งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ที่สหกรณ์สมควรจัดให้แก่สมาชิก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ที่สหกรณ์สมควรจัดให้แก่สมาชิก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ที่สหกรณ์สมควรจัดให้แก่สมาชิก
สวัสดิการ ที่สหกรณ์สมควรจัดให้แก่สมาชิก รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา ประธานกรรมการ สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด กรรมการดำเนินการ ชุมนุมสหกรณ์ธนกิจไทย จำกัด กรรมการดำเนินการ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ไทยไอซีที จำกัด นักสหกรณ์แห่งชาติ ปราชญ์สหกรณ์

2 “การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิต
“สวัสดิการ” มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ว่า “การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิต และสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และสะดวกสบาย”

3 (2) ให้สวัสดิการหรือการสงเคราะห์ตามสมควร
สหกรณ์เป็นองค์การสวัสดิการอย่างหนึ่ง ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ ว่า “มาตรา 46 เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการดังต่อไปนี้ได้ ฯลฯ (2) ให้สวัสดิการหรือการสงเคราะห์ตามสมควร แก่สมาชิกและครอบครัว ฯลฯ”

4 “มาตรา 60 ในการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของ สหกรณ์ให้จัดสรรเป็น………………...
เมื่อมีการจัดสรรกำไรสุทธิ มีระบุไว้ในมาตรา 60 อีกว่า “มาตรา 60 ในการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของ สหกรณ์ให้จัดสรรเป็น………………... ฯลฯ (4) จ่ายเป็นทุนสะสมไว้ เพื่อดำเนินการอย่างหนึ่ง อย่างใดของสหกรณ์ตามที่กำหนดในข้อบังคับ”

5 สรุปการจัดสรรกำไรสุทธิ
ร้อยละของกำไรสุทธิ ขั้นต่ำ ขั้นสูง เสนอแนะ 1. ค่าบำรุง สสท 0.01 1.00 3.00 2. โบนัสกรรมการและเจ้าหน้าที่ 2.00 3. ทุนสำรอง 10.00 15.00 30.00 4. ทุนสะสมฯ - 5. เงินปันผล 84.99 60.00 64.00 6. เงินเฉลี่ยคืน 6.00 100.00 } } หมายเหตุ ข้อ 5. ต้องแปลงเป็น ร้อยละของทุนเรือนหุ้น ข้อ 6. ต้องแปลงเป็น ร้อยละของดอกเบี้ยเงินกู้

6 ที่มาของทุน วิธีใช้ทุน ทุนสวัสดิการสมาชิก 1. จากการจัดสรรกำไรสุทธิ
1. จากการจัดสรรกำไรสุทธิ 2. จากการตั้งงบประมาณประจำปี 3. จาก ข้อ 1 และ ข้อ 2 รวมกัน ที่มาของทุน  กำหนดระเบียบเพื่อใช้ทุนสำหรับสวัสดิการต่าง ๆ  ไม่จำเป็นต้องบริหารเงินทุนด้วยการนำฝาก เพื่อเอาดอกเบี้ยมาสมทบ  ให้จัดสรรและ/หรือตั้งงบประมาณอย่างเพียงพอในแต่ละปี วิธีใช้ทุน

7 แต่ละเรื่องอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงสาระสำคัญดังนี้
หลักการให้สวัสดิการ * ให้สิ่งที่สมาชิกต้องการและจำเป็น * คิดให้ตัวสมาชิกก่อนครอบครัว * ให้สมาชิกส่วนใหญ่ได้รับก่อน * ให้แก่สมาชิกที่ด้อยโอกาสกว่า * ให้ผู้ที่มีอายุการเป็นสมาชิกนานได้มากกว่า * มีเงินพอก่อนจึงคิดให้ * เริ่มต้นให้ทีละน้อยก่อน * พิจารณาอนาคตมากกว่าปัจจุบัน * ให้แล้วลดหรืองดไม่ได้ * อย่าผลักภาระให้คณะกรรมการชุดต่อไป * สำรวจข้อมูลให้ถ่องแท้ก่อนเริ่มทำ พิจารณาสวัสดิการ แต่ละเรื่องอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงสาระสำคัญดังนี้

