งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด
องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ มาตรการป้องกันและปราบปรามที่มีประสิทธิภาพ ในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน วันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด

2 ความสำคัญของปัญหา ปัญหาหลัก 2 ประการที่เป็นอันตรายต่อการพัฒนาประเทศ
ปัญหาองค์กรอาชญากรรมทั้งในประเทศและข้ามชาติ ปัญหาการทุจริตและคอรัปชั่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หากแก้ปัญหาทั้งสองประการได้การแก้ปัญหาอื่นในประเทศไทยจะไม่ยากและการพัฒนาประเทศจะก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ

3 องค์กรอาชญากรรมที่สำคัญของโลก
กลุ่มมาเฟีย (Italian Mafia) กลุ่มยากูซ่าของญี่ปุ่น หรือองค์กรอาชญากรรม (Yakusa or Boryokudan) กลุ่มองค์กรอาชญากรรมจีน (Chinese Triads) กลุ่มองค์กรอาชญากรรมโคลัมเบีย (Colombia Cartels) กลุ่มองค์กรอาชญากรรมรัสเซีย (Russian Organized Crime) กลุ่มขุนส่า (Khun Sa Drug Kingpin Group) กลุ่มว้าแดง (The Red Wah Army Group) กลุ่มค้าฝิ่นและเฮโรอิน อาฟกานิสถาน (The Afghanistan Organized Crime Group) กลุ่มองค์กรอาชญากรรมอื่นๆ (Other organized crime groups)

4 องค์กรอาชญากรรมคืออะไร
ในอดีตไม่มีคำนิยามสากลว่าอะไรคือองค์กรอาชญากรรม แต่ละประเทศกำหนดความหมายแตกต่างกันไป ตั้งแต่ปี 2000 มีอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านองค์กร อาชญากรรมข้ามชาติ กำหนดคำนิยามไว้อย่างชัดเจนว่าอะไรคือองค์กรอาชญากรรม 187 ประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ต้องกำหนดคำนิยามไว้ในกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 11/02/17) ทั่วโลกจะใช้คำนิยามอันเดียวกัน ไม่สับสนและง่ายต่อการให้ความร่วมมือกัน

5 ความหมายขององค์กรอาชญากรรมในอนุสัญญาฯ
กลุ่มบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป มีการจัดตั้งหรือรวมกลุ่มกันชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อกระทำความผิดร้ายแรง เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ทางการเงินหรือในทางทรัพย์สิน อื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หากใช้คำนิยามนี้จะพบว่าประเทศไทยมีองค์กรอาชญากรรมอยู่มากมายและกระจายอยู่ทั่วไป

6 คำนิยามขององค์กรอาชญากรรมในกฎหมายไทย
คณะบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ที่รวมตัวกันช่วงระยะเวลาหนึ่ง และร่วมกันกระทำการใด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำความผิดร้ายแรง เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ทางการเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ทางวัตถุอย่างอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (คำนิยามตามมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556)

7 ความหมายขององค์กรอาชญากรรม
ความผิดร้ายแรง ตามอนุสัญญาฯ หมายความว่า ความผิดที่สามารถลงโทษได้ด้วยการตัดอิสรภาพซึ่งมีอัตราขั้นสูงตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป หรือโดยโทษที่หนักกว่านั้น ความผิดร้ายแรง ตาม พรบ. ฯ หมายความว่า ความผิดอาญาที่กฎหมายกำหนดโทษจำคุกขั้นสูงตั้งแต่สี่ปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น

8 ความหมายขององค์กรอาชญากรรมในอนุสัญญาฯ
กลุ่มที่มีการจัดตั้ง หมายถึง ไม่ใช่กลุ่มที่มารวมตัวเพื่อทำความผิดครั้งใดครั้งหนึ่ง และไม่จำเป็นต้องมีการกำหนดบทบาทสมาชิก และไม่ต้องมีความต่อเนื่องของสมาชิก รวมทั้งไม่ต้องมีโครงสร้างที่พัฒนาแล้ว พรบ. ไม่ได้ให้คำนิยามในเรื่องนี้ การพิสูจน์ว่าทำผิดฐานเป็นสมาชิกองค์กรอาชญากรรม ต้องพิสูจน์การกระทำผิดต่อเนื่อง (continuity of crimes)

