Neonatal Transportation

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

การผลิตบ่อพัก ทำเอง ใช้เอง หจก. มภัสกาญ คอนสตรัคชั่น
สถานการณ์และการเตรียมความพร้อม การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
ปี จะเห็นได้ว่า ร้อยละของการตรวจคัดกรอง ภาวะแทรกซ้อนทางเท้า สามารถทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ คิด เป็น %,90.81.
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
โครเมี่ยม (Cr).
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
การเยี่ยมตรวจคุณภาพบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
ระบบบัญชาการในสถานการณ์ Incident Command System: ICS
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย 2547
การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดพิษต่อตับ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี โรงพยาบาลวารินชำราบ.
ระดับความเสี่ยง (QQR)
COMPETENCY DICTIONARY
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
การประเมินมาตรฐาน งานระบาดวิทยา ปี 2549
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
ตัวชี้วัดที่ 1 : อัตราส่วนการตายมารดาไทย ค่าเป้าหมายไม่เกิน 20 ต่อการเกิดมีชีพแสนราย เปรียบเทียบอัตราส่วนการตายมารดารายเขต ปี 2560 กับ 2561ในช่วงเวลาเดียวกัน.
โดย ทภ.อำไพ เณรบำรุง. โดย ทภ.อำไพ เณรบำรุง บทคัดย่อ เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในทางทันตกรรมบางชนิดมีความแหลมคม เช่น เครื่องขูดหินปูน เครื่องมือตกแต่งวัสดุอุดฟัน.
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
“การดูแลหญิงหลังคลอด และ ครอบครัวที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี”
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การรายงานความคืบหน้าหรือสถานะ
การดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไข ของกองวิจัยและพัฒนาข้าว
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
รพ.สต.สายใยรัก อำเภอสัตหีบ
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
Driver Service sect. Training. Video ภาพอุบัติเหตุ ที่ 1 สถานที่เกิดเหตุ : ทางด่วนขา เข้าบางนาตราด เวลาโดยประมาณ : 16: 45 น.
Delirium พญ. พอใจ มหาเทพ 22 มีนาคม 2561.
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
การปฐมนิเทศและการบรรจุ
SMS News Distribute Service
และ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ปี 2557
แนวทางการรณรงค์ พัฒนาการเด็ก 4-8 กรกฎาคม 2559
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ ปั๊มหัวใจ ทำอย่างไร ?
ขดลวดพยุงสายยาง.
การติดตาม (Monitoring)
ชัยพฤกษ์รัตนาธิเบศร์ - วงแหวน
รักษ์โลก ลดร้อน ด้วยสองมือ EENT.
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
นวัตกรรม ขวดเก็บ Sputum culture
งานวิสัญญี รพร.เดชอุดม
Lean Management การลดขั้นตอนการนัดตรวจสุขภาพจิตของ นร.กพ
มั่นใจเชื่อถือได้ เหรียญ+ป้าย ลูกของแม่
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
นวัตกรรม หน่วยไตเทียม.
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Neonatal Transportation พญ.พรมนัส พันธุ์สุจริตไทย รพ.สระบุรี 22 ก.ย.53

ทำไมการส่งต่อมารดา/ทารกขณะอยู่ในครรภ์มารดา และการส่งต่อทารกหลังคลอดจึงมีความสำคัญ? เพราะทารกบางรายจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ การดูแลต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อประเมินและติดตามอาการในช่วงวิกฤต การเคลื่อนย้ายทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา (Intrauterine transport) ช่วยลดปัญหาต่างๆของทารกได้มาก และยังช่วยให้ทารกและมารดาผูกพันกันเป็นอย่างดีตั้งแต่ต้น สูติแพทย์ผู้ส่งควรติดต่อสูติแพทย์และกุมารแพทย์ในโรงพยาบาลที่รับย้ายก่อน เพื่อร่วมกันวางแผนการรักษาร่วมกัน

