งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Chapter 4 Peopleware and Ethics บุคลากร และจริยธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Chapter 4 Peopleware and Ethics บุคลากร และจริยธรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Chapter 4 Peopleware and Ethics บุคลากร และจริยธรรม
วิชา MIS อ. สุรินทร์ทิพ ศักดิ์ภูวดล

2 บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในหน่วยงาน รัฐบาล และหน่วยงานเอกชน
CEO CKO CSO CPO CIO อื่นๆœ System Operation Support Development Testing (Tester) System Analysis Computer facility H / W and S / W and design Operations Acquisition UX/UI Designer ( Systems Analyst : SA ) ( System Operator ) Data Administration Programming BA LAN Operations ( Database ( Programmer : PG ) ( LAN Operator ) Administrator : DBA ) User Training Data scientist Web Development Web Operations ( Web Developer ) ( User Trainers ) ( Web Operator ) Web Administration User ( Web Administrator ) Information Center

3 ปัจจุบันมี Application ที่ออกแบบมาหลากหลายเช่น
Application บน Client/Server (VB.net) Web Application (Run บน Browser พัฒนาโดยใช้ ภาษา PHP, HTML) Mobile Appliction (Java,  Swift) Application บน Client/Server Web Application Mobile Application

4 บุคคลกรที่เกี่ยวข้อง
Chief Executive Officer : CEO ผู้บริหารสูงสุดของระดับองค์กร : มีหน้าที่บริหารจัดการ กำหนดกลยุทธ์ นโยบาย แผนการบริหารระยะสั้นและระยะยาว กำกับดูแลการบริหารเพื่อให้เป็นไปตามแผน เพื่อทำให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย Chief Information Officer : CIO เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงานสารสนเทศ : มีหน้าที่ ควบคุม วางแผน และสั่งการตามนโยบายที่ได้รับ และตามแผนงานที่วางไว้

5 บุคลากรทางด้าน การปฏิบัติการ (Operations)
เป็นการปฏิบัติการ และบำรุงรักษา ระบบงาน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด System Operator เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการระบบ ปฏิบัติการ บำรุงรักษาอุปกรณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น ตรวจสอบระบบ, เครื่อง Server, อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล, เครื่องพิมพ์, เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง LAN Operator เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเครือข่าย ดูแลเครือข่าย (Network) เช่น Network Engineer Web Operator เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ Website

6 บุคลากรทางด้าน การพัฒนาระบบ (System development)
Systems Analyst: SA นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่ ประสานงานกับผู้ใช้งาน เก็บรวบรวมความต้องการ วิเคราะห์และออกแบบระบบ (ทั้งในส่วน Database และโปรแกรม) รวมถึงการจัดทำเอกสารทั้งหมดในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เพื่อให้ Programmer นำไปพัฒนาโปรแกรม รวมถึงการติดตาม แก้ปัญหา การติดตั้งระบบงาน การอบรมผู้ใช้งาน ซึ่งงานที่สำคัญหลักๆ ประกอบด้วย 1. วางแผนงาน เก็บรวมรวมความต้องการของผู้ใช้งาน (Requirement Gathering) 2. จัดทำเอกสาร Data Flow Diagram (DFD ) 3. จัดทำเอกสาร Entity Relationship Diagram (E-R Diagram) 4. ออกแบบระบบ (ออกแบบ UI) คือ ออกแบบหน้าจอทั้งระบบสำหรับ Input รวมถึง ออกแบบรายงาน 5. จัดทำเอกสาร Program Specification (เป็นรายละเอียดว่า Click ปุ่มไหน ให้ทำอะไร หรือ บันทึกข้อมูลใน Table ไหน) 6. นอกจากนี้ เมื่อ Programmer เขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว SA จะต้องทำการทดสอบระบบ โดยทดสอบรวมทั้งระบบ (System Testing) 7. ตรวจสอบระบบ ติดตั้งใช้งาน จัดทำคู่มือการใช้งาน อบรมผู้ใช้งาน

7 ตัวอย่าง Program Specification
Screen No 1222 Object Event Add Table Table Form Load Select Data from Product Product Add Button Click Add Table Sale, Sale_Detail Sale, Sale_Detail Update Table Product Balance Qty= Balance Qty-Sale Qty

8 บุคลากรทางด้าน การพัฒนาระบบ (System development)
ผู้พัฒนาโปรแกรม (Programmer: PG) พัฒนาโปรแกรม ด้วยภาษาต่างๆ เช่น Visual Basic .NET, JAVA, PHP ทดสอบโปรแกรม ในกรณีที่ทีมงานมีโปรแกรมเมอร์หลายคน เมื่อเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว ควรจะทำการทดสอบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาในส่วนของตนเอง (Unit Testing) เป็นการทดสอบเบื้องต้น ก่อนจะส่งให้ SA ทำการทดสอบรวมทั้งระบบ (System Test) จัดทำคู่มือการใช้งานของโปรแกรม (User Manual) อบรมผู้ใช้งาน Web Developer หรือ เรียกว่า Programmer ผู้พัฒนา Web site Mobile Application Developer หรือ เรียกว่า Programmer ผู้พัฒนา Mobile Application

