งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล
บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล ดร.นันทิมา นาคาพงศ์ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

2 เนื้อหาในบทเรียน 1. ความหมายของการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. ประเภทของข้อมูล
3. ลักษณะของข้อมูลที่ดี 4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การสัมภาษณ์ 6. การสังเกต 7. การสอบถาม 8. การทดสอบ 9. การสนทนากลุ่ม 10. การจดบันทึก 11. แหล่งความคลาดเคลื่อนของการเก็บรวบรวมข้อมูล

3 ความหมายของการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง ... กระบวนการที่มีระบบขั้นตอนในการดำเนินการของการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากแหล่งข้อมูล ที่กำหนดไว้ ที่จะนำมาวิเคราะห์ ในการตอบปัญหาการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4 ประเภทของข้อมูล 1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data)
1.จำแนกข้อมูลตามแหล่งที่มาของข้อมูล จะแบ่งข้อมูลได้ 2 ประเภท คือ เก็บรวบรวมขึ้นใหม่จากแหล่งกำเนิดของข้อมูลโดยตรง มีความน่าเชื่อถือได้ ถูกต้องและเป็นจริง เช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง 1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) คัดลอกจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้อื่น/หน่วยงานเก็บรวบรวมไว้ อาจมีข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ เช่น รายงานการวิจัย บันทึกการนิเทศ 1.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)

5 ประเภทของข้อมูล 2.จำแนกข้อมูลตามลักษณะข้อมูล จะแบ่งข้อมูลได้ 2 ประเภท คือ แสดงเป็นปริมาณหรือตัวเลข เช่น คะแนน จำนวนนักศึกษา น้ำหนัก ระยะทาง 2.1 ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) แสดงในลักษณะข้อความที่จัดกลุ่มบ่งบอกตามคุณลักษณะของตัวแปร เช่น ศาสนา อาชีพ ประเพณี วัฒนธรรม การแต่งกาย 2.2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data)

6 ลักษณะของข้อมูลที่ดี
1.สอดคล้องกับปัญหาวิจัย 2.มีความถูกต้อง 3.ทันสมัย 4.ครบถ้วนสมบูรณ์

7 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสัมภาษณ์
1. การสัมภาษณ์ (Interview) แบบมีโครงสร้าง แบบไม่มีโครงสร้าง

8 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสัมภาษณ์
ข้อจำกัด ใช้เวลาและแรงงาน เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ผู้ช่วยในการสัมภาษณ์ อาจมีปัญหาความน่าเชื่อถือของข้อมูล ต้องเผชิญหน้ากับผู้สัมภาษณ์ ไม่ให้เวลาเพียงพอ มีผลต่อความถูกต้องน่าเชื่อถือของข้อมูล การจดและบันทึกเสียง ไม่เป็นธรรมชาติ ข้อดี ใช้ได้ดีกับกลุ่มตัวอย่างทุกประเภท ซักถามผู้สัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ ได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการ ซักถามประเด็นที่ลึกหรือซับซ้อนได้ ตรวจสอบความถูกต้องในการตีความ สังเกตปฏิกิริยาว่าให้ข้อมูลอย่างจริงใจหรือไม่

9 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสังเกต
2. การสังเกต (Observation)

10 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสังเกต
1. แบ่งตามการใช้เครื่องมือ แบบมีโครงสร้าง แบบไม่มีโครงสร้าง กำหนดเรื่องราวหรือขอบเขตของเนื้อหาไว้ล่วงหน้าแน่นอน เตรียมเครื่องมือไว้ล่วงหน้า สังเกตเฉพาะข้อมูลหรือเรื่องราวที่กำหนดไว้ ไม่มีการกำหนดเรื่องราวหรือขอบเขต ของเนื้อหาไว้ล่วงหน้า ยุ่งยากในการวิเคราะห์ข้อมูล การแยกประเภทข้อมูล

11 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสังเกต
2. แบ่งตามบทบาทของผู้สังเกต แบบมีส่วนร่วม แบบไม่มีส่วนร่วม

