บทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ อ.พิณรัตน์ นุชโพธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ได้ขยายขอบเขต เกี่ยวข้องกับหลายหน้าที่ในองค์การ และเป็นประโยชน์กับ บุคคลหลายระดับ ตั้งแต่การใช้งานส่วนบุคคล กลุ่ม องค์การ และระหว่างหน่วยงาน ช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก ซับซ้อนอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับหลายองค์กร
Kroenke และ Hatch (1994) กล่าวถึงความสำคัญและผลกระทบของระบบสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ ดังนี้ 1. ระบบสารสนเทศช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับการทำงาน 2. บุคลากรทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ MIS 3. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของธุรกิจ และการบรรลุเป้าหมายขององค์การมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ 1. การรวมตัวของระบบเศรษฐกิจโลก (Emergence of The Global Economy) ก่อให้เกิดกระบวนการโลกาภิวัตน์ของตลาดที่เกิดการบูรณาการของทรัพยากร ทางธุรกิจและการแข่งขันทั่วโลก โดยการขยายตัวของธุรกิจไม่เพียงแต่เป็นการกระจายสินค้าและบริการอย่าง เป็นระบบและทั่วถึง แต่ครอบคลุมการจัดตั้ง การจัดเตรียมทรัพยากร การผลิต และการดำเนินงาน ดังนั้น องค์การธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์จึงต้องมีโครงสร้างองค์การและการ ประสานงานที่สอดรับและสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ 2. การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Transformation of Industrial Economies) ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ เช่น สหรัฐฯ แคนนาดา ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่น ปรับตัวจากระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจบริการ ที่อาศัย เทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งจะเห็นได้จากประมาณ ร้อยละ 70 ของรายได้ ประชาชาติมาจากธุรกิจบริการ และธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้าง มูลค่าเพิ่ม (Value Added) ทำให้ธุรกิจต้องการบุคลการที่มีความรู้ (Knowledge Worker) ในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่องค์การ ส่งผลให้ธุรกิจต้อง พัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System (MIS) หมายถึง ระบบที่รวบรวมและ จัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมี หลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุน การทำงานและการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงาน ขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ MIS ประกอบด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ MIS รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและจัดการสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คนส่วนใหญ่จะมีความเข้าใจว่า MIS เป็นระบบจัดการข้อมูลที่พัฒนาขึ้นจาก ระบบคอมพิวเตอร์ แต่แท้จริงแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องสร้างขึ้นจากระบบ คอมพิวเตอร์ แต่อาจสร้างมาจากอุปกรณ์อะไรก็ได้ แต่ต้องสามารถปฏิบัติ หน้าที่หลักได้ 2 ประการอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ ในการออกแบบและพัฒนา MIS นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ต้องออกแบบ ระบบสารสนเทศให้มีคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการจัดการสารสนเทศ
ส่วนประกอบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ส่วนประกอบของ MIS ที่สำคัญมี 3 ประการดังนี้ 1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MIS และช่วยให้ระบบ สารสนเทศสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกเครื่องมือใน การสร้างระบบสารสนเทศออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.1 ฐานข้อมูล (Database) 1.2 เครื่องมือ (Tool) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ได้แก่ อุปกรณ์ (Hardware) และชุดคำสั่ง (Software)
ส่วนประกอบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ส่วนประกอบของ MIS ที่สำคัญมี 3 ประการดังนี้ 2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล ปัจจุบันธุรกิจต้องสามารถ สังเคราะห์สารสนเทศที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยจัดลำดับและวิธีการของ การประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ 3. การแสดงผลลัพธ์ ส่วนมากจะอยู่ในรูปของรายงานต่าง ๆ ที่สามารถเรียก มาแสดงได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน
ส่วนประกอบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS การแสดงผลลัพธ์ วิธีการ เครื่องมือ ฐานข้อมูล อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง
ข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ถูกเก็บรวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ ทั้ง ภายในและภายนอกองค์การ โดยข้อมูลดิบจะยังไม่มีความหมายในการ นำไปใช้งาน หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น นักศึกษาที่ลงทะเบียน เรียน หรือเงินเดือนของข้าราชการ เป็นต้น สารสนเทศ หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บ ไว้อย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปประกอบการทำงานหรือ สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร เช่น ยอดงบดุบรายงานสรุปผลการ ดำเนินงาน หรือประมาณการรายได้ เป็นต้น
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี ถูกต้อง (Accurate) ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องและปราศจาก ความคลาดเคลื่อนโดยที่ความถูกต้องจะช่วยส่งเสริมให้สารสนเทศที่ ได้เกิดความน่าเชื่อถือมากขึ้น ทันเวลา (Timeliness) ข้อมูลจะต้องทันต่อเหตุการณ์และไม่ล้าสมัย ความล้าสมัยจะทำให้สารสนเทศที่ได้มีประโยชน์ต่อผู้ใช้น้อยลง หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานเลย แต่ความทันต่อเวลาจะมี ความสำคัญต่อผู้ใช้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจหรือ ปัญหาขององค์การ เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการค้าหลักทรัพย์ ย่อม ต้องการข้อมูลที่มีความทันต่อเวลาในระดับสูง เป็นต้น
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี สอดคล้องกับงาน (Relevance) สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อ ผู้บริหารต้องได้มาจากการประมวลผลของข้อมูลที่มีสาระตรงกัน หรือสัมพันธ์กับปัญหาของงาน ข้อมูลที่ไม่มีความสัมพันธ์กับงาน ถึงแม้จะมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันต่อเหตุการณ์ แต่ถือว่าไม่มี คุณภาพ เนื่องจากไม่สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจ หรือไม่ สอดคล้องกับความต้องการของงาน
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี สามารถตรวจสอบได้ (Verifiable) ข้อมูลบางประเภทอาจมา จากแหล่งข้อมูลที่ซับซ้อน หลากหลายทั้งจากภายในและภายนอก องค์การ ซึ่งผู้ใช้ต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องและความ น่าเชื่อถือได้ของสารสนเทศก่อนการนำมาใช้ เช่น ข้อมูลลวงจาก คู่แข่ง ข้อมูลที่ขาดความสมบูรณ์ เป็นต้น
คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ความสามารถในการจัดการข้อมูล (Data Manipulation) ระบบ สารสารสนเทศที่ดีต้องสามารถปรับปรุงแก้ไขและจัดการข้อมูล เพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งานอย่างมี ประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าสู่ MIS ควรจะได้รับการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนารูปแบบ เพื่อให้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับ การใช้งานอยู่เสมอ
คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ถ้าสารสนเทศรั่วไหล ออกไปสู่บุคคลภายนอก อาจทำให้เกิดการเสียโอกาสทางการ แข่งขัน หรือสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจ ดังนั้น ผู้บริหารหรือเจ้าของ ระบบจะไม่ยอมให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึงฐานข้อมูลที่สำคัญทาง ธุรกิจได้
คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ความยืดหยุ่น (Flexibility) สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจหรือ สถานการณ์การแข่งขันทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบสารสนเทศที่ดีต้องมีความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานหรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยระบบ สารสนเทศต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริหารอยู่ เสมอ โดยมีอายุการใช้งาน การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายที่ เหมาะสม
คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ความพอใจของผู้ใช้ (User Satisfaction) ระบบสารสนเทศที่ดี จะต้องกระตุ้นหรือโน้มน้าวให้ผู้ใช้หันมาใช้ระบบให้มากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาระบบจะต้องใช้เงินลงทุนสูง จึงต้องใช้งานให้ คุ้มค่า ดังนั้นควรจะพัฒนาระบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และทำให้ผู้ใช้เกิดความพอใจต่อระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ดำเนินงานได้
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อ เหตุการณ์ และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ทันต่อความต้องการ ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ เนื่องจากสารสนเทศถูกเก็บรวบรวมและจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้มี ประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถบ่งชี้แนวโน้มของการดำเนินการ ว่า จะเป็นไปในลักษณะใด ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำ ข้อมูลบางส่วนมาประมวลผล เพื่อประกอบการประเมิน สารสนเทศที่ได้จะ แสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ผู้บริหารสามารถใช้ ระบบสารสนเทศประกอบการศึกษา และค้นหาสาเหตุหรือข้อผิดพลาดที่ เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำงานลง ตลอดจนช่วยลดขึ้นตอนในการ ทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการ ประสานงานให้น้อยลง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขัน ของธุรกิจ
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หัวหน้างานระดับต้น (First-Line Supervisor หรือ Operation Manager) ผู้จัดการระดับกลาง (Middle Manager) ผู้บริหารระดับสูง (Executive หรือ Top Manager)
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หัวหน้างานระดับต้น (First-Line Supervisor หรือ Operation Manager) ทำหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลการปฏิบัติงานแบบวันต่อวัน ได้แก่ หัวหน้า งาน หัวหน้าหน่วย และหัวหน้าแผนก จะปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับพนักงานและลูกค้าอย่างใกล้ชิด จะตัดสินใจวางแผนและแก้ปัญหางานประจำวัน จึงต้องการข้อมูลที่ เกิดขึ้นจริงอย่างละเอียด
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ผู้จัดการระดับกลาง (Middle Manager) ทำหน้าที่ควบคุมและประสานงานระหว่างหัวหน้างานระดับปฏิบัติการ และผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้การประสานงานในองค์การราบรื่น ทำให้ หัวหน้างานและพนักงานระดับปฏิบัติ สามารถปฏิบัติงานตามนโยบาย ที่มาจากผู้บริหารระดับสูงอย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ เช่น ผู้จัดการสาขา ผู้จัดการแผนก และผู้จัดการฝ่าย หรือผู้อำนวยการ เป็นต้น งานจะเกี่ยวข้องกับการนำผลสรุปข้อมูลที่เกิดจากการปฏิบัติงานของ พนักงานระดับปฏิบัติการมาวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางปรับปรุง ดำเนินงาน เพื่อให้ได้ผลงานตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ผู้บริหารระดับสูง (Executive หรือ Top Manager) เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง วางนโยบาย และ แผนงานระยะยาวขององค์การ โดยอาศัยข้อสรุปและสารสนเทศจากกลุ่ม ผู้จัดการระดับกลาง และผลการปฏิบัติงานขององค์การ ตลอดจนนำ ข้อมูลสำคัญจากภายนอกองค์การเข้ามาร่วมในการวิเคราะห์ เช่น คณะผู้บริหารระดับสูง ประธานบริษัท กรรมการผู้จัดการ เป็นต้น
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ผู้บริหาร ระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับต้น พนักงานระดับปฏิบัติการ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการ ระบบประมวลผลข้อมูล
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ลักษณะของระบบ ระดับของผู้ใช้ ผู้จัดการระดับปฏิบัติการ ผู้จัดการระดับกลาง ผู้จัดการระดับสูง ที่มาของสารสนเทศ - ภายใน - ทั้งภายในและภายนอก วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ - ปฏิบัติงาน - ควบคุมผลปฏิบัติงาน - วางแผน ความถี่ของการใช้สารสนเทศ - สูง - ปานกลาง - ไม่แน่นอน ขอบเขตของสารสนเทศ แคบแต่ชัดเจน - ค่อนข้างกว้าง - กว้าง ความละเอียดของสารสนเทศ มาก - สรุปกว้างๆ - สรุปชัดเจน การรายงานเหตุการณ์ - ที่เกิดขึ้นแล้ว - เกิดแล้ว/กำลังจะเกิด - อนาคต ความถูกต้องของสารสนเทศ - ตามความเหมาะสม