8 “เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ทั้งสิ้น”
พระพุทธเจ้าสอนว่า “เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ทั้งสิ้น” ดังนั้นเราสหกรณ์ควรจะคิดช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่สมาชิกและครอบครัวพอสมควร ควรพิจารณาสวัสดิการเรื่อง “ตาย” ก่อน เพราะเป็นวาระสุดท้าย ของแต่ละคน แล้วจึงพิจารณาถึง “เจ็บ” ไข้ได้ป่วย “แก่” เฒ่า เกษียณอายุงานหรือลาออกจากงานประจำโดยไม่มี ความผิด ส่วนเรื่อง “เกิด” จำเป็นน้อยสุด

9 ตัวอย่าง สวัสดิการสมาชิก
การสงเคราะห์ศพ การประกันชีวิต บำเหน็จสมาชิกเกษียณอายุ หรือลาออกจากงานโดยไม่มีความผิด อายุยืนยังไม่ตาย (เกื้อกูลสมาชิกอาวุโส) ค่ารักษาพยาบาล ทุนการศึกษาบุตร ยินดีสำเร็จการศึกษา ประสบสาธารณภัย บัตรอวยพรวันเกิด การมงคลสมรส รับขวัญทายาทใหม่ ฯลฯ ตัวอย่าง สวัสดิการสมาชิก

10 1. สวัสดิการเกี่ยวกับ "ตาย"
1. สวัสดิการเกี่ยวกับ "ตาย" 1.1 สมาชิก คู่สมรส และบุตร การตายเป็นที่สุดของชีวิต สหกรณ์จึงจัดให้มากที่สุด เมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว เริ่มสวัสดิการนี้ โดยให้เงินเพียง 20,000 บาท เท่านั้น เพิ่มยอดการให้มาเรื่อยๆ จนบัดนี้ สำหรับสมาชิกที่ตาย ตามปกติ 600,000 บาท (สูงสุด) แต่ถ้าตายจากการประสบอุบัติเหตุจะจ่ายเพิ่มให้อีก 500,000 บาท

11 หากผู้ใดกู้น้อยกว่าวงเงินสูงสุด จะไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนมาก
หลักการสำคัญประการหนึ่ง ก็คือ ประสงค์จะให้หนี้ (เงินกู้สามัญ ซึ่งใช้บุคคลค้ำประกัน) ตายไปตามตัว ไม่เป็นปัญหากับทายาทผู้รับโอนประโยชน์ และผู้ค้ำประกันต้องใช้หนี้แทน เนื่องจากผู้รับโอนประโยชน์ได้รับเงินค่าทำศพ 20% ของยอดเงินสวัสดิการ แต่ไม่เกิน 80,000 บาท ถ้าได้ยอดสูงสุด 600,000 บาท จะเหลือเงินอีก 520,000 บาท เพื่อชำระหนี้สิน (ถ้ามี) สอ.จุฬาฯ อนุญาตให้สมาชิกกู้สามัญได้สูงสุดไม่เกิน 600,000 บาท ถ้าสมาชิกกู้เต็มที่แล้วตายทันที หักลบกลบหนี้แล้ว และอาจมีหุ้นเหลือ อยู่อีกก็ได้ หากผู้ใดกู้น้อยกว่าวงเงินสูงสุด จะไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนมาก

12 สวัสดิการนี้ จำนวนเงินที่ให้ขึ้นอยู่กับอายุการเป็นสมาชิก ถ้าอยู่นานได้มาก นับอายุการเป็นสมาชิก มีหน่วยเป็นเดือน โดยให้เดือนละ 1,250 บาท บวกด้วย 100,000 บาท ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 600,000 บาท เป็นต้น (แสดงว่าอายุการเป็นสมาชิก เกินกว่า 400 เดือน หรือ 33 ปี 4 เดือน จะได้รับสวัสดิการเท่ากันหมด)

