เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดด้วยรูปแบบต่าง ๆ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
องค์ประกอบของกระบวนการเรียนการสอน
Advertisements

การปฏิรูปอุดมศึกษาไทยและความสำคัญของ Learning Outcome Assessment
ผู้จัดการโครงงาน และ คณะทำงานโครงงาน The Project Manager and The Project Team Information System Project Management Date 27 June 2008 Time
เรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์ เพิ่มพูนทักษะ จน เป็นความ รู้ฝัง แน่นในตนเอง พร้อมที่จะต่อ ยอด สู่ระดับ ประถมศึกษาได้ อย่างมั่นคง.
E- Learning e- Learning นพ. สิทธิโชค อนันตเสรี ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
โครงงานคืออะไร หลักการของการเรียนรู้ของ โครงงาน จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ ด้วยโครงงาน โครงงานกับการเรียนรู้แบบต่างๆ ลักษณะเด่นของการเรียนรู้ด้วย.
การประเมินผลระหว่างเรียนที่ ส่งเสริมการสอนของครูและ การเรียนรู้ของนักเรียนใน ศตวรรษที่ 21.
ศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา สัจจานันท์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง กับการบรรจุแต่งตั้ง.
การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI โดย อาจารย์วาสนา สังข์พุ่ม
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan - IDP
การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project based Learning : PBL)
Executive Functions of the Brain
รายวิชา คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
อย่าติดกับดักการเรียนรู้
การเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ดร.ไพจิตร สดวกการ.
Action Research รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ
อภิปรัชญา ความเป็นจริงสูงสุดที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัส
การวัดและประเมินการปฏิบัติ
การวเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
บทที่ 3 ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์
กิจกรรมการพัฒนาตนเองและทีมงานคุณภาพเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการสอน
เทคนิคการสอนยุค IT ตอนที่ 2
การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
วันนี้เรียนอะไร การออกแบบสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคืออะไร ประเภทของสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หลักการออกแบบสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.
แนวทางการจัดการเรียนการสอน (Pedagogy)
learning theory ทฤษฎีการเรียนรู้
กฎหมายการศึกษาไทย.
เส้นทางสู่ วิชาชีพนักกฎหมาย
นายดำหริ งิมสันเทียะ ผอ.สพป.อย.1
เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา โดย อาจารย์สุวิสาข์ เหล่าเกิด
การวัดผลและประเมินผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของ TQF
ระบบการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน พ.ศ
การแนะแนวอาชีพในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑
โดย ดร.ปราณี คงพิกุล ผอ.กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา
ครูกับการออกแบบการเรียนรู้ สู่คุณภาพเด็กไทย
การบริหารการปฏิบัติงานของทรู (Cycle of Performance Management System)
ปฏิรูปการเรียนรู้ ครูและผู้เรียน ด้วย Active Learning PLC และการนิเทศ
นายดำหริ งิมสันเทียะ ผอ.สพป.อย.1
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
ดร.ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4)
การแบ่งส่วนตลาดและการตลาดเป้าหมาย (Market Segmentation and Targeting)
การบริหาร ความขัดแย้ง ความสามารถและการพัฒนาเชาว์อารมณ์
จิตสำนึกคุณภาพ.
สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
ทิศทางการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
หลักสูตร ครูฝึกใหม่ รุ่น 63
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
สารสนเทศ และการรู้สารสนเทศ
12-13 พฤษภาคม 2561 ณ หอประชุมภัคพิพิธ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒
TIM2303 การขายและการตลาด ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
นโยบายทันตสาธารณสุขกับระบบงานปฐมภูมิ
By ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีระ พันลูกท้าว
รหัสวิชา ศิลปกรรมกับการสื่อสาร Fine and Applied Arts and Communication
Skills of 21st century learning ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3Rs X 7Cs (เรียนรู้ตลอดชีวิต) Reading ’Riting (Writing) ’Rithmetic (Arithmetic) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
CLIL & APPLICATIONS เมื่อต้องการเปลี่ยนรูปภาพบนสไลด์นี้ ให้เลือกรูปภาพ แล้วลบออก จากนั้น คลิกไอคอนรูปภาพในพื้นที่ที่สำรองไว้เพื่อแทรกรูปภาพของคุณ.
Medical Communication/Counseling Training for the “Trainers” คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ธันวาคม 2558.
การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
บรรยายโดย พันเอก ณัฐพงษ์ เพราแก้ว
[ บทที่ 3 ] ระบบสารสนเทศ.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการสอนซ่อมเสริมร่วมกับ
TQS : Total Quality Service การบริการคุณภาพทั่วองค์การ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดด้วยรูปแบบต่าง ๆ