เป้าประสงค์การเคลื่อนย้ายส่งต่อทารกแรกเกิด ทีมของโรงพยาบาลต้นทางที่จะส่งทารกไปนั้นควรจะพยายามดูแลให้ทารกอยู่ในสภาวะที่คงที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่รีบส่งทารกที่วิกฤตเหล่านั้นเพียงให้พ้นสถานพยาบาลของตน การส่งต่อทารกที่ดีควรเป็นการส่งต่อไปรับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมและอยู่ใกล้เคียงที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการย้ายผู้ป่วยหลายทอด การส่งต่ออย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง การที่ทารกสามารถถึงจุดหมายได้โดยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ควรเกิด หรือสามารถคาดการณ์และป้องกันภาวะเหล่านั้นไว้ก่อนได้

ทารกรายใดที่ควรเคลื่อนย้ายส่งต่อ การพิจารณาการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลในระดับที่สูงกว่านั้น ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของแต่ละสถานพยาบาล โดยเป็นการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างสถานพยาบาลที่ทารกคลอดกับที่จะรับส่งต่อว่าการส่งต่อจะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับการให้การดูแลรักษาที่สถานพยาบาลที่ทารกคลอด ทารกกลุ่มที่จะต้องเคลื่อนย้ายส่งต่อ ได้แก่ ทารกเกิดก่อนกำหนดมากๆ ทารกที่ต้องการผ่าตัดรักษา ทารกที่ป่วยรุนแรง ทารกเป็นโรคที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องการดูแลรักษาระยะยาว

ขั้นตอนการจัดการเคลื่อนย้ายส่งต่อทารกจะต้องทำอย่างไร ติดต่อโรงพยาบาลที่จะส่งไปรักษา เขียนชื่อโรงพยาบาลและหมายเลขโทรศัพท์ จัดหาคู่มือ หรือแนวทางการดูแลเฉพาะโรคที่ต้องการใช้กับผู้ป่วยที่ต้องการส่งต่อเพื่อใช้ในการเตรียมการส่งต่อ แพทย์ผู้ส่งต่อควรติดต่อประสานงานกับแพทย์ผู้รับโดยตรง เพื่อให้ข้อมูลปัญหาและภาวะของผู้ป่วย ผลการตรวจห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยเบื้องต้น รวมทั้งการรักษาที่ให้และการดำเนินโรค เตรียมทารก ให้การดูแลต่อเนื่อง

ขั้นตอนอย่างน้อยที่สุดในการเตรียมทารกทุกรายก่อนเคลื่อนย้ายส่งต่อ ได้แก่อะไรบ้าง ทีมของโรงพยาบาลต้นทางต้องเตรียมทารกก่อนเคลื่อนย้ายดังต่อไปนี้ ตรวจสัญญาณชีพ ตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ปรึกษาหารือร่วมกัน อธิบายผู้ปกครองถึงสภาวะของทารก ความจำเป็นในการเคลื่อนย้าย จัดเตรียมเอกสารสิทธิ์การรักษาพยาบาล ทำสำเนาเวชระเบียนทั้งของมารดาและทารก เพื่อส่งไปพร้อมทารก ภาพถ่ายรังสีของผู้ป่วย ส่งเลือดมารดา 10 มล. หากใส่สารกันเลือดแข็งตัวด้วยจะดีกว่า clotted blood ระหว่างรอเคลื่อนย้ายนี้ต้องพยายามให้สภาวะของทารกคงที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ตรวจสัญญาณชีพ อัตราการเต้นของหัวใจ (120-160/min) อุณหภูมิกาย (36.5-37.50C) ความดันโลหิต ตามอายุครรภ์ และอายุหลังเกิด

ตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (blood sugar screening test) ตรวจระดับความเข้มข้นของเลือด (hematocrit) ตรวจหาค่าแรงดันก๊าซต่างๆในเลือด (blood gas)ในทารกที่ต้องช่วยหายใจ การตรวจอื่นๆที่ต้องพิจารณาเป็นรายๆไป