9 ตัวอย่าง:โครงสร้างของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ
Users > Business Analyst > System Analyst > Programmers>Tester Users > Business Analyst > System Analyst > Programmers Users > System Analyst > Programmers Users > Programmers Users > Business Analyst > System Analyst > UX/UI designer > Programmers Users > System Analyst > UX/UI designer> Programmers User > UX/UI designer> Programmers

10 บุคลากรทางด้าน การสนับสนุน (Support)
สนับสนุนให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาทางด้าน Hardware และ Software ผู้ดูแลทางด้าน H/W and S/W Acquisition จัดทำมาตรฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์ พัฒนาทักษะและความรู้ที่เกี่ยวกับ H/W และ S/W ทีใช้อยู่เสมอ Database Administrator: DBA ผู้บริหารฐานข้อมูล มีหน้าที่ออกแบบฐานข้อมูลที่จะใช้จัดเก็บข้อมูลขององค์กรร่วมกับนักวิเคราะห์ระบบ พิจารณาสื่อจัดเก็บร่วมกับนักวิเคราะห์ระบบ เมื่อนำระบบงานมาใช้แล้ว มีข้อมูลในฐานข้อมูล (Database) แล้ว DBA จะต้องดูแลข้อมูลขององค์กรที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล ให้เกิดความสอดคล้อง และถูกต้องอยู่ตลอดเวลา กำหนดมาตรการ นโยบาย กฎเกณฑ์ในการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ รักษาความปลอดภัยของข้อมูล User Trainer เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมผู้ใช้งานระบบ หลังจากส่งมอบระบบแล้วในการอบรมครั้งแรก อาจจะเป็น SA หรือ PG แต่หากระบบมีหลายสาขา หลายแผนก จำเป็นจะต้องมี User Trainer ต่างหาก

11 บุคลากรทางด้าน การสนับสนุน (Support)
Web Administrator: ผู้บริหาร Web Site ตรวจสอบการเข้า Web site ของพนักงานในองค์กร, กำหนดกฎเกณฑ์ในการใช้ Internet ของพนักงาน, ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาบน Web site ขององค์กร คอยปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา Information Center ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ

12 บุคลากรทางด้านการทดสอบระบบ (Testing)
Tester ผู้ทดสอบการทำงานของ Application Software โดยจะทดสอบระบบที่พัฒนาเสร็จแล้วก่อนใช้งานจริง ในระหว่างการทดสอบถ้าพบข้อผิดพลาดของ Application Software จะแจ้งให้ทีมพัฒนาระบบ ทำการแก้ไขต่อไป จนกระทั่ง Application Software ของระบบไม่มีข้อผิดพลาด หรือมีน้อยที่สุดที่ยอมรับได้จึงจะนำระบบมาใช้จริง

13 Software Tester หรือ Quality Control (QC)
บุคลากรทางด้านการทดสอบระบบ (Testing) Software Tester หรือ Quality Control (QC) วางแผน ออกแบบ การทดสอบระบบ หาข้อผิดพลาดของระบบ ตรวจสอบว่าระบบ ตรงตาม ความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่ สร้าง Test Case เพื่อเป็นเอกสารในการทดสอบระบบ ในการสร้าง Test Case ที่ดีจะทำให้การทดสอบระบบสามารถทำได้อย่างครอบคลุมและครบถ้วน Unit Test : เป็นการทดสอบหน่วยย่อย หรือ ทดสอบทีละหน้าจอ System Test : เป็นการทดสอบรวม เช่น บันทึกข้อมูลจากหน้าจอนี้ และหน้าจออื่นที่เกี่ยวข้องสามารถเห็นข้อมูลไหม แล้วสามารถออกรายงานได้ถูกต้องหรือไม่ Acceptance Testing : เป็นการทดสอบที่ร่วมมือกับผู้ใช้งานจริง และทดสอบความพร้อม ความปลอดภัยของการใช้ระบบ ก่อนนำไปใช้จริง

14 ตัวอย่าง Test Case บุคลากรทางด้านการทดสอบระบบ (Testing) Test Case
Unit Test Screen No 1222 Object Event Test Data Expected Output Actual Output Result Add Button Click Add Sale Data Total =222 Total = 0 Error Show all data

15 Website/ Mobile Application Designer
Website/ Mobile App. Designer (เจ้าหน้าที่ออกแบบตกแต่งเว็บไซต์ หรือ แอพพลิเคชั่นบนมือถือ หรือแทปเลท (แท็บเล็ต)) ออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ หรือ Mobile Application ให้สวยงามสะดุดตา ออกแบบการใช้งานของหน้าจอ ให้ใช้ง่ายสำหรับผู้ใช้งาน (User friendly) นอกจากนี้ในการแสดงรายละเอียด การเข้าถึงเมนูต่างจะต้องถูกออกแบบมาอย่างเป็นระเบียบ สมเหตุสมผล และน่าสนใจสำหรับผู้ใช้งาน นักออกแบบ (Designer) ควรจะมีทักษะทางด้านศิลปะ และนอกจากนี้ ควรที่จะมีความรู้เบื้องต้นในการพัฒนาโปรแกรมหรือ การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นจะดีมาก มีทักษะทางด้าน UX/UI Design User Experience (UX) เน้นการใช้ประโยชน์ แก้ปัญหาของผู้ใช้งานออกแบบให้ใช้งานง่าย เข้าใจง่าย ออกแบบให้เหมาะสมกับพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้า User interface (UI) การออกแบบ หน้าตาของโปรแกรม เน้นความงาม

