื่อ P.Songwathana, 2012

16 ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
P.Songwathana, 2012 ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล *การวิเคราะห์ข้อมูลควรทำพร้อมไปกับการเก็บข้อมูล* เก็บข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลที่ได้ แยกแยะและจัดหมวดหมู่ อ่านข้อมูลที่ได้ การให้คำอธิบาย/ตีความ ค้นหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงในปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือเหมือนกัน ตรวจสอบความอิ่มตัวของข้อมูลที่วิเคราะห์ วิเคราะห์สรุปแก่นเนื้อหา

17 การเตรียมข้อมูล “แกะรอย” ออกมาทุกคำพูดที่บันทึกเทป
พยายามเขียนบันทึกข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ที่เทปไม่ได้บันทึกไว้ การจัดกลุ่มข้อมูลจากการถอดเทป การจัดรูปแบบการเรียบเรียงข้อมูลที่ถอดจากเทป: นิยมใช้กระดาษขนาดมาตรฐานและเว้นเนื้อที่ด้านขวาสุดของกระดาษ พิจารณาเรื่องจรรยาบรรณ: การรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล P.Songwathana, 2012

18 การอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลรายวัน
อ่านข้อมูลที่ถอดเทป จับประเด็นหรือข้อความสำคัญในแต่ละตอนของข้อมูล จัดกลุ่มของข้อมูลที่จำแนกไว้ ใช้การอธิบายความหมายของข้อความดังกล่าวตามบริบทที่ได้ อภิปรายหาความเชื่อมโยงของข้อความดังกล่าวในแต่ละตอนที่ได้ทั้งหมด P.Songwathana, 2012

19 การอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลรายวัน
กำหนดประโยคที่คิดว่าจะสะท้อนให้เห็นถึงภาพย่อยหรือภาพรวมในแต่ละเรื่องที่ได้ เพื่อตอบคำถามการวิจัย กำหนดประเด็นที่ยังไม่แน่ใจ หรือยังไม่มีคำตอบ และตั้งคำถามหรือสมมุติฐานที่ต้องการข้อมูลเพิ่มหรือทดสอบ P.Songwathana, 2012

20 ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ด้านเครื่องมือวิจัย : นักวิจัยทุกคนเป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์การทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ ด้านวิธีการ : เอกสารที่ใช้ต้องมาจากแหล่งตีพิมพ์ที่เชื่อถือได้ ผู้ให้ข้อมูลหลักทุกคนเป็นเจ้าของปรากฏการณ์ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับปรากฏการณ์ที่ศึกษา ใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่เหมาะสม หลายวิธี เพื่อให้ข้อมูลที่รุ่มรวย (rich) หนักแน่น (thick) และอิ่มตัว (saturated) P.Songwathana, 2012

21 ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ใช้วิธีการตรวจสอบสามเส้า เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้าน ด้านวิธีการ (methods triangulation) ด้านผู้เก็บข้อมูล (investigator triangulation) ด้านผู้ให้ข้อมูล (data triangulation) ด้านทฤษฎี (theoretical triangulation) ด้านการวิเคราะห์ : ทีมวิจัยทั้งหมดประชุมร่วมกันเป็นระยะ เพื่อตรวจสอบดรรชนี การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ และการตีความข้อมูลให้ตรงกัน ครอบคลุมทุกมิติสามารถตอบคำถามงานวิจัย และได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ P.Songwathana, 2012

22 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) เน้นความสำคัญของสาระตามเอกสารมากกว่าการหาความหมายที่ลึกซึ้ง มีความเป็นวัตถุวิสัย (objectivity) มีความเป็นระบบ (systematic) สอดคล้องกับทฤษฏี (theoretical relevance) วิเคราะห์แก่นสาระ (thematic analysis) เน้นการหาความหมาย การตีความข้อมูล อย่างลึกซึ้งจากมุมมองของคนใน ต้องวิเคราะห์ตลอดกระบวนการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ด้วยตนเอง และใช้การอ่านทบทวนหลายครั้ง เพื่อการบรรยาย อธิบาย หรือตีความ P.Songwathana, 2012