ให้สารน้ำทางหลอดเลือด อาจให้ทางหลอดเลือดดำทั่วไป หรือใส่สายสวนเข้าหลอดเลือดดำ umbilical vein หรือหลอดเลือดแดง umbilical artery ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะของทารก ประโยชน์เพื่อ ให้สารน้ำระหว่างการเคลื่อนย้าย ให้ยาในกรณีฉุกเฉิน

ปรึกษาหารือร่วมกัน ระหว่างทีมของสถานพยาบาลที่ทารกคลอดกับสถานพยาบาลที่จะรับส่งต่อ เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆของทารก ดังนี้ ประวัติ: ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยง Apgar scores, น้ำหนัก และอายุครรภ์ของทารก ภาวะแรกเกิดเป็นอย่างไร การเจ็บป่วยปัจจุบัน: การตรวจร่างกาย ความผิดปกติ สัญญาณชีพ การให้ออกซิเจน และการใช้เครื่องช่วยหายใจ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ: blood sugar screening test, Hct, blood gas, chest x-ray เป็นต้น การรักษาที่ให้และการดำเนินโรค การรักษาเฉพาะที่ต้องการต่อไป ในการปรึกษาเพื่อเคลื่อนย้ายส่งต่อผู้ป่วย ในเบื้องต้นอาจยังไม่ได้รายละเอียด ดังนั้นเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว ควรโทรศัพท์แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมให้กับทีมที่รับต่อ เพื่อปรึกษาหารือร่วมกันต่อไป

อธิบายผู้ปกครองถึงสภาวะของทารก ความจำเป็นในการเคลื่อนย้าย จัดเตรียมเอกสารสิทธิ์การรักษาพยาบาล ทำสำเนาเวชระเบียนทั้งของมารดาและทารก เพื่อส่งไปพร้อมทารก ภาพถ่ายรังสีของผู้ป่วย ส่งเลือดมารดา 10 มล. clotted blood

การเตรียมทารกก่อนการเคลื่อนย้าย Respiratory system Cardiovascular system Vascular access Hematologic system Temperature care CNS Metabolic

Respiratory system ดูสีผิว (cyanosis, O2saturation) การขยายตัวของทรวงอก อาการหอบเหนื่อย (retraction, grunting, nasal flaring) นับอัตราการหายใจ และฟังเสียงลมหายใจที่ปอดทั้งสองข้าง ตรวจภาพรังสีทรวงอก และ blood gas ถ้าทำได้/ มีข้อบ่งชี้ เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ถ้าไม่แน่ใจว่าทารกจะหายใจได้ดีเพียงพอ พิจารณาใส่ ET tube ก่อนการเคลื่อนย้าย Monitor O2 saturation ด้วย pulse oximeter ระหว่างเดินทาง

Respiratory system กรณีใส่ ET tube ประเมินขนาดและความลึกของ ET tube ให้เหมาะสม โดยใช้การฟังปอดหรือ chest x-ray เพื่อดูตำแหน่งให้ชัดเจน ยึด ET tube ให้ติดแน่น และตัดท่อให้เหลือความยาวประมาณ 3-4 ซม.จากมุมปากเพื่อลด dead space และป้องกันไม่ให้ท่อหักพับ ระวังไม่ให้ ET tube เลื่อนหลุด หรือเลื่อนลึก เมื่อมีการเคลื่อนย้ายตัวทารก และดูตำแหน่งมุมปากให้ชัดเจนทุกครั้ง ช่วยหายใจโดยใช้ neonatal self inflating bag และปรับความแรงของการบีบให้สม่ำเสมอ ดูสีผิว การขยายตัวของทรวงอก อาการหอบเหนื่อย และฟังเสียงลมหายใจที่ปอดทั้งสองข้าง

