Reading Techniques
Essential Techniques for Reading Skimming Scanning Main idea Pattern of organization Questioning in passage reading
Skimming
Skimming หรือ การอ่านแบบข้าม หรือบางสำนักเรียกว่า (skipping) เป็นวิธีการอ่านแบบหนึ่งที่แตกต่างจากการอ่านแบบธรรมดา เพราะการอ่านแบบนี้เป็นการอ่านผ่านๆเพื่อต้องการข้อมูลทั่วไป (general information) จะไม่อ่านทุกตัวอักษรแต่จะอ่านข้าม ๆ แต่ก็สามารถจับใจความของเรื่องที่กำลังอ่านได้ การอ่านแบบนี้มีประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างมาก เพราะตัองอ่านหนังสือมากมายหลายเล่ม หรือข้อมูลจำนวนมากในเวลาอันจำกัด และไม่มีเวลาพอที่จะอ่านทุกเล่มอย่างละเอียดถี่ถ้วน ดังนั้นผู้อ่านต้องรู้วิธี Skim เพื่อประหยัดเวลา Meaning
ทำไมต้อง skimming เวลาอ่าน ? ก็เพราะ Skimming เป็นรูปแบบการอ่านแบบหนึ่งจากสองแบบที่จำเป็นมากๆ หากคุณได้อ่านบทความภาษาอังกฤษจำนวนมาก จะพบว่าเป็นการยากมากที่จะหาคำตอบจากสิ่งที่โจทย์ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากบทความนั้นยาวมาก เทคนิคการอ่านแบบนี้ คือการอ่านด้วยความไวสูง ไม่สนใจรายละเอียดหากแต่กวาดตามองไปอย่างรวดเร็ว มองหา Keyword หรือคำหลักที่โจทย์ต้องการในบทความด้วยความไวสูงซึ่งการอ่านแบบนี้มีประโยชน์มากเมื่อเราต้องการทราบภาพรวมๆของบทความนั้นๆ เพราะจะไม่เปลืองสมองมากนัก
ประโยชน์ของ skimming? วิธีการอ่านผ่านนับเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาในการอ่านได้เป็นอย่างมากเพราะผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเรื่องทั้งหมด แต่เป็นการเลือกอ่านเฉพาะส่วนที่สำคัญและอ่านด้วยความรวดเร็วอย่าให้ความสนใจศัพท์แสงที่ไม่ทราบจนมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความกังวล ควรข้ามส่วนซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่สำคัญออกไป การอ่านข้ามเป็นสิ่งที่คนน้อยคนมากๆจะทำได้ดี เพราะคนอ่านมักขาดความมั่นใจว่าได้อ่านข้อความที่สำคัญจริงๆ และกลัวว่าจะอ่านข้าม ข้อความที่สำคัญของเรื่องไปทำให้ไม่กล้าอ่านข้าม
จุดมุ่งหมายของskimming? จุดมุ่งหมายสำคัญของการอ่านแบบข้าม คือ การค้นหาจุดสำคัญที่ของเรื่อง (Topic) ว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการอ่านหนังสือ จากความสำคัญนี้เอง ข้อสอบในส่วนที่เป็น Reading comprehension ส่วนมากจะมีคำถามเกี่ยวกับความคิดหลัก (Main Idea) ของเรื่องอย่างน้อยหนึ่งข้อ การอ่านแบบข้าม นับเป็นวิธีการอ่านที่ผู้อ่านมุ่งหวังที่จะทราบรายละเอียดของเนื้อเรื่องหรือข้อความที่อ่าน โดยการกวาดสายตาหาหัวเรื่องที่เราสนใจและจะค้นหาเฉพาะแนวความคิดหลักเท่านั้น การอ่านแบบนี้ จะอ่านข้ามเป็นตอนๆ และอาจข้ามบางประโยคหรือบางบรรทัดไป คือไม่อ่านทุกคำแต่มองหาประเด็นหรือใจความสำคัญ (main idea) หรือหาคำสำคัญของเรื่อง (key words) โดยผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้กล่าวไว้ว่าเป็นการอ่านด้วยนิ้ว (reading with fingers) ด้วยซ้ำ การอ่านประเภทนี้มักจะใช้กับการอ่านบทความ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นวนิยาย สำหรับจุดมุ่งหมายของการอ่าน เพื่อหาประเด็นหรือใจความสำคัญโดยทั่วไป เพื่อเก็บรายละเอียดที่สำคัญบางอย่างเท่านั้น
