งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รหัสวิชา TAH2201 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการท่องเที่ยวและการโรงแรม

2 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อนักศึกษาสามารถอธิบายความหมายของข้อมูลและสารสนเทศได้ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกความแตกต่างระหว่าง ข้อมูล สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศได้

3 เนื้อหาย่อย 1. ข้อมูลและสารสนเทศ 2. เทคโนโลยีสารสนเทศ

4 1. ข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล (Data)
ข้อมูล เป็นรูปแบบของข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้ บางครั้งนิยมเรียกว่า ข้อมูลดิบ (Raw Data) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษรแต่เพียงอย่างเดียว หรือข้อมูล ประเภทมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพและเสียงประกอบโดยมักนำมาเป็นส่วนนำเข้า (Input Unit) เพื่อป้อนสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์

5 2. ข้อมูลและสารสนเทศ (ต่อ)
สารสนเทศ (Information) สารสนเทศ เป็นการนำเอาข้อมูล (Data) ที่มีการเก็บรวบรวมไว้จากส่วนนำเข้า นำมา จัดเรียง วิเคราะห์ แปรรูป หรือประมวลผลใหม่ เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่มีความหมาย มีคุณค่า มีสาระและสามารถนำไปใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่งได้หรืออีก ความหมาย หนึ่งคือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล

6 ข้อมูลและสารสนเทศ (ต่อ)
การทำงานของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะประกอบด้วยกระบวนการทำงานอย่างน้อย 3 ขั้นตอน คือ

7 2. เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ คือ เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร โทรคมนาคม

8 2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ)
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

9 2.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นการจัดการระบบ สารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามที่ต้องการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือก จัดหา การวิเคราะห์ การสืบค้นที่สามารถผลิตสารสนเทศให้สนอง ต่อความต้องการของผู้ใช้

10 2.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
คอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศซึ่ง ประกอบด้วย

11 2.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
1. บุคลากร (People) หรือ ผู้ใช้ (end user) บุคลากร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ

12 2.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
2. ระเบียบปฏิบัติการ (Procedure) เป็นกฎหรือ แนวทางสำหรับบุคลากรในการใช้ซอฟต์แวร์ อาร์ดแวร์ และ ข้อมูล ระเบียบปฏิบัติการ อาจรวมถึง คู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ที่ผู้ชำนาญด้านคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นก็ได้ คู่มือ การใช้งานอาจได้มาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่ซื้อ หรือเป็น รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

13 2.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
3. ซอฟต์แวร์ (Software) หรือ โปรแกรม (Program) หมายถึง ชุดคำสั่งที่บอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าจะต้องประมวลผล ข้อมูลอย่างไร ซอฟต์แวร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 3.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) 3.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software)

14 3.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System software)
3.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) จะช่วยให้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถติดต่อกับอาร์ดแวร์ของเครื่องได้ ซอฟต์แวร์ระบบเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง (Background) การดำเนินการของคอมพิวเตอร์ - ระบบปฏิบัติการ (Operating system) ทำหน้าที่จัดสรร ทรัพยากรต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ จัดเตรียมส่วนติดต่อระหว่าง ผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ รวมถึงการดำเนินงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Microsoft Windows และ Apple Mac

15 3.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) (ต่อ)
- ยูทิลิตี้ (Utilities) หรือโปรแกรมอรรถประโยชน์ เป็น โปรแกรมที่ทำงานที่เฉพาะเจาะจงบางอย่างซึ่งเกี่ยวข้องกับการ จัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมป้องกันไวรัส - ดีไวซ์ไดรเวอร์ (Device driver) เป็นโปรแกรมพิเศษที่ ออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์รับข้อมูลหรืออุปกรณ์ส่งออกข้อมูล สื่อสารกับระบบคอมพิวเตอร์ได้

