การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) อาจารย์สิริกร เลิศลัคธนาธาร สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
การวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (โครงการอบรมลูกไก่ วช. ปี 2559 รุ่น 5) 1. หลักการพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพ 2. รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพที่เหมาะสม 3. การเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก 4. เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ
ความหมายของการวิจัยเชิงคุณภาพ ระเบียบวิธีวิจัยในการแสวงหาองค์ความรู้ เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม เกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์ โดยพิสูจน์และตรวจสอบเรื่องราว ด้วยการสืบค้นข้อมูลในมุมมองของนักวิจัย
หลักการพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพ 1. เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ในภาพรวมไม่แยกบางส่วนหรือบางองค์ประกอบมาศึกษา 2. ผู้วิจัยวางตัวเข้าไปอยู่ในสนามและสังเกตสิ่งที่ศึกษาอย่างเป็นธรรมชาติ 3. การรับรู้ความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเป็นไปในการวิจัยอย่างเป็นจริงที่สุด 4. ข้อตกลงเบื้องต้นใด ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยข้อตกลงใหม่หรือ ข้อสรุปที่ค้นพบใหม่ 5. ปรากฎการณ์ คือ รูปแบบโครงสร้างหลวม ๆ ที่มีความยืดหยุ่นในการทำนายไม่เฉพาะตายตัว (Wiersma.W, 2000 ; 198-199)
ลักษณะที่สำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ 1. Holistic and Multi-facet Approach ศึกษาปรากฏการณ์แบบองค์รวมจากหลากหลายแง่มุมเป็นสหวิทยาการ 2. Natural or Field Setting ศึกษาในสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติและบริบทสังคม 3. Intangible Variables ตัวแปร เน้นเกี่ยวกับความรู้สึก นึกคิด จิตใจ และความหมาย 4. Human Value เน้น คุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย 5. In-depth and Long-term Study ศึกษาเจาะลึก ระยะเวลาศึกษายาวนาน 6. Descriptive and Inductive Analysis วิเคราะห์และนำเสนอ เป็นลักษณะพรรณนาและบรรยาย
Qualitative Method การปฏิบัติกระทำกับ ข้อมูลที่แจงนับไม่ได้ (หรือไม่เป็นตัวเลข) นั่นคือ ไม่ได้ใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติมาวิเคราะห์ทั้งหมด เน้นการสร้างแนวคิด การตีความเพื่อให้เกิดความเข้าใจในมนุษย์และสังคม ใช้การสังเกต สัมภาษณ์ สนทนาและจดบันทึก ให้ความสำคัญกับข้อมูลประเภทอัตชีวประวัติ โลกทัศน์และความรู้สึกนึกคิดของปัจเจกบุคคลเป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องใช้สถิติชั้นสูงในการวิเคราะห์ แต่ใช้ การอุปมาน (Induction Approach)
รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ: แบ่งตามลักษณะการดำเนินการวิจัย รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ: แบ่งตามลักษณะการดำเนินการวิจัย 1. การวิจัยเชิงคุณภาพที่นักวิจัยใช้เวลามาก เฝ้าสังเกตและมีส่วนร่วมอยู่กับกลุ่มเป้าหมายเป็นเวลานาน เชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic / Anthropological Research) 2. การวิจัยเชิงคุณภาพที่นักวิจัยใช้เวลาน้อยกับกลุ่มเป้าหมาย แต่คงลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพไว้เกือบทุกประการ การวิจัยที่ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Research) การวิจัยที่ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview Research)
คำถามการวิจัย เชิงพรรณนา (Descriptive) – เพื่อตอบคำถามประเภท “ใคร” “อะไร” “ที่ไหน” ฯลฯ เชิงวิเคราะห์ หรือเชิงอธิบาย ( Explanatory, Analytical) – มุ่งหาคำอธิบายด้วยการวิเคราะห์ ไม่ต้องมาก (1-3 คำถามก็มากพอแล้ว สำหรับการวิจัยเรื่องหนึ่งๆ /ขึ้นกับบริบทเป็นหลัก)
