บทที่ 10 ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ
Advertisements

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
บทที่5 การควบคุมการผลิตและต้นทุนการผลิต
การจัดซื้อจัดจ้าง.
เทคนิคการตรวจสอบภายใน
บทที่2 การวางแผนการผลิตและกำลังการผลิต
วิเคราะห์ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 วิเคราะห์ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558.
1.
โปรแกรมสต๊อกสินค้า และ โปรแกรมขายหน้าร้าน Nanosoft Smart INV.NET วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปและการ ประยุกต์ใช้งาน อ. วิสุตร์ เพชรรัตน์
15 กันยายน 2558 หมวดงบลงทุน. งบ ลงทุน 1) ครุภัณฑ์ 2) ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่าย เพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายใน ลักษณะค่าครุภัณฑ์
คำแนะนำ นายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน พ. ศ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน พ.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ พัสดุ ประกาศคณะรักษาความรักษา ความสงบแห่งชาติ การซื้อและ การจัดจ้างด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e – GP) และการบริหาร งบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วน.
การกำหนด คุณลักษณะครุภัณฑ์ นาตอนงค์ จันทร์แจ่มแจ้ง นักวิชาการพัสดุชำนาญการพิเศษ.
1) จำนวนเงินใน Slip Carbon ไม่ตรงกับ ยอดเงินของโรงเรียน สาเหตุที่ยอดเงินใน Slip Carbon ไม่ตรง กับโรงเรียนเนื่องจาก  โรงเรียนชำระเงินสะสม 3% ที่ธนาคารไทย.
สัญญาก่อสร้าง.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
กระบวนการทางการบัญชี บันทึก  สมุดรายวันขั้นต้น
แนวปฏิบัติทางบัญชีสิ้นปีงบประมาณ
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบการควบคุมภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
รายชื่อกลุ่ม 1.นางสาว ศลัญญากรณ์ ศิลป์มณีโชค (พลอย) ปวส. 2/6 รหัส สาขาโลจิสติกส์ 2.นางสาว พรพรรณ หมอนสวัสดิ์ (มุก) ปวส. 2/6 รหัส สาขาโลจิสติกส์
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2410
บทที่ 5 การประมวลผลรายการค้า
บทที่ 11 วงจรรายจ่าย.
อยู่ระหว่างดำเนินการ
การจัดหาพัสดุในส่วนของรายจ่ายลงทุนในภาพรวม ประจำเดือนมิถุนายน 2561
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ (Information System)
บทที่ 5 การวางแผนทางการเงิน ผศ. อรทัย รัตนานนท์ รศ.อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
ขั้นที่ 3 การเตรียมการจ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการ กระบวนการเตรียมจ่ายชำระค่าสินค้า โดยเริ่มจากการนำใบแจ้งหนี้หรือใบกำกับสินค้าที่ได้รับจากบริษัทผู้ขายมาตรวจสอบความถูกต้องกับข้อมูลในใบรับสินค้าและใบส่งสินค้าที่ได้รับจากฝ่ายคลังสินค้า.
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
การรายงานความคืบหน้าหรือสถานะ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
การจัดทำบัญชีสิ้นปีงบประมาณ
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
กลุ่มเกษตรกร.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กองทุนเงินทดแทน ประกันสังคม.
ประเด็นปัญหาที่ตรวจพบจากการตรวจสอบ
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 7
โดย นางสุลัดดา บุญรักษ์
ตัวอย่างการจัดทำรายงานการผลิต และงบการเงิน
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
บทที่ 9 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2400 (ปรับปรุง)
บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
บทที่ 10 วงจรรายได้.
Supply Chain Management
ชัยพฤกษ์รัตนาธิเบศร์ - วงแหวน
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
บทที่ 9 สมุดรายวันเฉพาะและสมุดบัญชีแยกประเภทย่อย
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 10 ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน บทที่ 10 ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน

ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน การเรียกเก็บเงินและชำระหนี้เป็นขั้นตอนที่ติดตามรายการขายด้วยเงินเชื่อ วงจรรายได้ของธุรกิจใดๆจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อกิจการนั้นได้ชระหนี้ค่าสินค้าหื้อบริการที่ถูกส่งมอบให้ลูกค้าไป ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน (billing and collection system) เป้นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรรายได้ กิจการตกลงขายสินค้าหรือบริการมให้ลูกค้า ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงินมีหน้าที่ติดตามทวงหนี้ และเก็บรวบรวมข้อมุลที่เดี่ยวกับลูกค้าที่ค้างชำระ