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ บทบาทสำคัญของผู้จัดการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ และความพร้อมใน การแข่งขันให้กับองค์การ เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิ วัตน์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงาน ทั่วทั้งองค์การ บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และ สื่อสารโทรคมนาคม
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ บทบาทสำคัญของผู้จัดการ จัดการและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น บุคลากร ลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ และองค์การ ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ ทำงานแก่ผู้ใช้อื่น เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยี สารสนเทศ
โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศ โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศในองค์การจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design Unit) 2. หน่วยเขียนชุดคำสั่ง (Programming Unit) 3. หน่วยปฏิบัติการและบริการ (Operations and Services Unit)
โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศ หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design Unit) มีหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และวางระบบงานคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์การและผู้ใช้ โดย พิจารณาจากปัญหาที่เกิดขึ้น ความต้องการของผู้ใช้และหน่วยงานและ งบประมาณสนับสนุน รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเทคนิค การจัดการสารสนเทศที่เหมาะสมกับงาน เช่น หัวหน้าโครงการ และนักวิเคราะห์ระบบ
โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศ หน่วยเขียนชุดคำสั่ง (Programming Unit) หน้าที่ นำระบบงานที่ได้รับการออกแบบหรือความต้องการชุดคำสั่ง คอมพิวเตอร์ มาทำการเขียนหรือพัฒนาชุดคำสั่ง เพื่อใช้งานกับระบบ คอมพิวเตอร์ขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คำปรึกษาในการพัฒนา และการใช้งานชุดคำสั่งตามหลักวิชาการ ชุดคำสั่งที่เขียน อาจเป็นทั้งชุดคำสั่งสำหรับระบบ (System Software) และชุดคำสั่งสำหรับการใช้งาน (Application Software) เช่น Programmer, Software Engineer
โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศ หน่วยปฏิบัติการและบริการ (Operations and Services Unit) หน้าที่ ควบคุมและจัดการให้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุน สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกแก่ ผู้ใช้ เช่น พนักงานควบคุมเครื่อง พนักงานรักษาสื่อ และเก็บข้อมูล พนักงาน ควบคุมเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ตัวอย่างโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการผลิต ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน ฝ่ายสารสนเทศ วิเคราะห์และออกแบบระบบ พัฒนาชุดคำสั่ง ปฏิบัติงานและบริการ
บุคลากรในหน่วยงานสารสนเทศ หน่วยงานสารสนเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานที่ต้องมีการใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริมในการบริหารสารสนเทศขององค์การ ปัจจุบัน ถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของการดำเนินธุรกิจ มีหน้าที่ในการสร้างหรือพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้กับงานของ องค์การและการจัดระบบสารสนเทศให้เหมาะแก่การใช้งาน ดังนั้นบุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานนี้จะต้องมีความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์เที่ยวกับงานสารสนเทศในระดับต่าง ๆ
บุคลากรในหน่วยงานสารสนเทศ 1. หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ (Chief Information Officer) หรือ CIO เป็นบุคคลระดับสูงขององค์การ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลเกี่ยวกับการบริหารงาน ระบบสารสนเทศของธุรกิจ การวางแผนและกำหนดนโยบายสารสนเทศ การควบคุมการปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน และเป็นที่ปรึกษาของฝ่าย ต่าง ๆ ตลอดจนกำหนดมาตรฐานและคุณภาพงานสารสนเทศของ พนักงานในฝ่ายสารสนเทศขององค์การ
บุคลากรในหน่วยงานสารสนเทศ 2. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Design) หรือ SA มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงานในระดับต่าง ๆ ให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ขององค์การ และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ รวมทั้ง ทำการศึกษาวิเคราะห์และวางแผนระยะยาว เพื่อนำระบบคอมพิวเตอร์ที่ เหมาะสมมาใช้กับระบบงานใหม่ เช่น หัวหน้าโครงการ (Project Leader)