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดประเด็นปัญหาหรือหัวข้อการวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์เฉพาะหน้า วัตถุประสงค์ท้ายสุด สร้างกรอบความคิด สร้างแนวคำถาม การวางแผนเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานวิจัย
หลักเกณฑ์การทำวิจัยคุณภาพ วิธีการเก็บข้อมูล - สัมผัส ตรง ไม่ผ่านสื่อกลาง (Proxy) - ไม่ใช้ ทฤษฎี นำทาง, กำหนดวิธีคิด -ปราศจากอคติทางวิชาการ (Intellectual Bias) -Facts VS Truth
ความสัมพันธ์ - แลกเปลี่ยน - เสรี อิสระ - มีส่วนร่วม - เท่าเทียม - ไว้วางใจ (Good Rapport)
การใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เมื่อต้องการสร้างสมมติฐานหรือทฤษฎีใหม่ ๆ เมื่อต้องการศึกษากระบวนการ/ความต่อเนื่อง/พลวัตร เมื่อต้องการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ในระดับลึกซึ้ง ความหมายที่ซ่อนเร้น เมื่อทำวิจัยในสังคมผู้ไม่รู้หนังสือ เมื่อต้องการทำวิจัยในเรื่องที่มีความเป็นนามธรรม เมื่อต้องการข้อมูลระดับลึกมาประกอบการตัดสินใจในการวางแผน
การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ สิ่งที่นักวิจัยอยากรู้ (หัวข้อและคำถามการวิจัย) สิ่งที่ต้องการบรรลุถึง (จุดมุ่งหมาย) และสิ่งที่จะต้องทำ (วัตถุประสงค์) ในการวิจัย แนวคิดที่จะใช้เป็นกรอบในการวิจัย (กรอบแนวคิด) แหล่งที่จะหาข้อมูลเพื่อตอบ และเครื่องมือที่จะใช้ในการรวบรวมข้อมูล ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามการวิจัย (วิธีการวิจัย) แนวทางตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิจัย
ขั้นตอนการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ
องค์ประกอบและขั้นตอน ในการวางแผนการวิจัยเชิงคุณภาพ ปัญหาชั่วคราว เลือกพื้นที่ เวลาศึกษา ตัวแปรต่างๆ ที่ศึกษา สมมติฐาน ได้ปัญหาวิจัย สัมภาษณ์ สังเกตแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลเอกสาร ปรับวิธีการเก็บ ปรับสมมติฐาน การวางแผน สมมติฐานในการทำงาน การเก็บข้อมูล รูปแบบ วิธีเขียนแสดงหลักฐาน การพิมพ์ การตรวจสอบ ลดทอนขนาดข้อมูล จัดทำให้เป็นระบบ การแสดงหลักฐาน ตรวจสอบข้อมูล / ทฤษฎี การสรุป การเขียน การวิเคราะห์แปลผล
เทคนิคการรวบรวมข้อมูล เชิงคุณภาพ
วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การสังเกต (Observation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview - IDI) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion - FGD) การรวบรวมข้อมูลเอกสาร (Documentary Search) วิธีการศึกษาจากเรื่องเล่า (Narrative Approach) การถอดบทเรียน (Lesson Learned)
ความแตกต่างในการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยภาคสนาม ไม่มีโครงสร้างคำถามตายตัว
ความแตกต่างในการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่จำเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูง เน้นการอธิบายระบบโดยรวม
ขั้นตอนสำคัญของการลงพื้นที่ ขั้นเลือกพื้นที่ ขั้นแนะนำตัว ขั้นสร้างความสัมพันธ์ ขั้นเริ่มทำงาน
การเลือกพื้นที่วิจัย การเลือกที่พัก การใช้เวลาในสนาม การเตรียมตัวเข้าสนาม การเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
การแนะนำตัว คือ การกำหนดสถานภาพและบทบาทของนักวิจัย - เปิดเผย (Overt Role) - ปิดบัง (Covert Role)
การเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก การเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ Purposive Selection, Snowball Technique, Extreme Cases , Critical Cases, Typical Cases. เป็นต้น