16 นักออกแบบประสบการณ์ (User Experience Designer) หรือ UX designer
Website/ Mobile Application Designer นักออกแบบประสบการณ์ (User Experience Designer) หรือ UX designer มักจะใช้กับงานที่ต้องการดึงดูดความสนใจจากลูกค้า ผ่านเว็บไซต์ อุปกรณ์มือถือ Product Research : ศึกษา วิเคราะห์ความต้องการ การใช้งานของผู้ใช้งาน บางครั้งแผนกการตลาดอาจเก็บรวบรวมความต้องการมาให้ UX designer Design : ทำการออกแบบ Wireframes คือ หน้าตา ลักษณะการทำงาน การตอบสนองของโปรแกรม ให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย หรือรวดเร็ว เหมาะกับผู้ใช้อย่างเหมาะสม การออกแบบคำนึงพฤติกรรมผู้ใช้ (พฤติกรรมได้จากการสอบถาม หรือ Product Research ) Prototype: สร้างตัวแบบของแต่ละหน้าจอ เพื่อยืนยันกับลูกค้า ทำการทดสอบ : ทดสอบว่าการออกแบบมีการตอบสนองที่ดีต่อผู้ใช้ที่ดีหรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลเพิ่มโดยใช้ แบบสำรวจ หรือแบบสอบถาม ติดตามการใช้งาน : หลังจากที่มีการใช้งานโปรแกรมจริง Designer ต้องติดตามผล เพื่อดูการตอบสนอง ความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุง

17 Website/ Mobile Application Designer
นักออกแบบส่วนประสานผู้ใช้งาน (User Interface Designer) หรือ UI Designer หลังจาก UX designer ออกแบบหน้าจอแล้ว จะส่งให้ UI designer ทำงานต่อ เพื่อเติมเต็มโปรแกรมให้มี ความสวยงาม ดูสมบูรณ์แบบ เน้นการออกแบบที่ทำให้ดูสวยงาม การจัดเรียงองค์ประกอบในหน้าจอ ที่ดูดีขึ้น จัดโทนสี ขนาดตัวอักษร User Interface (UI) เป็นส่วนที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้งาน หน้าจอแสดงผล ปุ่มกด เมนูต่างๆ ในลำดับการทำงานนั้น หลังจาก UX/UI design เสร็จแล้วก็ส่งงานให้ทีมพัฒนาโปรแกรมทำงานต่อไป หมายเหตุ****: ในการทำงานจริงปัจจุบัน ในการรับสมัครงานหรือเพื่อความคุ้มค่าในการทำงาน บริษัทต่างๆ ก็รับสมัครงานคนที่มีความสามารถทางด้าน UX/UI design

18 ตัวอย่าง UX/UI Designer รับสมัครงาน
Website/ Mobile Application Designer ตัวอย่าง UX/UI Designer รับสมัครงาน วุฒิปริญญาตรี วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ Website มีประสบการณ์ออกแบบด้าน Mobile and Web Applications ใช้งานโปรแกรม Adobe, Illustrator และ Photoshop ถ้ารู้จักภาษาด้านโปรแกรมมิ่งหรือเคยมีประสบการณ์ในการทํางานร่วมกับโปรแกรมเมอร์ที่ใช้ภาษาเหล่านี้เช่น PHP, JavaScript, HTML, CSS, JQuery, Java จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

19 ตัวอย่าง UX/UI Designer รับสมัครงาน
Website/ Mobile Application Designer ตัวอย่าง UX/UI Designer รับสมัครงาน ทำงานด้าน UX โดยออกแบบ website และ Applications ให้ใช้งานได้ง่าย ออกแบบ UX สร้าง Wireframes หรือ Mockups ที่ใช้งานง่าย (intuitive, user-friendly) ออกแบบ UX และสามารถวางแนวทางทดสอบได้ (E.g. AB testing) สามารถนำ feedback มาแก้ปัญหาหรือพัฒนาชิ้นงานได้ พัฒนางานทางด้าน UX website และ Application ซึ่งเป็น Project ปรับปรุงหน้า website และ Application ให้สำเร็จ สามารถทำงานด้วย Adobe XD, Zeplin, หรือ Sketch มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ software ที่เกี่ยวข้องกับ UX, prototyping เช่น Sketch หรือ Balsamiq Bachelor's Degree or higher in Computer Science, Computer Graphic, Information Technology or related fields (Rlated fields คือ จบการศึกษาจากสายงานที่เกี่ยวข้อง) มีพื้นฐานทางด้าน HTML/CSS และ Javascript