วัตถุประสงค์และหน้าที่ของระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน 1. จัดการแจ้งหนี้ไปยังลูกหนี้ที่สินค้าหรือบริการถูกส่งมอบไปแล้วอย่าง ถูกต้องและตรงเวลา 2. ต้นทุนของสินค้าหรือบริการที่จัดส่งมอบให้ลูกค้าได้รับการบันทึกอย่าง ชัดเจน 3. บริหารบัญชีลูกหนี้อย่างเที่ยงตรงตามความเป็นจริง

การแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ต้องบเป้นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมข้อผิดพลาด เช่น การเรียกเก้บเงินจากลูกหนี้ผิดราย อาจทำให้สูญเสียลูกค้าในอนาคตได้ และระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก้บเงินที่มีประสิทธิภาพจะต้องสามารถเรียกเก็บเงินเข้ากิจการได้อย่างรวดเร็วตนามกำหนดเวลา หลีกเลี่ยงกรณีหนี้สูญ ลูกหนี้อาจแบ่งออกเป้นหลายประเภท เช่น ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้อื่นๆ ได้แก่ ลูกหนี้พนักงาน ลูกหนี้อันเกิดจากการฟ้องร้อง เป็นต้น และกิจการอาจแบ่งได้หลายประเภท เช่น กิจการขายบริการ กิจการซื้อมาขายไป และกิจการผลิตสินค้า

เอกสารเบื้องต้น ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงินเริ่มที่ใบสั่งขาย ใบสั่งสินค้า ใบบรรจุหีบหอ และตราส่งสินค้า แต่ละกิจการมีแบบฟอร์มของใบเรียกเก็บเงินที่แตกต่างกันออกไป ข้อมูลที่ควรมีปรากกฏอยู่ในใบเรียกเก็บเงิน ได้แก่ 1.ข้อมูลเฉพาะ เช่น ชื่อกิจกการ ที่ตั้ง 2.รายละเอียดลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ สถานที่จัดส่งสินค้า 3.เงื่อนไขการขาย 4.เงื่อนไขการจัดส่งสินค้า 5.ข้อกำหนดในการจัด่างสินค้า

เอกสารเบื้องต้น (ต่อ) 6.รายละเอียดที่เกี่ยวกับสินค้า เช่น รหัสสินค้า ลักษณะสินค้า 7.จำนวนสินค้าที่จัดส่งและมาตรการวัดที่ใช้ 8.ราคาสินค้าต่อหน่วย 9.จำนวนเงินที่คุณได้ของรายการสินค้าแต่ละรายการ 10.จำนวนเงินรวมของรายการค่าที่อยู่ในฝบเรียกเก็บเงินทั้งหมด 11.ค่าใช้จ่ายอื่นๆเกี่ยวกับการขานสินค้า เช่น ภาษีบริการ 12.จำนวนเงินรวมของค่าใช้จ่ายอื่นๆ 13.จำนวนเงินรวมของใบเรียกเก็บเงิน

ตัวอย่างใบแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน

ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงินมีอยู่มาก ทั้งเอกสารที่เกิดจากระบบงานอื่น เช่น ใบสั่งขายที่ระบบการตลาดเป็นผู้จัดทำและส่งไปให้ฝ่ายสินเชื่อนุมัติวงเงิน เมื่อได้รับการอนุมัติแล้วในที่สุดใบสั่งขายนี้ก็จะถูกส่งฝ่ายแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน เอกสารเบื้องต้นที่ฝ่ายแจ้งหนี้จัดทำขึ้นเอง ได้แก่ ใบเรียกเก็บเงิน รายการลูกหนี้ รายการลูกหนี้ตัดจำหน่ายเป้นหนี้สูญ

