นำเสนอเรื่อง Adjective clause
Adjective clause คุณานุประโยค คือ อนุประโยคซึ่งทำหน้าที่เหมือนคุณศัพท์ กล่าวคือ ทำหน้าที่ขยายนามในประโยคอื่น หรือ ขยายคำเสมอนามได้เช่นเดียวกันกับ Adjective ธรรมดา แต่การขยายด้วย Adjective clause จะทำให้ข้อความนั้นหนักแน่น และเด่นชัดขึ้นกว่าการขยายด้วย Adjective ธรรมดา นามที่คุณานุประโยคขยายเป็น Antecident คือต้องว่างอยู้หน้าคุณานุประโยคเช่น The man whom I visited is a cousin of mine.
The types and the functions of adjective clauses Adjective clause อาจจำแนกประเภทของ antecident ซึ่ง เป็นคำนามถูกขยาย อ้างถึงบุคคล ทำหน้าที่ขยาย อาจจะเริ่มด้วย who เป็นประธานของประโยค He is the first man who wins the first prize. อ้างถึงบุคคล adjective clause อาจจะเริ่มด้วย who/ whom เป็นกรรมของกริยา The singer whom/who I saw at Siam square is Sayun Sunya. อ้างถึงบุคคล adjective clause ซึ่งทำหน้าที่ขยายอาจจะเริ่มด้วย whose ซึ่งเป็น possessive adjective The lady whose father worked here is a doctor.
อ้างถึงบุคคล adjective clause ซึ่งทำหน้าที่ขยายอาจเริ่มด้วย that He paid the money to the lady that had done the work. อ้างถึงบุคคล adjective clause ซึ่งทำหน้าที่ขยายอาจเริ่มด้วย whom เป็นกรรมของบุรพบท from He paid the lady from whom he had borrowed the money. อ้างถึงบุคคล adjective clause ซึ่งทำหน้าที่ขยายอาจเริ่มด้วย whom เป็นกรรมของบุรพบทอื่นๆเช่น for with to The person for whom you’re waiting doesn’t come today.
b. Antecident อ้างถึงสิ่ง adjective clause ซึ่งทำหน้าที่ขยายอาจจะเริ่มด้วย which หรือ that ซึ่งเป็นประธานของประโยค Here is a map which describes various places in Bangkok. c. Antecident อ้างถึงเวลา adjective clause ซึ่งทำหน้าที่ขยายอาจจะเริ่มด้วย when Sunday is the day when I am least busy. d. Antecident อ้างถึงสถานที่ adjective clause ซึ่งทำหน้าที่ขยายอาจจะเริ่มด้วย where This is the house where I live. e. Antecident อ้างถึงเหตุผล adjective clause ซึ่งทำหน้าที่ขยายอาจจะเริ่มด้วย why Give me one reason why you resigned.
Relative clause แปลว่า “สัมพันธานุประโยค” ได้แก่ประโยคที่ไปขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยูค้างหน้า (ถ้ามองให้ชัดแล้วจะเห๊นว่า Relative Clause แท้ที่จริงก็คือ Adjective Clause นั่นเอง) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ:- Definite Relative Clause(นิยมสัมพันธานุประโยค) Non- Definite Relative Clause(อนิยมสัมพันธานุประโยค)
จากตัวอย่างที่กล่าวมา จึงพอสรุปลักษณะของ Defining relative clause ได้ดังนี้ Defining relative clause ทำหน้าที่คล้ายคำ Adjective เพื่อไปขยายนามที่อยู่ข้างหน้า ให้ใจความสมบูรณ์และชัดเจนขึ้นว่าหมายถึงใคร อะไร? ไม่มีเครื่องหมาย comma(,)อยู่ระหว่าง noun กับ defining relative clause ใช้คำ Relative Pronoun ที่ขึนต้นประโยค defining relative clause ให้เหมาะสมกับนามและหน้าที่ (Function) เช่น The thief who plundered the bank yesterday was arrested.
จากตัวอย่างที่กล่าวจึงพอสรุปลักษณะของ Non-defining relative clause ได้ดังนี้ ต้องมีเครื่องหมาย Comma คั่นหน้าและหลังของ Clause มันเสมอ ต้องใช้ Relative Pronoun ซึ่งไม่มีลักษณะชี้เฉพาะเจาะจง เช่น who /whom หรือ which เป็นต้น จะใช้ that ไม่ได้ และต้องให้สอดคล้อง กับหน้าที่ของมันด้วย เช่น Our teacher of English, who returned abroad, is getting married soon.
ลักษณะของประโยค Adjective clause จะนำหน้าด้วย คำเชื่อสัมพันธ์ (relative words) ซึ่งได้แก่คำต่อไปนี้ 1. Relative pronoun (สัมพันธ์สรรพนาม) ได้แก่ who, whom, whose, which, of which, that, as, but 2. Relative adverb (สัมพันธ์ วิเศษณ์) ได้แก่ When, why, where