9 ความหมายขององค์กรอาชญากรรมในอนุสัญญาฯ
อาชญากรรมข้ามชาติ หมายถึง 1 ความผิดได้กระทำลงในประเทศมากกว่าหนึ่งประเทศ 2 ความผิดนั้นได้กระทำลงในประเทศหนึ่ง แต่ส่วนสำคัญของการตระเตรียมการ การวางแผน การสั่งการ หรือการควบคุม ได้กระทำในอีกประเทศหนึ่ง 3 ความผิดได้กระทำลงในประเทศหนึ่ง แต่เกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมที่มีกิจกรรมมากกว่าหนึ่งประเทศ 4 ความผิดได้กระทำลงในประเทศหนึ่ง แต่ผลกระทบที่สำคัญเกิดขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง

10 ความหมายขององค์กรอาชญากรรมใน พรบ.ฯ
อาชญากรรมข้ามชาติ หมายถึง 1 ความผิดที่กระทำในเขตแดนของรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ 2 ความผิดนั้นได้กระทำในรัฐหนึ่ง แต่การตระเตรียม การวางแผน การสั่งการ การสนับสนุน หรือการควบคุมการกระทำความผิดได้กระทำในอีกรัฐหนึ่ง 3 ความผิดที่กระทำในรัฐหนึ่ง แต่เกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมที่มีการกระทำความผิดมากกว่าหนึ่งรัฐ 4 ความผิดที่กระทำลงในรัฐหนึ่ง แต่ผลของการกระทำที่สำคัญเกิดขึ้นในอีกรัฐหนึ่ง (มาตรา 3)

11 กิจกรรมบางประการขององค์กรอาชญากรรม
กิจกรรมการผลิต การขนส่งและการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การค้าอาวุธสงคราม การฟอกเงิน การค้าไม้เถื่อน การค้าสัตว์สงวนหรือหวงห้าม การฮั้วประมูลงานก่อสร้างหรืองานอื่น การค้าน้ำมันเถื่อน การโกงบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม และการโกงทางคอมพิวเตอร์

12 กิจกรรมบางประการขององค์กรอาชญากรรม
การรับจ้างฆ่าคน การเรียกเก็บค่าคุ้มครอง การรับจ้างไล่ที่หรือข่มขู่ทำร้ายผู้ถือหุ้นหรือคู่แข่งทางการค้า การพนันและการทวงหนี้การพนันด้วยความรุนแรง การรับจ้างทวงหนี้ การติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่ผิดกฎหมายอื่นๆ ฯลฯ

13 ผลร้ายขององค์กรอาชญากรรม
ทำลายทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง เช่นการฆ่า การทำให้ติดยาเสพติด การทำให้ติดเอดส์ การทำให้เป็นนักโทษ ทำความเสียหายด้านเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาทต่อปี สร้างความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในสังคม ประชาชนขาดความมั่นใจในกระบวนการยุติธรรม สมาชิกองค์กรกลายเป็นนักธุรกิจหรือนักการเมือง

14 ผลร้ายขององค์กรอาชญากรรม
ใช้อิทธิพลปกป้องธุรกิจของตนเองด้วยวิธีการรุนแรง ซื้อสื่อหรือใช้สื่อเพื่อสร้างอิทธิพลและปกป้องกิจการผิดกฎหมายของตน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทำการทุจริตเพื่อให้ได้ทำดำเนินธุรกิจผิดกฎหมายหรือทำธุรกิจแบบผูกขาด การทำลายทรัพยากรมนุษย์ สภาพเศรษฐกิจและสังคมอ่อนแอ ทำให้เป็นผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