หลักปฏิบัติในการอ่าน สรุปได้ดังนี้ 1. อ่านสองหรือสามคำแรกและ/หรือ สองหรือสามคำสุดท้ายในแต่ละประโยคคือการอ่านข้ามสิ่งที่คิดว่าไม่มีความสำคัญในประโยค จะเข้าใจประโยคนั้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนและโครงสร้างของประโยคเป็นสำคัญ 2. การพรีวิว (Preview) คือความสามารถที่จะคิดและคาดการณ์เห็นแนวคิดบางอย่างได้ล่วงหน้าก่อการอ่านจริง การพรีวิวช่วยให้จับประเด็นได้เร็วขึ้นและช่วยให้อ่านข้ามข้อความโดยไม่เสียอรรถรส วิธีอ่านคือ อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้าอย่างเร็วก่อนแล้วจึงไปอ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บใจความสำคัญต่อไป ซึ่งอ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญในแต่ละย่อหน้าเท่านั้น 3. อ่านส่วนแรกของประโยคเร็วๆ วิธีนี้ จะไม่อ่านจนจบประโยค แต่จะกวาดสายตามองผ่านๆ แล้วเริ่มต้นอ่านประโยคใหม่ ทำเรื่อยๆจนจบประโยคที่ต้องการจะอ่าน ขณะอ่านสายตาจะจับอยู่ที่ทางด้านซ้ายมือของประโยคตลอดเวลา คืออ่านข้อความแค่หนึ่งในสามของประโยคเท่านั้น
4. อ่านเฉพาะส่วนกลางของหน้าหนังสือ สายตาจะจับเฉพาะตอนกลางของหนังสือเท่านั้น และอ่านเกือบทุกประโยคด้วย 5. อ่านแต่เฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ โดยที่สำคัญอาจเป็นตัวเอน ตัวหนา หรือมีตัวเลขกำกับอยู่ในเครื่องหมายคำพูดก็ได้ บางครั้งอาจขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ หรือขีดเส้นใต้ไว้ก็ได้อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใยบรรดาที่กล่าวมาทั้งหมดก็ได้ จากที่กล่าวมาทั้งหมด 5 ข้อ ยังมีสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ Topic Sentence ซึ่งก็คือ ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้โดย Topic Sentence มักจะวางอยู่ที่ประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของข้อความ และส่วนน้อยที่อยู่ตอนกลางของเรื่อง และบางข้อความไม่มี Topic Sentence ผู้อ่านต้องสรุปเอาเองจากเนื้อเรื่องในบทความนั้น
สรุป 7 ขั้นตอนของการ Skimming มีดังนี้คือ: 1.อ่านหัวเรื่อง 1.อ่านหัวเรื่อง 2.ดูชื่อผู้แต่ง และหนังสืออ้างอิง 3.อ่านย่อหน้าแรกอย่างละเอียดและรวดเร็ว เพื่อจับใจความสำคัญของเรื่อง ( main idea ) 4.อ่านหัวเรื่องย่อยและประโยคแรกของย่อหน้าที่เหลือ 5.อ่านเรื่องทั้งหมดอย่างรวดเร็วเพื่อหา 1 main idea, Topic ของทุกย่อหน้าพร้อมทั้ง supporting detail 2 clue words เช่น ชื่อคน ชื่อวัน และ adjective ที่สำคัญ 3 คำที่แสดงความคิดของผู้แต่ง เช่น เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย 4 เครื่องหมายตัวชี้ต่าง ๆ เช่น ตัวพิมพ์เอน ตัวพิมพ์หนา ลูกศร ดาว ฯลฯ 6. อ่านย่อหน้าสุดท้ายอย่างรวดเร็วและละเอียด 7. เพ่งเล็งลักษณะตัวพิมพ์พิเศษ เช่น ตัวเอน ตัวหนา ดาว ฯลฯ ให้ดี สำคัญมากเพราะจุดนี้จะบอกให้รู้ถึงการเน้นย้ำใจความสำคัญ
Scanning