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) หรือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) การสังเกตโดยตรง (Direct Observation) การวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสาร (Content Analysis of Written Material)
ประเภทของเครื่องมือ : การสังเกต การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non – participant Observation)
สิ่งที่ต้องสังเกต กรอบการสังเกตของลอฟท์แลนด์ (Loftland) - การกระทำ (acts) - แบบแผนการกระทำ (activities) - ความหมาย (meaning) - ความสัมพันธ์ (relationship) - การมีส่วนร่วม (Participation) - ฉาก และบุคคล (Setting)
กิจกรรมการเรียน/การอบรม แนวทางการสังเกต กรอบการสังเกต รายการที่สังเกต ผลการสังเกต กิจกรรมการเรียน/การอบรม -มีการฝึกปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนการสอน ของครู สังเกต จากการมอบหมายงาน ใบงาน วิธีการอบรม -มีเทคนิควิธีการสอนที่เน้นกระบวนการคิด การใช้เหตุผล -การอ่าน เขียน บรรยากาศ การอบรม -สภาพการเรียนการสอน -ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน -การโต้ตอบ ซักถาม การแสดงความคิดเห็น การมีส่วนร่วม ของผู้อบรม -ผู้เรียนมีการสะท้อนกลับ -รอยยิ้ม /ความสนใจของผู้เรียน บุคลิกท่าทาง -บุคลิกท่าทางของวิทยากร -บุคลิกท่าทางของผู้อบรม ภาพรวม -ตามบริบทของโรงเรียนและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
Hall 1959 อ้างใน DENZIN, 1978 : 269 ใกล้ชิดกันมาก (ระยะห่าง 3 – 6 นิ้ว) กระซิบกระซาบ ลับสุดยอด ใกล้ชิด (ระยะห่าง 8 – 12 นิ้ว) กระซิบพอได้ยิน ไว้ใจกันมาก ใกล้ (ระยะห่าง 12 – 20 นิ้ว) พูดเบาๆ ในห้อง นอกห้อง พูดเต็มเสียง ไว้ใจ ปกติธรรมดา (ระยะห่าง 20 – 36 นิ้ว) พูดเบาๆ เสียงต่ำ เรื่องส่วนตัว (ระยะห่าง 4 ½ - 5 ฟุต) พูดเต็มเสียง เรื่องการงาน ระยะห่างในที่สาธารณะ (ระยะห่าง 5 ½ - 8 ฟุต) พูดเต็มเสียง ดังพอประมาณ ให้ข้อมูลแก่คนอื่นๆ ข้ามห้อง (ระยะห่าง 8 - 20 ฟุต) เสียงดัง พูดกับกลุ่มคน ระยะห่างมาก (ระยะห่าง 20 - 24 ฟุต) ตะโกน อำลา
การจดบันทึกภาคสนาม บันทึกย่อ บันทึกภาคสนาม (Field Note)
บันทึก (Field Note) บันทึกข้อมูลจากการสังเกต บันทึกย่อ ไม่โจ่งแจ้ง เป็นธรรมชาติไม่ให้สะดุด บันทึกภาคสนาม มักทำภายหลังไม่ควรทิ้งไว้หลายวันจะลืม 1. ประเด็น สังเกต เวลา /วัน เดือน ปี /สถานที่ ...... 2. สิ่งที่สังเกต บรรยาย? ใคร? ทำอะไร? ที่ไหน? อย่างไร? กับใคร?ทำไม....... 3. ตีความเบื้องต้น แสดงความคิดเห็น ตีความ สรุป (สมมุติฐานเบื้องต้นชั่วคราว) 4. ระเบียบวิธี วิธีการที่ผู้วิจัยใช้ ความบกพร่อง การสังเกต ข้อมูลตกหล่น
การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง - การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) - การสัมภาษณ์แบบมีจุดสนใจเฉพาะ (Focus Interview) - การตะล่อมกล่อมเกลา (Probe) - การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) - การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
การสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง vs การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หรือแบบกึ่งโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หรือแบบกึ่งโครงสร้าง คำถามปลายเปิด /ยืดหยุ่น การสัมภาษณ์ดำเนินไปเสมือนเป็นการสนทนาในชีวิตประจำวัน ความสำเร็จขึ้นอยู่กับ ผู้ให้สัมภาษณ์ (Key Informant, Information-rich Cases) ทักษะการสัมภาษณ์ของนักวิจัย และการ “ทำการบ้านอย่างดี” ก่อนการสัมภาษณ์ แนวคำถาม (Interview Guidelines)
คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์เชิงคุณภาพที่ดี มีความรู้ลึกและกว้างในเรื่องที่สัมภาษณ์ ดำเนินการสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบและมีโครงสร้างที่เหมาะสม ถามคำถามชัดเจน เข้าใจง่าย สุภาพ จับประเด็นเก่ง เปิดกว้าง สำหรับคำตอบทุกรูปแบบ คุมสถานการณ์ในการสัมภาษณ์เก่ง เป็นนักฟังที่ดี จำเก่ง ตีความเก่ง
เทคนิคการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลเชิงลึก บรรยากาศเป็นส่วนตัว เป็นการสื่อความหมายแบบโต้ตอบกันทั้ง 2 ฝ่าย ควรต้องใช้เทปบันทึกเสียง ไม่มีคำถามตายตัว ถามกี่คน?: หยุดเมื่อคำตอบเริ่มเหมือนกันมากขึ้น และสรุปผลได้ในที่สุด
ขั้นตอนการสนทนากลุ่ม วางแผนการสนทนากลุ่ม เตรียมเลือกผู้เข้าร่วมสนทนา (7-12 คน) นัดหมายวัน เวลา สถานที่ เตรียมชุดคำถาม ทดลองใช้คำถาม ทำการสนทนากลุ่ม ถอดเทป วิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ดำเนินการสนทนากลุ่มที่ดี มีความรู้ในเรื่องที่ทำการเก็บข้อมูล เข้าใจแนวคำถามและเจตนารมณ์ของคำถามอย่างดี มีบุคลิกที่อบอุ่น น่าคุยด้วย ใจเย็น ไม่วอกแวก เป็นผู้ฟังที่ดี จับประเด็นสิ่งที่ฟังได้เร็ว และแม่นยำ มีความสามารถในการคุมเกมส์การสนทนา
การสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกมาเพื่ออภิปรายกันในประเด็น การวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ สมาชิกกลุ่มจะต้องมีทั้งลักษณะที่คล้ายกัน และลักษณะที่แตกต่าง ปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มคือกุญแจสำคัญสู่ข้อมูลที่ดี ผู้ดำเนินการสนทนา ต้องมีทั้งความรู้ในเรื่องที่สนทนา มีทักษะในการจัดการกลุ่ม และทักษะในการดำเนินการสนทนากลุ่ม มีแนวคำถามที่ผ่านการกลั่นกรอง และทดสอบมาแล้ว มีการสร้างบรรยากาศที่ดีในการสนทนา
การจดบันทึกและทำดัชนีข้อมูล หลังจากที่ได้จดบันทึกแล้วนักวิจัยก็จะเริ่มทำดัชนีข้อมูล เพื่อจัดหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป ดัชนีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดัชนีเชิงบรรยาย : มัคคุเทศก์ แหล่งท่องเที่ยว ดัชนีเชิงตีความ : มัคคุเทศก์ต่างประเทศ ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว ดัชนีเชิงอธิบาย มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ เช่น มัคคุเทศก์ต่างประเทศกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มี 2 วิธีหลัก ดังนี้ วิธีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป มี 3 ชนิด คือ วิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) ตีความสร้างข้อสรุปจากสิ่งที่เป็นปรากฎการณ์ที่มองเห็น 2. การวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) มี 2 วิธี 2.1 แบบใช้ทฤษฎี แยกชนิดในเหตุการณ์นั้นๆ โดยการยึดทฤษฎีเป็นกรอบ 2.2 แบบไม่ใช้ทฤษฎี จำแนกข้อมูลที่จะวิเคราะห์ตามความเหมาะสมกับข้อมูล 3. วิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูล (Constant Comparison) สังเกต รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์หลายๆ อย่าง นำมาแยกตามชนิด ประเภท และนำมา เปรียบเทียบกัน
วิธีที่ 2 การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) บรรยายเนื้อหาของข้อความหรือเอกสารโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณอย่างเป็นระบบ และเน้นความเป็นวัตถุวิสัย (Objectivity) อิงกรอบทฤษฎี การบรรยายจะเน้นเนื้อหาตามที่ปรากฏ ไม่เน้นการตีความหรือการหาความหมายที่ซ่อนไว้
ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา (ต่อ) 1. ตั้งกฎเกณฑ์สำหรับคัดเลือกเอกสาร และหัวข้อ 2. วางเค้าโครงของข้อมูล 3. คำนึงถึงบริบท หรือสภาพแวดล้อมประกอบของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ 4. วิเคราะห์เนื้อหา ตามเนื้อหาที่ปรากฏ (Manifest Content) ในเอกสารมากกว่ากระทำกับเนื้อหาที่ซ่อนอยู่ (Latent Content)
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ กระบวนการทำให้ข้อมูล “พูด” ออกมาอย่างมีความหมาย และสมเหตุสมผลที่สุด
