อนุญาโตตุลาการ (Arbitration)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
อนุสัญญา CITES การตีความเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติมีผลกระทบอย่างมากต่อ ขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ เกี่ยวพันอย่างสลับซับซ้อนกับมิติทางการพัฒนาเศรษฐกิจ.
Advertisements

1. Free flow of goods สินค้าเข้าออกประเทศเสรี -Tariff 0% and non-tariff barriers ลดอุปสรรค -Rules of origin (ROO) ผลิต สินค้าได้ตามเงื่อนไข -Trade facilitation.
สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
การอภิปราย หัวข้อ “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติและเตรียม ความพร้อมรับมืออุบัติเหตุทางถนน” นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผอ.กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
International Trade Contract สัญญาซื้อขายสินค้า ระหว่างประเทศ อ. ดร. พรชัย วิสุทธิศักดิ์
ดุลยภาพผู้ผลิตในตอนที่ไม่มีการค้า (Producer Equilibrium in Autarky)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ที่สหกรณ์สมควรจัดให้แก่สมาชิก
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
Public International Law & International Criminal Law
เรื่อง ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน การประชุมวิชาการ ปขมท ประจำปี 2555
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต.
Chapter 3 The Law of Treaties
Public International Law & International Criminal Law
Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities (cont. 2)
International Trade Agreement สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
Chapter 9 Peaceful Settlement of Dispute
วันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด
(อนุสัญญากรุงนิวยอร์ค 1958)
เอกสารรายวิชา: : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กฎหมายการค้าของเอกชนระหว่างประเทศ วิวัฒนาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
การบริหารจัดการคดีชั้นสูง (คดีพิเศษและคดีที่มีความยุ่งยากซับซ้อน)
Chapter 2 Subjects of International Law
นโยบายการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพมุ่งสู่คุณภาพ
Peace Theory.
กระบวนทัศน์การบริหารงานยุติธรรม
Chapter 6 Diplomatic and Consular Privileges and Immunities
กลุ่มสัตว์ทดลอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 8 พฤศจิกายน 2559
ภัยธรรมชาติและการระวังภัยในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
องค์การระหว่างประเทศ น.อ.กฤษฎางค์ สุทัศน์ ณ อยุธยา
Gucci v. Guess. Gucci v. Guess Gucci lost the court case in France to GUESS in February 2015 Gucci won the court case in Australia, in September 2015.
จารีตประเพณีและพหุนิยมทางกฎหมาย
GATT & WTO.
มาตรฐานสากลแห่งการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
AEC ผลกระทบการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อนายจ้างและแรงงานไทย
การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
Globalization and the Law
บทบาทการสร้างประโยชน์ต่อประเทศไทยผ่านการเชื่อมองค์ความรู้และ แนวปฏิบัติจากนานาชาติและสหประชาชาติ
วิชากฏหมายทะเล The Law of the Sea
บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต.
สถาบันอนุญาโตตุลาการ
ณ ห้องประชุมกฤษณะ ผลอนันต์ อาคาร ๓ ชั้น ๒ สำนักงาน ป.ป.ส.
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ
การเปลี่ยนแปลงบริษัทและควบรวมกิจการ
วิชา กฎหมายกับสังคม (Law and Society) (SSP 2403) อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1-4.
ระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ ของ
ธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
Improving access to Justice & legal protection for torture victimes โครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับ ผู้เสียหายจากการทรมาน ดำเนินการโดย.
Chapter 2 Subjects of International Law
มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
กฎหมายสิ่งแวดล้อม : การฟ้องคดีสิ่งแวดล้อม
การใช้งานฐานข้อมูล Web of Science
Review - Techniques of Environmental Law
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง
Chapter 8 State and Sovereign Immunity
นิเทศงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ภาวะการณ์ผลิต/การตลาด
Chapter 8 State and Sovereign Immunity
งาน Trade Association’s President Club (TAP)
ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล (Indicators of Good Governance)
หัวหน้ากลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
International Trade Agreement สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และ 801
โดย อ.ดร. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) ปรัชญา อยู่ประเสริฐ สำนักระงับข้อพิพาท

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1. ทฤษฎีอำนาจรัฐ (The Jurisdictional Theory) 2. ทฤษฎีสัญญา (The Contractual Theory) 3. ทฤษฎีผสม (The Mixed Theory or Hybrid Theory) 4. ทฤษฎีเอกเทศ (The Autonomous Theory)

1ทฤษฎีอำนาจรัฐ (The Jurisdictional Theory) การอนุญาโตตุลาการทำได้เท่าที่รัฐยินยอมให้ทำการอนุญาโตตุลาการ การทำคำชี้ขาดใช้กฎหมายวิธีพิจารณาของประเทศอันเป็นถิ่นที่ทำการอนุญาโตตุลาการ ใช้หลักว่าด้วยการขัดกันของประเทศที่นั่งพิจารณา ส่วนใหญ่เป็นประเทศสังคมนิยม ศ เฟรดเดอริก อเล็กซานเดอร์ มานน์ ( Prof Frederick Alexander Mann )

2. ทฤษฎีสัญญา (The Contractual Theory) อำนาจอนุญาโตตุลาการเกิดจากสัญญา ปฏิเสธอิทธิพลของรัฐต่อการอนุญาโตตุลาการ คู่กรณีมีสิทธิกำหนดกฎหมายใช้บังคับอย่างไม่มีข้อจำกัด ถ้าไม่ได้ระบุกฎหมายไว้ต้องหาเจตนารมณ์ของคู่กรณี นิโบเย่ ศ ดร. มาร์ติน ดอมเก้ ( prof Martin Domke)

3. ทฤษฎีผสม (The Mixed Theory or Hybrid Theory) รวมเอาทฤษฎีอำนาจรัฐและทฤษฎีสัญญาเข้าด้วยกัน เลือกใช้กฎหมายสารบัญญัติได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายขัดกันของถิ่นที่มีการอนุญาโตตุลาการ กฎหมายวิธีพิจารณาใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายขัดกันของถิ่นที่มีการอนุญาโตตุลาการ ** ศ ซอสเซอร์-ฮอลส์(Prof Sauser- Hall)

4. ทฤษฎีเอกเทศ (The Autonomous Theory) อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศไม่มีสัญชาติ ( Denationalisation) ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎหมายประเทศใด คู่กรณีมีอิสระที่จะควบคุมอนุญาโตตุลาการอย่างไม่มีเขตจำกัด อนุญาโตตุลาการต่างประเทศสามารถตัดสินโดยใช้กฎหมายที่ตกลงกัน จารีตประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้า หลักความยุติธรรม(Ex aequo et bono) * มาดาม รูเบลลิน เดอวิชี(Madame Rubellin Devichi )

วิธีการระงับข้อพิพาท 1. เจรจาต่อรอง (Negotiation) 2. การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอม (Mediation or Conciliation) 3. การเอื้อเฟื้อออมชอม (Good Office) 4. อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) 5. ศาล (Litigation)

วิวัฒนาการการอนุญาโตตุลาการ สังคมมนุษย์ยุคแรก สังคมกรีกศตวรรษที่หกก่อนคริสต์ศักราช ยุคโรมันกฎหมาย 12 โต๊ะ( 450 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ) สมัยกลาง พระอัยการลักษณะตระลาการ จุลศักราช 1068 กฎหมายตราสามดวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระราชบัญญัติกระบวนวิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. 115 (พ.ศ. 2439 ) พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. 127( 2451 ) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2477 พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ 2530 พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ 2545