13 ตัด 20% (แต่ไม่เกิน 80,000 บาท) เป็นเงินค่าทำศพสำหรับสมาชิก
ส่วนที่เหลือ เป็นเงินสงเคราะห์การศพ สวัสดิการนี้ เอื้อเฟื้อถึงครอบครัวของสมาชิกด้วย ถ้าคู่สมรสตาย ได้กึ่งหนึ่ง (½) ของเงินสงเคราะห์การศพ เป็นเงิน 260,000 บาท (สูงสุด) ถ้าบุตรตายได้หนึ่งในสี่ (¼) เป็นเงิน 130,000 บาท (สูงสุด) ไม่มีเงินค่าทำศพให้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีคู่สมรสหรือบุตรก็ตาม

14 ลด อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สมาชิกที่ถึงแก่กรรม
สหกรณ์ฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สมาชิกที่ถึงแก่กรรม เป็นอัตราร้อยละ ต่อปี สำหรับผู้กู้ที่ถึงแก่กรรม ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นไป

15 1.2 สวัสดิการเกี่ยวกับ “ตาย” ของบิดา มารดา
สวัสดิการนี้จัดให้โดยไม่เข้าหลักเกณฑ์นัก โดยปกติ จะจัดสวัสดิการให้แก่ตัวสมาชิกให้ผู้ที่เท่ากับสมาชิก (คู่สมรส) และให้แก่ ผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า (บุตร) เป็นเพราะทนต่อการเรียกร้องของสมาชิกซ้ำซากหลายปีไม่ไหว ประกอบกับมีเงินทุนสวัสดิการที่เก็บสะสมไว้ประมาณ 235 ล้านบาท (มี.ค. 2546) จะเจียดจ่ายให้ได้ จึงจัดสรรสวัสดิการนี้ขึ้น โดยกำหนดว่า บิดาหรือมารดาที่ตาย ต้องไม่เป็นสมาชิก หรือคู่สมรสของสมาชิก สมาชิกที่เป็นบุตรคนหนึ่งหรือหลายคนของบิดาหรือมารดาที่ตาย ร่วมกันรับเงินสงเคราะห์ศพละ 10,000 บาท

16 2. สวัสดิการเกี่ยวกับ "เจ็บ"
2. สวัสดิการเกี่ยวกับ "เจ็บ" สวัสดิการนี้ ให้เป็น เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล สำหรับสมาชิกที่ป่วยต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นคนไข้ใน อย่างน้อย 3 คืน โดยจ่ายให้คืนละ 400 บาท รวมจ่ายให้ไม่เกิน 12,000 บาทต่อการป่วยหนึ่งครั้ง (ไม่เกิน 30 คืน) ปีหนึ่งๆ จะป่วยกี่ครั้ง ก็เบิกได้ทุกครั้ง สถิติการจ่ายสวัสดิการรักษาพยาบาลไปประมาณ 417,400 บาท ต่อปี สำหรับระเบียบเดิม จ่ายให้คืนละ 200 บาท ซึ่งจ่ายไม่เกิน 2,000 บาท (ไม่เกิน 10 คืน) ให้แก่สมาชิก 349 คน-ครั้ง เฉลี่ยรายละ 1,196 บาท/ครั้ง สวัสดิการนี้ให้กับสมาชิก ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่ขึ้นกับอายุการเป็นสมาชิก

17 ทุนสวัสดิการเพื่อสงเคราะห์สมาชิกที่...
...ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงสูญเสียอวัยวะและ/หรือสูญเสียสายตา กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง มีสิทธิ์ได้รับเงิน 100,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะและ/หรือสูญเสียสายตา มีสิทธิ์ได้รับเงินดังนี้ 1. มือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ 50,000 บาท 2. เท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า 50,000 บาท 3. สูญเสียสายตาหนึ่งข้าง 50,000 บาท * ยื่นขอรับสวัสดิการฯได้ภายในกำหนด 180 วัน นับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้อนุบาล(สมาชิกทุพพลภาพ)หรือวันที่สูญเสียอวัยวะและ/หรือสูญเสียสายตา