20 Business Analyst (นักวิเคราะห์ธุรกิจ)***
เก็บรวบรวมความต้องการของผู้ใช้งาน (Requirements) ทางด้านธุรกิจ และ(ทางด้าน IT บางส่วน) วิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ติดต่อ ประสานงานกับนักพัฒนาระบบ เช่น SA หรือ PG เป็นผู้ที่ทำงานอยู่ระหว่าง User กับนักพัฒนาระบบ วิเคราะห์และออกแบบระบบ (ในระดับธุรกิจ) ให้สอดรับกับความต้องการขององค์กรและผู้ใช้งาน เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบธุรกิจ และสามารถศึกษาระบบใหม่ๆ ที่ทันสมัย จัดทำคู่มือเอกสารการวิเคราะห์ทางธุรกิจว่ามีระบบอะไร ต้องการพัฒนาแบบไหน มีเอกสารอะไรที่ต้องการใช้ระบบ IT มาพัฒนา

21 Data Scientist หรือ “นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล”
เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Model ต่างๆ เช่น Model ทางด้านเหมืองข้อมูล (Data mining technique) และทาง สถิติ (Statistics) และอื่นๆ เช่น Prediction, Clustering, Time Series, Optimization Technique Optimization Technique เป็นการหากำไรสูงสุด, ต้นทุนต่ำสุด พัฒนาการนำเสนอข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น สร้าง Data Visualization มีความรู้ทางด้าน คณิตศาสตร์, สถิติ, คอมพิวเตอร์, ธุรกิจ, AI, Machine learning, Data Mining สามารถใช้ภาษา R, Python, SQL และอื่นๆ

22 ตัวอย่างคุณสมบัติในการสมัครงานตำแหน่ง Data Scientist
Experience in a statistical and/or data science role optimization Expertise in advanced analytical techniques such as machine learning algorithms, optimization model and data visualization Tools and languages : Python, R, SAS, Java, C, C++, C#, Matlab, SPSS, Tableau, Rapid Miner สามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ เช่น descriptive statistical modeling and algorithms, machine learning algorithms, optimization model, data visualization, pattern recognition และ cluster analysis

23 ผู้ใช้งานระบบ User ผู้ใช้ระบบ หรือผู้ใช้ Application Software หรือผู้บันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ

24 1. SA เก็บรวบรวมความต้องการ
ซึ่งอาจจะต้องปรึกษากับ DBA 3. Programmer พัฒนา Application Software และจะต้องทดสอบในส่วนของตัวเองด้วย 6. แก้ไข 4. ทดสอบระบบก่อนใช้จริง 5. แก้ไข Database สำหรับการพัฒนาระบบ Database สำหรับการทดสอบระบบ 7. เก็บ Requirement เพิ่มเติมอีก Database ตัวจริงที่ใช้งานจริง 1. SA เก็บรวบรวมความต้องการ 8. นำระบบไปให้ User ใช้จริง และเก็บข้อมูลใน Database ตัวจริง DBA ดูแลระบบ Database

25 จากภาพอธิบายได้ดังนี้
1. นักวิเคราะห์ระบบ (SA) เก็บรวบรวมความต้องการของระบบที่จะพัฒนาโดยคอมพิวเตอร์ จากผู้ใช้งาน และผู้บริหาร 2. นักวิเคราะห์ระบบ (SA) นำความต้องการมา วิเคราะห์และออกแบบระบบ และจัดทำเอกสารในการพัฒนาระบบ เพื่อสร้าง Application Software ของระบบ ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องปรึกษากับ DBA ที่ดูแลระบบฐานข้อมูลอยู่ก่อนแล้ว 3. นักวิเคราะห์ระบบ (SA) มอบหมายงานให้ Programmer พัฒนา Application Software ซึ่ง Programmer และจะต้องทดสอบโปรแกรมในส่วนของตัวเองด้วย 4. Application Software ของระบบจะต้องถูกทดสอบก่อนใช้จริง 5. เมื่อมีข้อผิดพลาดจะต้องส่งกลับไปให้ Programmer แก้ไข 6. การแก้ไขถ้าหากการวิเคราะห์และออกแบบไม่สมบูรณ์ก็จะต้องกลับไปปรับปรุง 7. การแก้ไขถ้าหากต้องการ Requirement เพิ่มเติมต้องมีการเก็บ Requirement เพิ่มเติมหลังจากนั้นก็จะกลับไปสู่กระบวนการเดิมคือ วิเคราะห์และออกแบบระบบเพิ่มเติม แก้ไขโปรแกรมเพิ่มเติม และทำการทดสอบ Application Software ใหม่ จนกว่าจะสามารถทำงานได้ในระดับที่ผู้ใช้งานพึงพอใจ นำ Application Software ไปให้ User ใช้จริง และเก็บข้อมูลใน Database ตัวจริง

