งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชา วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชา วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชา 4123502 วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ แนะนำเนื้อหาในรายวิชา และ กำหนดข้อตกลงที่ใช้ในการเรียนการสอน แนะนำพื้นฐานของซอฟต์แวร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์

2 คำอธิบายรายวิชา เนื้อหาวิชาครอบคลุมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์โดย เรียนรู้กระบวนการพัฒนาและ วัฏจักรในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ การนำหลักการเชิงวัตถุมาใช้กับรูปแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมทั้ง ครอบคลุมถึงกลยุทธ์ต่างๆ ที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์

3 ข้อตกลงในชั้นเรียน เวลาเข้าเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย

4 ข้อตกลงในการกำหนดคะแนน
ระหว่างภาค (70%) แบ่งเป็น ความสนใจ (การเข้าเรียน จริยธรรม และ การแต่งกาย) 10% งานที่ได้รับมอบหมาย % สอบกลางภาค % ปลายภาค (30%) สอบปลายภาค %

5 ระดับการประเมินผล (อิงเกณฑ์)
A 75-79 B+ 70-74 B 65-69 C+ 60-64 C 55-59 D+ 50-54 D 0-49 E

6 เรียนอะไรในวิชา สอบกลางภาค สอบปลายภาค
บทนำ-วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Introduction to Software Engineering) ภาพรวมของกระบวนการ (A Generic View of Process) แบบจำลองกระบวนการพัฒนาระบบ (Process Model) การประมาณการซอฟต์แวร์ (Software Estimation) วิศวกรรมความต้องการ (Requirement Engineering) การสร้างแบบจำลองการวิเคราะห์ (Analysis Model) การวิเคราะห์เชิงวัตถุ (Object Oriented Analysis) วิศวกรรมการออกแบบ (Design Engineering) การออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (User Interface Design) การทดสอบซอฟต์แวร์ (Testing) สอบกลางภาค สอบปลายภาค

7 หนังสือที่ใช้ในการทบทวน
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) Roger S. Pressman แปลโดย ผศ.ดร.พรฤดี เนติโสภากุล หลักการพื้นฐานของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ผศ.ดร. น้ำฝน อัศวเมฆิน

8 Introduction วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
มุมมองทางการศึกษาในแง่ของสาขาวิชา ในปี ค.ศ คำว่า”วิศวกรรมซอฟต์แวร์(software engineering)” ถูกใช้อย่าง แพร่หลายเพื่อแสดงถึงกิจกรรมต่างๆที่รวมถึงการเขียนโปรแกรม (programming) และ การรหัส(coding) [Macro, 1987]. ก่อนปี ค.ศ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ยังไม่ ปรากฏ [Barnes, 1998]. สถาบันเทคโนโลยีโรเชสเตอร์ (The Rochester Institute of Technology (RIT)) ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้อ้างว่าเป็นสถาบันแรกที่แนะนำหลักสูตร ปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ [Lutz, 1999].

9 วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ คือกระบวนการสร้างสรรค์โปรแกรมโดยใช้หลักทาง วิศวกรรมเข้ามาช่วยในการดำเนินการสร้าง (อ.สมหมาย สุขคำ) “Software Engineering is systematic approach to the development operation , maintenance , retirement of software” (IEEE 83b) “วิชาการว่าด้วยการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการบริหารงาน การพัฒนาเพื่อที่จะได้มาซึ่ง ผลิตผลซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูง ราคาถูก และ ภายในเวลาที่กำหนดให้” (สุชาย ธนวเสถียร)

10 วิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) อยู่บนรากฐานของวิทยาศาสตร์ ซึ่งเน้นการทำความเข้าใจและค้นหาความจริง เกี่ยวกับความรู้ทางคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างแนวคิด/ทฤษฎีใหม่ หรือ ปฏิเสธ แนวคิด/ทฤษฎีเดิม และขยายวงความรู้ให้กว้างขึ้นจากแนวคิด/ทฤษฎีที่มีอยู่ * ผลงานถูกพิจารณา หรือ ตัดสินโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์

11 วิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) อยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งประยุกต์แนวคิด/ทฤษฎี ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีขณะนั้นในการสร้างผลิตภัณฑ์ ที่เป็นประโยชน์และปลอดภัยต่อสาธารณะ * ผลงานถูกพิจารณา หรือ ตัดสินโดยกลุ่มผู้ใช้