18 3. สวัสดิการเกี่ยวกับ "แก่" 3.1. สวัสดิการบำเหน็จสมาชิก
3. สวัสดิการเกี่ยวกับ "แก่" 3.1. สวัสดิการบำเหน็จสมาชิก สมาชิกที่ทำงานมาจนถึงวันเกษียณอายุหรือลาออกจากงาน โดยไม่มีความผิด สมควรได้รับสวัสดิการบำเหน็จสมาชิก วันที่สมาชิกพ้นจากหน้าที่การงานประจำ จะต้องมีอายุ การเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 10 ปี จึงจะได้สวัสดิการนี้ ถ้าอายุการเป็นสมาชิกยิ่งนาน ยิ่งได้รับสวัสดิการบำเหน็จสมาชิกสูงขึ้น อาจกำหนดไว้สูงสุด ถ้าอายุการเป็นสมาชิกเกิน 25 ปี

19 การคำนวณและการจ่ายเงินสวัสดิการบำเหน็จสมาชิก มี 2 วิธี
วิธีที่ 1 การนับอายุของสมาชิก ให้นับเป็นเดือน เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน การคิดคำนวณเงินสวัสดิการสมาชิก เต็มจำนวน เท่ากับ อายุสมาชิกเป็นหน่วยเดือน ณ วันที่ 1 มกราคม ของปีปัจจุบัน คูณด้วย เงินค่าหุ้นเป็นหน่วยหมื่นบาท ณ วันที่ 1 มกราคม ของปีย้อนหลังไปห้าปี บวกด้วย หกสิบเท่าของเงินค่าหุ้น เป็นหน่วยหมื่นบาท ณ วันที่ 1 มกราคม ของปีปัจจุบัน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และต้องไม่เกิน 35,000 บาท

20 การจ่ายเงิน (1) อายุการเป็นสมาชิกตั้งแต่ 300 เดือน ขึ้นไป ให้มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จ เต็มจำนวน (2) อายุการเป็นสมาชิกตั้งแต่ 240 เดือน ถึง 299 เดือน ให้มีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จ ร้อยละ 80 (3) อายุการเป็นสมาชิกตั้งแต่ 180 เดือน ถึง 239 เดือน ให้มีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จ ร้อยละ 60 (4) อายุการเป็นสมาชิกตั้งแต่ 120 เดือน ถึง 179 เดือน ให้มีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จ ร้อยละ 40

21 + ที่มาของจำนวนเงิน 5,000 บาท และ 35,000 บาท
ได้สำรวจมูลค่าหุ้นของสมาชิก สอ.จุฬาฯ สมาชิกประมาณ 90% มีหุ้นไม่เกิน 1,000,000 บาท ถัวเฉลี่ยมีหุ้นคนละ133,000 บาท สมาชิกอีก 10% มีหุ้นเกิน 1,000,000 บาท หุ้นขั้นต่ำคนละ 1,000,000 บาท สมมติ ให้หุ้นในข้อ (ก) และ (ข) เป็นหุ้นตอนเกษียณอายุและมีอายุการเป็นสมาชิกครบ 300 เดือนพอดี ถอยหลังไป 5 ปี หุ้นจะมีค่าน้อยกว่าปัจจุบันประมาณ 20,000 บาท แทนค่าสูตรข้อ (ก) บำเหน็จเต็มจำนวน = 300 11 60 13 + 4,080 บาท (ปัดขึ้นเป็น 5,000 บาท) แทนค่าสูตรข้อ (ข) 98 100 35,400 บาท (ปัดลงเป็น 35,000 บาท)

22 เมื่อคำนวณแล้วพบว่าวิธีไหนได้ยอดสวัสดิการมากกว่า
วิธีที่ 2 ให้นับอายุการเป็นสมาชิก มีหน่วยเป็นปี เศษของปีให้ปัดทิ้ง โดยกำหนดให้ปีละ 1,000 บาท และต้องไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อคำนวณแล้วพบว่าวิธีไหนได้ยอดสวัสดิการมากกว่า ให้สมาชิกได้รับตามวิธีคำนวณนั้น