23 ขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
1) อ่านและทำความเข้าใจข้อมูล 2) ตั้งดรรชนี 3) จัดระบบ จำแนกหมวดหมู่ข้อมูล ตามเนื้อหา ให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ นิยามหรือกรอบการวิจัยที่กำหนดไว้เป็นเกณฑ์ ข้อความมีรายละเอียดและครอบคลุมเนื้อหา ข้อความที่เด่นชัด ไม่ซ้ำซ้อน ใช้หลักการหรือเกณฑ์เดียวกันในการแบ่งประเภทหมวดหมู่เนื้อหา กำหนดหน่วยเนื้อหาที่จะทำการจำแนกเพื่อแจงนับ กำหนดวิธีการแจงนับ เช่น นับความถี่ นับเวลา สถานที่ 4) ตีความ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ 5) สร้างข้อสรุป P.Songwathana, 2012

24 ตัวอย่างงานวิจัย: คุณภาพชีวิตกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตและความคิดคงอยู่ในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ (ศิริพร และคณะ, 2554) วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่ออธิบายความหมายของคุณภาพชีวิต ระดับคุณภาพชีวิตและความสุขของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย เพื่อระบุอิทธิพลของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต และความคิดคงอยู่ในวิชาชีพตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อหาอัตราของพยาบาลที่มีความคิดที่จะเลิกประกอบวิชาชีพการพยาบาลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อความคิดที่จะเลิกประกอบวิชาชีพการพยาบาล P.Songwathana, 2012

25 ตัวอย่าง context mapping จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของศิริพร และคณะ (2554)
P.Songwathana, 2012

26 ตัวอย่างประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในงานวิจัย คุณภาพชีวิตของพยาบาล
คุณภาพชีวิตกับความสุขเป็นเรื่องเดียวกัน ภาระงาน และค่าตอบแทน ไม่เป็นธรรม การยอมรับจากสังคมตกต่ำลง โอกาสก้าวหน้าน้อย ครอบครัวถูกทอดทิ้ง ไม่มีเวลาดูแลสุขภาพตนเอง แพทย์และญาติผู้ป่วย เพิ่มความเครียด คงสุขได้จากผู้ป่วย และอุดมการณ์ตนเอง P.Songwathana, 2012

27 ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
การวิเคราะห์โดยอาศัยการปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือข้อสมมุติฐานต่างๆที่มีก่อนการเก็บข้อมูล เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือที่ปรากฎอยู่จริง (successive approximation) ตัวอย่าง ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการบริหารจัดการภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำในระดับจังหวัด *ปัจจัยพื้นฐาน (เดิมตามที่คิด) งบประมาณ ประสบการณ์ของชุมชน *ปัจจัยผลักให้เกิด เห็นความทุกข์ยากที่เป็นเหมือนกัน ทัศนคติทางบวกต่อการเกิดภัยพิบัติ *ปัจจัยดึงให้ทำสำเร็จ ความสามัคคี ทุกคนมองเป็นเหน้าที่ มีผู้นำดี P.Songwathana, 2012

28 ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (2)
วิเคราะห์โดยนำข้อมูลเชิงประจักษ์มาแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างของทฤษฎี (Illustrative method) เช่น การที่คนในชุมชนตัดสินใจในการอยู่หรือหนีภัยพิบัติ ตัวอย่างการที่คนในชุมชนตัดสินว่าคนไหนเป็นหรือไม่เป็นเอดส์ ดูจาก อาการที่ปรากฏภายนอก สืบประวัติและอาชีพ การทราบผลตรวจ การเสียชีวิตก่อนวัย P.Songwathana, 2012

29 ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (3)
วิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง (Analytic comparison) ตัวอย่าง การเปรียบเทียบผลงานของ 2 ชุมชนในการเตือนภัย ควรเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกันก่อน เช่นได้ผลเหมือนกัน แล้วจึงค้นหาสิ่งที่แตกต่าง โดยการจัดกลุ่มของความแตกต่างนั้นและอธิบาย P.Songwathana, 2012

30 ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (4)
วิเคราะห์โดยการจัดกลุ่มความคิดหรือแนวคิด (Domain analysis) เป็นกระบวนการวิเคราะห์โดยการจำแนกประเภทที่เน้นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆตามระบบคิดของผู้ศึกษาอย่างเป็นระบบ เช่น การให้ความหมายของภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำ ตัวอย่าง การให้ความหมายของโรคเอดส์ ประกอบด้วย 3 แนวคิด ได้แก่ *เชิงพื้นบ้าน *เชิงการแพทย์หรือตามทฤษฎี *แบบรวมทั้งสองแนวคิด P.Songwathana, 2012