16 3.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) (ต่อ)
3.2.1 โปรแกรมประยุกต์ทั่วไป • โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้าง งาน เอกสารประเภทข้อความ บันทึกช่วยจำ จดหมาย แผ่นพับ เอกสารคู่มือ และพิมพ์งานเอกสารทั่วไป เช่น Microsoft Word, Corel WordPerfect, Apple Pages, Open Office Writer และ Google Docs

17 3.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) (ต่อ)
3.2.1 โปรแกรมประยุกต์ทั่วไป • แผ่นตารางทำการ โปรแกรมที่ใช้ในการรวบรวม วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงตัวเลข และสรุปรายงานในลักษณะของแผนภาพ กราฟิก เช่น รายงานงบประมาณและรายงานทางด้านการเงินเช่น Microsoft Excel, Apple Numbers Open Office Calc และ Google Sheets

18 3.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) (ต่อ)
3.2.1 โปรแกรมประยุกต์ทั่วไป • โปรแกรมนำเสนอ เป็นโปรแกรมที่รวมรวบความ หลากหลาย ของวัตถุเพื่อสร้างความน่าสนใจในการนำเสนอ เช่น Microsoft PowerPoint, Apple Keynote, OpenOffice Impress และ Google Sildes

19 3.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) (ต่อ)
3.2.1 โปรแกรมประยุกต์ทั่วไป • ระบบจัดการฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมสำหรับรวบรวม ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน โดยใช้ database management system (DBMS) หรือ database manager เป็นโปรแกรมบริหาร จัดการโครงสร้างของฐานข้อมูลทั้งหมด เช่น Microsoft Access และ OpenOffice Base

20 3.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) (ต่อ)
3.2.2 โปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง โปรแกรมประยุกต์เฉพาะทางที่ใช้กันภายในกลุ่มผู้ใช้งาน หรืออาชีพเฉพาะกลุ่มวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น กลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ โปรแกรมทางด้านกราฟิก และ โปรแกรมเขียนเว็บ

21 3.2.2 โปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง
1) โปรแกรมทางด้านกราฟิก • โปรแกรมเดสท็อปพับลิชชิ่งหรือโปรแกรมจัดเรียงหน้า เป็น การผสมตัวอักษรและภาพกราฟิกเข้าด้วยกันเพื่อสร้างสิ่งพิมพ์แบบ มืออาชีพ • โปรแกรมแก้ไขภาพทำหน้าที่สร้างและปรับภาพบิตแม็ป หรือ ภาพราสเตอร์ ซึ่งภาพที่ได้จะบันทึกเป็นจุดหรือที่เรียก ว่า พิกเซล

22 3.2.2 โปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง
1) โปรแกรมทางด้านกราฟิก • โปรแกรมเขียนภาพหรือที่เรียกว่าโปรแกรมวาดภาพ มีหน้า ที่เปลี่ยน ภาพเวกเตอร์ซึ่งในไฟล์เวกเตอร์นั้น วัตถุต่างๆ จะถูกบันทึก เป็นกลุ่มวัตถุเช่น เส้น สีเหลี่ยม และวงรี • แกลลอรี่รวมรูปภาพเป็นห้องสมุดรวมรูปภาพ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหาได้มากมายจากในอินเตอร์เน็ต แบ่งได้เป็นสอง ประเภทคือ สต็อกภาพถ่ายและคลิปอาร์ต

23 3.2.2 โปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง
2) โปรแกรมเขียนเว็บ สามารถสร้างเว็บไซต์ต่างๆ ได้โดยใช้แค่ text editor หรือ word processor ธรรมดาก็ได้ แต่โปรแกรมเขียนเว็บหรือดังนี้ ที่ เรียกว่า web page editors หรือ HTML editors นั้นได้รับการออกแบบ มาให้สร้างเว็บไซต์โดยเฉพาะ โดยทำหน้าที่สนับสนุน การออกแบบเว็บไซต์และการเขียนโค้ด HTML