23 สวัสดิการนี้ แปลว่า แก่แล้วยังไม่ตาย
สวัสดิการนี้ แปลว่า แก่แล้วยังไม่ตาย เมื่อใดสมาชิกตาย สหกรณ์จะหักส่วนที่จ่ายไปแล้วออก เหลือเท่าใด จึงให้ผู้รับโอนประโยชน์ไป มาแบ่งจ่ายให้สมาชิกนำไปใช้ตอนมีชีวิตอยู่ โดยจ่ายให้ดังนี้ 3.2 สวัสดิการเกื้อกูลสมาชิกอาวุโส อายุตั้งแต่ ปี ได้รับปีละ 8,400 บาท อายุตั้งแต่ ปี ได้รับปีละ 9,600 บาท อายุตั้งแต่ ปี ได้รับปีละ ,800 บาท อายุตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไป ได้รับปีละ ,200 บาท

24 517,200 บาท สมมติว่า สมาชิกคนหนึ่งอายุยืนมาก ตายเมื่ออายุ 108 ปี
สมมติว่า สมาชิกคนหนึ่งอายุยืนมาก ตายเมื่ออายุ 108 ปี สมาชิกคนนี้จะได้รับสวัสดิการไปแล้ว 517,200 บาท ดังนั้น ยังมีเงินเหลือให้ผู้รับโอนประโยชน์ 2,800 บาท และมีเงินค่าทำศพอีก 80,000 บาทด้วย

25 4. สวัสดิการเกี่ยวกับการ "เกิด"
4. สวัสดิการเกี่ยวกับการ "เกิด" 4.1 วันคล้ายวันเกิดของสมาชิก สมาชิกทั้งหลายเกิดมานานแล้ว ก่อนที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก คงช่วยเหลือเกี่ยวกับการเกิดของสมาชิกไม่ได้ นอกจากจะส่งบัตรอวยพรวันเกิดให้สมาชิกแต่ละคน เริ่มต้นส่งให้สมาชิกที่เกษียณอายุแล้วก่อน เพราะคงจะว้าเหว่ มีลูกหลาน มาอวยพรวันเกิด หรือจัดงานวันเกิดให้หรือเปล่าก็ไม่ทราบ บางคนโสด บางคนแต่งงานแต่ไม่มีบุตร สหกรณ์ยังไม่ลืมวันคล้ายวันเกิดของท่าน เพราะเรามีทะเบียน วัน เดือน ปีเกิด เก็บไว้แล้ว ควรใช้ให้เกิดประโยชน์

26 ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์บัตร ใส่ซอง จ่าหน้าซอง ปิดแสตมป์ส่ง
รวมค่าใช้จ่ายคงประมาณคนละ บาทโดยเฉลี่ย (คิดเงินเดือน ของเจ้าหน้าที่ที่จัดทำด้วย) ผู้ที่ลงนามในบัตรอวยพร ควรเป็นกรรมการทั้งคณะ จะดีกว่า ประธานกรรมการเซ็นคนเดียว วันข้างหน้า ควรจะส่งให้สมาชิกทุกคน สอ.จุฬาฯ มีสมาชิก ประมาณ 12,000 ราย เฉลี่ยมีสมาชิกเกิดวันละ 33 คน เป็นงานประจำ อย่างหนึ่งที่จะต้องทำสม่ำเสมอตลอดปี ตลอดไป สวัสดิการนี้ทุกคนได้รับเท่าเทียมกัน ไม่ขึ้นกับอายุการเป็นสมาชิก

27 4.2 สวัสดิการเพื่อแสดงความยินดีกับสมาชิกที่มีทายาทใหม่
สมาชิกสมรสแล้ว มีทายาทสืบสกุลสักกี่ท้องก็ตาม สหกรณ์ฯ จะจ่ายเงินสวัสดิการให้ทุกครั้ง ครอบครัวละ 1,000 บาท เมื่อสามีหรือภรรยาเป็นสมาชิกเพียงคนเดียว แต่ถ้าเป็นสมาชิกทั้งคู่ สหกรณ์ฯ จะจ่ายให้คนละครึ่ง (500 บาท) ไม่ได้จ่ายให้เท่ากับจำนวนบุตรที่คลอดในแต่ละครั้ง