12 ลักษณะของวิศวกรรมซอฟต์แวร์
เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรแกรมขนาดใหญ่ สามารถจัดการเกี่ยวกับความซ้ำซ้อนได้ (ฐานข้อมูล) เน้นการทำงานร่วมกันของบุคลากร เช่น สามารถเข้าในระบบได้หลาย User สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายเมื่อจำเป็น (แก้ไขปรับปรุง บำรุงรักษา) เน้นการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ (งานที่ใช้ SW ) สนองความต้องการของผู้ใช้  วัดความสำเร็จของ SW

13 องค์ประกอบของการวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นกระบวนการผลิต (production) ที่ประกอบด้วย กิจกรรมช่วงต่างๆ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ (software products) การ ทำกิจกรรมในแต่ละช่วงอาศัยเทคนิคและเครื่องมือช่วยต่างๆ (support tools) ที่นักวิชาการคอมพิวเตอร์และนักวิจัยได้เสนอไว้

14 องค์ประกอบของการวิศวกรรมซอฟต์แวร์
Software production processes Software products Support tools /Environments Market places / users

15 คุณลักษณะของกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์
Understandability : มีการนิยามขอบเขตของกระบวนการที่ชัดแจ้งและง่าย ต่อการเข้าใจ Visibility : ทำให้กิจกรรมกระบวนการชัดเจนที่สุดเพื่อสามารถมองเห็นจาก ภายนอกได้ชัดเจน Supportability : เครื่องมือช่วยการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (CASE)สามารถ ช่วยสนับสนุนกิจกรรมกระบวนการในขอบเขตใด

16 คุณลักษณะของกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์
Acceptability : กระบวนการที่กำหนดสามารถยอมรับและใช้โดยวิศวกร ซอฟต์แวร์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ (เครื่องมือที่พัฒนา + ภาษาที่ใช้ ในการพัฒนาโปรแกรม) Reliability : กระบวนการถูกออกแบบในแนวทางซึ่งความผิดพลาดของ กระบวนการถูกหลีกเลี่ยงก่อนที่จะส่งผลต่อความผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ (Testing)-Unit -System Robustness : กระบวนการสามารถทำงานต่อได้แม้นว่ามีปัญหาที่ไม่ คาดการณ์เกิดขึ้น (ไม่ขึ้นกับ Platform )

17 คุณลักษณะของกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์
Maintainability : กระบวนการสามารถวิวัฒนาการเพื่อตอบสนองการ เปลี่ยนแปลงความต้องการขององค์กร (บำรุงรักษาระบบ) Rapidity : กระบวนการสามารถทำให้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้เร็วนับจากที่ รูปแบบคุณลักษณะของซอฟต์แวร์(Software specifications) ถูกกำหนด

18 Introduction ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้ คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียน ขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ หมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้ คอมพิวเตอร์ทำงานได้

19 Introduction คุณสมบัติของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ถูกพัฒนาหรือจัดการให้เกิดขึ้น ซอฟต์แวร์ไม่สึกหรอ ถูกสร้างตามแบบที่ลูกค้าต้องการ (Custom build)

20 ซอฟต์แวร์ (software) ชนิดของซอฟต์แวร์
หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน แบ่งแยก ซอฟต์แวร์ได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

21 ซอฟต์แวร์ (software) ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับ ระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปล ความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือ นำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำ รอง

22 ซอฟต์แวร์ (software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความ ต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนา ซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งาน คอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งาน เฉพาะ

23 ซอฟต์แวร์ (software)

24 ซอฟต์แวร์ (software) ชนิดของซอฟต์แวร์
ในปัจจุบัน สามารถแบ่งลักษณะของซอฟต์แวร์ออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) 3. ซอฟต์แวร์เชิงวิศวกรรม/วิทยาศาสตร์ (Engineering/Scientific Software) 4. ซอฟต์แวร์ฝังตัว (Embedded Software)

25 ซอฟต์แวร์ (software) 5. ซอฟต์แวร์สายการผลิต (Product-line Software) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับ สายการผลิตในโรงงาน หาจุดคุ้มทุนของเครืองจักร จัดตารางงาน 6. เว็บแอพพลิเคชั่น (Web-application) 7. ซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Software)

26 Group Discussion แบ่งกลุ่มย่อย
ให้นักศึกษาฝึกคิดและวิเคราะห์ รูปแบบ ชนิดของซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆของ ซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน โดยบอกถึงจุดเด่นจุดด้อย ความสำคัญ และยกตัวอย่าง พอสัเขป ชื่อ SW /ใช้กับงานด้านอะไร / จุดเด่น


ดาวน์โหลด ppt วิชา วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google