รายการลูกหนี้นี้มักจัดทำเป็นรายเดือน ถือเป็นตัวควบคุมที่สำคัญของระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน การตัดจำหน่ายลูกหนี้เป้นหนี้สูญควรเป็นหน้าที่ของผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อโดยได้รับการอนุมัติจากสมุห์บัญชีแล้วจึงจัดทำรายการหนี้สุญ (bad debt listing) รายการนี้ประกอบด้วย ชื่อบัญชี จำนวนเงินที่เป้นหนี้สูญ พรั้อมลายเซ็นผู้อนุมัติการตัดจำหน่ายหนี้สูญด้วย

ทางเดินเอกสารและข้อมูล แผนภาพทางเดินของระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก้บเงินของกิจการแสดงทางเดินของเอกสารในเหตุการณ์ปกติ อย่างไรก็ตาม ทางเดินของเอกสารเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างในเหตุการณ์ที่ต่างไป เช่น กิจการมีฝ่ายแจ้งหนี้รวมอยู่ที่เดียว มนขณะที่มีฝ่ายจัดส่งสินค้าและคลังสินค้าหลายแห่งแยกการจายออกไป กิจการค้าระหว่างประเทศ การจัดส่งสินค้าโดยพาหนะของกิจการหรือจ้างเหมาบริษัทขนส่ง ข้อตกลงกำหนดให้ชำระหนี้เป็นงวด การตักสินใจงดการจัดส่งสินค้าเมื่อสินค้าคงคลังขาดมือ

ภาพ : ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงินและระบบเงินสดรับชำระหนี้

ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก้บเงินและระบบเงินสดรับชำระหนี้ ประกอบด้วยข้อมุลเข้าจากฝ่ายขาย ได้แก่ ใบสั่งขาย และจากฝ่ายจัดส่งสินค้า ได้แก่ หลักฐานว่าได้มีการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าแล้ว ข้อมุลออก ได้แก่ ใบเรียกเก็บเงินส่งให้ลูกค้า เมื่อลูกค้าชำระหนี้ก็จะทำการปรับยอดบัญชีที่เกี่ยวข้องและนำเงินสดฝากธนาคาร ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน และระบบเงินสดรับชำระหนี้ ประกอบด้วยขั้นตอนงาน หลักขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 จัดทำใบเรียกเก็บเงิน ขั้นตอนที่ 2 บริหารบัญชีลูกหนี้ ขั้นตอนที่ 3 รับชำระหนี้สินค้า

ฐานข้อมูลของระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน เครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับที่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการประมวลผลรายการค้า ใบสั่งขายจะถูกรวบรวมอยู่ในแฟ้มเรียงจามเลขที่ใบสั่งขาย แฟ้มใบสั่งขายนี้จะถูกนำมาประมวลผลพร้อมกับแฟ้มหลักลูกหนี้และรายการรับชำระหนี้จากลูกหนี้เพื่อจะได้ข้อมุลออกที่ต้องการ แฟ้มข้อมูลหลักที่จะต้องทำการปรับยอดบัญชี แฟ้มลูกค้า แฟ้มลูกหนี้การค้า

แฟ้มข้อมูลรายการที่จะต้องทำการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แฟ้มใบสั่งขาย แฟ้มเงินสดรับ แฟ้มรายการปรับปรุงลูกหนี้ แฟ้ม RA ความสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างข้อมูลในแฟ้ม ได้แก่ ลูกค้าหนึ่งคนอาจมีใบสั่งขายได้หลายใบแต่ใบสั่งขายแต่ละใบจะต้องเป็นของลูกค้าได้เพียงหนึ่งคน

การประมวลผลและข้อมูลออก แฟ้มหลักหรือแฟ้มข้อมูลถาวรในระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน ได้แก่ แฟ้มหลักลูกหนี้ แฟ้มหลักสรุปการขายในรอบบัญชี (ปกติใช้1ปี) ข้อมูลออกที่มักจะได้รับจากการประมวลผลใบสั่งขาย ได้แก่ ใบสั่งส่งสินค้า ใบบรรจุหีบห่อ ป้ายติดหีบห่อ และใบเรียกเก็บเงิน แฟ้มหลักลูกหนี้ที่ถูกปรับปรุงยอดบัญชีแล้วก็เป็นข้อมูลออกที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน รายการสินค้าที่ถูกส่งไปให้ลูกค้าแล้วจะถูกส่งไปยังฝ่ายแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงินเพื่อบันทึกต้นทุนสินค้าที่ขายต่อไป การประมวลผลประจำเดือนมักเป็นการนำเอาแฟ้มหลัก2แฟ้มของระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน ได้แก่ แฟ้มหลักลูกค้าและปฟ้มหลักสรุปการขายที่เกิดขึ้นแล้ว มาจัดเรียงรวบรวมประมวลผลเสียใหม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งรายงานเพื่อการบริหาร