15 ปัญหากฎหมาย กับองค์กรอาชญากรรมก่อนมี พรบ. ฯ
กฎหมายไทยก่อนหน้านี้สร้างขึ้นด้วยแนวคิดที่ว่าเป็นเรื่องที่อำนาจรัฐจัดการกับปัจเจกชนที่ด้อยกว่า จึงรับประกันสิทธิต่างๆของผู้ทำผิดมากเกินไปโดยไม่แยกว่าเป็นผู้ทำผิดองค์กรอาชญากรรมที่มีอิทธิพลสูง กฎหมายไทยไม่ได้จัดสร้างเพื่อป้องกันและปราบปรามองค์กรอาชญากรรมสมัยใหม่ การออกกฎหมายทำได้ยากมาก ไม่มีมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการกับองค์กรอาชญากรรม เจ้าหน้าที่ต้องรับสภาพและท้อแท้ที่ไม่สามารถจัดการได้ หรือต้องใช้มาตรการรุนแรงนอกระบบที่ผิดกฎหมายตอบโต้

16 ปัญหากฎหมาย กับองค์กรอาชญากรรมภายในประเทศ
ปัจจุบันแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายป้องกันและปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ แต่ไทยยังไม่มีกฎหมายที่ทันสมัยที่จะใช้กับองค์กรอาชญากรรมภายในประเทศ ยังคงต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอั้งยี่ ซึ่งล้าสมัยและไม่มีรายละเอียดในทางปฏิบัติแต่อย่างใด ปัญหาเรื่ององค์กรอาชญากรรมยังจะเป็นปัญหาของสังคมไทยต่อไป

17 ผลการวิจัยพบว่าการปราบปรามองค์กร อาชญากรรมไม่ได้ผล
ประชาชนต้องรับสภาพและอำนาจขององค์กรอาชญากรรม ระบบการเมืองมีส่วนเกื้อหนุนต่อองค์กรอาชญากรรม กฎหมายไม่มีมาตรการเพียงพอและเปิดช่องให้ผู้ต้องหาใช้อิทธิพลต่อพยานรวมถึงการติดสินบนเพื่อให้รอดพ้นจากคดี องค์กรอาชญากรรมมีความสามารถสูงในการกำจัดพยาน องค์กรอาชญากรรมดำเนินการด้วยความสลับซับซ้อนยากที่จะหาพยานหลักฐานโยงใยถึงตัวการที่แท้จริงได้ เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความร้ายแรงและความสำคัญของการปราบปรามองค์กรอาชญากรรม

18 เจ้าหน้าที่บางส่วนยังไม่สามารถละวางผลประโยชน์ที่เคยได้รับจากองค์กรอาชญากรรมได้
นักการเมืองบางส่วนมีส่วนสนับสนุนองค์กรอาชญากรรม ในอดีตไม่มีหน่วยงานเฉพาะที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ ปัจจุบันมีหน่วยงานพิเศษคือกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ดำเนินการและอยู่ในระหว่างการพัฒนาความชำนาญและในการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาทำงานร่วมกันเพื่อให้เป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและครบวงจร ในอดีตขาดความมุ่งมั่นทางการเมือง (political will) ในการต่อสู้องค์กรอาชญากรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ

19 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖
1. กำหนดความผิด 1.1 ฐานเป็นสมาชิกหรือเป็นเครือข่ายดำเนินงานขององค์อาชญากรรมข้ามชาติ 1.2 สมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดร้ายแรงอันเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ 1.3 มีส่วนร่วมกระทำการใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจกรรมหรือการดำเนินการขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ โดยรู้ถึงวัตถุประสงค์และการดำเนินกิจกรรมหรือโดยรู้ถึงเจตนาที่จะกระทำความผิดร้ายแรงขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติดังกล่าว 1.4 จัดการ สั่งการ ช่วยเหลือ ยุยง อำนวยความสะดวก หรือให้คำปรึกษาในการกระทำความผิดร้ายแรงขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ โดยรู้ถึงวัตถุประสงค์และการดำเนินกิจกรรม หรือโดยรู้ถึงเจตนาที่จะกระทำความผิดร้ายแรงขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติดังกล่าว

20 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖
2 เนื่องจากความผิดตามกฎหมายนี้เป็นความผิดที่มีลักษณะข้ามชาติ อสส จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 20 3 กำหนดให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันในการสืบสวนสอบสวนความผิดตามกฎหมายนี้ จึงต้องมีบทว่าด้วยการตกลงกันในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายนี้ 4 อสส หรือ ผบ ตร หรือผู้ได้รับมอบหมาย อาจขอให้หน่วยงานอื่นของรัฐให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจำเป็น 5 ค้น และยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้น หากเชื่อว่าหากไปขอหมายค้นจะไม่ทันการ แต่ต้องยื่นบันทึกเหตุอันควรเชื่อนั้นให้ศาลที่มีอำนาจไว้เพื่อเป็นหลักฐานภายใน 48 ชั่วโมงหลังการค้น