การอ่านแบบคร่าว (Scanning) คือการอ่านเร็วที่ไม่ได้ค้นหาความคิดสำคัญของเรื่อง แต่ค้นหาข้อมูลเฉพาะที่ต้องการทราบ เช่น ข้อเท็จจริง วันที่ ชื่อ สถิติ เป็นต้น Meaning
ขั้นตอนง่ายๆในการอ่านด้วยวิธี Scanning มีดังนี้ 1. อ่านคำถามเกี่ยวกับข้อความนั้น ๆ ก่อนเพื่อประหยัดเวลา และช่วยในการหาคำตอบได้รวดเร็วขึ้น 2. อ่านข้อความ หรือ scan ย่อหน้าอย่างรวดเร็ว เมื่อพบข้อความเกี่ยวกับคำตอบแล้ว ให้อ่านช้าลงและรอบคอบระมัดระวังและพยายามหาคำและกลุ่มคำที่สำคัญ (Key words and phrases) ที่จะช่วยให้คำตอบที่ถูกต้อง 3. หากเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple choices) ให้ตัดคำตอบที่ผิดออกและเลือกคำตอบที่ดีที่สุดที่เหลืออยู่
วิธีการอ่านแบบคร่าวที่มีประสิทธิภาพมีขั้นตอนดังนี้ - สำรวจข้อเขียนนั้นโดยภาพรวมว่ามีโครงสร้างแบบใด เพื่อประโยชน์ใน การค้นหาว่าประเด็นสำคัญอยู่ในตำแหน่งใดบ้าง หัวเรื่องย่อยต่าง ๆ นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยบอกประเด็นสำคัญของเรื่อง ในการอ่านแบบคร่าวนี้ส่วนประกอบที่เป็น แผนที่ ตาราง กราฟ แผนภูมิ แผนผัง ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยบอกสาระสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนต้องการอธิบายได้ - รู้วัตถุประสงค์ของการอ่านว่าเราต้องการค้นหาอะไรจากข้อเขียนนั้น วัตถุประสงค์ของการอ่านจะเป็นสิ่งกำหนดเป้าหมายว่าเราต้องการคำตอบในเรื่องใด ผู้อ่านควรตั้งวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้การค้นหาคำตอบเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น - คาดเดาหรือทำนายจากการใช้คำในเรื่อง เช่น หากเรา ต้องการทราบจำนวนประชากร เราก็ต้องมองหาตัวเลขในเรื่องนั้น หากเราต้องการทราบการนิยามความหมายของคำก็อาจมองหา ข้อความที่มีลักษณะการพิมพ์แตกต่างไปจากปกติ เช่น ตัวเข้ม ตัวเอียง หรือใช้เครื่องหมายคำพูด เป็นต้น - ระบุตำแหน่งที่น่าจะค้นหาคำตอบที่ต้องการทราบได้ การค้นหาตำแหน่งที่น่าจะพบคำตอบนี้ใช้วิธีการเดียวกับการอ่านแบบข้าม ได้แก่ การดูที่ย่อหน้าแรก ประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของย่อหน้า หัวเรื่อง และย่อหน้าสุดท้าย
- ใช้รูปแบบการค้นหาที่เป็นระบบ เมื่อทราบวัตถุประสงค์ในการอ่าน ว่าต้องการอะไร และตำแหน่งที่จะค้นหาคำตอบได้อยู่ที่ใดแล้ว ก็เริ่มอ่านแบบคร่าวโดยกวาดสายตามองข้อเขียนนั้นอย่างรวดเร็วแต่มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน อย่างไรก็ตามลักษณะการกวาดสายตาก็ขึ้นอยู่กับการจัดวางเนื้อหาของข้อเขียนนั้นด้วยว่าต้องกวาดสายตาอย่างไร เช่น จากซ้ายไปขวา หรือจากบนลงล่าง เป็นต้น - ยืนยันคำตอบที่ต้องการจากการอ่าน ทันทีที่เราตอบคำถามตัวเองได้ว่าต้องการคำตอบในเรื่องอะไรแล้ว ก็ลงมืออ่านเพื่อค้นหาประโยคที่คิดว่าจะเป็นคำตอบ