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้แนวคิดทฤษฎีและการสร้างกรอบแนวคิดสำหรับการวิเคราะห์ การตรวจสอบข้อมูล การจดบันทึกและทำดัชนีข้อมูล กาทำข้อสรุปชั่วคราวและการจัดทำข้อมูล การสร้างข้อสรุปและการพิสูจน์ข้อมูล
วิธีวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การจำแนกประเภทข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูล การสร้างข้อสรุปข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูล
การวิเคราะห์เกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของการวิจัย การเก็บข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การแสดงข้อมูล หาข้อสรุป / ตรวจสอบความถูกต้อง ระหว่างเก็บข้อมูล หลังเก็บข้อมูล กิจกรรมการวิจัย ที่มา: ปรับปรุงจาก Miles and Huberman, 1994: 10 กระบวน การวิเคราะห์
การให้รหัสข้อมูล การให้รหัสข้อมูล อ่านข้อมูล ให้เข้าใจ กำหนด ประเด็นหลัก มองหาข้อความ ที่มีความหมาย สอดคล้องกับ กำหนดรหัส สำหรับ แต่ละ ความหมาย ทำ Codebook การให้รหัสข้อมูล
การแสดงข้อมูล การแสดงข้อมูล จัดกลุ่มข้อมูล ที่ให้รหัสแล้ว ตามประเด็นหลัก และประเด็นย่อย ทำตาราง เปรียบเทียบ ข้อมูล/ ความหมาย จากแต่ละกลุ่ม มองหา Concepts ที่จะตอบคำถาม การวิจัย เชื่อมโยง ที่สัมพันธ์กัน ให้มีความหมาย บรรยายผลที่ได้ อย่างละเอียด การแสดงข้อมูล
แนวทางหาข้อสรุป มองหาสิ่งต่อไปนี้ในข้อค้นพบ แบบแผนของสิ่งที่ได้พบจากข้อมูล ความน่าจะเป็น (Probability, Likelihood) ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ (กลุ่ม, ประเภท) (Relationships) ความเหมือน ความต่าง (Similarities & Differences) ทั้งหมดจะต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในข้อมูล
การตีความ ถามตัวเองว่า: สิ่งที่ได้พบและได้สรุปมาจากการศึกษานั้น มีความหมาย และสำคัญอย่างไร ทั้งในแง่ทฤษฎี และในแง่ปฏิบัติ ข้อค้นพบจากการวิจัยนั้น มีนัยอย่างไรในเชิงนโยบาย หรือในแง่ของกิจกรรมที่น่าจะทำ
เทคนิคในการสร้างข้อสรุป การนับ ต้องคงเส้นคงวา การหาแบบแผน การจัดกลุ่มข้อมูล การหาความคล้ายคลึงของข้อมูล การแตกข้อมูลหรือตัวแปรให้ละเอียดลงไป การประมวลข้อมูลเข้าด้วยกัน การทำข้อมูลเป็นองค์ประกอบต่างๆ การเรียงลำดับข้อมูลโดยใช้ตรรกะเชื่อมโยง
ข้อดีของการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความต้องการข้อมูลที่รอบด้าน มีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายปรากฏการณ์อย่างลึกซึ้ง ต้องการเข้าใจระบบความคิด ระบบความเชื่อของผู้ตอบโดยตรง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่ม ค้นหาสาเหตุและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เก็บข้อมูลจากบุคคลที่ได้เลือกสรรมาอย่างดีแล้ว
ข้อดีของการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ช่วยเสริมสร้างการศึกษากระบวนการอย่างลึกซึ้งรอบด้าน เป็นการศึกษาเพื่อหาข้อสมมติฐานเพื่อนำไปสู่เชิงปริมาณ เป็นประโยชน์เมื่อทำวิจัยในกลุ่มคนขนาดเล็ก หรือมีข้อจำกัดบางประการ
ข้อดีของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นงานวิจัยที่เอื้อต่อการวิจัยในลักษณะที่เป็นนามธรรม ช่วยเสริมงานวิจัยเชิงปริมาณ ให้คำตอบที่ชัดเจนและหนักแน่นยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน
ข้อจำกัดของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นงานที่เกี่ยวกับสถานการณ์เฉพาะ ความแม่นตรงเชื่อถือได้ของเทคนิคการเก็บรวบรวมยากจะทดสอบ ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยและประชากรที่ศึกษา ไม่มีโครงสร้างการเก็บข้อมูลที่แน่นอน จึงยากต่อการนำไปใช้ซ้ำ
(Mixed Methods Research) การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) John W.Creswell