GA (wk) น้ำหนักตัว ขนาด ET-tube < 28 < 1000 gram 2.5 3 34-38 2000-3000 gram 3.5 > 38 > 3000 gram 3.5 - 4 อุปกรณ์ดูดเสมหะ เปิดเครื่องดูดเสมหะที่ความดัน 100 มม.ปรอท ต่อกับสายดูดเสมหะขนาด 10F (หรือใหญ่กว่า) ทำการดูดเสมหะในปากและจมูก สายดูดเสมหะ (ขนาด 5F, 6F หรือ 8F ขึ้นกับขนาดท่อช่วยหายใจ) ขนาดท่อช่วยหายใจ ขนาดสายดูดเสมหะ 2.5 5F หรือ 6F 3.0 6F หรือ 8F 3.5 8F 4.0 8F หรือ 10F

ความลึกของท่อช่วยหายใจ ตารางความลึกของท่อช่วยหายใจโดยประมาณจากริมฝีปากของทารกตามน้ำหนักของทารก เมื่อใส่ท่อช่วยหายใจ ตำแหน่งปลายสุดของท่อช่วยหายใจควรอยู่ที่? ส่วนปลายสุดของท่อช่วยหายใจควรอยู่กึ่งกลางของความยาวหลอดลมคอ ระหว่าง vocal cords และ carina เมื่อเอ็กซเรย์ปลายท่อช่วยหายใจจะอยู่ระหว่างกระดูกไหปลาร้า (clavicle) ทั้งสองข้างหรือต่ำกว่าเล็กน้อย ถ้าใส่ท่อช่วยหายใจลึกเกินไป ท่อช่วยหายใจจะเข้าหลอดลมคอข้างขวา ทำให้ช่วยหายใจเพียงแค่ปอดข้างขวา ถ้าท่อช่วยหายใจอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เมื่อตรวจร่างกายฟังปอดจะได้ยินเสียงลมหายใจเข้าปอดทั้งสองข้างเท่ากัน นอกจากการตรวจร่างกาย ตำแหน่งที่เหมาะสมอาจดูจากระยะตั้งแต่ปลายท่อช่วยหายใจถึงมุมปาก ตำแหน่งที่เหมาะสมตามตาราง หรือมาจากการคำนวณตำแหน่งที่เหมาะสม = 6 + น้ำหนัก (กิโลกรัม) แต่ไม่ควรใช้ตำแหน่งท่อช่วยหายใจที่ได้จากการคำนวณกับทารกที่มีคอและคางผิดปกติ เช่น Robin syndrome ความลึกของท่อช่วยหายใจ น้ำหนัก (กรัม) ความลึก (ซม.จากริมฝีปาก) 1* 7 2 8 3 9 4 10 *ทารกที่น้ำหนักน้อยกว่า 750 กรัม อาจใส่ท่อช่วยหายใจลึก 6 ซม. ก็เพียงพอ

ตัดท่อให้เหลือความยาวประมาณ 3-4 ซม.จากมุมปากเพื่อลด dead space ยึด ET tube ให้ติดแน่น ดูตำแหน่งให้ชัดเจน ตัดท่อให้เหลือความยาวประมาณ 3-4 ซม.จากมุมปากเพื่อลด dead space

และดูตำแหน่งมุมปากให้ชัดเจนทุกครั้ง ระวังไม่ให้ ET tube เลื่อนหลุด หรือเลื่อนลึก เมื่อมีการเคลื่อนย้ายตัวทารก และดูตำแหน่งมุมปากให้ชัดเจนทุกครั้ง