วิวัฒนาการในกฎหมายระหว่างประเทศ โปรโตคลว่าด้วยข้อตกลงการมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย ( The Protocol on Arbitration Clauses, 1923 ) อนุสัญญาว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ( The Convention on the Execution of Foreign Arbitral Awards, 1927 ) อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ( The Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards , 1958) อนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาททางการลงทุนระหว่างรัฐและคนชาติของรัฐอื่น ( Convention on the Settlement of Investment Disputes between States and Nationals of Other States , 1965 ) กฎหมายแม่แบบว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการในการพาณิชย์ระหว่างประเทศ ( Model Law on International Commercial Arbitration , 1988 )

วิวัฒนาการในกฎหมายระหว่างประเทศ UNCITRAL ( United Nations Commission In Trade Related Aspects Laws) Model Law 1985 UNCITRAL Conciliation and Arbitration Rules

ประโยชน์ รวดเร็วมีประสิทธิผล ลดค่าใช้จ่าย รักษาชื่อเสียงและความลับทางธุรกิจ รักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท เหมาะกับข้อพิพาทที่ยุ่งยากซับซ้อน ก่อสร้าง การประกันภัยทางอุตสาหกรรม การให้ความรู้ การซื้อขายล่วงหน้า ๆลๆ สมประโยชน์ของคู่พิพาท แบ่งเบาภาระศาล บังคับได้ในหลายประเทศมากกว่าศาล สามารถรวมอนุญาโตตุลาการที่มีทักษะและความรู้ในระบบกฎหมายที่แตกต่างกัน

ข้อจำกัด ไม่เหมาะกับข้อพิพาททุนทรัพย์ไม่มาก ค่าใช้จ่ายบางครั้งสูง ความเป็นอิสระและเป็นกลาง ต้องขอให้ศาลช่วยเหลือในการดำเนินการ

ความสงบเรียบร้อยของประชาชน เรื่องที่มอบให้ตัดสิน ชั้นพิจารณา ชั้นตัดสินคดี

หลักเกณฑ์สัญญา 1. คู่สัญญา ความสามารถ บุคคลธรรมดา 1. คู่สัญญา ความสามารถ บุคคลธรรมดา - ผู้เยาว์, วิกลจริต, ไร้ความสามารถ, เสมือน, คู่สมรส - ตัวแทน ทนายความ นิติบุคคล รัฐ

ประเภทของอนุญาโตตุลาการ เบสบอลอนุญาโตตุลาการ ( baseball Arbitration or beast offer arbitration ,final offer arbitration , pendulum arbitration ,Flip Flop Arbitration )เป็นอนุญาโตตุลาการประเภทหนึ่งของอนุญาโตตุลาการในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ในการโอนข้อพิพาทคล้ายนักเบสบอล ที่แต่ละฝ่ายจะเสนอข้อเสนอที่ดีที่สุดปิดผนึกให้คณะอนุญาโตตุลาการเลือกที่จะตัดสินตามนั้น และคู่พิพาทยอมรับผลตามนั้น

รูปแบบการอนุญาโตตุลาการ Copy – cat Arbitration หรือ Wild – cat arbitration การอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจที่คู่พิพาทนำข้อบังคับสถาบันมาใช้เพื่อที่จะไม่ต้องร่าง ผ่านขั้นตอนอนุญาโตตุลาการแบบสถาบัน ซึ่งมักจะไม่แนะนำเพราะอาจจะไม่เข้าใจกระบวนการของสถาบันนั้น

ประเภทอนุญาโตตุลาการ Class arbitration คืออนุญาโตตุลาการที่ศาลสั่งที่เป็นกระบวนพิจารณาที่เลียนแบบเป็นกลุ่มก่อนศาลพิจารณาในศาลมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา Commercial Arbitration การอนุญาโตตุลาการในทางธุรกิจหรือทางพาณิชย์ Commodity Arbitration การอนุญาโตตุลาการที่เกี่ยวกับสินค้า บางชนิดที่แลกเปลี่ยนได้ คืออนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า Quality Arbitration หรือ scratch and sniff arbitration ชนิดของอนุญาโตตุลาการทางการค้าสินค้าล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อพิพาทเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า

ประเภทของอนุญาโตตุลาการ Consumer Arbitration อนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค WIPO Arbitration เป็นอนุญาโตตุลาการเฉพาะด้านของสหประชาชาติ ให้การบริการอนุญาโตตุลาการแบบสถาบัน เกี่ยวกับ Domain name Arbitration Bankruptcy Arbitration

รูปแบบอนุญาโตตุลาการ Public international Law arbitrationอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง บางครั้งตัดสินโดย ศาลอนุญาโตตุลาการ กรุงเฮก

Med- Arb เป็นการระงับข้อพิพาทที่รวมการตัดสินใจด้วยตนเองโดยการไกล่เกลี่ยแล้วเสร็จด้วยการอนุญาโตตุลาการ ในครึ่งแรกคู่พิพาทพยายามที่จะตกลงกันโดยความช่วยเหลือของผู้ไกล่เกลี่ย และในครึ่งหลังอนุญาโตตุลาการจะทำคำชี้ขาดที่มีผลผูกพันคูพิพาทหากไม่สามารถตกลงกันได้

Med-Arb Med-Arb ผู้ที่เป็นกลางหนึ่งคนไกล่เกลี่ยแล้วทำการอนุญาโตตุลาการ Co Med-Arb ผู้เป็นกลางสองคนคนแรกทำการไกล่เกลี่ยคนที่สองทำการอนุญาโตตุลาการ Arb-Med ทำการอนุญาโตตุลาการก่อนทำคำชี้ขาดปิดผนึกแล้วทำการไกล่เกลี่ย คำชี้ขาดจะเปิดเผยเมื่อการไกล่เกลี่ยถึงทางตัน Shadow Mediation คือการอนุญาโตตุลาการที่แยกผู้เป็นกลางในการเข้าร่วมว่าใครไกล่เกลี่ยในขอบเขตที่มีความเป็นไปได้ที่จะตกลงกันได้ในขั้นตอนการอนุญาโตตุลาการ

หลักเกณฑ์สัญญา การตกลง - เจตนา - ไม่มีเหตุสัญญาใช้ไม่ได้ หลักฐาน - เจตนา - ไม่มีเหตุสัญญาใช้ไม่ได้ หลักฐาน - เป็นหนังสือ มิต้องมีแบบ - ต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาเว้นแต่จะมีหลักฐานการโต้ตอบ ทางโทรสาร โทรพิมพ์ email

การจำแนกประเภทของการอนุญาโตตุลาการ ลักษณะของคู่พิพาท - รัฐกับรัฐ - รัฐกับเอกชนต่างประเทศ - รัฐกับเอกชนในประเทศ - ระหว่างเอกชนที่มาจากต่างประเทศทั้งคู่ - ระหว่างเอกชนในประเทศกับต่างประเทศ - ระหว่างเอกชนในประเทศทั้งคู่

ประเภทของการอนุญาโตตุลาการ 1. คู่กรณีดำเนินการเอง ( Adhoc Arbitration) 2. ดำเนินการโดยสถาบัน (Institutional arbitration) - ระดับโลก (ICC the Court of Arbitration of the International Chamber of Commerce), ICSID - ระดับภูมิภาค เช่น คณะกรรมาธิการอนุญาโตตุลาการระหว่างอเมริกัน - ระดับประเทศ เช่น สมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกัน (The American Arbitration Association)