คีย์เวิร์ด (Keyword) ที่จะช่วยในการตอบคำถามของเราเด่นชัดขึ้นมา - ตรวจดูบัญชีรายชื่อและตาราง สิ่งสำคัญในการอ่านแบบคร่าวก็คือ เราต้องเข้าใจว่าผู้เขียนมีวิธีเรียบเรียงและจัดแบ่งข้อมูลต่าง ๆ อย่างไร เช่น การค้นหารายการโทรทัศน์ที่มีวิธีการจัดแบ่งตามวันและเวลาที่ออกอากาศ แต่อยู่ภายใต้การจัดแบ่งตามสถานีและชื่อรายการ หรือในหนังสือพจนานุกรม สารานุกรม จะมีการจัดเรียงคำตามลำดับตัวอักษร คำที่อยู่บรรทัดบนสุดของหน้ากระดาษจะเป็นตัวชี้ ให้ทราบว่าคำแรกและคำสุดท้ายในหน้านั้นคือคำใด ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาคำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ในการอ่านแบบคร่าวก็เช่นกัน เรามักใช้วิธีดูที่อักษรตัวแรกของแต่ละบรรทัดว่าตรงกับคำที่เราต้องการหรือไม่ หากไม่พบก็อาจดูสองคำแรก จนกว่าจะพบคำที่ต้องการค้นหา - การค้นหาคำตอบจากข้อเขียนแบบพรรณนา โครงสร้างของ ข้อเขียนที่มีรูปแบบการเขียนแบบพรรณนานั้นมักค้นหาได้ยากกว่าข้อเขียนที่เขียนในรูปแบบของการจัดวางเป็นคอลัมน์ หรือตาราง การอ่านข้อเขียนประเภทนี้แบบคร่าว ๆ ส่วนใหญ่แล้วต้องอาศัยการค้นหาคำที่แสดงร่องรอยให้เราสามารถคาดเดาเรื่องราวได้ ในการอ่านข้อเขียนลักษณะดังกล่าวเราต้องกวาดสายตาดูที่ย่อหน้าต่าง ๆ ให้ทั่วถึง พยายามให้คำสำคัญหรือ คีย์เวิร์ด (Keyword) ที่จะช่วยในการตอบคำถามของเราเด่นชัดขึ้นมา
Skimming และ scanning ต่างกันอย่างไร? Skimming และ scanning ต่างเป็นเทคนิคการอ่านเร็วทั้งคู่ แต่ scanning นั้นจะกวาดสายตาหาเฉพาะสิ่งที่เราต้องการ (a particular thing or person) เท่านั้น เช่น หาคำบางคำ ในสมุดโทรศัพท์เป็นต้น โดยจะไม่อ่านทุกบรรทัดหรือทุกหน้า จะกระโดดจากหน้านี้ไปหน้าโน้นเลย จุดมุ่งหมายอยู่ที่คำบางคำ เท่านั้น ส่วน skimming นั้นจะกวาดสายตาหาเฉพาะสาระสำคัญที่ต้องการ (a particular point or main points) เท่านั้น เช่น Why did so many people visited this national convention center last week? Why? = The exhibition? Why? = The major event?
การอ่านจับใจความสำคัญ (Reading for Main Idea)
Meaning Main Idea คือ ใจความสำคัญหรือใจความหลักของเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนที่ครอบคลุมและควบคุมเรื่องนั้นๆ กล่าวคือ ในแต่ละย่อหน้าต้องมี main idea เพียงอันเดียว และถ้าเมื่อขาด main idea ไปแล้ว ย่อมจะทำให้ไม่เกิดเนื้อเรื่องต่างๆ ขึ้น หรือทำให้ไม่ทราบจุดประสงค์เรื่องนั้นๆ แล้วทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้โดยปกติแล้ว main idea จะเป็นประโยคเท่านั้น การวิเคราะห์และค้นหา main idea ได้ ต้องเกิดจากการค้นหา Topic มาก่อน และนำเอาส่วน topic มารวมกับข้อความ ที่คอยควบคุมสาระเกี่ยวกับ topic นั้น กล่าวโดยสรุป คือ
พินิจพิเคราะห์และหา topic หรือเนื้อเรื่องที่อ่าน ว่าด้วยเรื่องอะไร (What is the topic idea?) 2) ส่วนที่ควบคุมประเด็นสาระที่เสนออยู่นั้นคืออะไร นั่นคือถูกควบคุมให้พูดถึงสิ่งใด แล้วนำเอา topic + สิ่งที่ควบคุม controlling idea) ก็จะได้เป็น main idea จึงเห็นได้ว่า main idea ที่ถูกต้อง จะต้องครอบคลุมสิ่งที่กล่าวในเรื่องได้โดยเฉพาะประเด็นหลักMain Idea & Topic sentence มีความคล้ายคลึงกันมาก Topic Sentence หมายถึง ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้ ส่วนใหญ่มักวางไว้ที่ประโยคแรก หรือประโยคสุดท้ายของข้อความ ซึงมักหาได้จากเนื้อเรื่อง