26 หัวหน้าส่วนจัดการองค์ความรู้ (Chief Knowledge Officer: CKO)
การใช้องค์ความรู้ทำให้เกิดความพยายามสร้างวัฒนธรรม (Culture) ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยการทำงานในองค์กร โดยอาศัยการสนับสนุนและมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับสูง การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Development) ในหลายองค์กรจะมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จัดการองค์ความรู้ (Knowledge Officer) และมีหัวหน้าทีมคือ “หัวหน้าส่วนจัดการองค์ความรู้” (Chief Knowledge Officer: CKO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่เพิ่มสินทรัพย์ที่เรียกว่าองค์ความรู้ขององค์กร ออกแบบและสร้างกลยุทธ์ในการจัดการองค์ความรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งภายในและนอกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการใช้งานองค์ความรู้ในองค์กรอย่างเต็มที่

27 หัวหน้าส่วนจัดการองค์ความรู้ (Chief Knowledge Officer: CKO)
The chief knowledge officer (CKO) is responsible for the firm’s knowledge management program. The CKO helps design programs and systems to find new source of knowledge or to make better use of existing knowledge in organizational and management processes. (Laudon,P99) OK

28 ผู้บริหารอาวุโสฝ่ายข้อมูลส่วนบุคคล ( Chief Privacy Officer: CPO )
CPO (Chief Privacy Officer) The CPO is responsible for ensuring that the company complies with existing data privacy laws. (Laudon,P96) เป็นผู้บริหารที่ผู้รับผิดชอบในการให้ความมั่นใจว่าบริษัทมีการทำตาม Data Privacy Law ที่บังคับใช้อยู่

29 ผู้บริหารอาวุโสฝ่ายข้อมูลส่วนบุคคล ( Chief Privacy Officer: CPO )
The Chief Privacy Officer (CPO) is a senior level executive within a business or organization who is responsible for managing the risks and business impacts of privacy laws and policies. (Wikipedia) ผู้บริหารอาวุโสฝ่ายข้อมูลส่วนบุคคล (CPO) คือ ผู้บริหารระดับอาวุโสในด้านธุรกิจหรือองค์การซึ่งรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงและผลกระทบทางธุรกิจเกี่ยวกับนโยบายส่วนบุคคลและ privacy laws หมายเหตุ : ในประเทศไทยในปัจจุบันมี ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่เนื้อหาที่แปลมาเป็นชื่อเรียกกฏหมายตามประเทศนั้นๆ

30 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

31 Chief Security Officer (CSO) ผู้บริหารด้านระบบความปลอดภัย
The CSO is responsible for educating and training users and information systems specialists about security, keeping management aware of security threats and breakdowns, and maintaining the tools and policies chosen to implement security. (Laudon,P96) CSO มีหน้าที่รับผิดชอบทางด้าน ให้ความรู้และอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศ ทำให้ผู้บริหารตระหนักถึงภัยคุกคามด้านความปลอดภัยและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ ดูแลรักษาเครื่องมือและนโยบายที่ถูกเลือกใช้ในการพัฒนาด้านความปลอดภัย

32 Chief Security Officer (CSO) ผู้บริหารด้านระบบความปลอดภัย
เป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงทางด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับโครงสร้างเครือข่ายและความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ CSO มีหน้าที่ในการจัดการกับปัญหาความปลอดภัยดังกล่าว โดย CSO ต้องมีความเข้าใจในระบบธุรกิจเป็นอย่างดี (Business Process) และต้องเข้าใจเรื่องของการจัดการกับความเสี่ยง (Risk Management) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบกับธุรกิจขององค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง กำหนดเป้าหมาย นโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล โดยกำหนดให้ไปในทิศทางเดียวกันกับแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร จัดการพัฒนานโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เพื่อให้องค์กรได้มาซึ่ง การรักษาความลับของข้อมูล การรักษาความถูกต้องของข้อมูล และเสถียรภาพความมั่นคงของระบบ ยกตัวอย่าง การรับผิดชอบจัดทำการอบรม ให้กับบุคลากรขององค์กรที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานให้มีความรู้ความเข้าใจกับภัยอินเทอร์เน็ต จัดการบริหารเฝ้าระวังการโจมตีระบบและภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบ โดยใช้ระบบเตือนผู้บุกรุก, ระบบป้องกันผู้บุกรุก หรือระบบจัดการกำจัดไวรัส ตลอดจนวางแผน เพื่อกู้ระบบยามฉุกเฉิน

33 ใบรับรองความสามารถ (Certification)
ใบรับรองความสามารถ เป็นเครื่องยืนยันความสามารถของบุคคลทางด้านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีประโยชน์ในหลายๆ ด้านเช่น 1. เป็นหลักฐานยืนยันความสามารถ 2. ใช้ประกอบการสมัครงาน 3. ใช้เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับบริษัทนั้นๆ ว่าบุคลากรมีความสามารถด้านใดบ้าง 4. ใช้เพื่อเป็นหลักฐานในการเลื่อนตำแหน่ง ประกอบด้วย ใบรับรองความสามารถ ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น Java certifications : เป็นใบรับรองความสามารถทางด้าน java ซึ่งมีหลายแบบ Microsoft certifications : เช่น 1. ใบรับรองความสามารถทางด้าน Microsoft office 2. ใบรับรองความสามารถทางด้าน การดูแลระบบ Microsoft Window Server Cisco certifications : ใบรับรองความสามารถ ในสายงานด้าน Network และ IT ของ Cisco