การจำแนกตามประเด็นที่พิพาท ประเด็นข้อกฎหมาย ประเด็นข้อเท็จจริง ** อาจจะตั้งอนุญาโตตุลาการเฉพาะทาง กลต ประกันภัย ทรัพย์สินทางปัญญา กองทุนรวม**

การจำแนกตามหลักเกณฑ์ที่ตัดสินปัญหา สารบัญญัติ เนื้อหาคดี ตัดสินตามกฎหมาย จารีตประเพณี Ex aequo et bono

การจำแนกการลงทุนจากข้อพิพาทที่เกิดจากการพาณิชย์ ข้อพิพาททางการลงทุน( ICSID) ข้อพิพาททางพาณิชย์ ข้อพิพาทระหว่างประเทศ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 210-220,222 มาตรา 221 2. พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 3. พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร พ.ศ. 25.. 4. พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้าม คนต่างด้าวทำออกตามความในพระราชบัญญัติการทำงานของ คนต่างด้าว พ.ศ. 2521 5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2544

มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง มติคณะรัฐมนตรีที่ 2533 สนับสนุนให้ใช้การอนุญาโตตุลาการ มติคณะรัฐมนตรีที่ 2547ไม่ให้ใช้การอนุญาโตตุลาการในสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนโดยต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ มติคณะรัฐมนตรีไม่ให้ห้ามในกรณีที่ลงนามสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าเสรี

มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง มติคณะรัฐมนตรีที่ 2547 กรณีที่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณานั้นเฉพาะคดีสัญญาทางปกครองใหญ่ๆเท่านั้น มติคณะรัฐมนตรีที่ ไม่ห้ามการใช้อนุญาโตตุลาการกับประเทศที่เป็นคู่สัญญาเขตการค้าเสรี

อนุญาโตตุลาการในศาล คู่พิพาทตกลงเสนอประเด็นทั้งปวงหรือบางข้อให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ถ้าไม่ผิดกฎหมายศาลอนุญาตตามขอ( ป.วิ.พ. 210) ชี้ขาดในข้อเท็จจริง การตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามข้อตกลง หรือตาม ม.211 ถ้าตกลงไม่ได้ หรือศาลไม่เห็นชอบศาลตั้งตามที่เห็นสมควร การตั้งต้องได้รับความยินยอมจากอนุญาโตตุลาการ ม.212 ตั้งแล้วห้ามถอนเว้นคู่พิพาทยินยอม คัดค้านได้ การคัดค้านฟังขึ้นตั้งคนใหม่ ม.213

อนุญาโตตุลาการในศาล หรือศาลตั้งให้ ถ้าไม่ได้กำหนดค่าธรรมเนียมศาลกำหนดให้ตามสมควร ม. 214 กรณีที่ศาลไม่ได้กำหนดประเด็น อนุญาโตตุลาการกำหนดประเด็นตาม ม.215 อนุญาโตตุลาการต้อง ฟังคู่ความ ไต่สวน ตรวจเอกสาร ฟังพยาน ผู้เชี่ยวชาญ ขอให้ศาลส่งคำคู่ความ ออกหมายให้และดำเนินวิธีพิจารณาตามที่เห็นสมควร ม. 216 ถ้าไม่ได้ตกลงเป็นอย่างอื่นคำชี้ขาดถือตามเสียงข้างมาก เท่ากันตั้งบุคคลภายนอกเป็นประธาน ม. 217

คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ม. 140-142 ยื่นต่อศาล (ม. 218) ศาลพิจารณาแล้ว 1 พิพากษาตามคำชี้ขาด 2 ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาด 3 ให้แก้ไขก่อนพิพากษาให้ตามคำชี้ขาดที่แก้ไขแล้ว 4 กรณีที่ส่งให้ชี้ขาดบางประเด็นก็พิจารณาแล้วพิพากษาต่อไป

อนุญาโตตุลาการในศาล หากไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะผู้ตั้งไม่ตั้ง อนุญาโตตุลาการปฏิเสธ ตาย ไร้ความสามารถ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้าไม่สามารถตกลงเป็นอย่างอื่นข้อตกลงสิ้นสุด ม.219 ข้อพิพาท หรือข้อโต้แย้งจากการดำเนินการตาม ม.ก่อนให้เสนอต่อศาลที่เห็นชอบ ม.220 ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งเว้นแต่ ม.222 1 อนุญาโตตุลาการไม่สุจริต คู่ความฉ้อฉล 2 คำพิพากษาฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย 3 คำพิพากษาไม่ตรงกับคำชี้ขาด

จุดเด่นของการอนุญาโตตุลาการในศาล ได้ผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญในสาขาที่พิพาทมาช่วยในการชี้ขาดตัดสินคดีได้ตรงและรวดเร็ว ศาลสามารถเข้ามาตรวจสอบและให้อนุญาโตตุลาการแก้ไขคำชี้ขาดให้ถูกต้องได้ เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการคดีของผู้พิพากษา ลดความตึงเครียดระหว่างการรอการสืบพยานได้ ทำให้คู่พิพาทมีทางเลือกในการระงับข้อพิพาทมากขึ้น ไม่ต้องมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการก็สามารถใช้การอนุญาโตตุลาการในศาลได้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในศาลกับระยะเวลาในการดำเนินคดีและความเสียโอกาสในการประกอบธุรกิจและการประกอบอาชีพแล้วจะมีความคุ้มค่ามากกว่ามาก การที่คดีเสร็จเร็วขึ้นทำให้การดำเนินธุรกิจเกิดผลกระทบไม่มากนักและความเสียหายน้อย ผู้ชนะคดีสามารถที่จะบังคับคดีได้เลยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีอีก อุทธรณ์ได้ด้วยเหตุเพียงไม่กี่ประการและไม่สามารถเพิกถอนคำชี้ขาดได้

จุดด้อย เสียค่าขึ้นศาลและค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการทำให้ค่าใช้จ่ายในคดีเพิ่มขึ้น กระทบต่อการพิจารณาคดีต่อเนื่องหรือไม่ ความเชื่อมั่นของผู้พิพากษาต่อการอนุญาโตตุลาการและตัวอนุญาโตตุลาการ ปัญหาคือคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการบังคับได้ในประเทศภาคีอนุสัญญากรุงนิวยอร์กหรือไม่ ความรู้และความเข้าใจของศาลต่อการอนุญาโตตุลาการยังไม่เพียงพอ

แนวทางในการแก้ไขปัญหา ให้ความรู้ด้านการอนุญาโตตุลาการแก่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ ขอความร่วมมือต่อศาลที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาใช้การอนุญาโตตุลาการในศาลให้มากขึ้น เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเช่นผู้พิพากษา ทนายความ นักกฎหมาย และประชาชนทราบการอนุญาโตตุลาการในศาล สรรหาและอบรมขึ้นทะเบียนอนุญาโตตุลาการที่มีความรู้เชี่ยวชาญ คุณวุฒิ จริยธรรม จัดทำค่าใช้จ่ายและค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการที่ไม่สูงมากนักในลักษณะที่เข้ามาช่วยเหลือ จัดทำคู่มือการอนุญาโตตุลาการในศาล จัดทำหลักสูตรการอบรมให้แก่ผู้ช่วยผู้พิพากษาและผู้พิพากษา จัดทำระบบการคัดเลือกคดีในศาลก่อนการเข้าสู่การพิจารณาคดีในศาลให้เป็นระบบดังเช่นระบบMulti door ในต่างประเทศ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง .. พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้าม .. พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้าม คนต่างด้าวฉบับที่ 3 พ.ศ.2543 ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการทำงานของ คนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ประกาศเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2543 - ให้คนต่างด้าวปฏิบัติหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการได้ - สำหรับทนายความทำงานแก้ต่างได้ถ้ากฎหมายที่พิจารณามิ ใช่กฎหมายไทย หรือกรณีไม่ต้องขอบังคับคำชี้ขาดในราชอาณาจักรไทย ** ต้องขออนุญาตกรมแรงงาน ( Work permit ) **

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง . พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย . พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร ประกาศเมื่อ..... ให้ยกเว้นอากรแสตมป์ปิดคำชี้ขาด .