ประเภทของ Main Idea: โดยทั่วไป ใจความสำคัญมีอยู่ทั้งหมด 2 ชนิดได้แก่ 1. State main idea คือ หลักใหญ่ใจความที่สำคัญที่สุดของเรื่อง ซึ่งผู้เขียนบอกมาตรงๆ สามารถครอบคลุมเนื้อหาของเรื่องได้ทั้งหมด จะต้องตั้ง main idea ไว้ในการเขียน และบรรยายหรือธิบายโดยยึด main idea เป็นหลัก ส่วนที่ขยายหรือบรรยายให้รายละเอียดต่อจาก main idea คือ supporting idea โดยปกติ ในเนื้อความหนึ่งๆ เรามักจะพบ state main idea ได้ในตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนท้ายของย่อหน้า
2. Implied main idea หมายถึง การกล่าวถึง main idea ในลักษณะที่ผู้เขียนไม่ได้เอ่ยมาตรงๆ ทันที เพียงแต่แสดงนัยให้เห็นเท่านั้น ผู้อ่านต้องวินิฉัยเอาเองเพื่อให้เห็นได้ชัดๆ Main Idea มีกี่ชนิดตำแหน่งของ Main Idea อยู่ตรงไหนบ้าง 2.1. อยู่ตรงต้นเรื่อง ตัวอย่าง: A baby elephant is the biggest of all land babies. A newborn baby weighs more than two hundred pounds. It is about three feet high. The new baby is strong, too.Almost as soon as it is born, it can walk about. (ย่อหน้านี้กล่าวถึงลูกช้างว่าเป็นลูกสัตว์บก (land babies) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยบอกว่า ลูกช้างที่เกิดใหม่ จะมีน้ำหนักมากกว่า 200 ปอนด์ และสูงราว ๆ 3 ฟุต นอกจากนี้ ยังแข็งแรงด้วย เพราะตอนที่คลอดออกมา มันจะสามารถเดินได้ทันที ดังนั้น ใจความสำคัญ (main idea) จึงอยู่ที่ประโยคแรก คือ A baby elephant is the biggest of all land babies.)
2.2 อยู่ตรงกลางเรื่อง ตัวอย่าง: Keep your tree outdoors until the day before Christmas. Never use lighted candles. There are also other suggestions for avoiding a Christmas tree fire. Turn off the lights before you leave the house and throw away the tree by New Year's Day. (ย่อหน้านี้กล่าวถึงคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยง มิให้เกิดไฟไหม้ต้นคริสต์มาสว่า ให้นำต้นคริสต์มาสไปไว้นอกบ้าน ก่อนจะถึงวันคริสต์มาสและไม่ให้จุดเทียนไว้ด้วย นอกจากนี้ ยังแนะนำอีกว่า ให้ปิดไฟก่อนออกจากบ้าน และทิ้งต้นไม้เมื่อถึงวันปีใหม่ ดังนั้น ใจความสำคัญ (main idea) จึงอยู่ที่ประโยคกลาง คือ There are also other suggestions for avoiding a Christmas tree fire.)
2.3 อยู่ท้ายเรื่อง (มีการกล่าวซ้ำอีกครั้งในตอนท้าย) ตัวอย่าง: Most people are free to enjoy themselves in the evenings and on weekends. Some spend their time watching television, listening to the radio, or going to movies; others participate in sports. It depends on their interests. There are various ways to spend one's free time. (ย่อหน้านี้กล่าวถึง การใช้เวลาว่างของคนในตอนเย็น และวันสุดสัปดาห์ว่า บางคนจะดูโทรทัศน์ บางคนฟังวิทยุ ไปชมภาพยนตร์หรือไปเล่นกีฬา มันขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคน มีวิธีที่จะใช้เวลาว่างมากมายหลายวิธี ดังนั้น ใจความสำคัญ (Main Idea) จึงอยู่ที่ประโยคท้าย คือ There are various ways to spend one's free time.