28 5. สวัสดิการที่ไม่เกี่ยวกับ "เกิด แก่ เจ็บ ตาย"
5. สวัสดิการที่ไม่เกี่ยวกับ "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" 5.1 ช่วยเหลือสมาชิกประสบสาธารณภัย 5.2 อุดหนุนการศึกษาของบุตรสมาชิก 5.3 แสดงความยินดีแก่สมาชิกที่สำเร็จ การศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป 5.4 แสดงความยินดีกับสมาชิกมงคลสมรส 5.5 สำหรับสมาชิกผู้เป็นโสด 5.6 สำหรับสมาชิกผู้อุปสมบท 5.7 สำหรับสมาชิกผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ 5.8 สำหรับสมาชิกผู้ไปปฏิบัติธรรม

29 5.1 ทุนสวัสดิการสมาชิกเพื่อสงเคราะห์สมาชิกที่ประสบสาธารณภัย
5.1 ทุนสวัสดิการสมาชิกเพื่อสงเคราะห์สมาชิกที่ประสบสาธารณภัย สมาชิกที่เป็นเจ้าบ้านหรือสมาชิกที่เป็นคู่สมรสตามกฎหมายของเจ้าบ้านได้รับสิทธิ์ดังนี้ กรณีธรณีพิบัติภัย ไม่เกิน ,000 บาท กรณีอุทกภัย ไม่เกิน ,000 บาท กรณีวาตภัย ไม่เกิน ,000 บาท กรณีอัคคีภัย (มีประกันอัคคีภัย) ไม่เกิน ,000 บาท กรณีอัคคีภัย (ไม่มีประกันอัคคีภัย) ไม่เกิน ,000 บาท * ยื่นขอรับสวัสดิการฯได้ภายในกำหนด 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ประสบภัย * สมาชิกที่เป็นผู้อาศัยมีสิทธิ์ได้รับรวมแล้วไม่เกินกึ่งหนึ่งของหลักเกณฑ์ข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2553 เป็นต้นไป

30 5.2 สวัสดิการอุดหนุนการศึกษาของบุตรสมาชิก
สวัสดิการนี้มี 2 ประเภท ทุนส่งเสริมการศึกษา ทุนเรียนดี มีเงื่อนไขดังนี้ - ต้องเป็นสมาชิกติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 1 ปี - บุตรมีอายุตั้งแต่ 5-25 ปี - บุตรที่มีอายุเกิน 20 ปีขึ้นไป กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา และสถานภาพเป็นโสด

31 ทุนส่งเสริมการศึกษา ทุนเรียนดี
เป็นทุนให้แก่สมาชิกครอบครัวละ 1 ทุน จำนวน 4,000 บาท ทุนเรียนดี แยกเป็นระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา จำนวนทุนแต่ระดับ เป็นไปตามประกาศ และจำนวนเงินแต่ละทุน 2,200 – 3,500 บาท (ปี 2558 สอ.จุฬาฯ จ่ายทุนส่งเสริมการศึกษา 1,924 ทุน เป็นเงิน 7,696,000 บาท และทุนเรียนดี 679 ทุน เป็นเงิน 1,720,700 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,416,700 บาท)

32 5.3 สวัสดิการเพื่อแสดงความยินดี แก่สมาชิกสำเร็จการศึกษา
สมาชิกที่ไขว่คว้าหาความรู้ใส่ตัวจนสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีขึ้นไป สมควรที่สหกรณ์ฯ จะแสดง ความยินดีแก่สมาชิกผู้นั้น โดยจ่ายเงินสวัสดิการ ให้ปริญญาละ 1,000 บาท ไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดจำนวนปริญญาที่จะได้รับ