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 มาตรา 21 ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ผู้เสียหายและผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ให้ผู้ว่าการเจรจาทำความตกลงกับผู้ประกอบการชี้ขาด และให้นำกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรค สองและสาม ( 10 สิงหาคม 2530 ) การเวนคืนและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นแล้ว และอนุญาโตตุลาการยังไม่ได้ชี้ขาดให้เป็นอันยกเลิกอนุญาโตตุลาการนั้น และให้คู่กรณีมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ตามมาตรา 25 ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะแจ้งให้คู่กรณีทราบถึงการยกเลิกอนุญาโตตุลาการตามวรรคสองภายในหกสิบวันนับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติการปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 มาตรา53 ข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่รัฐมนตรีสั่งให้ผู้รับสัมปทานแก้ไข เหตุที่จะเพิกถอนสัมปทานตามมาตรา 52 และข้อพิพาทที่เกี่ยวกับปัญหาที่ว่าได้มีการปฏิบัติตามสัมปทานหรือไม่ ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ดำเนินการระงับโดยอนุญาโตตุลาการตามวิธีการที่กำหนดในสัมปทาน ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่ยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ หรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการภายในเวลาที่กำหนด ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิหรือประโยชน์ทั้งหมดหรือบางส่วนหรือเพิกถอนสัมปทานได้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 55 ในกรณีจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายเป็นการด่วน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้รับสัมปทานมีอำนาจผ่านหรือเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่ของบุคคลใดเพื่อตรวจ ซ่อมแซมหรือแก้ไขท่อส่งปิโตรเลียมในเวลาใดๆ ได้ แต่ต้องแจ้งให้เจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินหรือสถานที่นั้นทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าการผ่านหรือเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่ตามวรรคหนึ่งทำเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย เจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองหรือผู้ทรงสิทธิอื่นใดในที่ดินหรือสถานที่นั้นมีสิทธิเรียกค่าเสียกายจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้รับสัมปทาน และ๔ไม่สามารถตกลงกันถึงจำนวนค่าเสียหายได้ ให้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยโดยนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา58 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 เรื่องอนุญาโตตุลาการนอกศาลมาบังคับโดยอนุโลม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ.2522 มาตรา 29 วรรคสอง ในกรณีที่การปฏิบัติงานของพนักงานหรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าพนักงานตามมาตรานี้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองทรัพย์ หรือผู้ทรงสิทธิอื่น บุคคลนั้นย่อมเรียกค่าทดแทนจาก กปภได้และถ้าไม่สามารถตกลงกันในจำนวนค่าทดแทนได้ ให้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย และให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนสังหาริมทรัพย์มาใช้โดยอนุโลม

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาด 1 ให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เว้นคำชี้ขาดไม่ชอบ เกิดจากการกระทำมิชอบ มิได้อยู่ในขอบเขต (ข้อ 5) 2 ถ้ามีเหตุให้ปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามใน15วันนับแต่รับสำเนา(ข้อ6) 3 ถ้ามีข้อสงสัยส่งให้กระทรวงการคลังภายใน 15 วันส่งให้คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จใน 30 วัน(สำนักงานอัยการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงการคลัง)(ข้อ7-8)

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาด 4 คณะกรรมการวินิจฉัยอย่างใดอยู่ในดุลพินิจของหน่วยงานพิจารณามีคำสั่งใน 30 วัน( ข้อ 8 ) 5 ถ้าเป็นคำชี้ขาดของสถาบันประกันการลงทุนพหุภาคีให้ปฏิบัติตามและเบิกจ่ายเงินโดยเร็วไม่นำข้อ 5-8มาใช้ (ข้อ11)

1. อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือ และการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ (The Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Award, กรุงนิวยอร์ก 1958 มีสมาชิก 133 ประเทศ มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน

อนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาททางการลงทุนระหว่างรัฐและคนชาติของรัฐอื่น (Convention on the Settlement of Investment Disputes between States and Nationals of Other States กรุงวอชิงตัน ดีซี, 1965) - มีสมาชิก 1..ประเทศ - ไทยออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันพหุพาคี พ.ศ. 2544

อนุสัญญาว่าด้วยการประกันการลงทุนแบบพหุภาคี (The Multilateral Investment Guarantee Agency MIGA )กรุง .... 19... มีสมาชิก 166 ประเทศ ออกพระราชบัญญัติสถาบันประกันพหุภาคี พ.ศ. 2544

4. อนุสัญญาว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ค.ศ. 1927 (The Convention on the Execution of foreign Arbitral Awards, 1927) กรุงเจนีวา - สิ้นผลไปแล้ว

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายแม่แบบของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL Model Law ) 1985 ข้อบังคับของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการ (UNCITRAL Model Law ) ข้อบังคับของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการประนีประนอม (UNCITRAL Conciliation Model Rule )

หลัก - Separability , severability หลักสัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นอิสระแยกจากสัญญาหลัก - Competence de La Competence or Kompetence kompetence หลักอนุญาโตตุลาการมีอำนาจชี้ขาดขอบอำนาจของตนเอง - Arbitrability ข้อพิพาทที่สามารถชี้ขาดได้โดยอนุญาโตตุลาการ

- Compulsory arbitration การอนุญาโตตุลาการที่บังคับให้ทำการชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ - Applicable Substantive Law กฎหมายสารบัญญัติในการอนุญาโตตุลาการ - Applicable procedure Law กฎหมายวิธีสบัญญัติในการอนุญาโตตุลาการ - Lex mercatoria กฎหมายของพ่อค้า ธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้า

- Lex arbitri กฎหมายของอนุญาโตตุลาการ - Amiable Composition - Ex aequo et bonoตัดสินชี้ขาดโดยหลักความยุติธรรม - Arbitration at Law อนุญาโตตุลาการที่ตัดสินหรือชี้ขาดโดยใช้หลักกฏหมาย

หลักการอนุญาโตตุลาการ 1 เป็นไปตามความสมัครใจเข้าผูกพันตามสัญญา 2 เป็นบุคคลภายนอกที่เป็นอิสระและเป็นกลางมีอำนาจชี้ขาด 3 อำนาจจำกัดเท่าที่คู่พิพาทมอบหมาย 4 ตัดสินตาม ( Rule of Natural Justice ) 5 ไม่เป็นหน่วยงานของรัฐไม่มีอำนาจบังคับบุคคลภายนอก 6 บังคับได้ง่ายกว่าคำพิพากษาในข้อพิพาทระหว่างประเทศ

ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ คือ ข้อสัญญาหรือข้อกำหนดที่คู่สัญญาทำขึ้นในสัญญาหลักหรือสัญญาแยกต่างหากระบุว่า หากเกิดข้อพิพาท ข้อโต้แย้งหรือข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญาให้ทำการระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ

ข้อควรพิจารณาในข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ ประเภทของการอนุญาโตตุลาการ ข้อพิพาทที่จะใช้ กฎหมายวิธีพิจารณาและกฎหมายสารบัญญัติ ข้อบังคับที่ใช้ สถานที่ดำเนินการ การใช้ร่วมกับวิธีการอื่น(การไกล่เกลี่ย) จำนวนอนุญาโตตุลาการ หน่วยงานหรือบุคคลที่ตั้งอนุญาโตตุลาการ ขั้นตอนการดำเนินการ ภาษาที่ใช้ในกระบวนพิจารณา ค่าใช้จ่ายและค่าป่วยการ ระยะเวลาที่ดำเนินการ ศาลที่จะเข้ามาช่วยเหลือ

สัญญาที่เหมาะสมที่จะใช้การอนุญาโตตุลาการ สัญญาที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนทางปฏิบัติและเกี่ยวข้องทางเทคนิค สัญญาก่อสร้าง สัญญาที่ใช้การดำเนินการเป็นเวลานานเกี่ยวกับบุคคลหลายฝ่าย สัญญาร่วมทุน สัญญาที่ใช้ความรู้เฉพาะด้าน ประกันภัยและรับขนทางทะเล ข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน

สัญญาที่อาจจะไม่เหมาะสมที่จะใช้การอนุญาโตตุลาการ สัญญาที่ไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน สัญญากู้ยืม สัญญาที่ทุนทรัพย์ไม่สูง ข้อพิพาทที่อาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือเป็นข้อพิพาททางอาญา ครอบครัว แรงงาน ทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นความผิดทางอาญา

ความสมบรูณ์ของข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ 1 ความสามารถในการทำสัญญาอนุญาโตตุลาการ ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องขออนุญาตศาล (ปพพ 1574 ),มิฉะนั้นเป็นโมฆะ คนไร้ความสามารถ คู่สมรสและบิดามารดาต้องขออนุญาต ( ปพพ 1598/16, 1476(7) และ1598/18,1574 ,มิฉะนั้นโมฆะ คนเสมือนไร้ความสามารถ คู่สมรสยินยอมมิฉะนั้นโมฆียะ ผู้รับมอบอำนาจ เฉพาะเจาะจง

ความสมบรูณ์ของข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ 2 ความเป็นเอกเทศของสัญญา ( Separability ,Severability) 3 สถานะภาพที่เปลี่ยนไปของคู่สัญญา ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ไร้ความสามารถ 4 กรณีโอนสิทธิเรียกร้องหรือความรับผิด

อนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) หรือหลายคนที่ทรงคุณวุฒิมีความเชี่ยวชาญที่คู่กรณีที่พิพาทหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย ตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นคนกลาง และทำหน้าที่พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทของคู่กรณี

คณะอนุญาโตตุลาการ Arbitral Tribunal หมายถึงอนุญาโตตุลาการคนเดียวหรือหลายคน ประกอบด้วย - อนุญาโตตุลาการฝ่าย - ประธานคณะอนุญาโตตุลาการ ( Presiding arbitrator or Chairman) - ผู้ชี้ขาด ( Umpire ) พระราชบัญญัติใหม่ไม่มีแล้ว

ข้อพิจารณาเกี่ยวกับจำนวนอนุญาโตตุลาการ ความรวดเร็วของคดี ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการพิจารณา ความรับผิดชอบของอนุญาโตตุลาการในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ความยุ่งยากซับซ้อนของคดีและความรอบรู้ของอนุญาโตตุลาการ ความเป็นกลางและเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการ

II คุณสมบัติ 1. ความสามารถ 1. ความสามารถ - สตรี บางประเทศไม่ได้ ไทยยังไม่ปรากฏว่าเป็นประธาน - คนต่างด้าว ตามพระราชกฤษกีกาว่า ด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ต้องขออนุญาตกรมแรงงาน - นิติบุคคล ในทางปฏิบัติปัจจุบันไม่มีปรากฎ - ผู้พิพากษา ขัดกับประมวลจริยธรรม - อัยการและข้าราชการอื่น ไม่มีกฎหมายห้าม - นักกฎหมายอื่น

2. ความเชี่ยวชาญ ในสาขาที่พิพาท II คุณสมบัติ 2. ความเชี่ยวชาญ ในสาขาที่พิพาท - กฎหมายต่าง ๆ - วิศวกรรม สถาปัตยกรรม - ๆลๆ ความเป็นอิสระ เป็นกลางและยุติธรรม - Non Neutral Arbitrator - Neutral Arbitrator

จำนวนอนุญาโตตุลาการ - เป็นจำนวนคี่ - ถ้ากำหนดเป็นจำนวนคู่ ให้ร่วมกันตั้งเพิ่มอีก 1 คน เป็นประธาน (พ.ร.บ. ม.17 วรรคสอง) - ตกลงกันไม่ได้ให้มี 1 คน

1. ผู้ตั้ง คู่พิพาท ผู้มีอำนาจตั้ง(Appointing Authority ) ศาล การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ 1. ผู้ตั้ง คู่พิพาท ผู้มีอำนาจตั้ง(Appointing Authority ) ศาล 2. กำหนดเวลา ตามสัญญา 3. วิธีการตั้ง - ทำเป็นหนังสือ ลงวันที่ ลายมือชื่อผู้ตั้ง - ศาลตั้งไม่ต้องมีหนังสือแต่งตั้ง 4. ทางแก้ในกรณีไม่ตั้ง - ม. 18 5. ผลการแต่งตั้ง การสิ้นสุด - ตาย ม. 21 วรรคแรก - ถอนตัวหรือคู่พิพาทตกลงให้สิ้นสุด ม. 21 วรรคสอง - การคัดค้าน ม.19,20 ยื่นต่อศาล

ผลการแต่งตั้ง ตาย ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ไม่เต็มใจปฏิบัติหน้าที่ เพิกเฉยไม่ปฏิบัติหน้าที่ - ขาดความรู้ความสามารถ เจ็บป่วยทุพลภาพ

การคัดค้าน ภายใน 15 วันนับแต่วันที่รู้ถึงการตั้งหรือรู้เหตุแห่งการคัดค้าน ม.20 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้คัดค้านคนที่ตนเป็นผู้ตั้งหรือร่วมตั้งเว้นแต่จะมิได้รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการคัดค้าน ม. 19 วรรคสาม คณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจพิจารณา ศาลเป็นผู้พิจารณา ไปสู่การอุทธรณ์ต่อไป

เหตุแห่งการคัดค้าน (ป.วิ. พ. มาตรา 11) มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องคดี เป็นญาติ บุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้อง เป็นพยาน ผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้แทน ทนายความของคู่ความมาแล้ว เป็นผู้พิพากษา อนุญาโตตุลาการในคดี มีคดีอยู่ระหว่างพิจารณาที่ อนุญาโตตุลาการ ภรรยา ญาติเป็นคู่ความ เป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือนายจ้าง มีเหตุที่มีสภาพร้ายแรงทำให้เสียความยุติธรรม การทุจริต ขาดความอิสระ (เป็นอนุญาโตตุลาการแล้วตัดสินให้แพ้มาก่อน)