24 3.2.2 โปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง
2) โปรแกรมเขียนเว็บ โมบายแอพ “โมบายแอพ” หรือ “โมบายแอปพลิเคชัน” เป็นโปรแกรมประยุกต์ บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เพิ่มเข้าไปในโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดำเนินการกับงานต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น แอป พลิเคชันสำหรับจัดการสมุดที่อยู่ บันทึกรายการที่จะทำ และรายการ ข้อความ แอพ แอพที่มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางได้แก่ การฟังเพลง ออนไลน์ ดูหนังออนไลน์ เชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการซื้อ สินค้าออนไลน์ ภาพสแกนคิวอาร์โค้ด

25 3.2.2 โปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง
2) โปรแกรมเขียนเว็บ คิวอาร์โค้ดย่อมาจากคำว่า Quick Response codes เป็นการ ใช้ภาพกราฟิกสีขาวดำที่จะทำให้โทรศัพท์มือถือเชื่อมโยงกับเนื้อหา ต่างๆ ได้ เช่น เกม ข้อความตัวอักษร วิดีโอ หรือเว็บไซต์ แอพสโตร์ แอพสโตร์ คือ เว็บไซต์ทั่วไปที่ให้เข้าถึงแอปพลิเคชันสำหรับ โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ ทั้งแบบฟรี หรือเสียค่าใช้จ่ายเล็กน้อย แอพสโตร์ที่รู้จักกัน เป็นอย่างดี คือ Apple's App Store และ Google Play

26 2.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
4. ฮาร์แวร์ (Hardware) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผล ข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ สามารถทำตามคำสั่ง เพื่อรับข้อมูล ประมวลผล และผลิตสารสนเทศ 4.1 ชนิดของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer) คอมพิวเตอร์ขนาดกลางหรือมิดเรนจ์ คอมพิวเตอร์ (Midrange Computer) (เซิร์ฟเวอร์ (Server)) และ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer) (พีซี) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ เดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์ (Desktop computer) แล็ปท๊อป คอมพิวเตอร์ (laptop computer) (โน๊ตบุ๊ก) แท็บเล็ตพีซี (tablet computer) และโมบายดีไวซ์ (Mobile device) (คอมพิวเตอร์มือถือ) หรือ สมาร์ทโฟน (Smartphone)

27 2.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
4.2 คอมพิวเตอร์อาร์ดแวร์ อุปกรณ์ทางอาร์แวร์พื้นฐาน 4 ประเภท 1) หน่วยระบบ (System unit) บรรจุชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก ภายในหน่วยระบบมีส่วนประกอบที่ สำคัญ คือ ไมโครโพรเซสเซอร์ และหน่วยความจำหลัก

28 2.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
2) อุปกรณ์รับเข้า/ส่งออก ทำหน้าที่แปลงภาษาระหว่างมนุษย์ กับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์นำเข้า ประกอบด้วย คีย์บอร์ด และเมาส์ อุปกรณ์ส่งออก ประกอบด้วย จอภาพ และเครื่องพิมพ์

29 2.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
3) อุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง เก็บข้อมูลและโปรแกรมใน สื่อต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำโซลิดสเตต ออฟติดิสก์ (ซีดี ดี วีด และบลูเรย์)

30 2.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
4) อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ สื่อสารไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ สื่อสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

31 2.2 เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม (ต่อ)
สำหรับความหมายของการสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและ ผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ คอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความ เข้าใจซึ่งกันและกัน

32 2.2 เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม (ต่อ)
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ที่มา:

33 2.2 เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม (ต่อ)
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ที่มา:

34 2.2 เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม (ต่อ)
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ที่มา:

35 2.2.1 การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อน แล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็ จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่ มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมี อุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำ ให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทาง ก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็ อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธี ลดสิ่งรบกวน เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการ สื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด

36 2.2.1 การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) (ต่อ)
องค์ประกอบของการสื่อสาร

37 2.2.1 การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) (ต่อ)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดเวลาการทำงาน เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