รายงานทางการบัญชีเพื่อการจัดการ ระบบการประมวลผลการวิเคราะห์การขาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการวางแผน การใช้คอมพิวเตอร์ทำให้การวิเคราะห์การขายเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถช่วยตอบคำถามต่างๆ เช่น การขายด้วยเงินเชื่อจะแปรงสภาพเป็นเงินสดได้เร็วแค่ไหน สินค้าที่ขายไปแล้วถูกส่งมากี่เปอร์เซ็นของยอดขาย และเหตุผลในการส่งคืน มีสินค้าที่จัดส่งไปแล้วแต่ยังไม่มีการแจ้งหนี้ไปยังลูกค้าหรือไม่ การให้ส่วนลดเงินสดช่วยกระตุ้นความสามารถในการเรียกชำระหนี้ของฝ่ายแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงินได้มากน้อยแค่ไหน

และยังสามารถคำนวณหาคำตอบได้ภายในเวลาเพียงวินาที สามารถจัดทำงบแยกอายุหนี้ของลูกหนี้จากแฟ้มถาวรลูกหนี้ค้างชำระได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย รางานการปรับปรุงยอดลูกหนี้ เป็นรายงานที่จะให้ประโยชน์แก่การบริหารเงินสดในการให้สินเชื่อในโอกาสข้างหน้าและการตลาดได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นยอดการสั่งซื้อของลูกหนี้แต่ละราย จำนวน และเหตุในการที่จะต้องปรับปรุงยอดขายพร้อมจำนวนเงิน ระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงินที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะต้องประกอบด้วยเอกสารเบื้องต้นที่สามารถ

จะเข้าสู่ทางเดินเอกสาร จากระบบงานหนึ่งไปยังอีกระบบงานหนึ่งได้อย่างราบรื่น การควบคุมทางการบัญชีจะสามารถบันทึกยอดและการเคลื่อนไหวของบัญชีลูกหนี้ได้อย่างครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง และสามารถเก็บรักษาบัญชีลูกหนี้จากการถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ได้รับอนุญาต จัดทำรายงานทาการบัญชีเพื่อการจัดการ เพื่อการนำเสนอผู้บริหารได้อย่างรวดเร็วและให้ประโยชน์ต่อผู้บริหารในการตัดสินใจ

ระบบการแจ้งหนี้และบัญชีลูกหนี้ เมื่อฝ่ายบัญชีได้รับเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของกระดาษหรือรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม ได้แก่ ใบสั่งขาย ใบส่งสินค้าที่ลูกค้าเซ็นรับอย่างถูกต้องจากฝ่ายขาย และฝ่ายจัดส่งสินค้า ตามลำดับ แล้วจะทำใบเรียกเก็บเงิน โดยจะอ้างถึงเลขที่อ้างอิง คือ เลขที่ใบสั่งขายและเลขที่ใบส่งสินค้า เช่นเดียวกับเอกสารเบื้องต้นที่เกิดขึ้นในองค์กรอื่นๆ กิจการสามารถควบคุมได้โดยจัดพิมพ์ไว้ล่วงหน้า เรียงเลขที่และจัทำขึ้นหลายชุด เพื่อจัดส่งไปให้ลูกค้าและจัดเก็บไว้เป็นหลักฐานทางการบัญชีภายในกิจการ ใบเรียกเก็บเงินอาจถูกส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ หรือในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบอีดีไอซึ่งมีราคาถูกและประหยัดเวลาได้มากกว่า