ระดับการเรียนรู้ด้านการรู้คิดหรือด้านสติปัญญา ตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne’) ประกอบด้วย 1. การเรียนรู้ข้อเท็จจริง (Learning Facts) 2. การสร้างความคิดรวบยอด (Forming Concept) 3. การเรียนรู้หลักการ (Learning Principles) 4. การเรียนรู้การแก้ปัญหา (Problem Solving)

การจัดการเรียนแบบสร้างองค์ความรู้ (Constructivist Learning) แนวคิดที่สำคัญของ Constructivism 1. ผลการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ ความรู้ และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน 2. เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างมโนทัศน์ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มากกว่าการรับฟัง 3. ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

การจัดการเรียนแบบสร้างองค์ความรู้ (Constructivist Learning) องค์ประกอบที่สำคัญของ Constructivism 1. กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และความสำคัญของความรู้เดิม 2. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความรู้ด้วยตนเอง และสามารถองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

การจัดการเรียนแบบสร้างองค์ความรู้ (Constructivist Learning) องค์ประกอบที่สำคัญของ Constructivism 3. ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจนค้นพบความรู้และรู้จักสิ่งที่ค้นพบ เรียนรู้การคิดวิเคราะห์ และสำรวจค้นคว้าจนเกิดความรู้ที่แท้จริง 4. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการกลุ่ม อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตในสังคมอย่างเป็นสุข

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Constructivism 1. ขั้นแนะนำ (Orientation) เป็นขั้นที่ผู้เรียนรับรู้จุดมุ่งหมายการเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ 2. ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Elicitation of the Prior Knowledge) เป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกถึงความรู้เดิมที่มีอยู่ในเรื่องที่กำลังจะเรียนรู้

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Constructivism 3. ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด (Turning Restructuring of Ideas) ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย คือ 3.1 ทำความกระจ่าง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ความคิดระหว่างผู้เรียน 3.2 สร้างความคิดใหม่ จากการอภิปราย ระดมความคิด สาธิตทดลอง และปฏิบัติร่วมกัน 3.3 ตรวจสอบทบทวน และประเมินความคิดใหม่

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Constructivism 4. ขั้นการนำความคิดไปใช้ (Application of Ideas) เป็นขั้นที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิด /ความรู้ความเข้าใจ มาพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 5. ขั้นทบทวน (Review) เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้ทบทวนความคิด ความเข้าใจโดยการเปรียบเทียบความคิดเดิมกับความคิดใหม่

แนวคิดการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ (Knowledge Management) เป็นการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการฝึกทักษะการใช้กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การสังเกต การรวบรวมข้อมูล และการปฏิบัติจริง ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น ผู้เรียนมีอิสระในการคิดและแสดงออกอย่างเต็มใจ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทั้งระบบ ครูเป็นผู้เสนอแนะ ผู้ร่วมเรียนรู้ ผู้รับฟัง เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้สร้างโอกาสและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

แนวคิดการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ (Knowledge Management) เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุดในการเรียนรู้ ต้องการให้ผู้เรียนเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นสื่อ ประสบการณ์ชีวิต ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเป็นฐานการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมตามความต้องการ ความสนใจใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องในทุกโอกาส