38 2.2.1 การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) (ต่อ)
ชนิดของสัญญาณข้อมูล 1. สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) 2. สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)

39 หน่วยของข้อมูล

40 2.2.1 การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) (ต่อ)
ชนิดของสัญญาณข้อมูล แสดงการแปลงสัญญาณ

41 2.2.1 การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) (ต่อ)
ทิศทางการส่งข้อมูล ( TRANSMISSION MODE) การส่งข้อมูล ของระบบคอมพิวเตอร์ สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูล เป็น 3 รูปแบบดังนี้ 1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)

42 2.2.1 การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) (ต่อ)
2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half- Duplex Transmission)

43 2.2.1 การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) (ต่อ)
3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full- Duplex Transmission)

44 2.2.2 ตัวกลางในการการสื่อสารข้อมูล
1) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบใช้สาย (1) สายคู่ตีเกลียว (2) สายโคแอกเซียล (3) สายใยแก้วนำแสง 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย (1) คลื่นวิทยุ (2) ไมโครเวฟ (3) อินฟราเรด (4) บลูทูธ (5) เซลลูล่าร์

45 1) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบใช้สาย
เป็นการใช้สายนำสัญญาณสำหรับการสื่อสารข้อมูล มีสายนำ สัญญาณที่นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง สายคู่ตีเกลียวและสายโคแอกเซียล เป็นสายที่มีลวดตัวนำผลิตจาก ทองแดง ที่จะมีผลกระทบจากคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ดังนั้นจึงทำให้มี การป้องกันคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยการตีเกลียว หรือการห่อหุ้มด้วย ใยตาข่ายโลหะ

46 สายใยแก้วนำแสง สำหรับสายใยแก้วนำแสงแกนตัวนำเป็นแกนที่ผลิตจากสารอโลหะ คือ ซิลิก้า ซึ่งเป็นวัสดุ คล้ายแก้ว วัสดุดังกล่าวทำให้สายใยแก้วนำแสงไม่มีผลกระทบจากคลื่น สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแต่อย่างใด ส่วนประกอบสายใยแก้วนำแสง ที่มา: ดัดแปลงจาก Nick Adams (2012)

47 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
สำหรับการสื่อสารแบบไร้สาย การรับส่งข้อมูลโดยทั่วไปจะ ผ่านอากาศ ซึ่งภายในอากาศนั้นจะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แพร่กระจายอยู่ทั่วไป โดยจะต้องมีอุปกรณ์ที่ไว้คอยจัดการกับคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้น ปกติแล้วจะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ 1) แบบกำหนดทิศทางของสัญญาณ (Directional) 2) แบบกระจายสัญญาณรอบทิศทาง (Omni directional)

48 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
1. คลื่นวิทยุ "สื่อตัวกลางแบบไร้สาย (wireless)" โดยปกติแล้วลักษณะของ สื่อตัวกลางแบบไร้สายจะอาศัยตัวกลางคือ อากาศสำหรับนำพาสัญญาณ ข้อมูลส่งไปยังปลายทางหรือ ผู้รับแต่ด้วยคุณสมบัติของสัญญาณข้อมูลที่ ไม่สามารถเดินทางผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศไปได้ไกล ดังนั้น เพื่อทำให้ ระยะทางการส่งสัญญาณข้อมูลผ่านอากาศไกลขึ้นจึงได้มีการผสม สัญญาณข้อมูลเข้ากับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แถบความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มา : Institute for Innovation and Development of Learning Process. (2004).