กิจการอาจไม่ต้องจัดทำใบเรียกเก็บเงินส่งให้ลูกค้าเลยก็ได้ เมื่อสินค้าถูกส่ง ผู้ขายจะส่งอีเมลแจ้งว่าได้จัดการส่งสินค้าให้แล้ว เมื่อผู้รับได้รับสินค้าจะส่งอีเมลแจ้งกลับว่าได้รับเรียบร้อยแล้วและดำเนินการชำระหนี้สินตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในใบสั่งขาย โดยที่ไม่ต้องรอให้เจ้าหนี้ส่งใบเรียกเก็บเงินไปแจ้งหนี้ วิธีที่ไม่มีใบเรียกเก็บเงินนี้เรียกว่า (invoiceless billing)

วิธีการแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บเงินจากลูกค้าอาจทำได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธีการแจ้งหนี้ค้างชำระแบบเปิด (open-invoice method) จะเรียกเก็บจากลูกค้าตามใบแจ้งหนี้แต่ละใบ ใบแจ้งหนี้ 1 ใบ อาจประกอบด้วยใบสั่งขายหลายใบ หรือหลายรายการ ลูกค้าจะชำระหนี้ตามจำเงินรวมที่ระบุไว้ในใบเรียกเก็บเงินแต่ละใบ อีกวิธีหนึ่งเรียกว่า วิธีการแจ้งหนี้ค้างชำระแบบยกไป balance-forward method กรณีที่ลูกค้าจะถูกเรียกเก็บเงินเป็นรายเดือน เหมาะสำหรับกิจการคู่ค้าที่มีการซื้อขายสินค้าไม่บ่อยครั้งนักในเวลา 1 เดือน และจำนวนเงินที่ซื้อขายในแต่ละครั้งค่อนข้างสูง

ใบแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงินมักถูกส่งให้ลูกค้า 2 ชุด ชุดหนึ่งให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐาน อีกชุดให้ส่งกลับมาพร้อมเช็ค เอกสารที่ถูกส่งมาพร้อมเช็คเรียกว่า (remittance advice(RA)) เมื่อพนักงานเปิดซองจดหมายจะแยกเงินสดส่งให้ฝ่ายการเงิน พนักงานควบคุมเงินสดในฝ่ายการเงินจัดทำใบนำฝากธนาคารและนำเงินสดเข้าธนาคารทุกสิ้นวัน และจัดทำรายการเงินสดชำระหนี้ (remittance list (RL)) สรุปประจำวัน

ส่วนเอกสาร RA จะถูกส่งไปฝ่ายบัญชีเพื่อตัดลูกหนี้ตามหลักการลงบัญชีต่อไป โดยเดบิตบัญชีเงินสด บัญชีสินค้ารับคืน และส่นลดถ้ามี และเครดิตบัญชีลูกหนิอาจมีเอกสารเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องอีก ได้แก่ debit memo , credit memo เดบิตเมโมใช้ในกรณีที่มีเหตุการณ์นอกเหนือจากการขายเชื่อที่ที่ต้องเดบิตลูกหนี้แทนลูกค้า ตามสํญาซื้อขายลูกค้าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่ง เครดิตเมโมใช้ในกรณีที่มีเหตุการณ์นอกเหนือจากการชำระหนี้ที่ต้องเครดิตบัญชีลูกหนี้

กิจการอาจใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการรับชำระหนี้จากลูกค้า เช่น การใช้วิธีการที่เรียกว่า lockbox คือการใช้บริการของตู้ไปรษณีย์ไทยบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด กำหนดให้ลูกค้าส่งเช็ค และ RA มาตามที่อยู่ไปรษณีย์นั้น วิธีการชำระหนี้อีกวิธีหนึ่ง คือ การใช้ระบบการโอนเงินระหว่างธนาคารของคู่ค้าที่เรียกว่า ระบบการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer System - EFT) ด้วยวิธีที่ลูกค้าส่ง RA ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ธนาคารของตน ธนาคารของลูกค้าถอนเงินจากบัญชีของลูกค้านำเข้าบัญชีกิจการผ่านธนาคารของกิจการ การชำระด้วยวิธีนี้จะช่วยลดหย่อนเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ

กระบวนการต่างๆในวงจรรายได้ถูกใช้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งขบวนการ เริ่มตั้งแต่ลูกค้าส่งใบสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอีดีไอการชำระหนี้ผ่านระบบ EFT การทำงานควบคู่กันของ EFTและอีดีไอ เรียกว่าการสับเปลี่ยนข้อมูล (Financial Electronic Data Interchange – FEDI)