Atelectasis Pneumothorax

ป้องกันไม่ให้ท่อหักพับ

Cardiovascular system วัดความดันโลหิตโดยใช้ cuff ขนาดที่เหมาะสม ในขณะที่ทารกสงบหรือหลับ BP cuff ขนาดที่เหมาะสม คือ มีความกว้างของ cuff อย่างน้อย 2 ใน 3 ของต้นแขนหรือขา นับอัตราการเต้นของหัวใจ และฟังเสียง heart sound ประเมิน perfusion ของผิวหนัง ควร < 3 วินาที ถ้ามีความดันโลหิตต่ำ พิจารณาให้ IV fluid หรือ inotropic drugs ตามสาเหตุ ระวังการให้ออกซิเจนในรายที่สงสัย PDA dependent cyanotic heart disease เพราะจะทำให้ทารกอาการเลวลง

Vascular access ปรับอัตราการไหลของ IV fluid ให้เหมาะสม ทารกครบกำหนด 65 ml/kg/day ทารกเกิดก่อนกำหนด 60ml/kg/day วิธีที่ดีที่สุดคือ ใช้ infusion pump หรือ syringe pump บันทึกปริมาณสารละลายที่เหลือในขวดก่อนเดินทาง

Vascular access ตรวจสอบตำแหน่งที่ให้ IV fluidว่ายังใช้ได้ดี ไม่บวม ไม่มีเลือดไหลซึมบริเวณข้อต่อของสายต่างๆไม่หลวมหลุดง่าย

Hematologic system ทบทวนประวัติการเสียเลือด และตรวจหาอาการของการเสียเลือด เช่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ซีด ตรวจร่างกายหาตำแหน่งเลือดออกที่ active โดยเฉพาะจากขั้วสะดือที่ใส่ umbilical catheter หรือข้อต่อ IV fluid หลุด แล้วมีเลือดออกจากเส้นเลือดที่ยังเปิดอยู่ ระดับ Hct อาจไม่ต่ำ เนื่องจากระยะที่เสียเลือดใหม่ๆ ค่า Hct อาจยังไม่เปลี่ยนแปลง ถ้ามีประวัติเสียเลือดมากและทารกมีอาการ ให้ PRC transfusion ก่อน ทบทวนประวัติที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดข้น (polycytemia) และตรวจหาอาการของเลือดข้น เช่นสีผิวแดงมากกว่าปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการหอบเหนื่อย ระดับความรู้สึกตัวลดลง

ทารกต้องเสียเลือดปริมาณเท่าใดจึงเกิดภาวะ SHOCK ทารกน้ำหนักแรกเกิด 2000กรัม ปริมาณเลือดในร่างกาย 90ml/kg = 90ml x 2kg = 180ml ปริมาณเลือดที่เสียออกจากร่างกายแล้วทำให้เกิดภาวะ shock = 180ml x 25% total blood volume = 45 ml (ประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ)

Temperature care กลไกการสูญเสียความร้อนมี 4 ประการ คือ การนำ (conduction) การพา (convection) การแผ่รังสี (radiation) การระเหยของน้ำจากผิวหนัง (evaporation) ป้องกันการสูญเสียความร้อนระหว่างเดินทาง เมื่อทารกมีอุณหภูมิกายต่ำ (< 36.50c)ให้แก้ไขก่อนส่งต่อ เพื่อให้ทารกมีอุณหภูมิกาย 370c (36.5-37.50c) พิจารณาใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

Hypothermiaทำให้เกิด? Hypoglycemia อัตราการเผาผลาญพลังงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างความร้อน โดยนำ glycogen ที่สะสมไว้มาใช้ และใช้น้ำตาลในเลือดเร็วกว่าปกติ จึงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ Acidosis เกิดจาก brown fat ถูกสลายเพื่อให้เกิดความร้อน และfatty acid และ lactic acid (จากการสลาย glucose ที่ไม่สมบูรณ์) จะเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด pH ในเลือดต่ำ เกิดภาวะเลือดเป็นกรด Hypoxia ทารกต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นในการเพิ่มความร้อน เช่น Temp. 350C ทารกใช้ O2 > 2เท่าของ Temp.370C ถ้าปอดปกติ ทารกจะเพิ่ม RR เพื่อเพิ่ม O2 และจะแสดงหายใจลำบาก (grunting, nasal flaring, retractions, tachypnea)