2.4 ไม่อยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง แต่ต้องสรุปเองโดยนัยดังที่กล่าวแล้วว่า การหา main idea นั้น จะต้องมีการค้นหา topic ก่อน ดูว่าเรื่องที่อ่านกล่าวถึงคำนามตัวไหนบ่อยที่สุด (topic Noun) แล้วดูว่ามีการกล่าวถึงนามคำนั้นว่าอย่างไร (Topic Idea) แล้วจึงดูว่าข้อความที่เป็นใจความสำคัญของเรื่อง topic idea นั้นอยู่ในประโยคใด ประโยคนั้นแหละเป็น Topic sentence หรือ Main Idea
เคล็ดลับเด็ดๆ Main Idea: คำถามที่ถามถึงความคิดหลักของประโยคหรือบางทีถามถึงชื่อเรื่อง Title ทุกครั้งที่อ่านเนื้อเรื่องจึงต้อง หมั่นหา key word หรือ คำ วลี หรือประโยคซ้ำๆ กรุณาอย่าลืมความสำคัญของ paragraph แรกโดยเฉพาะประโยคแรกซึ่งมักจะ สื่อความคิดหลักของเนื้อเรื่องให้กับผู้อ่าน วิธีสังเกตง่ายมาก – *ใน Passage ทั่วไปถ้ามีการพูดถึงคำนามคำไหนมากที่สุด นั่นคือ Main Idea ข้อควรสังเกตในการหาใจความสำคัญ (Main Idea) 1. Main idea มักจะขยายหัวเรื่อง (Topic) ของบทความ 2. Main idea อาจซ่อนอยู่ในประโยคต้นๆของบทความ 3. Main idea อาจเขียนซ่อน อยู่ตรงกลางหรือ ในประโยคท้ายๆ ของบทความ
หลักการอ่านจับใจความสำคัญ (Reading for Main Ideas) 1. อ่านเรื่องที่ต้องการจับใจความสำคัญโดยเริ่มตั้งแต่ชื่อเรื่อง เพราะชื่อเรื่องมักสอดคล้อง กับเนื้อเรื่อง หรือช่วยบ่งชี้ให้เห็นจุดสนใจของเรื่อง ให้อ่านตั้งแต่ต้นจนจบแล้วตอบคำถามให้ได้ ว่า เรื่องที่อ่านเป็นเรื่องอะไร ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไมจึงทำ และได้ผลอย่างไร 2. พิจารณาหาใจความสำคัญจากแต่ละย่อหน้า ย่อหน้าที่ดีต้องมีเอกภาพ ดังนั้นแต่ละย่อหน้าจึงมีใจความสำคัญเดียวซึ่งครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด นอกจากนี้ผู้อ่านอาจสังเกตคำสำคัญ (keyword) ที่มักปรากฏให้เห็นหลายครั้งในย่อหน้านั้น อย่างไรก็ดีมิใช่ว่าทุกย่อหน้าจะมีใจความสำคัญของเรื่องเสมอไป หากย่อหน้านั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่าง หรือรายละเอียดขยายใจความสำคัญในย่อหน้าก่อน 3. นำใจความสำคัญของเรื่องที่จับมาได้ทั้งหมดมาเรียบเมื่อเราอ่านประโยค สิ่งที่เราต้องทราบคือ ประโยคกล่าวถึงใคร (Subject) ทำอะไร (Verb) เพราะสิ่งนี้ จะทำให้เข้าใจ Main Idea ของประโยค ส่วน Supporting details ของประโยคจะประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น ทำต่อใคร (Object)
Patterns of Organization
Exemplification: for example, for instance, such as, especially, particularly, e.g. (example gratia) Definition: Verb to be, is defined as, can be defined as, means, refer to, is considered to be, is known as, (-) Explanation: this is so because, the reason for this is that Comparison: like, likewise, similarly, in the same way, as….as, both, as well as Contrast: whereas, in contrast, on the other hand, on the contrary, however, nevertheless, unlike, in spite of, differ, to be opposed to
6. Cause and effect: because of this, consequently, as a consequence, as a result, for this reason, hence, therefore 7. Restatement: in other word, that is to say, state that 8. Sequence of events: First, Second, next, then, later, thus, last, final, afterwards, earlier, meanwhile, at the same time Description: Just the information Give more information: again, also and, another, further, moreover Summarizing: briefly, in summary, in short
Questioning in passage reading What is the topic of the paragraph? What is the main idea of the paragraph/ “ it” (line 2) refers to……….. What can/cannot be inferred from the passage? What is not mentioned in the text? Meaning/synonym of vocabulary