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ (Knowledge Management) ขั้นที่ 1 ขั้นการสำรวจความรู้ ขั้นที่ 2 ขั้นการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นการประเมินผล (ตามสภาพจริง) ขั้นที่ 4 ขั้นนำความรู้ไปใช้ ขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ความรู้และเผยแพร่ผลงาน

แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้ 1. มีสถานการณ์ปัญหาเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิด กระบวนการเรียนรู้ และเป็นปัญหาที่ปรากฏในชีวิตจริง 2. เป็นการเรียนรู้โดยการนำตนเอง (Self-Directed Learning) ผู้เรียนคิดวางแผน เลือกวิธีการเพื่อค้นหา และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการประเมินผล

แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้ 3. จัดให้ผู้เรียนเรียนเป็นกลุ่มย่อย เพื่อให้เกิดการ ร่วมมือกันในการเรียนรู้ 4. เป็นการเรียนรู้ที่มีลักษณะการบูรณาการในการเรียนรู้ และใช้ทักษะกระบวนการต่างๆ ในการเรียนรู้ 5. ใช้กระบวนการประเมินผลตามสภาพจริง

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning/ PBL) 1. ขั้นกำหนดปัญหา 2. ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา 3. ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า 4. ขั้นการสังเคราะห์ความรู้ 5. ขั้นการสรุปและประเมินค่าของคำตอบ 6. ขั้นการนำเสนอและประเมินผลงาน

แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา เป็นการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดข้อสงสัย และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะแสวงหาคำตอบหรือความรู้ แล้วคิดหาวิธีการเพื่อบรรลุความต้องการดังกล่าว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะการสังเกต การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การตีความ และการสรุปความ ด้วยหลักตรรกะ/เหตุและผล ตามขั้นการเรียนรู้ที่เริ่มจากการปฏิบัติจริง ภาพความคิด และสัญลักษณ์ที่เป็นนามธรรม

ขั้นการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving) 1. ขั้นการกำหนดปัญหา 2. ขั้นตั้งสมมติฐาน 3. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล 4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล 5. ขั้นสรุปและประเมินผล

แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นการเรียนรู้ที่เสริมสร้างกระบวนการทางปัญญาของผู้เรียน โดยพิจารณาจากผลงานที่ผลิต กระบวนการที่จัดทำ ทักษะที่ใช้ปฏิบัติและบุคลิกภาพของบุคคล ซึ่งจำแนกเป็นความคิดสร้างสรรค์ด้านการเปลี่ยนแปลง ด้านการสังเคราะห์ ด้านการขยายแนวคิดและปรับเปลี่ยนจากสิ่งที่มีอยู่เดิม

แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Guilford ได้แก่ 1. การคิดคล่อง (Fluency Thinking) 2. การคิดยืดหยุ่น (Flexibility Thinking) 3. การคิดริเริ่ม (Originality Thinking) 4. การคิดละเอียดลออ (Elaborative Thinking)

แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Torrance ได้แก่ 1. ขั้นเริ่มต้นการคิด ที่เริ่มจากความต้องการ/พอใจ และรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความกระจ่างใน ปัญหาข้อสงสัยนั้น 2. ขั้นครุ่นคิด เพื่อหาแนวทาง/วิธีการแก้ปัญหา 3. ขั้นเกิดความคิดเพื่อหาคำตอบ 4. ขั้นปรับปรุงความคิดให้ชัดเจนสมบูรณ์

ทฤษฎีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์รูปแบบ AUTA 1. การตระหนัก (Awareness) 2. การสร้างความเข้าใจ (Understanding) 3. การใช้เทคนิคเสริมสร้างการคิด (Techniques) 4. การใช้ศักยภาพในการปฏิบัติจริง (Actualization)

แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในทัศนะของ Torrance 1. ส่งเสริมให้ใช้คำถาม 2. ให้ความใส่ใจในความคิดแปลกๆ ของผู้เรียน 3. กระตือรือร้นที่จะตอบคำถามของผู้เรียน 4. แสดงให้เห็นว่าความคิดของผู้เรียนนั้นมีคุณค่า 5. กระตุ้น/ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 6. ให้โอกาสและส่งเสริมการคิดอย่างอิสระ ต่อเนื่อง และใช้การเสริมแรงที่เหมาะสม