กลไกการสูญเสียความร้อน การนำ (conduction): เกิดขึ้นเมื่อทารกสัมผัสกับวัตถุที่เย็นโดยตรง เตียงทารกต้องอุ่นก่อนใช้งาน ปูผ้าบนที่นอน หรือเครื่องชั่งที่เย็น ระวังผ้าเปียกที่ติดตัวเด็ก(ผ้าอ้อมและผ้าปูที่นอน) แนะนำให้ใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

กลไกการสูญเสียความร้อน การพา (convection): เกิดขึ้นได้เมื่อมีลมเย็นพัดผ่านรอบๆตัวทารก ลมจากเครื่องปรับอากาศและพัดลม ใช้การเปิดหน้าต่างแทนการเปิดประตูตู้อบเด็ก และปิดทันที เลือกใช้ออกซิเจนที่อุ่นและมีความชื้น เช็ดตัวให้แห้ง

กลไกการสูญเสียความร้อน การแผ่รังสี (radiation): เมื่อทารกอยู่ใกล้แต่ไม่ได้สัมผัสกับวัตถุที่เย็น โดยตรง ทารกจะแผ่ความร้อนไปที่วัตถุที่ใกล้ที่สุด ในตู้อบทารกจะเสียความร้อนไปยังผนังของตู้อบซึ่งเย็นเนื่องจากอุณหภูมิห้อง รักษาอุณหภูมิในห้องทารกให้อุ่น แม้ทารกจะอยู่ในตู้อบ ใช้ตู้อบทารกผนัง 2 ชั้น (double wall incubator) ถ้าเป็นไปได้ วางทารกให้ห่างจากหน้าต่างหรือผนังที่เย็น (crib & single wall incubator) อาจใช้ผ้าห่มที่หนาคลุมตู้อีกชั้น ใช้ผ้าอุ่น หรือถุงถั่วเขียวอุ่นวางข้างตัวเด็ก(thermal warming pack)

กลไกการสูญเสียความร้อน การระเหยของน้ำจากผิวหนัง (evaporation): เกิดขึ้นเมื่อของเหลว ระเหยออกจากพื้นผิวที่อุ่น เมื่อทารกตัวเปียกจะสูญเสียความร้อน เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้ทารกตัวแห้ง ป้องกันโดยใช้ถุงพลาสติกหรือพลาสติกห่ออาหาร wrap sterile ห่อตัวเด็ก เปลี่ยนผ้าที่เปียกทันที เลือกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

Temperature care Transport incubator ตั้งอุณหภูมิในตู้เท่ากับ neutral thermal environment (NTE) ถ้าอุณหภูมิของอากาศภายนอกต่ำ หรือทารกน้ำหนักน้อยมาก หรือใช้ single wall incubator or crib ให้ใช้แผ่นพลาสติกครอบตัว ทารกอีกชั้น และใช้ผ้าหนาๆคลุมตู้ ไม่วาง incubator ในตำแหน่งที่มีลมพัด หรือแอร์เป่าโดยตรง เปิดตู้ให้น้อยที่สุดเพื่อให้อุณหภูมิตู้คงที่

Neutral Thermal Environment Temperature (NTE)

Neutral Thermal Environment Temperature (NTE)

ถ้าอุณหภูมิของอากาศภายนอกต่ำ หรือทารกน้ำหนักน้อยมาก หรือ single wall incubator/crib ให้ใช้แผ่นพลาสติกครอบตัวทารกอีกชั้น และใช้ผ้าหนาๆคลุมตู้

CNS ประเมินระดับความรู้สึกตัว สังเกตอาการการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น jitteriness หรือชัก ทบทวนประวัติการใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาท ระดับน้ำตาลในเลือด และelectrolyte ช่วยหายใจในรายที่ระดับความรู้สึกตัวไม่ดี ให้ยากันชัก ถ้ามีอาการชัก