34 ใบรับรองความสามารถ (Certification) ต่อ
Cisco Certification : Cisco Certified Network Associate (CCNA®) Cisco Certified Network Professional (CCNP®)

35 สิทธิส่วนบุคคล (Privacy)
สิทธิส่วนบุคคลทางด้านกายภาพ (Physical Privacy) เป็นสิทธิในเวลา สถานที่ และทรัพย์สินที่พึงมี เพื่อหลีกเลี่ยงจากการรบกวนจากคนอื่น อันเนื่องมาจากการการพัฒนาทางด้าน IT เช่น การส่งจดหมายขยะ Junk Mail, จดหมายเวียน (Spam Mail), การใช้โทรศัพท์ สิทธิส่วนบุคคลทางด้านสารสนเทศ (Information Privacy) ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลเช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขบัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต วันเกิด ที่บุคคลอื่นที่จัดเก็บข้อมูลอยู่ไม่สามารถนำไปเปิดเผยได้ หากไม่ได้รับอนุญาต หน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ของลูกค้า ควรจะกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล เพื่อเป็นการป้องกันการลักลอบการใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อมูลเหล่านี้ต้องการให้มีความคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลทางด้านสารสนเทศ มากยิ่งขึ้น

36 ความถูกต้อง (Accuracy)
ข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในฐานข้อมูลนั้นจะต้องมีความถูกต้องเสมอ และ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเสนอสารสนเทศต่างๆนั้น จะต้องเสนอสารสนเทศนั้นอย่างถูกต้องด้วย หากข้อมูลสารสนเทศไม่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดความเสียหายให้กับเจ้าของข้อมูลได้ เช่น ข้อมูลรายได้ประจำของลูกค้าจาก 20,000 บาท แต่จัดเก็บในฐานข้อมูลเป็น 2,000 บาท เมื่อนำมาพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ จะทำให้ลูกค้าดังกล่าวไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ และเสียโอกาสไปในที่สุด

37 What is WIPO? The World Intellectual Property Organization (WIPO) is a specialized agency of the United Nations. It is dedicated to developing a balanced and accessible international intellectual property (IP) system, which rewards creativity, stimulates innovation and contributes to economic development while safeguarding the public interest.

38 องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก-ไวโพ (World Intellectual Property Organization- WIPO)
        ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. ๑๙๗๔) มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลก โดยอาศัยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก    องค์การให้ความช่วยเหลือในด้านตรากฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญารวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ส่งเสริมการประดิษฐ์และสร้างสรรค์ อำนวยความสะดวกในการพัฒนาเทคโนโลยีพื้นเมืองในแต่ละประเทศ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีของประเทศอื่นที่มีการจดทะเบียนแล้ว แจ้งให้ทราบถึงงานวรรณกรรมต่างประเทศที่มีลิขสิทธิ์ ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกสารสิทธิบัตร เป็นองค์กรของสหประชาชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาระหว่าง ประเทศที่มีความสมดุล ระหว่างการตอบแทนผู้ทรงสิทธิ์ซึ่งนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และปกป้องผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยมีความตกลงระหว่างประเทศที่สมาชิกเลือกเข้าเป็นภาคีโดย ความสมัครใจ

39 กรมทรัพย์สินทางปัญญา

40 กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights)
ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ Software ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อการค้านั้น จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองในความเป็นเจ้าของ ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในฐานะที่เป็น “ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)” ของผู้ผลิต

41 ทรัพย์สินทางปัญญาไทย (Intellectual Property)
ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) 2. ลิขสิทธิ์ (Copyright) (อ้างอิงจาก Web Site กรมทรัพย์สินทางปัญญา)

42 ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)
ทรัพย์สินทางปัญญาไทย (Intellectual Property) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ แบ่งเป็น สิทธิบัตร (Patent) สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ อนุสิทธิบัตร แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout – Design of Integrated Circuits) เครื่องหมายการค้า (Trademark) ความลับทางการค้า (Trade Secret) ชื่อทางการค้า (Trade Name) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)

43 สิทธิบัตร (Patent) สิทธิบัตร (Petent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ อนุสิทธิบัตร Link ข้อมูลของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร

44 สิทธิบัตร (Patent) สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์ (Invention) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค,วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น จาก พรบ สิทธิบัตร : การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบ ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (๒) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และ (๓) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม สิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้มีอายุ 20 ปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตรใน ราชอาณาจักร    

45 การตรวจสอบว่า เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ นั้นสามารถตรวจสอบได้จาก
ฐานข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ เช่น ฐานข้อมูลสิทธิบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตัวอย่างหน้าจอ การสืบค้นออนไลน์ จากฐานข้อมูลสิทธิบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา

46 สิทธิบัตร (Patent) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้ จาก พรบ สิทธิบัตร : สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ ได้ ต้องเป็น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุความคุ้มครอง 10 ปีนับแต่วันขอรับ สิทธิบัตรใน ราชอาณาจักร

47 อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)
จาก พรบ สิทธิบัตร : การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (๒) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม บุคคลใดจะขอรับทั้งอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์อย่างเดียวกันไม่ได้ อนุสิทธิบัตร ให้มีอายุ 6 ปีนับแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตรในราชอาณาจักร

48 เครื่องหมายการค้า (Trademark)
เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้             1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น โอวัลติน  มาม่า โก๋แก่ เป็นต้น 2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคารกสิกรไทย การบินไทย เป็นต้น   เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้กับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น 4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์  กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

49 ตัวอย่าง Trademarks Intel® Core™2 processor with vPro™ technology Intel® Core™2 Quad Intel® Core™2 Solo AMD Athlon™ AMD-K6® เครื่องหมายการค้าอาจมีการกำกับด้วย ™ หมายถึงเครื่องหมายการค้าที่มิได้จดทะเบียน หรือ ® หมายถึงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน เป็นสัญลักษณ์สากล

50 ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
ความลับทางการค้า คือ หมายถึง ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเป็นข้อมูลที่มีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินการตามสมควรเพื่อทำให้ข้อมูลนั้นปกปิดเป็นความลับ "ความลับทางการค้า" หมายความว่า ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูล ที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับ ทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ “ข้อมูลการค้า” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้ข้อความ เรื่องราว ข้อเท็จจริง หรือสิ่งใดไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะจัดไว้ในรูปใด ๆ และ ให้หมายความรวมถึงสูตร รูปแบบ งานที่ได้รวบรวมหรือประกอบขึ้น โปรแกรม วิธีการ เทคนิค หรือ กรรมวิธีด้วย ตัวอย่างข้อมูลทางการค้า เช่น ส่วนผสมของสินค้าแชมพูสมุนไพร ส่วนผสมของสบู่สูตรพิเศษ

51 ชื่อทางการค้า (Trade Name)
หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น ไทยประกันชีวิต ขนมบ้านอัยการ เป็นต้น

52 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)
หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ผ้าไหมยกดอกลำพูน ส้มโอนครชัยศรี ไข่เค็มไชยา เป็นต้น อายุการคุ้มครอง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วจะได้รับการคุ้มครองตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เว้นแต่จะมีการเพิกถอนทะเบียน ตัวอย่าง มะขามหวานเพชรบูรณ์ ที่ประกอบด้วยคำว่า มะขามหวานซึ่งบอกว่าสินค้าคืออะไร และคำว่าเพชรบูรณ์ ซึ่งบอกแหล่งผลิตมะขามหวานดังกล่าว และยังสื่อให้คน ทั่วไปเข้าใจว่ามะขามหวานดังกล่าวมีคุณภาพสูงมีรสชาติหวานและไม่แฉะอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะของมะขามหวานเพชรบูรณ์

53 แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Designs Of Integrated Circuit)
อายุความคุ้มครอง 10 ปี นับแต่วันยื่นขอจดทะเบียน หรือวันที่นำออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน ทั้งนี้ไม่เกิน 15 ปีนับแต่วันที่สร้างสรรค์แบบผังภูมินั้นเสร็จ

54 แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Designs Of Integrated Circuit)

55 ลิขสิทธิ์ (Copyrights)
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่    1. งานวรรณกรรม  ( หนังสือ  จุลสาร  สิ่งพิมพ์  คำปราศรัย  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ )     2. งานนาฎกรรม  ( ท่ารำ  ท่าเต้น ฯลฯ )      3. งานศิลปกรรม  ( จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  ภาพถ่าย  ศิลปประยุกต์ ฯลฯ )     4. งานดนตรีกรรม ( ทำนอง  ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ )     5. งานสิ่งบันทึกเสียง ( เทป  ซีดี )      6. งานโสตทัศนวัสดุ  ( วีซีดี  ดีวีดี  ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง )     7. งานภาพยนตร์      8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ      9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ    

56 ลิขสิทธิ์ (Copyright)
หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดๆ นอกจากนั้น กฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ครอบคลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธี หรือระบบ หรือวิธีใช้ หรือวิธีทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต หากแต่มีงานบางประเภทที่จะมีอายุการคุ้มครองแตกต่างกัน ดังนี้

57 ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (Software Copyright)
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ให้ความหมายของคำว่า "ลิขสิทธิ์" ว่า หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะทำการใดๆตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น” นั่นก็หมายความ ว่า เจ้าของลิขสิทธิ์เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่มีสิทธิจะทำอย่างไรก็ได้ กับงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเอง

58 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
"วรรณกรรม" หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย "โปรแกรมคอมพิวเตอร์" หมายความว่าคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด

59 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
"ทำซ้ำ" หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำ แม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับจากสำเนาหรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความถึงคัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน "ดัดแปลง" หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้หมายความรวมถึง ซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำขึ้นใหม่