ระบบการควบคุมเงินสดรับ – เงินสดจ่าย เงินสดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนสำคัญที่ต้องการระบบการควบคุมที่แน่นหนาและรัดกุม นอกจากการควบคุมเงินสดรับและเงินสดจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบบัญชีเงินสดที่สมบูรณ์จะต้องสามารถจัดทำงบประมาณเงินสด สามารถให้ข้อมูลและข่าวสาร ตลอดจนผลิตรายงานที่เหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์แก่ผู้บริหาร

ระบบเงินสดเป็นระบบย่อยที่ติดต่อเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับระบบบัญชีเจ้าหนี้ (เงินสดจ่าย) ระบบเงินเดือนและค่าแรง (เงินสดจ่าย) และระบบการแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน (เงินสดรับ) จะเห็นได้ว่าระบบเงินสดเป็นระบบงานย่อยที่เกี่ยวเนื่องกับวงจรครบทุกวงจร เริ่มตั้งแต่วงจรค่าใช้จ่าย วงจรการแปรสภาพ และวงจรรายได้ ดังนั้นระบบเงินสดจึงถูกจัดอยู่ภายใต้วงจรการบริหารที่ครอบคลุมการทำงานของกิจการทั้งหมด

วัตถุประสงค์และหน้าที่ของระบบการควบคุมเงินสดรับ –เงินสดจ่าย เก็บรักษายอดคงเหลือของเงินสดในจำนวนที่เหมาะสม บันทึกรายการค้าอันจะทำให้ยอดของเงินสดเพิ่มขึ้นหรือลดน้อยลงอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง มีระบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับเงินสดรับ – เงินสดจ่ายที่มีประสิทธิภาพ  

การควบคุมงินสดเป็นสิ่งสำคัญมาก เงินสดรับได้มาจากแหล่งใหญ่ๆ 4 แหล่ง ได้แก่ รับชำระหนี้จากลูกหนี้และเงินสดรับจากการขายเงินสด การแปรสภาพสินทรัพย์อื่นเป็นเงินสด เช่น การขายสินทรัพย์ เงินกู้จากธนาคาร เงินสดรับจากการออกหุ้น และการขายหุ้นเดิมที่มีอยู่แล้ว เงินสดรับจากผู้ส่งคืนในกรณีสินค้าส่งคืนและส่วนลด

ในทางตรงกันข้าม เงินสดจ่ายออกจากจากกิจการอาจเนื่องมาจากสาเหตุใหญ่ 4 ประการ เช่นกัน คือ จ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้และจ่ายเงินเดือนพนักงาน เงินสดลงทุนในสินทรัพย์ตัวอื่น จ่ายชำระหนี้เงินกู้ธนาคารหรือซื้อหุ้น ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกิจการ การควบคุมเงินสดที่ดีจะต้องสามารกถดูแลตัวเงินไม่ให้สูญหายไปไหนได้ และจะต้องดูแลการบันทึกรายการค้าที่จะทำให้ยอดของเงินสดเพิ่มขึ้นหรือลดลง ให้เป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง

กฎเกณฑ์ในการควบคุมเงินสดรับ ได้แก่ บันทึกเฉพาะเงินสดที่ได้รับมาจริงเท่านั้น นำเงินสดฝากธนาคารทุกสิ้นวัน บันทึกรายการค้าในสมุดเงินสดรับตามเวลาที่เหมาะสม และผ่านยอดไปบัญชีแยกประเภท เพื่อแยกแยะและสรุปรายการเงินสดรับอย่างต่อเนื่อง ส่วนลดจ่ายจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนทุกครั้ง

กฎเกณฑ์ข้อบังคับของเงินสดจ่าย ได้แก่ บันทึกการจ่ายเงินสดทุกครั้ง บันทึกเฉพาะเงินสดที่จ่ายจริง การจ่ายเงินสดทุกครั้งจะต้องได้รับการอนุมัติ บันทึกการจ่ายเงินทุกครั้งในสมุดเงินสดจ่าย และผ่านยอดไปยังบัญชีแยกประเภทเพื่อแยกแยะและสรุปรายการสั่งจ่ายอย่างต่อเนื่อง