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน 1. ขั้นสร้างความตระหนัก (ให้เกิดการคิดจินตนาการ) 2. ขั้นระดมพลังความคิด (ให้สามารถคิดค้นหาคำตอบ) 3. ขั้นสร้างสรรค์ชิ้นงาน 4. ขั้นนำเสนอผลงาน (ใช้การคิดวิพากษ์/มีคุณธรรม) 5. ขั้นวัดประเมินผลงาน (เน้นการประเมินผลงาน ตนเองและผลงานผู้อื่นตามสภาพจริง) 6. ขั้นเผยแพร่ผลงาน

แนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ ของ Edward De Bono ใช้ในการพัฒนาทักษะการคิด อารมณ์และความรู้สึก 1. สีขาว หมายถึง ความเป็นกลาง แสดงการคิด เกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง 2. สีแดง หมายถึง ความรู้สึกอารมณ์โกรธ ความ ประทับใจ ความสนุกสนาน 3. สีดำ หมายถึง การมองอย่างระมัดระวัง การคิด/ แสดงออกอย่างสุขุม รอบคอบ

แนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ ของ Edward De Bono ใช้ในการพัฒนาทักษะการคิด อารมณ์และความรู้สึก 4. สีเหลือง หมายถึง การคิดในทางบวก จุดเด่น ประโยชน์ ความมั่นคง และการยอมรับ 5. สีเขียว หมายถึง ความคิดในการเปลี่ยนแปลงและ การสร้างสรรค์ 6. สีฟ้า หมายถึง การคิดอย่างเป็นระบบ มีการควบคุม และจัดการอย่างเป็นระบบ

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ ของ Edward De Bono จัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนใช้คำถามประกอบการเรียน ตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2. ขั้นดำเนินการสอน โดยจัดสถานการณ์หรือเหตุการณ์ให้ผู้เรียนใช้คำถามแต่ละแบบ ตามที่ตนได้รับมอบหมาย 3. ขั้นสรุป (ให้ผู้เรียนสรุปตามจุดประสงค์ของกิจกรรม) 4. ขั้นประเมินผล

แนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถภาพการเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม การใช้ปัญหาเป็นฐาน การสร้างองค์ความรู้ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1. ขั้นการเริ่มต้นโครงงาน (Beginning) 2. ขั้นพัฒนาโครงงาน 3. ขั้นสรุปโครงงาน (Culmination)

แนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ขั้นตอนปรับขยายในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1. ขั้นนำเสนอ (สำรวจสถานการณ์/ประเด็นปัญหา) 2. ขั้นวางแผนโครงงาน 3. ขั้นปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน 4. ขั้นประเมินโครงงาน

แนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ขั้นตอนปรับขยายในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1. ขั้นสำรวจและเลือกประเด็นโครงงาน 2. ขั้นวางแผนโครงงาน 3. ขั้นปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน 4. ขั้นทบทวนและนำเสนอความก้าวหน้าผลงาน ระยะแรก 5. ขั้นปฏิบัติกิจกรรมต่อเนื่องและสรุปผลระยะที่ 2

แนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ขั้นตอนปรับขยายในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6. ขั้นสรุปผลโครงงานระยะที่สอง 7. ขั้นขยายความรู้และนำผลไปประยุกต์ใช้ 8. ขั้นสรุปและประเมินผลระยะสุดท้าย

แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1. ขั้นจัดประสบการณ์ (ขั้นลงมือทำกิจกรรมจากสภาพจริง หรือสถานการณ์ที่จัดไว้ให้ผู้เรียนเลือก) 2. ขั้นนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 3. ขั้นอภิปรายผล 4. ขั้นสรุปพาดพิงสู่หลักการ (Generalizing) 5. ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้

องค์ประกอบที่ทำให้การเรียนรู้แบบร่วมมือประสบความสำเร็จ Positive Interdependence Group Process Individual Accountability Specific Tasks Social Skills