Metabolic ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (dextrostix) ถ้าต่ำ (DTX<40mg%) ต้องให้การรักษา และตรวจซ้ำทุกครึ่งชั่วโมง ในระหว่างเดินทางจนกว่าจะปกติ ตรวจระดับ electrolyte ก่อนการส่งต่อ (ถ้ามีข้อบ่งชี้)

ระหว่างรอเคลื่อนย้ายนี้ต้องพยายามให้สภาวะของทารกคงที่ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอ ควบคุมอุณหภูมิกายของทารกให้คงที่ ความดันโลหิตคงที่ ติดตามตรวจสัญญาณชีพ ภาวะทางเมตาบอลิกของผู้ป่วย เหล่านี้เป็นระยะๆประมาณทุก 30 นาที อาจต้องเจาะตรวจเลือด ถ่ายภาพรังสีทรวงอกซ้ำตามความจำเป็นในแต่ละราย

ระหว่างเคลื่อนย้ายทารกต้องเฝ้าระวังให้สภาวะของทารกคงที่ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ติด stethoscope บนหน้าอกทารกก่อนทำการห่อตัว เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ทุก 15-30 นาที ร่วมกับเฝ้าสังเกตสีผิวบริเวณใบหน้าและริมฝีปาก ตรวจสอบตำแหน่งที่ให้น้ำเกลือว่าไม่มีการเลื่อนหลุดของสายและข้อต่อ รวมทั้งปริมาณ IV fluid ที่ได้รับไป ทุก 15-30 นาที หากทารกอาการเลวลงในระหว่างทาง ควรพิจารณาหยุดรถเพื่อทำหัตถการ หรือแวะรับความช่วยเหลือที่โรงพยาบาลใกล้เคียงก่อน

หลักการทั่วไปในการจัดระบบการส่งต่อทารก มีการติดต่อประสานงานระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ก่อนทำการส่งต่อทุกครั้ง ผู้ส่งต่อควรเลือกโรงพยาบาลรับส่งต่อที่มีขีดความสามารถในการแก้ปัญหาของทารกได้ โทรศัพท์ติดต่อแจ้งข้อมูลกับโรงพยาบาลที่รับส่งต่อ ประวัติ อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน การวินิจฉัย การรักษาที่ทารกได้รับและการดำเนินโรค เวลาที่จะออกเดินทางและคาดว่าจะไปถึง ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของแพทย์หรือพยาบาลผู้ส่งต่อที่สามารถติดต่อกลับได้โดยตรง แพทย์หรือพยาบาลที่ตอบรับทารกให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาที่ควรได้รับเพิ่มเติม และการแก้ไขปัญหาที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นระหว่างเดินทาง แจ้งบิดา มารดา หรือญาติของทารกให้ทราบถึงเหตุผลและขอความยินยอมที่จะส่งต่อ ให้บิดามารดามีโอกาสได้เห็น หรือสัมผัสทารก และอธิบายสภาวะทารกให้ทราบเป็นระยะ ควรมีบิดา มารดา หรือญาติเดินทางไปพร้อมกับทารกด้วย ทารกที่อยู่ในภาวะวิกฤตต้องได้รับการแก้ไขที่จำเป็นเพื่อให้อาการคงที่พอสมควรก่อนส่งต่อ ไม่รีบส่งเพียงเพื่อให้พ้นจากสถานพยาบาลของตน บุคลากรที่นำส่งต่อสามารถให้การดูแล แก้ปัญหา และให้การรักษาที่จำเป็นแก่ทารกขณะเดินทางได้ มีการเฝ้าระวังและติดตามอาการ สัญญาณชีพของทารกในขณะเคลื่อนย้ายทุก 15-30 นาที ให้ความอบอุ่นแก่ทารกอย่างเพียงพอ