เอกสารเบื้องต้นและขั้นตอนงานของการรับเงินสดที่เกิดจากการขายสินค้า เงินสดที่กิจการได้รับส่วนใหญ่จะมาจากการขาย ทั้งการขายเงินสดและการขายเงินเชื่อ ถึงแม้ว่าการขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อจะต้องผ่านกระบวนการในระบบการแจ้งหนิ้และเรียกเก็บเงิน แต่สุดท้ายรายการขายเหล่านี้ก็จะต้องกลับมาสิ้นสุดที่ระบบเงินสดรับ เงินสดรับจากการขายเงินสดมักถูกบันทึกลงในใบรับเงิน ซึ่งมักทำขึ้นเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งให้ผู้ซื้อ อีกชุดหนึ่งเก็บไว้เป็นหลักฐานการรับเงินสดจากการขาย ในกรณีที่ใช้เครื่องบันทึกการขายอัตโนมัติ ใบรับเงินจะถูกทำขึ้นโดยอัตโนมัติ 2 ชุด ชุดหนึ่งให้ผู้ซื้อ อีกชุดหนึ่งเก็บไว้เป็นหลักฐานการขาย

เงินสดรับจากการชำระหนี้ของลูกหนี้มักรับในห้องรับเอกสาร ซึ่งมักจะมีพนักงานเปิดซอง 2 คน ในซองมักมีเช็คและเอกสารใบเรียกเก็บเงินชุดที่เรียกว่า RA พนักงานจัดทำรายการเงินสดรับประจำวัน รวมใบ RA ที่ลูกนี้ส่งมาพร้อมเช็ค ส่งไปแผนกลูกหนี้เพื่อลงบัญชี ตัวเงินสดและรายการเงินสดรับประจำวันจะถูกส่งให้พนักงานควบคุมเงินสดรับ เพื่อจัดทำใบนำฝากธนาคารซึ่งมักจัดทำขึ้น 2 ชุด ชุดหนึ่งส่งไปธนาคารพร้อมเช็ค อีกชุดหนึ่งส่งให้ผู้ตรวจสอบภายใน

พนักงานควบคุมเงินสดรับส่งใบรายการเงินสดรับประจำวันให้พนักงานบัญชี พนักงานบัญชีใช้รายการในใบรายการเงินสดรับนี้บันทึกลงในใบสำคัญสมุดรายวัน (Journal Voucher (JV)) ต่อจากนั้นจึงส่ง JV ให้ผู้ตรวจสอบ เพื่อเปรียบเทียบกับใบนำฝากธนาคารที่ประทับตรารับเงินจากธนาคารแล้ว

เอกสารเบื้องต้นและขั้นตอนงานของการจ่ายเงินสด ในการจ่ายเงินสดทุกๆครั้ง จะต้องมีการจัดทำใบสำคัญเงินสดจ่าย (Cash Disburse ment Voucher-CDV) แล้วส่งไปที่พนักงานควบคุมเงินสด พนักงงานควบคุมเงินสด พนักงานควบคุมเงินสดตรวจสอบความถูกต้อง ตรวจสอบว่ามีผู้เซ็นอนุมัติการสั่งจ่าย และจัดเตรียมเช็คตามที่ถูกขอ เช็คที่ยังไม่ถึงกำหนดจ่ายควรจะต้องถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี มีการเรียงลำดับเช็คเพื่อประโยชน์ในการควบคุม เมื่อสิ้นงวดบัญชีธนาคารควรจะจัดส่งงบธนาคารมาเพื่อให้กิจการเปรียบเทียบกับยอดในสมุดเงินสด และจัดทำงบกระทบยอดต่อไป

เอกสารเบื้องต้นสำหรับเงินสดรับ ได้แก่ RA รายการเงินสดรับประจำวัน (RL) ใบนำฝากธนาคาร เอกสารเบื้องต้นสำหรับเงินสดจ่าย ได้แก่ ใบสำคัญเงินสดจ่าย นอกจากนี้ ยังมีงบธนาคารและงบกระทบยอดที่จดทำโดยกิจการ