การถอดถอนอนุญาโตตุลาการ การถอดถอนโดยความยินยอมของทุกฝ่าย เป็นไปตามหลักสัญญา ไม่ต้องมีเหตุแห่งการคัดค้าน การถอดถอนโดยคัดค้านต่อศาล - ต้องก่อนการชี้ขาด - ถ้าภายหลังน่าจะต้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด

สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดของอนุญาโตตุลาการ ได้รับค่าตอบแทนตามที่ได้ตกลง ไม่ตกลง > ศาลที่มีเขตอำนาจ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ , เบี้ยเลี้ยง, ที่พัก,พาหนะ

สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดของอนุญาโตตุลาการ 2. หน้าที่ เปิดเผยข้อเท็จจริง อันอาจเป็นเหตุให้สงสัยถึงความเป็นกลางและเป็นอิสระพ.ร.บ. ม.19 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเองไม่ให้ผู้อื่นทำแทน ปฏิบัติตามสัญญากับคู่กรณี ชี้ขาดเฉพาะข้อพิพาทที่เสนอ ม.43

สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดของอนุญาโตตุลาการ 2. หน้าที่ ปฏิบัติกับทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ม.25 ประพฤติตนอยู่ในกรอบของประมวลจริยธรรม

สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดของอนุญาโตตุลาการ ความรับผิดทางอาญา ม.23วรรคสอง ฉ้อโกง ความรับผิดทางแพ่ง ม.23 วรรคแรก ละเมิด 420

- ความคุ้มกัน (Immunity) ปัจจุบันมีความคุ้มกันเว้นแต่เรียกหรือรับสินบน - ความเป็นอิสระและเป็นกลาง (Independence and Impartial) - ข้อจำกัดอำนาจอนุญาโตตุลาการ (Kompetenz Kompetenz, Competence de La Competence)

ความคุ้มกันอนุญาโตตุลาการ แนวคิดจากความต้องการให้อนุญาโตตุลาการมีความเป็นอิสระในการพิจารณาชี้ขาด อนุญาโตตุลาการมีลักษณะกึ่งตุลาการ ถ้าถูกฟ้องร้องดำเนินคดีคงไม่มีใครต้องการเป็นอนุญาโตตุลาการ

ความคุ้มกันอนุญาโตตุลาการ (Immunity) ไม่ต้องรับผิดทางแพ่งเว้นแต่จะกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้คู่พิพาทเสียหาย ไม่ต้องรับผิดทางอาญาเว้นแต่เรียกหรือรับสินบน คู่พิพาทที่ให้สินบนก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน คู่พิพาทตกลงยกเว้นความรับผิดได้หรือไม่สองความเห็น อนุญาโตตุลาการรับผิดอาญาใน อูกานดา รัฐแมสซาจูเสท์ เซาท์แคโรไรน่า เกิดปัญหาแกล้งฟ้อง แต่ไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนหรือปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาด

อำนาจคณะอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยขอบอำนาจตนเอง วินิจฉัยความสมบรูณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยความสมบรูณ์ของการตั้งอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอันอยู่ในขอบอำนาจ วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นข้อกฎหมาย เช่นขาดอายุความ ไม่ผูกพันในสัญญาอนุญาโตตุลาการ( ผู้ค้ำประกัน )

กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการ การเริ่มต้น (Commencement of arbitral proceedings) 1. TAI เริ่มเมื่อยื่นคำเสนอข้อพิพาท (Statement of ) 2. หอการค้าไทย นายทะเบียนดำเนินการโดยไม่ชักช้า มีหนังสือบอกกล่าวให้คู่กรณีตั้งอนุญาโตตุลาการ (ไม่น้อยกว่า 30 วัน) เมื่อตั้งอนุญาโตตุลาการแล้วนายทะเบียนจะต้องส่ง มอบเอกสารแก่อนุญาโตตุลาการ และให้ถือว่าคดี ได้เริ่มต้นนับแต่นั้น

Model Law UNCITRAL ยกเว้นแต่คู่พิพาทจะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการเริ่มเมื่อคู่กรณีได้รับคำเสนอข้อพิพาท

พ.ร.บ.ใหม่(มาตรา 27) 1. เมื่อได้รับหนังสือขอให้ระงับข้อพิพาทจากอีกฝ่ายหนึ่ง 2. เมื่อบอกกล่าวเป็นหนังสือให้คู่พิพาทอีกฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการหรือให้ความเห็นชอบ 3. เมื่อคู่พิพาทฝ่ายใดมีหนังสือแจ้งข้อพิพาทแก่อนุญาโตตุลาการที่ตั้งไว้แล้ว 4. เมื่อเสนอข้อพิพาทต่อหน่วยงานดำเนินการระงับ ข้อพิพาทที่ตกลงไว้

การสิ้นสุด (Termination of proceedings) II คณะอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งให้ยุติกระบวนพิจารณา 1. คู่พิพาทถอนข้อเรียกร้อง 2. คู่พิพาทตกลงให้กระบวนพิจารณายุติลง 3. คณะอนุญาโตตุลาการเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป หรือไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ อำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการจะสิ้นสุดลงพร้อมกับการยุติกระบวนพิจารณา เว้นแต่ แก้ไข ทำคำชี้ขาดเพิ่มเติม * พ.ร.บ.ใหม่ มาตรา 38, Model Law

กระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการโดยสังเขป 1 มีข้อพิพาทเกิดขึ้นในสัญญาที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ 2 เสนอข้อพิพาทคำคัดค้านข้อเรียกร้องแย้ง คำแก้ข้อเรียกร้องแย้งต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ 3 นัดพร้อมเพื่อไกล่เกลี่ยและกำหนดกระบวนพิจารณา 4 ไม่สามารถตกลงกันได้ดำเนินการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ 5 กำหนดประเด็นข้อพิพาท หน้าที่นำสืบพยานและกระบวนพิจารณา 6 คณะอนุญาโตตุลาการดำเนินการสืบพยาน 7 คณะอนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาด 8 ส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่คู่พิพาท 9 แก้ไขเพิ่มเติม ตีความคำชี้ขาด 10 ขอให้ศาลเพิกถอนหรือบังคับให้ตามคำชี้ขาด

หลักเกณฑ์ทั่วไป ม. 25 1. การเตรียมคดี 1. การเตรียมคดี - ศึกษาเรื่อง หาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายและการอนุญาโตตุลาการ - กำหนดเวลา สถานที่ที่จะดำเนินการอนุญาโตตุลาการ - ปรึกษาคู่กรณี, สถาบันเพื่ออำนวยความสะดวก - บอกกล่าวประสานวันนัดพร้อม ,พิจารณา 2. การพิจารณาเป็นความลับ - หลักการสืบพยานการพิจารณาและคำชี้ขาดเป็นความลับ - เว้นแต่คู่พิพาทยินยอมให้เปิดเผย * สังคมนิยม (จีน) กระทำโดยเปิดเผย แต่คู่พิพาทตกลงกันได้ > ลับ *