31 Credibility (internal validity) Dependability (reliability)
มีข้อมูลยืนยันในการนำเสนอ Credibility (internal validity) ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน Dependability (reliability) Trustworthiness Conformability (objectivity) ไม่มีการลำเอียง Transferability (external validity) มีความเฉพาะเจาะจงและเป็นจริงทุกครั้ง เมื่อนำไปใช้ P.Songwathana, 2012

32 วางเค้าโครงในการเขียนผลการวิจัย
ลักษณะข้อมูลทั่วไป สาระหรือเนื้อหาข้อมูลที่พบ ดูตามวัตถุประสงค์หรือคำถามการวิจัย จำแนกเป็นบทๆ อภิปรายผล สรุปและเสนอแนะ P.Songwathana, 2012

33 หลักการเขียนบรรยายและอภิปราย
มีความชัดเจนในประเด็นที่เขียน ไม่วกวน สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย มีความต่อเนื่อง และเป็นเหตุเป็นผล มีข้อมูลตัวอย่างสนับสนุนประกอบการบรรยายและการอ้างอิง มีประโยคหรือความนำเพื่ออธิบายบริบท มีความเชื่อมโยงของเนื้อหาและวิธีการได้มาของข้อมูล

34 ข้อควรตระหนักในการเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ
ไม่สามารถอ้างผลที่ได้ถึงประชากรได้ ใช้ได้เฉพาะกลุ่มที่มีบริบทเหมือนกันเท่านั้น ให้เกียรติและคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล นำเสนอความเป็นจริงและปกปิดตามความเหมาะสม มีการบรรยายวิธีการศึกษาและข้อมูลสนับสนุนเชิงประจักษ์ที่ดี เขียนอย่างมีระบบและมีการสื่อสารที่เป็นพลวัตต่อเนื่อง ยอมรับการวิจารณ์และปรับปรุงแก้ไข ไม่มีรูปแบบการเขียนที่แน่นอน ผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีการฝึกเขียนโดยการอ่านและศึกษารูปแบบที่หลากหลาย P.Songwathana, 2012

35 การเขียนให้คนอ่านเข้าใจเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ต้องฝึก
It is your style ความหลากหลายรูปแบบในการเขียนเป็นศิลปะและสีสัน ไม่ใช่เป็นอุปสรรคของการสื่องานวิจัยเชิงคุณภาพ P.Songwathana, 2012

36 ตัวอย่างการเขียนบรรยาย:
สาระสำคัญของข้อค้นพบจากงานวิจัยที่นำเสนอในบทนี้ คือ ภาพความก้าวหน้าของพยาบาลสายปฏิบัติตามประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยนำเสนอเป็นประเด็นหลัก 3 ประเด็น คือ ความหมายของความก้าวหน้าการทำงาน อิทธิพลที่มีผลต่อความก้าวหน้า การดิ้นรนเพื่อความก้าวหน้า ทั้งนี้ภาพของแต่ละประเด็นสร้างผ่านคำบอกเล่าของผู้ให้ข้อมูลหลัก ดังต่อไปนี้

37 ตัวอย่างรูปแบบการบรรยายตามประเด็นที่ค้นพบ
ศิริพร และคณะ (2553) 1. ความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาลสายปฏิบัติ : สูงสุด คือ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล เมื่อกล่าวถึงความก้าวหน้าของพยาบาล โดยภาพรวมปรากฏเป็น 2 ลักษณะ คือ ด้านกายภาพ ซึ่งหมายถึงระดับซี ตำแหน่งหน้าที่ และการได้รับโอกาสต่างๆ ส่วนลักษณะที่ 2 คือ ด้านนามธรรม ซึ่งหมายถึงการได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการสุขภาพ และชุมชน/สังคม P.Songwathana, 2012

38 ตัวอย่างการเขียนบรรยาย: ความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาลสายปฏิบัติ
ศิริพร และคณะ (2553) เนื่องจากความก้าวหน้าด้านกายภาพเชื่อมโยงกับค่าตอบแทน ข้อค้นพบประเด็นนี้ที่สำคัญ คือ ผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมดให้ภาพของความก้าวหน้าทางกายภาพนี้ในทางลบ กล่าวคือ มีคำว่า “ตัน” และ “ไม่ก้าวหน้า” นอกจากนี้ยังมีคำว่า “ไม่เป็นธรรม” เมื่อเทียบกับภาระงานและวิชาชีพอื่นๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ P.Songwathana, 2012