49 1) หลักการคลื่นวิทยุ การแพร่กระจายคลื่นวิทยุจะมีวิธีการแพร่กระจายได้ 3 รูปแบบ 1.1) การแพร่กระจายตามพื้นดิน (Ground propagation) วิธีนี้คลื่นวิทยุความถี่ ต่ำน้อยกว่า 2 เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz) จะถูกส่งให้เคลื่อนที่ไปตามแนวความโค้งของโลก หรือตามผิวดิน ระยะทางการเดินทำของสัญญาณขึ้นกับกำลังส่งของเครื่องส่ง 1.2) การแพร่กระจายตามท้องฟ้า (Sky propagation) วิธีนี้คลื่นวิทยุความถี่สูงอยู่ ระหว่าง 2 ถึง 30 เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz) จะถูกส่งขึ้นไปบนท้องฟ้าในชั้นบรรยากาศชั้นไอ โอโนสเฟียร์(Ionosphere) ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่มีอิออนอยู่มาก ทำให้คลื่นวิทยุเมื่อ เดินทางมาถึงชั้นบรรยากาศนี้จะถูกสะท้อนมายังพื้นโลกอีกครั้งด้วยระยะทางที่ไกลกว่า การแพร่สัญญาณตามพื้นดิน 1.3) การแพร่กระจายระดับสายตา(Line-of-sight propagation) วิธีนี้เป็นการส่ง คลื่นวิทยุความถี่สูง มากกว่า 30 เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz) ในแนวเส้นตรงระหว่างตัวส่งและ ตัวรับ โดยการส่งและการรับสัญญาณจะใช้เสาอากาศที่มีความสูงเพียงพอในการรับส่ง กันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงแนวความโค้งของโลก

50 ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์. ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์
ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ก) การแพร่กระจายตามพื้นดิน ข) การแพร่กระจายตามท้องฟ้า ค) การแพร่กระจายระดับสายตา โดยทั่วไปแล้วการแพร่กระจายคลื่นวิทยุมีช่วงความถี่สำหรับการแพร่กระจายตั้งแต่ 3 กิโลเฮิร์ตซ์ (kilohertz: KHz) ถึง 1 กิกะเฮิร์ตซ์ (Gigahertz: GHz) และนิยมส่งสัญญาณวิทยุแพร่กระจายตามท้องฟ้าซึ่งสามารถส่งคลื่นวิทยุไปได้เป็นระยะทางไกล ๆ เช่น การส่งกระจายคลื่นวิทยุระบบ AM และระบบ FM

51 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
2. ไมโครเวฟ เนื่องจากความต้องการวิทยุความถี่สูงเพื่อติดต่อสื่อสารไม่ให้ รบกวนการสื่อสารของคลื่นวิทยุที่ใช้ในระบบคลื่นวิทยุ AM คลื่นวิทยุ FM หรือระบบโทรทัศน์มีมากขึ้น จึงทำให้มีการนำ คลื่นวิทยุความถี่สูงระหว่าง 1 GHz ถึง 300 GHz มาใช้ติดต่อสื่อสาร และผลจากการนำทางการรับส่งสัญญาณระหว่างสถานีรับและสถานี ส่งในแนวระดับสายตาได้ ดังนั้น จึงได้มีการตั้งชื่อเรียก สำหรับการ ใช้งานในช่วงความถี่นี้ใหม่ว่า "คลื่นไมโครเวฟ" เนื่องจากความถี่ ของคลื่นในช่วงนี้มีค่าที่สั้นมากในระดับไมโครเมตร

52 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
2. ไมโครเวฟ 1) ลักษณะไมโครเวฟ ไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุชนิดหนึ่งที่มีความถี่ในระหว่าง 2 GHz ถึง 40 GHz (เกษรา ปัญญา, 2548: 67) การรับส่งสัญญาณไมโครเวฟมีลักษณะ เป็นแนวเส้นตรงหรือ อยู่ในระดับสายตา (line of sight) โดยเสาอากาศที่ทำ หน้าที่ในการรับส่งสัญญาณนั้นต้องอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน การส่งสัญญาณข้อมูลแบบแนวเส้นตรงด้วยระบบไมโครเวฟ

53 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
2. ไมโครเวฟ "ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม"