หลักเกณฑ์ทั่วไป ม.25 3. การฟังคู่กรณีก่อนทำคำชี้ขาด 3. การฟังคู่กรณีก่อนทำคำชี้ขาด - รับฟังพยานเอกสาร, วัตถุ, บุคคล - เดินเผชิญสืบยังสถานที่พิพาท - ฟังพยานผู้เชี่ยวชาญประกอบการพิจารณา - รับฟังพยานเพิ่มเติมหรือตัดพยานถ้าฟุ่มเฟือย - มีสิทธิหาพยานด้วยตนเอง แต่ต้องเปิดโอกาสให้ดู, คัดค้าน ไม่รับฟังพยานลับหลังฝ่ายใดเว้นแต่ขาดนัดพิจารณา

หลักเกณฑ์ทั่วไป การออกหมายเรียกพยาน - คู่พิพาทโดยความยินยอมของอนุญาโตตุลาการร้องขอต่อศาล 5. การสืบพยาน - ไม่เคร่งครัดเหมือนการพิจารณาคดีในศาล - ซักถามพยานเพิ่มเติมได้ด้วยความระมัดระวัง - คณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจไต่สวน - คำเบิกความยื่นเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วถามค้านถามติง - VDO ,Web ,Tele Conference

หลักเกณฑ์ทั่วไป การพิจารณาคดีโดยขาดนัดถ้าฝ่ายใดไม่มา มาตรา 31 การเดินเผชิญสืบ - เพื่อดูสถานที่พิพาทประกอบการพิจารณาชี้ขาด การคุ้มครองชั่วคราว ( Interim Measure of Protection ) - แจ้งทั้งสองฝ่ายทราบ เพื่อเข้าร่วม

หลักเกณฑ์ทั่วไป 9. รายงานและสำนวนความ 9. รายงานและสำนวนความ - ใครมาประชุมบ้าง,ในนัดนั้นทำอะไร, สั่งคำร้องอย่างไร, จะทำอะไรต่อไป, กำหนดนัดต่อไป - รายงานกระบวนพิจารณาเก็บเป็นความลับห้ามมิให้เปิดเผยเว้นแต่คู่พิพาทจะยินยอม 10.สิทธิของคู่กรณีระหว่างการพิจารณา- เข้าร่วมการพิจารณา - ส่งทนายความ, ผู้แทนเข้าร่วม ( ข้อ 9 , หอการค้า ข้อ 27)

หลักเกณฑ์ทั่วไป 11. การทำคำชี้ขาด นัดทำคำชี้ขาด - ร่วมกันทำคำชี้ขาด ให้ทุกฝ่ายร่วมในการออกความเห็น 12. การแก้ไข ตีความ และทำคำชี้ขาดเพิ่มเติม

ปัญหาในการดำเนินกระบวนพิจารณา 1. การตัดสินเรื่องเขตอำนาจอนุญาโตตุลาการ - Competence Competenceแก้ไขโดยม. 24 2. การพิจารณาโดยขาดนัด Exparte (พ.ร.บ. ม.31)

ปัญหาในการดำเนินกระบวนพิจารณา 3. กฎหมายที่ใช้บังคับกับการอนุญาโตตุลาการ 3.1 กฎหมายวิธีสบัญญัติ 1. ตามที่คู่พิพาทตกลงกัน 2. ไม่ตกลงให้ใช้กฎหมายสถานที่พิจารณา 3.2 กฎหมายสารบัญญัติ 1. กฎหมายที่คู่พิพาทตกลงกัน 2. กฎหมายสารบัญญัติที่มิใช่กฎหมายขัดกัน 3. ธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้า, ธุรกิจ 4. หลักความยุติธรรม

ปัญหา ไม่วางเงินค่าใช้จ่าย คัดค้านอนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการไม่เป็นอิสระและเป็นกลาง คู่พิพาทตุกติก ใช้เทคนิคทำให้กระบวนการล่าช้า

ศาลกับการอนุญาโตตุลาการ 1 รวดเร็วกว่า 2 ค่าใช้จ่าย 3 กระบวนพิจารณาไม่ยุ่งยาก ไม่เป็นพิธีการ 4 ผู้เชี่ยวชาญในประเด็นพิพาท 5 การรักษาความลับ 6 ความเป็นธรรมตามธรรมชาติ 7 คำชี้ขาดผูกผันคู่ความ 8 เหมาะกับข้อพิพาทระหว่างประเทศ

บทบาทศาลในขั้นตอนต่าง ๆ ของการอนุญาโตตุลาการ 1. สัญญาอนุญาโตตุลาการ (Arbitration Agreement) บังคับให้ทำการอนุญาโตตุลาการก่อน ( ม. 14 ) อนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) - แต่งตั้ง ถอดถอนอนุญาโตตุลาการ กระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ (Arbitration Proceedings) - หมายเรียกพยาน ( ม. 33 ) - ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว (ม. 16 ) - ออกคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น

บทบาทศาลในขั้นตอนต่าง ๆ ของการอนุญาโตตุลาการ การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ (Enforcement of the Arbitral Award) - ศาลมีบทบาทในการบังคับให้หรือปฏิเสธไม่บังคับ การอุทธรณ์คำชี้ขาด ( Appeal of the Judgment of Court of First instance) - ศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดมีบทบาทในการตรวจสอบ

บทบาทศาลในกฎหมายอนุญาโตตุลาการ 3.1 บทบาทของศาลในกฎหมายอนุญาโตตุลาการของนานาประเทศ 3.1.1 ระบบที่อนุญาโตตุลาการที่มีอิสระมาก - สวีเดน - สหรัฐอเมริกา 3.1.2 ระบบที่ศาลที่มีบทบาทมาก - อังกฤษ - สวิตเซอร์แลนด์ 3.1.3 ระบบที่เป็นกลาง - เยอรมัน - ฝรั่งเศส

บทบาทศาลในกฎหมายอนุญาโตตุลาการ 3.2 บทบาทของศาลในกฎหมายอนุญาโตตุลาการขององค์การระหว่างประเทศ 3.3 บทบาทของศาลในกฎหมายอนุญาโตตุลาการของประเทศไทย

คำชี้ขาดและการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ - การทำคำชี้ขาด 1 การทำคำชี้ขาดโดยใช้เสียงข้างมากมาตรา 35หาเสียงข้างมากไม่ได้ประธานเป็นผู้ทำ 2 กำหนดเวลาในการทำคำชี้ขาด(ม.37) 3 รูปแบบของคำชี้ขาด (ม. 37 )ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเสียงข้างมาก

คำชี้ขาดและการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ - การทำคำชี้ขาด 4 คำชี้ขาดต้องระบุเหตุผลแห่งการวินิจฉัยทั้งปวงโดยชัดแจ้ง 5 ต้องระบุวัน เดือน ปี และสถานที่ทำคำชี้ขาด 6 ไม่เกินขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำขอของคู่กรณี เว้นแต่กำหนดค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ค่าป่วยการ

การส่งคำชี้ขาด คำชี้ขาดผูกพันคู่กรณีเมื่อส่งถึงคู่กรณีไม่มีการอ่านให้ฟังดังเช่นคำพิพากษาของศาล จะส่งโดยนำส่ง ไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือวิธีการอื่นเช่นประกาศหนังสือพิมพ์

ผลของคำชี้ขาด 3 ประการ ผลต่ออำนาจหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ ทำให้อำนาจอนุญาโตตุลาการสิ้นสุด ผลต่อข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี ยุติข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีจะนำไปฟ้องร้องที่ศาลหรือเสนอต่ออนุญาโตตุลาการอีกไม่ได้ ผลต่อคู่กรณี ผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาด

คำชี้ขาดและการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ทำคำชี้ขาดตามยอมมีสถานะและผลเช่นคำชี้ขาดประเด็นข้อพิพาท( ม 36 ) ผลของคำชี้ขาด - คำชี้ขาดไม่ว่าทำขึ้นในประเทศใดผูกพันคู่กรณี(ม41ภายใต้ ม.42-44 ) - ทำให้อนุญาโตตุลาการหมดอำนาจและหน้าที่ (ม 38)

ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ(ม.46) 1. คู่พิพาทเป็นผู้กำหนด 2. คณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้กำหนด 3. ศาลเป็นผู้กำหนดค่าใช้จ่ายและค่าป่วยการหากไม่มีการกำหนดโดยสัญญาหรือคำชี้ขาด(ปัจจุบันปรับลดไม่ได้)

หลักเกณฑ์การบังคับตามคำชี้ขาดของ อนุญาโตตุลาการต่างประเทศ เป็นคำชี้ขาดตามสนธิสัญญาที่ไทยเป็นภาคี - เฉพาะคำชี้ขาดที่อยู่ในบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี - คำชี้ขาดมีผลบังคับเท่าที่ประเทศไทยยอมตนเข้าผูกผัน - การบังคับตามคำชี้ขาดของสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีในภายหลังคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้มีสัญชาติไทย

การดำเนินการบังคับตามคำชี้ขาด - ผู้ที่ดำเนินการบังคับตามคำชี้ขาด - ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ม 9 - ต้องยื่นคำร้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ม.42 วรรค 1 คือ 3ปี

การดำเนินการบังคับตามคำชี้ขาด - ต้องยื่นเอกสารต่างๆที่กฎหมายกำหนด ม 42 ต้นฉบับสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือสำเนาที่รับรองถูกต้อง ต้นฉบับคำชี้ขาดหรือสำเนาที่รับรองถูกต้อง คำแปลคำชี้ขาดหรือสัญญาอนุญาโตตุลาการ - ศาลต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด

การบังคับตามคำชี้ขาดตามอนุสัญญานิวยอร์ก เหตุที่ผู้คัดค้านต้องกล่าวอ้างและพิสูจน์ 1. คู่สัญญาฝ่ายใดบกพร่องในเรื่องความสามารถ เช่นเป็นผู้เยาว์ บริษัทไม่ได้ประทับตราสำคัญ กรรมการลงลายมือชื่อไม่ครบ 2. สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันตาม กฏหมายแห่งประเทศที่คู่กรณีได้ตกลงกันไว้ หรือตามกฏหมายแห่งประเทศที่ทำคำชี้ขาดนั้นในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงดังกล่าว

การบังคับตามคำชี้ขาดตามอนุสัญญานิวยอร์ก 3. คู่กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมในการดำเนิน กระบวนพิจารณา ไม่เปิดโอกาสให้ต่อสู้คดีเต็มที่ ไม่แจ้งให้ทราบหรือเข้าร่วมกระบวนพิจารณา 4. การกระทำเกินขอบอำนาจหรือขาดอำนาจตามสัญญาหรือข้อตกลง เช่นตกลงให้ตัดสิน 2 ประเด็นแต่นำประเด็นอื่นมาตัดสินด้วย

การบังคับตามคำชี้ขาดตามอนุสัญญานิวยอร์ก 5. องค์ประกอบคณะอนุญาโตตุลาการหรือกระบวนพิจารณาไม่เป็นไปตามที่ตกลงกัน เช่นสัญญาให้มีอนุญาโตตุลาการ 3 คนแต่ตั้ง 2 คนพิจารณา 6.คำชี้ขาดยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่มีผลผูกพัน ถูกเพิกถอน ระงับใช้

เหตุที่ผู้คัดค้านไม่จำต้องกล่าวอ้างและพิสูจน์ 1. คำชี้ขาดเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถระงับได้โดยการอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายไทย 2. ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ( ม.45) เมื่อการยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 2. เมื่อคำสั่งหรือคำพิพากษาฝ่าฝืนบทกฎหมายอันเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 3. เมื่อคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นไม่ตรงกับคำชี้ขาด 4. เมื่อผู้พิพากษาหรือตุลาการที่เกี่ยวข้องทำความเห็นแย้งหรือ 5. การอุทธรณ์คำสั่งที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์คู่พิพาทตาม ม.16

การบังคับตามคำชี้ขาดตามอนุสัญญาเจนีวา(ยกเลิกไปแล้ว) คู่กรณีฝ่ายที่ขอให้บังคับตามคำชี้ขาดมีภาระการพิสูจน์ 1. ได้ทำขึ้นในดินแดนของประเทศภาคีระหว่างคู่กรณีของประเทศภาคี 2. ได้ทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการที่อยู่ในบังคับของโปรโตคลเจนีวา 3. ได้ทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีผลผูกพันตามกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญานั้น

การบังคับตามคำชี้ขาดตามอนุสัญญาเจนีวา 4. ได้ทำขึ้นโดยอนุญาโตตุลาการซึ่งได้กำหนดไว้ ในสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือตามข้อตกลง ของคู่กรณี 5. ได้ทำขึ้นตามกระบวนวิธีพิจารณาชั้น อนุญาโตตุลาการที่ชอบด้วยกฎหมาย 6. เป็นคำชี้ขาดเกี่ยวกับข้อพิพาทที่อาจเสนอให้ อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ตามกฎหมายไทย

การบังคับตามคำชี้ขาดตามอนุสัญญาเจนีวา 7. มีผลพูกพันเป็นยุติแล้วในประเทศที่ทำคำชี้ขาดนั้น 8. สามารถบังคับได้โดยไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายไทยหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธในกรณีอื่น 1. ได้ถูกเพิกถอนแล้วในประเทศที่มีการทำคำชี้ขาด 2. ผู้ซึ่งจะถูกบังคับไม่ได้รับการแจ้งล่วงหน้าถึง กำหนดนัดพิจารณาหรือบกพร่องความสามารถ 3. คำชี้ขาดวินิจฉัยไม่ครบถ้วนหรือเกินขอบเขต

การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการภายในประเทศ(ปัจจุบันไม่มีการแยกคำชี้ขาดภายในประเทศและต่างประเทศ ) หลักเกณฑ์การบังคับตามคำชี้ขาด - ผู้ขอให้บังคับตามคำชี้ขาดได้แก่ผู้ชนะคดี - ต้องยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ - ต้องดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด - ศาลต้องรีบทำการไต่สวนและมีคำพิพากษา โดยพลันเหตุที่จะคัดค้านและไม่บังคับตามคำชี้ขาด

เหตุที่จะไม่บังคับตามคำชี้ขาด 1 คำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาท 2 คำชี้ขาดเกิดจากวิธีการหรือการกระทำอันมิชอบ 3 คำชี้ขาดไม่อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำขอของคู่กรณี

การบังคับตามคำชี้ขาด อนุญาโตตุลาการต่างประเทศ(ปัจจุบันคำชี้ขาดในหรือต่างประเทศใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ) นิยามของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ 1. สถานที่ที่ทำการอนุญาโตตุลาการส่วนใหญ่ทำ นอกราชอาณาจักร 2. คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้มีสัญชาติไทย