39 ตัวอย่างการเขียนบรรยาย (ต่อ)
ศิริพร และคณะ (2553) สูงสุดคือหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลของโรงพยาบาล “เป็นพยาบาลปฏิบัติการสองปี จบมาเป็นพยาบาลปฏิบัติการ สองปีก็จะเป็นระดับชำนาญการ ชำนาญการแล้วก็เป็นชำนาญการพิเศษ แต่ชำนาญการพิเศษมันมีน้อย ถ้าถึงชำนาญการน่ะถึงได้ทุกคน ทีนี้พออายุเยอะมันก็จะมาติดที่ชำนาญการ พอติดเงินเดือนติดเขาก็จะเซ็ง ตำแหน่งชำนาญการพิเศษมันจะมีน้อย” (หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล) P.Songwathana, 2012

40 ตัวอย่างการเขียนบรรยาย (ต่อ)
ศิริพร และคณะ (2553) จากตัวอย่างคำพูดกล่าวข้างต้น สะท้อนว่าในด้านความก้าวหน้าทางกายภาพแล้วตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หรือชื่ออื่นๆ ผู้อยู่ในตำแหน่งนี้อาจจะเป็นซี7 หรือ 8 ขึ้นอยู่ว่าองค์กรมีขนาดใหญ่เท่าใด ดังนั้นจึงมีผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนหนึ่งเห็นว่าการเป็นหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลไม่ใช่ความก้าวหน้าที่แท้จริง เพราะระดับซี ค่าตอบแทนไม่แตกต่างจากคนอื่น เช่น ค่าเวร เนื่องจากบทบาทของหัวหน้า และที่สำคัญที่สุด คือ ตำแหน่งดังกล่าวไม่ใช่ตำแหน่งบริหารอย่างแท้จริง เป็นเพียงตำแหน่งที่กำหนดขึ้นเองในองค์กรเท่านั้นไม่มีกฎหมายรองรับ จึงไม่มีอำนาจทางการบริหารอย่างแท้จริง ดังตัวอย่างคำพูดของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล ดังต่อไปนี้ P.Songwathana, 2012

41 ตัวอย่างการอภิปรายผล: กระบวนทัศน์ของเส้นทางความก้าวหน้าของพยาบาลวิชาชีพ
ศิริพร และคณะ (2553) ทั้งความก้าวหน้าในรูปของตำแหน่งที่มีกรอบจำกัดและตัน ตลอดจนในรูปของค่าตอบแทนเป็นสิ่งที่สร้างความอึดอัด คับแค้นใจแก่พยาบาลจำนวนมาก ผู้ให้ข้อมูลหลักรู้สึกไร้หนทางที่จะต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม นอกจากนั้นมีข้อค้นพบว่ามีความขัดแย้งของวิธีคิดในการบริหารจัดการมีว่าในโครงสร้างการบริหาร แพทย์เป็นหัวหน้าสั่งการไม่คำนึงถึงความเป็นวิชาชีพ ทำงานกับพยาบาลเหมือนหัวหน้ากับลูกน้อง แต่ในเรื่องค่าตอบแทนแพทย์ที่ร่วมในการศึกษาครั้งนี้ระบุว่าเป็นหน้าที่ที่พยาบาลต้องต่อสู้ผลักดันกันเอง เพราะแต่ละวิชาชีพต้องดูแลกันเอง ดังนั้นความเป็นวิชาชีพของพยาบาลได้รับการยอมรับก็ต่อเมื่อมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพยาบาล แต่ความเป็นวิชาชีพของพยาบาลจะถูกลดค่า หรือมองข้ามเมื่อผู้บริหารต้องการประโยชน์จากพยาบาล P.Songwathana, 2012

42 ตัวอย่างการอภิปรายผล: กระบวนทัศน์ของเส้นทางความก้าวหน้าของพยาบาลวิชาชีพ
ศิริพร และคณะ (2553) คำว่า “ตัน” และ “ไม่เป็นธรรม” จึงเป็นวาทกรรมที่เกิดขึ้นในกระบวนทัศน์ของเส้นทางความก้าวหน้านี้ โดยที่ “ตัน” หมายถึง ไม่ไหลลื่นไปไม่ถึงจุดสูงสุด ไม่ไหลลื่นเนื่องจากมีกรอบอัตราตำแหน่งเป็นตัวบังคับ ไม่ถึงจุดสูงสุด คือ ไม่มีตำแหน่งบริหารสูงสุดในองค์กรทุกระดับ เนื่องจากการไม่ได้รับการยอมรับในศักยภาพการเป็นผู้บริหาร P.Songwathana, 2012


ดาวน์โหลด ppt โดย รศ ดร. ประณีต ส่งวัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google