60 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
หมวด ๑ ลิขสิทธิ์ ส่วนที่ ๑ งานอันมีลิขสิทธิ์ มาตรา ๖ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

61 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ส่วนที่ ๒ การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ มาตรา ๘ ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้น ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรืออยู่ในราชอาณาจักร หรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น

62 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
(๒)ในกรณีที่ได้มีการโฆษณางานแล้ว การโฆษณางานนั้นในครั้งแรกได้กระทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้กระทำนอกราชอาณาจักร หรือในประเทศอื่นที่ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หากได้มีการโฆษณางานดังกล่าวในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก หรือผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (๑) ในขณะที่มีการโฆษณางาน ครั้งแรก ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

63 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
มาตรา ๙ งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น มาตรา ๑๐ งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่นให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา ๑๑ งานใดมีลักษณะเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ผู้ที่ได้ดัดแปลงนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้ดัดแปลงตามพระราชบัญญัตินี้แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง

64 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
มาตรา ๑๒ งานใดมีลักษณะเป็นการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มารวบรวมหรือประกอบเข้ากันโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเป็นการนำเอาข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดซึ่งสามารถอ่านหรือถ่ายทอดได้โดยอาศัยเครื่องกลหรืออุปกรณ์อื่นใดมารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน หากผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันซึ่งงานดังกล่าวขึ้นโดยการคัดเลือกหรือจัดลำดับในลักษณะซึ่งมิได้ลอกเลียนงานของบุคคลอื่นให้ผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันตามพระราชบัญญัตินี้แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงาน หรือข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกนำมารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน

65 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
มาตรา ๑๓ ให้นำมาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับแก่การมีลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๒ โดยอนุโลม มาตรา ๑๔ กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่งหรือในความควบคุมของตน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร

66 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ส่วนที่ ๓ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ มาตรา ๑๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้ (๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง (๔) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น (๕) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) หรือ (๓) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

67 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ส่วนที่ ๔ อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มาตรา ๑๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒ ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตายในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย ถ้าผู้สร้างสรรค์หรือผู้สร้างสรรค์ร่วมทุกคนถึงแก่ความตายก่อนที่ได้มีการโฆษณางานนั้น ให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

68 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ส่วนที่ ๕ การละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา ๓๐ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕(๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

69 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
มาตรา ๓๑ ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (๑) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (๓) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ (๔) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

70 ส่วนที่ ๖ ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ส่วนที่ ๖ ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร (๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท (๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น (๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น (๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว (๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร (๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร (๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

71 พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๔) พ. ศ
พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ แก้ไข พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๒/๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๓๒/๔ การกระทำใด ๆ ดังต่อไปนี้ โดยองค์กรที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับการยอมรับ เพื่อประโยชน์ของคนพิการซึ่งไม่สามารถเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ อันเนื่องมาจาก ความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว สติปัญญา หรือการเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่น ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง (๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้มีการโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้ว และได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ที่ทำซ้ำหรือดัดแปลงตาม (๑) รวมถึง สำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับจากองค์กรที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับการยอมรับในประเทศหรือต่างประเทศ

72 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ส่วนที่ ๖ ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา ๓๕ การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น (๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น (๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

73 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
(๕) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควร โดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย (๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว (๗) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ (๘) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้ (๙) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน

74 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
หมวด ๘ บทกำหนดโทษ มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๗๐ ผู้ใดกระทำการอันละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

75 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

76 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

77 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

78 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

79 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

80 พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ หรือมาตรา ๑๑ เป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึง สองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ เป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาท ถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามโดยมิได้มีเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้บุคคลอื่น ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท”

81 พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๒/๑ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ โดยมิได้มีเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท”

82 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

83 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและ ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

84 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตาม มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

85 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือ ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและ ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

86 จรรยาบรรณในการใช้งานคอมพิวเตอร์
1. จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อก่ออาชญากรรมหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น 2. จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่น 3. จะต้องไม่ทำการสอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูไฟล์ของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต 4. จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูล ข่าวสาร 5. จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ 6. จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการคัดลอกโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ 7. จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ 8. จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อนำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง 9. จะต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ที่จะตามมาจากการกระทำนั้น 10. จะต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมารยาท

87 การอ้างอิงแหล่งข้อมูล
ปัจจุบัน การค้นคว้าข้อมูลมาจาก Internet เริ่มนิยม ทุกครั้งที่นำเสนองาน ควร อ้างอิง Web site ที่นำข้อมูลมารายงานด้วย

88 Reference Book: บทที่ 7 บุคลากรและจริยธรรม (Peopleware and Ethics)
หนังสือคัมภีร์ระบบสารสนเทศ Information Systems กิตติ ภักดีวัฒนะกุล บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software) บทที่ 7 บุคลากรและจริยธรรม (Peopleware and Ethics) Website ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา การเรียนการสอน เทอม 1 ปีการศึกษา 2562


ดาวน์โหลด ppt Chapter 4 Peopleware and Ethics บุคลากร และจริยธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google