21 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖
6 ให้พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ตามพระราชบัญญัตินี้ มีและใช้อาวุธปืนเพื่อการสืบสวนสอบสวนความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ 7 พนักงานสอบสวนซึ่งได้รับอนุมัติจาก อสส หรือ ผบ ตร อาจยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตให้ดักฟังหรือทราบข้อมูลข่าวสารทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสาร สื่ออีเล็กโทรนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีใด ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เมื่อดำเนินการแล้ว ให้รายงานให้อธิบดีศาลอาญาทราบ

22 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖
8 อสส หรือ ผบ ตร อาจส่งสายลับอำพรางเข้าไปร่วมในองค์กรอาชญากรรม และมีอำนาจมอบหมายให้บุคคลใดจัดทำเอกสารเพื่อการอำพรางด้วยและให้ถือว่าเป็นการกระทำอันชอบด้วยกฎหมาย 9 อสส หรือ ผบ ตร มีอำนาจให้ทำการเคลื่อนย้ายภายใต้การควบคุม (control delivery) ด้วยการอนุญาตให้ของผิดกฎหมายหรือของต้องสงสัย ผ่านออกไปจาก ผ่าน หรือเข้าไปในรัฐใดรัฐหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งรัฐ โดยการรับรู้และติดตามดูแลของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ เพื่อสืบสวนสอบสวนความผิดและเพื่อระบุตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดนั้น 10 พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ นี้ อาจสะกดรอยผู้ต้องสงสัย โดยการใช้เครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม เครื่องมืออีเล็กโทรนิกส์ หรือด้วยวิธีการอื่นใด

23 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖
11 ให้ความผิดตาม พรบ นี้ เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการฟอกเงิน 12 ให้มีการต่อรองกับผู้ต้องหา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากผู้ต้องหาในการไปดำเนินคดีกับตัวการที่แท้จริงได้ 13 กำหนดความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรมไวด้วย (ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการจ้างพยานหนีหรือการข่มขู่พยานซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สุดของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย) โดยกำหนดให้มีโทษจำคุกถึงสิบปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

24 องค์กรอาเซียนกับอาชญากรรม
ความสำคัญของการร่วมเป็นประชาคมอาเซียน ปัจจุบันโลกต้องอยู่เป็นกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง อาเซียน แบ่งความร่วมมือเป็นสามด้าน ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

25 ข้อตกลงอาเซียนที่สำคัญ
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Chater) กลุ่มความตกลงอื่นๆ กลุ่มความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement ATIGA) ส่วนใหญ่เกี่ยวกับสิทธิพิเศษทางการค้า และอัตราภาษีพิเศษสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน ข้อตกลงเรื่องศุลกากร (AFTA) กลุ่มความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement ACIA) ข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement MRA) ยังไม่มีนักกฎหมาย

26 ข้อตกลงอาเซียนที่สำคัญ
สนธิสัญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา (ASEAN Mutual Legal Assistance Treaty= ASEAN MLAT) สนธิสัญญาอาเซียนว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์(ASEAN Convention on Prevention and Suppression of Trafficking in Persons) รูปแบบข้อตกลงว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนอาเซียน (ASEAN Model Treaty on Extradition) (อยู่ระหว่างการเจรจา ยังไม่มีกำหนดเสร็จ)

27 ข้อตกลงอาเซียนที่สำคัญ
แผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Plan of Action to Combat Transnational Crime) การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ โจรสลัด การลักลอบค้าอาวุธ การฟอกเงิน การก่อการร้าย อาชญากรรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (ไทยกำลังเสนอเรื่องอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม) ข้อตกลงว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (ASEAN Agreement on Prevention and Suppression of Cyber Crime) (อยู่ระหว่างการเจรจา ยังไม่มีกำหนดเสร็จ)


ดาวน์โหลด ppt วันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google