12 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสังเกต
ข้อดี ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถสื่อสารกับผู้วิจัยได้ ไม่รบกวนเวลาของกลุ่มตัวอย่าง เลือกสังเกตปรากฏการณ์ได้ตามต้องการ ใช้ได้กับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน ไม่ต้องเตรียมวิธีการหรือเครื่องมืออื่นใด ข้อจำกัด ผ่านการฝึกฝนให้เป็นคนช่างสังเกต ใช้เวลามาก สังเกตทีละเรื่องทีละราย ใช้เวลารอคอย ใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น กล้องถ่ายรูป อาจแปลควาหมายผิด ถ้าผู้สังเกตไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมของกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีสัมภาษณ์หรือสนทนากลุ่มร่วมด้วย

13 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสอบถามหรือการสำรวจ
3. การสอบถามหรือการสำรวจ (Survey)

14 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสอบถามหรือการสำรวจ
ข้อจำกัด ใช้ได้เฉพาะผู้ตอบที่อ่านออกเขียนได้คล่อง ผู้ตอบอาจไม่เข้าใจภาษาในแบบสอบถาม ผู้ตอบอาจเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการหรือมอบให้ผู้อื่นตอบแทน ไม่เห็นปฏิกิริยาของผู้ตอบ ไม่สามารถ ประเมินความจริงใจและความน่าเชื่อถือ ได้แบบสอบถามตอบกลับคืนน้อย ใช้เทคนิคการทวงถาม ข้อดี ประหยัดแรงงาน เวลา ค่าใช้จ่าย เก็บข้อมูลได้พร้อมกันหลายคน ผู้ตอบมีอิสระในการตอบ ไม่เผชิญหน้ากันระหว่างผู้ถามและผู้ตอบ ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้มีทักษะเฉพาะทาง มีหลักฐานที่มาของข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร เก็บไว้ตรวจสอบได้ภายหลัง

15 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การทดสอบ
4. การทดสอบ (Test) ทดสอบข้อเขียน ทดสอบภาคปฏิบัติ ทดสอบปากเปล่า

16 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การทดสอบ
ข้อดี ได้ข้อมูลที่เป็นความรู้ความสามารถจริง เลือกใช้เครื่องมือทดสอบได้หลากหลายพัฒนาความรู้ความสามารถ สมอง ทักษะทางปัญญา ร่างกาย ข้อจำกัด ผู้ออกข้อสอบมีความสามารถในการสร้างแบบทดสอบที่ดี ต้องจัดบรรยากาศและดำเนินการสอบให้ได้มาตรฐานเดียวกันทุกครั้ง ทุกคน ข้อสอบอัตนัยและภาคปฏิบัติ ต้องมีเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน ฝึกผู้ที่จะทำการตรวจ ให้ตรวจด้วยมาตรฐานเดียวกันคือต้องประมาณ ความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจ (interrater reliability)

17 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสนทนากลุ่ม
5. การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion)

18 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสนทนากลุ่ม
ข้อดี ได้กลั่นกรองความคิดอย่างลึกซึ้ง สนทนาในหมู่คนใกล้ชิดเป็นกันเอง สบายใจที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย ประหยัดเวลาและงบประมาณ ข้อจำกัด ถ้าผู้นำการสนทนากลุ่มไม่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี จะทำให้บรรยากาศอึดอัด และไม่ได้สาระที่ลึกซึ้งเพียงพอ ใช้ภาษาพูดของสมาชิกในการสนทนา เตรียมการทุกอย่างให้พร้อม

19 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การจดบันทึก
6. การจดบันทึก

20 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การจดบันทึก
ข้อดี เลือกบันทึกเฉพาะสาระตามต้องการ ไม่รบกวนกลุ่มตัวอย่าง ข้อจำกัด ใช้เวลามาก ไม่อาจตรวจสอบหรือล่วงรู้ได้เลยว่า ข้อมูลที่กำลังจดบันทึกหรือคัดลอกนั้นได้เก็บไว้อย่างถูกต้องหรือไม่ เพียงไร

21 แหล่งความคลาดเคลื่อนของการเก็บรวบรวมข้อมูล
ความ คลาดเคลื่อน 1.ผู้ใช้เครื่องมือ 2.การดำเนินการเก็บข้อมูล 3.กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูล 4.เครื่องมือ

22 Thank You!

23 Workshop 7 นิสิตแบ่งกลุ่มละ 5 คน 1. เลือกวิธีการเก็บรวมรวมข้อมูล
2. เขียนขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. แบ่งหน้าที่ของสมาชิกภายในกลุ่มในการเก็บรวบรวมข้อมูล


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google