สำหรับกิจการที่ไม่มีการควบคุมเงินสดจ่ายที่ใช้ระบบสำคัญ (non-voucher system) เอกสารเบื้องต้นที่เป็นหลักฐานของการเกิดรายการที่จะต้องจ่ายเงิน เช่น ในการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้าของกิจการ ได้แก่ ใบสั่งซื้อ ใบรับสินค้า และใบเรียกเก็บเงินจากผู้ขาย ฝ่ายควบคุมเจ้าหนี้จัดทำทะเบียนเช็คประจำวัน เตรียมเช็ค ส่งเช็ค พร้อมด้วยเอกสารเบื้องต้นจะถูกประทับตรา จ่ายแล้ว และส่งกลับมาที่ฝ่ายเจ้าหนี้เพื่อเข้าแฟ้มไว้เป็นหลักฐาน ส่วนทะเบียนเช็คประจำวันจะถูกส่งให้ฝ่าบบัญชีเพื่อลงในสมุดเงินสดจ่าย และผ่านบัญชีไปปรับปรุงบัญชีแยกประเภทย่อยต่อไปนี้

การควบคุมเงินสดรับ หลักการสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการควบคุมเงินสดรับมีดังนี้ อย่าให้พนักงานเพียงคนเดียวจัดการเกี่ยวกับกระบบเงินการเงินสดรับทั้งหมด พนักงานรับเงินไม่ควรเป็นคนเดียวกับคนที่ลงรายการเกี่ยวกับเงินสดในสมุด ลงรายการเงินสดรับทันที หากเป็นไปได้ให้นำเงินสดรับฝากธนาคารทุกสิ้นวัน ห้ามใช้เงินสดรับก่อนฝากธนาคาร ประทับตรา deposit only เพื่อให้แน่ใจว่าเช็คทุกใบที่รับมาต้องนำเข้าฝากธนาคาร

การควบคุมเงินสดจ่าย มีผู้ตรวจสอบภายในเงินสดรับ มีกระบวนการควบคุมเงินสดรับจากการขายสดอย่างรัดคุม การควบคุมเงินสดจ่าย หลักการสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการควบคุมเงินสดจ่ายมีดังนี้ ผู้อนุมัติการสั่งจ่ายกับผู้ลงรายการจ่ายเงินในสมุดควรเป็นคนละคน ผู้จ่ายเงินโดยใช้เช็คทุกครั้ง มีการเรียงลำดับเช็ค เช็คที่ถูกยกเลิดควรประทับตรา ยกเลิก อย่างชัดเจน

การเซ็นอนุมัติการสั่งจ่ายทุกครั้งควรมีเอกสารสนับสนุนการจ่ายอย่างครบถ้วน เมื่อจ่ายเงินแล้วเอกสารสนับสนุนการสั่งจ่ายเหล่านี้ควรถูกประทับตรา จ่ายแล้ว อย่างชัดเจน เช็คที่ยังไม่ได้ใช้ ควรจัดเก็บไว้อย่างปลอดภัย หัวขั้วเช็คที่ไม่ได้ใช้แล้วควรถูกจัดเก็บไว้อย่างดี โดยบุคคลที่ไม่ใช่คนเดียวกับคนที่เก็บเช็คที่ยังไม่ได้ใช้ จัดระบบเงินทดลองจ่ายเพื่อการใช้จ่ายเล็กน้อย มีผู้ตรวจสอบภายในเงินสดจ่าย

การควบคุมอื่นๆ หลักการควบคุมเงินสดรับ-เงินสดจ่ายอื่นๆ มีดังนี้ จัดทำงบกระทบยอดทุกๆสิ้นจเดือนอขย่างสม่ำเสมอ พนักงานจัดทำงบกระทบยอดไม่ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินสดรับ-เงินสดจ่าย งบธนาคารควรส่งตรงจากธนาคารถึงมือผู้ทำงบกระทบยอดของกิจการ งบกระทบยอดควรมีการเปรียบเทียบเงินสดรับ-เงิดสดจ่ายระหว่างธนาคารกับบัญชีเงินสดของกิจการทุกรายการ งบกระทบยอดควรนำเสนอผู้บริหารเพื่อตรวจทานและอนุมัติ