การปฏิบัติกับบิดามารดาของทารกที่จะเคลื่อนย้ายส่งต่อ (Caring for Parents of Transported Babies) วิธีการส่งเสริมการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับทารก การให้บิดามารดาได้เห็น ได้สัมผัสลูกของตน (Seeing and touching) การได้เห็นหรือสัมผัสลูกจะลดความทุกข์ระทมได้เร็วกว่าการปล่อยให้บิดามารดาไม่ได้รู้ ไม่ได้เห็น ไม่ได้สัมผัส ได้แต่จินตนาการเอาเอง เครื่องมือ อุปกรณ์ช่วยชีวิตต่างๆ ที่ใช้อยู่กับทารกอาจทำให้บิดามารดากลัว วิตกกังวลได้มาก การอธิบายพอเป็นสังเขปจะช่วยลดปัญหาดังกล่าว การพูดคุย อธิบายให้บิดามารดาได้เข้าใจสภาพความเป็นไปของโรคอย่างตรงไปตรงมา

การปฏิบัติกับบิดามารดาของทารกที่จะเคลื่อนย้ายส่งต่อ (Caring for Parents of Transported Babies) ข้อมูลสภาวะที่เกี่ยวข้องกับทารกที่ควรบอกกับสมาชิกในครอบครัว ต้องชัดเจน แจ่มแจ้ง อธิบายซ้ำๆเป็นเรื่องจำเป็น ข้อมูลสำคัญต้องอธิบายอย่างตรงไปตรงมา แต่ไม่จำเป็นต้องอธิบายภาวะแทรกซ้อนต่างๆโดยละเอียดไปหมดก่อนเกิดขึ้นจริง จะทำอย่างไรกับกรณีที่บิดามารดามีความต้องการพิเศษนอกเหนือจากปกติ ถ้าทำได้ควรมีพื้นที่แยกเฉพาะ ทำให้ไม่ต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมจากบิดามารดาคู่อื่นๆที่มีลูกปกติ หรือป่วยน้อยกว่า ระยะเวลาในการเยี่ยมเด็กที่ไม่จำกัดจะช่วยลดความตึงเครียดของบิดามารดา ถ้าทารกส่งต่อไปแล้ว ควรเปิดโอกาสให้มารดาได้รับข้อมูลทางโทรศัพท์จากบุคลากรในสถานพยาบาลที่ทารกอยู่

บทสรุป สนับสนุนให้บิดามารดาได้เห็น และสัมผัสทารก ให้ข้อมูลสภาวะของเด็กที่เป็นจริง ซ้ำๆ แก่บิดามารดา ควรบอกข่าวร้ายต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นจริง ต้องทราบข้อมูลที่ทีมเคลื่อนย้ายส่งต่อให้แก่บิดามารดา พยายามจัดหาห้องให้มารดาได้อยู่เป็นส่วนตัว ให้ยืดหยุ่นเวลาในการเยี่ยมทารก พูดคุยให้กำลังใจบิดามารดาและสมาชิกในครอบครัว ถ่ายภาพและพิมพ์ลายฝ่าเท้าของทารกมอบให้ หากบิดามารดาต้องการ

Thank You

A&B: Airway & Breathing C: Circulation & Vascular access D: Disability E: Exposure/Environment control F: Fluid & Lines stabilization & management G: Give comfort measures H: History & head to toe examination I: Inform consent & information record/ communication

A&B: Airway & Breathing ประเมินทั้ง upper และ lower airway (lung parenchyma) Cyanosis, oxygen saturation, Respiratory failure: grunting, flaring ala nasi, chest wall retraction, apnea Blood gas Monitoring

Basic check & preparedness prompt to transfer ควรเตรียม และเช็คอุปกรณ์ ยา สารน้ำและเครื่องมือต่างๆให้พร้อมอยู่เสมอ เช่น ออกซิเจน แบตเตอรี่ของเครื่องมือ laryngoscope infusion pump เครื่องดูดเสมหะ transport incubator