33 5.4 สวัสดิการเพื่อแสดงความยินดีกับสมาชิกมงคลสมรส
สมาชิกที่มีการสมรสกัน คนหนึ่งคนใดเป็นสมาชิก หรือทั้งสองคนเป็น สมาชิกก็ตาม มีสิทธิ์รับสวัสดิการนี้ โดยสหกรณ์ฯ จ่ายเงินให้ครั้งเดียวในชีวิต เป็นเงิน 1,000 บาท ถ้าเป็นสมาชิกทั้งสองคนแบ่งคนละครึ่ง สมาชิกนั้นต้อง จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายด้วย สมมติว่ามีสมาชิกคนหนึ่งสมรสแล้วก่อนระเบียบสวัสดิการ ถือใช้ จึงไม่มีสิทธิ์รับสวัสดิการ ถ้าต่อไปวันหนึ่งข้างหน้า ได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว ได้มีการจดทะเบียนสมรสใหม่ สมาชิกผู้นี้มีสิทธิ์มาใช้สวัสดิการนี้ได้เป็น ครั้งแรกและครั้งเดียว ของเขาเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์ในครั้งต่อไปอีก

34 สำหรับสมาชิกผู้เป็นโสด ที่มีอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์
5.5 สวัสดิการสำหรับสมาชิกผู้เป็นโสด สำหรับสมาชิกผู้เป็นโสด ที่มีอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 51 ปี รายละ 5,000 บาท

35 ยื่นหลักฐานขอรับเงินภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ลาสิกขาบท
5.6 สวัสดิการสมาชิกเพื่อการอุปสมบท รายละ 1,000 บาท สำหรับสมาชิกที่อุปสมบทในพระพุทธศาสนา สหกรณ์จ่ายให้ เพียง ครั้ง เดียว ยื่นหลักฐานขอรับเงินภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ลาสิกขาบท

36 5.7 สวัสดิการสมาชิกเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์
สำหรับสมาชิกที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ สหกรณ์จ่ายให้ รายละ 1,000 บาท เพียง ครั้ง เดียว ยื่นหลักฐานขอรับเงินภายใน 120 วัน นับจากวันที่เดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญ์

37 5.8 สวัสดิการสมาชิกเพื่อการปฏิบัติธรรม
สำหรับสมาชิกที่เดินทางไปปฏิบัติธรรม ณ สถานปฏิบัติธรรมตามประกาศของสหกรณ์ และมีระยะเวลาการปฏิบัติธรรมติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 วัน 4 คืน สหกรณ์ฯ จ่ายให้ รายละ 1,000 บาท เพียง ครั้ง เดียว ยื่นหลักฐานขอรับเงินภายใน 120 วัน นับจากวันที่เดินทางกลับจากการปฏิบัติธรรม

38 สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด โทร. 0-2218-0555
เป็นสหกรณ์แบบอย่างที่มั่นคง บริหารโปร่งใส ใส่ใจสมาชิกและสังคม

39 รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา
รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา การศึกษา  วศ.บ. (เกียรตินิยม), วศ.ม. วิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาฯ  Ph.D. (Computer), The University of Liverpool ประเทศอังกฤษ ประสบการณ์  ประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด ปี  ที่ปรึกษา สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด ปี  ประธานกรรมการดำเนินการชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด ปี  ที่ปรึกษา ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด ปี  ประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ปี  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ / กรรมการผู้แทน ชสอ. ในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ (คพช) หลายสมัย  ประธานกรรมการบริษัท สหประกันชีวิต จำกัด ปี  ประธานกรรมการ สมาคมสมาพันธ์สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตในเอเชีย (ACCU) ปี  นายกสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี  สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป) 2 สมัย ปี  บุคคลดีเด่นด้านไอที สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปี 2538  นักสหกรณ์แห่งชาติ สาขาบริหารและส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์ ประจำปี 2542  นักเรียนเก่าดีเด่น โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง สมุทรปราการ ประจำปี 2543 รางวัลเชิดชูเกียรติยศ (Recognition Award) สมาคมสมาพันธ์สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตในเอเชีย (ACCU) ประจำปี 2544 ปราชญ์สหกรณ์ สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 พ.ศ. 2554 ปัจจุบัน  ประธานกรรมการ สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด  กรรมการดำเนินการ ชุมนุมสหกรณ์ธนกิจไทย จำกัด  กรรมการดำเนินการ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ไทยไอซีที จำกัด  ที่ปรึกษา บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด มือถือ 2559


ดาวน์โหลด ppt ที่สหกรณ์สมควรจัดให้แก่สมาชิก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google