บทที่ 4 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อทราบวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ทางการเงิน 2. เพื่อทราบวิธีการในการคำนวณ 3. เพื่อทราบแนวทางในการวิเคราะห์
ความสำคัญของการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน เป็นเครื่องมือที่ชี้ให้เห็นถึงความมั่นคง จุดแข็ง จุดอ่อน ของผลการ ดำเนินงานที่ผ่านมา โดยบุคคลที่ให้ความสำคัญในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน มี 2 ประเภท คือ 1. บุคคลภายนอก : นักลงทุน นักเก็งกำไร เจ้าหนี้ 2. บุคคลภายใน : เจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้น ผู้จัดการ พนักงาน
อัตราส่วนทางการเงินหมายถึง อัตราส่วนทางการเงิน หมายถึง ตัวเลขที่วัดฐานะทางการเงิน และสมรรถภาพใน การทำกำไรของธุรกิจ และสามารถในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของกิจการ โดยการใช้ตัวเลขต่าง ๆ จากงบกำไรขาดทุนและงบดุล วัตถุประสงค์ การวิเคราะห์ทางการเงิน (Finance Analysis) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) สามารถแบ่งออกเป็น การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ทางการเมือง ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นๆ ข้อมูลของบริษัท
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) การวิเคราะห์โดยวิธีย่อส่วน (Common Size) การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis) การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis)
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis) มีการแบ่งได้เป็น 4 ประเภทดังนี้ อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio) อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage Ratio) อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการดำเนินงาน(Operating Ratio) อัตราส่วนวิเคราะห์ในการทำกำไร (Profitability Ratio)
1.อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio) 1.1 อัตราส่วนทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียนทั้งสิ้น = .....เท่า (Current Ratio) หนี้สินระยะสั้นทั้งสิน 1.2 อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว (Quick Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงคลัง-ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า = .....เท่า หนี้สินระยะสั้นทั้งสิน
2.อัตราส่วนหนี้สิน (Leverage Ratio) 2.1 อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ทั้งสิ้น = หนี้สินทั้งสิ้น = ......% (Debt Ratio) สินทรัพย์ทั้งสิ้น 2.2 อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Time Interest Earned or Interest Coverage Ratio) = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี = ......เท่า ดอกเบี้ยจ่าย
2.อัตราส่วนหนี้สิน (Leverage Ratio) อัตราส่วนแสดงความสามารถในการจ่ายค่าใช้จ่ายประจำ (Fixed Charge Coverage) = กำไรก่อนหักภาษี+ดอกเบี้ยจ่าย+ค่าเช่าตามสัญญา = ……เท่า ดอกเบี้ยจ่าย+ค่าเช่าตามสัญญา
3.อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการดำเนินงาน (Operating Ratio) 3.1 อัตราการหมุนของสินคงคลัง = ยอดขายทั้งสิ้น =…ครั้ง (Inventory Turnover) สินค้าคงคลัง 3.2 อัตราการหมุนของลูกหนี้ = ยอดขายทั้งสิ้น = ....ครั้ง (Account Receivable Turnover) ลูกหนี้ 3.3ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเก็บหนี้ = 360 = …วัน (Average Collection Period) อัตราการหมุนของลูกหนี้
3.อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการดำเนินงาน (Operating Ratio) (ต่อ) 3.4 อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร = ยอดขายสุทธิ = ... ครั้ง (Fixed Asset Turnover) สินทรัพย์ถาวร 3.5 อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม = ยอดขายสุทธิ = ... ครั้ง (Total Asset Turnover) สินทรัพย์รวม
4. อัตราส่วนวิเคราะห์ในการทำกำไร (Profitability Ratio) 4.1 อัตราผลตอบแทนจากกำไรสุทธิต่อยอดขาย = กำไรสุทธิ x 100 = ...% (Net Profit Margin) ยอดขายสุทธิ 4.2 อัตราผลตอบแทนต่อค่าสุทธิ = กำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ ค่าสุทธิ 4.3 อัตราผลตอบแทนจากกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น x 100 = ...% (Gross Profit Margin) ยอดขายสุทธิ
The End