บุคลากรในหน่วยงานสารสนเทศ 3. ผู้เขียนชุดคำสั่ง (Programmer) หน้าที่ เขียนชุดคำสั่ง เพื่อควบคุมและสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ ผู้ใช้ต้องการ ผู้เขียนชุดคำสั่งควรมีความละเอียดรอบคอบ มีความคิดเป็นระบบ และ เป็นขั้นตอน และอดทนที่จะทำงานซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนชุดคำสั่งสำหรับระบบ (System Programmer) มีหน้าที่ดูแล ปรับปรุง และแก้ไขชุดคำสั่งสำหรับควบคุมและใช้งานระบบ เพื่อให้ชุดคำสั่ง สำหรับระบบสามารถควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ และทำงานประสานกับ ชุดคำสั่งสำหรับใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
บุคลากรในหน่วยงานสารสนเทศ 3. ผู้เขียนชุดคำสั่ง (Programmer) ผู้เขียนชุดคำสั่งสำหรับใช้งาน (Application Programmer) มีหน้าที่ ควบคุมดูและ และเก็บรักษาเอกสารที่เกี่ยวกับชุดคำสั่ง หรือชุดคำสั่งที่ผ่าน การทดสอบและใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนบำรุงรักษาและพัฒนา ชุดคำสั่งสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับความ ต้องการของผู้ใช้
บุคลากรในหน่วยงานสารสนเทศ 4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) มีหน้าที่ดูแลและควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องมี ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์ในส่วนต่าง ๆ ของระบบ คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุและ แก้ปัญหาได้ในทันทีที่เกิดมีความผิดปกติของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อมิให้ ระบบสารสนเทศต้องหยุดดำเนินงานเกินไปหรือมีปัญหาอื่นตามมา
บุคลากรในหน่วยงานสารสนเทศ 5. ผู้จัดตารางเวลา (Scheduler) มีหน้าที่จัดตารางเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ให้กับงานแต่ละชนิดภายในห้อง คอมพิวเตอร์ ตลอดจนใช้เวลาในการประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลที่ทำหน้าที่นี้ควรเข้าใจลักษณะงานขององค์การและการทำงานของ ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจะสามารถจัดตารางเวลาการปฏิบัติงานของระบบ ได้อย่างเหมาะสม
บุคลากรในหน่วยงานสารสนเทศ 6. พนักงานจัดเก็บและรักษา (Librarian) มีหน้าที่เก็บรักษา และจัดทำรายการของอุปกรณ์ เช่น เทปแม่เหล็ก เทป กระดาษ แผ่นแม่เหล็ก และจัดทำเอกสารเกี่ยวกับชุดคำสั่งที่ใช้งาน ตลอดจนดัชนีสำหรับข้อมูล เพื่อสะดวกในการค้นหาเมื่อต้องการใช้ข้อมูล ตลอดจนช่วยให้ระบบข้อมูลมีความปลอดภัย โดยไม่สูญหาย หรือถูก ทำลาย
บุคลากรในหน่วยงานสารสนเทศ 7. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator) มีหน้าที่ในการนำข้อมูลจากเอกสารเบื้องต้น มาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำความเข้าใจได้ เช่น การบันทึกข้อมูลลง แผ่นดิสก์ หรือฐานข้อมูล เป็นต้น
จริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ 1. ความเป็นส่วนตัว (Privacy) เป็นความเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและใช้ ข้อมูลส่วนบุคคลและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ การละเมิดความเป็นส่วนตัว เช่น ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บัตรเครดิตตามจุด ขาย (Point of Sale; POS) ที่มีการซื้อขาย โดยที่ผู้ถือบัตรไม่ทราบและ ยินยอม
จริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ 2. ความถูกต้อง (Accuracy) การเก็บข้อมูลไว้ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์อาจ มีข้อผิดพลาดได้ อาจจะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือมีการแอบเข้า มาแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องได้ 3. ความเป็นเจ้าของ (Property) เป็นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา การมี สิทธิอันชอบธรรมในการถือครองซอฟต์แวร์ การคัดลอกผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ และการลักขโมยซอฟต์แวร์ 4. การเข้ามาใช้ข้อมูล (Access) เป็นการมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี พอของข้อมูลในอันที่จะป้องกันคลังข้อมูลส่วนตัวและขององค์การ และ ระดับชั้นของการเข้ามาใช้ข้อมูลของพนักงานว่าเข้ามาได้ถึงระบบใด
ผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักศึกษาบอกถึงผลกระทบทางบวก และผลกระทบ ทางลบมาอย่างละ 5 หัวข้อ พร้อมยกตัวอย่างการ เกิดผลกระทบทางบวก และทางลบ