54 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
3. อินฟราเรด ลำแสงอินฟราเรดมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รังสีใต้แดง หรือรังสีความร้อน ถูก นามาประยุกต์ใช้กับการสื่อสารระยะใกล้มาหลายศตวรรษ มีลักษณะเป็นคลื่นวิทยุ ความถี่ที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่าความยาวคลื่นสีแดง ทำให้สายตาคนไม่สามารถ สังเกตเห็นแสงของอินฟราเรดได้ คลื่นอินฟราเรดมีลักษณะการเดินทางของแสงเป็นแนว เส้นตรงหรือในแนวระดับสายตา ไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุทึบแสงได้ นิยมใช้ในการ ติดต่อในระยะทางที่ใกล้ ๆ การประยุกต์ใช้คลื่นอินฟราเรดจะเป็นการประยุกต์ใช้ในการ สื่อสารแบบไร้สาย (Wireless communication)

55 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
4. บลูทูธ (Bluetooth) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ โดยใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สายที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง ประมาณ 2.4 GHz โดยที่ไม่จาเป็นต้องใช้การเดินทางของคลื่นเป็น แบบเส้นตรงเหมือนอินฟราเรด และยังสามารถส่งข้อมูลได้ หลากหลายประเภททั้งข้อมูลภาพและเสียง

56 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
5. เซลลูล่าร์ เซลล์ลูล่าร์ (Cellular) เป็นเทคโนโลยีสื่อสารรูปแบบหนึ่งของ ระบบการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือบางครั้งเรียกว่า "โทรศัพท์มือถือ" ที่ได้รับความนิยมใช้งานในปัจจุบัน ระบบ เซลลูล่าร์เป็นระบบที่ได้รับการพัฒนามาจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Telephone System: MTS) โดยการใช้งานในระยะแรกได้ เรียกชื่อว่า "ระบบ AMPS (Analog Advance Mobile Phone Service)"

57 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
5. เซลลูล่าร์ โครงสร้างระบบโทรศัพท์เครื่องที่แบบเซลลูล่าร์ มีส่วนประกอบหลัก ด้วยกัน 3 ส่วนได้แก่ - ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Telephone Exchange: MTX หรือ Mobile Station Control: MSX) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของชุมสายทั้งหมด ได้แก่ การตัดต่อ การค้นหา เลขหมาย การเลือกเส้นทางรวมทั้งส่งสัญญาณต่าง ๆ เป็นต้น - สถานีฐาน (Base Station: BS หรือ Base Transceiver Station: BTS) มี หน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องโทรศัพท์ เพื่อทำการติดต่อสื่อสารและถ่ายทอด สัญญาณไปยังชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่สถานีฐานนี้มีการกระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในพื้นที่ที่ให้บริการและเรียกจุดให้บริการเหล่านั้นว่า "เซลล์ (cell)“ - เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Station: MS) หมายถึง อุปกรณ์ สื่อสารเคลื่อนที่ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง

58 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
5. เซลลูล่าร์ 1) ลักษณะเซลลูล่าร์ ระบบการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูล่าร์นั้นจะทำการแปล สัญญาณเสียงให้เป็นคลื่นความถี่เพื่อออกไปยังผู้รับผ่านเซลล์ (Cell) แต่ละ เซลล์เป็นทอดๆที่เรียงต่อกันคล้ายรังผึ้ง จนกว่าจะถึงเซลล์ของผู้รับ

59 2) ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
2.5 เซลลูล่าร์ ขนาดพื้นที่เซลล์ที่ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นความต้องการใช้ งานโทรศัพท์

60 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society) มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนส่งเสริม พัฒนา และดําเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม การอุตุนิยมวิทยา การสถิติ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือส่วน ราชการที่สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม. 2556: ออนไลน์)

61 บรรณานุกรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2556). เกี่ยวกับกระทรวง. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม จากเว็บไซต์ ปริญญา น้อยดอนไพร. (2556). การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (ม.ป.ป.). Computer and Communication. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม จากเว็บไซต์ สุพรรษา ยวงพวง. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศ. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google