องค์ประกอบในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประเภทของกิจกรรม การรับรู้ถึงความสำคัญของเป้าหมาย ปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน ความคาดหวังเกี่ยวกับผู้เรียน การจัดชั้นเรียนและการประเมินผล ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสื่อ

ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 1. กำหนดบทเรียนที่จะสอน 2. กำหนดโครงสร้างของกลุ่มที่เหมาะสม 3. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียนและบทบาทการทำงาน 4. กำหนดแนวทางการติดตามงานและความก้าวหน้าของ ผู้เรียน

การแข่งขันกันของผู้เรียน การเรียนรู้รายบุคคลของแต่ละคน ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative Learning /Collaborative Learning) นักการศึกษาที่เผยแพร่แนวคิดนี้ ได้แก่ Slavin, David Johnson, Roger Johnson โดยเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่มีองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ การแข่งขันกันของผู้เรียน การเรียนรู้รายบุคคลของแต่ละคน การร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้

หลักการ/องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ 1. มีการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน (Positive interdependence) 2. มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (Face- to- face Promotive Interaction) 3. มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน (Individual Accountability) 4. มีการใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการ ทำงานกลุ่มย่อย (Interpersonal and Small-group Skills) 5. มีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (Group Processing)

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ 1. รูปแบบ JIGSAW 2. รูปแบบ STAD (Student Teams-Achievement Division) 3. รูปแบบ TAI (Team-Assisted Individualization) 4. รูปแบบ TGT (Team Games Tournament) 5. รูปแบบ L.T. (Learning Together) 6. รูปแบบ G.I. (Group Investigation) 7. รูปแบบ CIRC (Cooperative Integrated Reading and Composition) 8. รูปแบบ Complex Instruction

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ 1. รูปแบบ JIGSAW : 1. จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละกันตามความสามารถ เรียกว่า Home Group 2. มอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนศึกษางานแต่ละประเด็นที่เกี่ยวของกับงานกลุ่ม 3. สมาชิกแยกย้ายไปศึกษาหาความรู้กับสมาชิกกลุ่มอื่นที่เป็นกลุ่มเชี่ยวชาญ(Expert Group) 4. นำความรู้กลับไปเสนอให้เพื่อนสมาชิกไปเรียนรู้ร่วมกัน 5. สมาชิกแต่ละคนทดสอบความรู้และสรุปผลเป็นรายกลุ่ม

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2. รูปแบบ STAD (Student Teams-Achievement Division) : 1. จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ 2. ทำกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกัน สมาชิกแต่ละคนทำกิจกรรม/แบบฝึกหัด เก็บคะแนนไว้เป็นคะแนนพื้นฐานก่อนทำกิจกรรมและแบบฝึก 3. ทำแบบทดสอบครั้งสุดท้าย 4. วิเคราะห์คะแนนพัฒนาการโดยใช้เกณฑ์ที่เหมาะสม เช่น ไม่พัฒนาการ ได้ 0 คะแนน พัฒนาการ 1-5 ได้ 5 คะแนน พัฒนาการ 6-10 ได้ 10 คะแนน

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3. รูปแบบ TAI (Teams Assisted Individualized) : 1. จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ 2. ให้นักเรียนเก่ง-อ่อน จับคู่เพื่อศึกษาใบงานและทำแบบฝึกร่วมกัน โดยกำหนดเกณฑ์การผ่าน แบบฝึก 75% ถ้าผลการทำแบบฝึกยังไม่ผ่านให้ใช้ชุดเดิมหรือแบบฝึกชุดใหม่ที่ง่ายกว่า 3. ทำแบบทดสอบครั้งสุดท้าย และสรุปผลการเรียนเป็นความสำเร็จของกลุ่ม

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ 4. รูปแบบ LT (Learning Together) : 1. จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ 2. แบ่งหน้าที่ทำกิจกรรมใบงานโดยแบ่งหน้าที่ของสมาชิกแต่ละคน ตามความสนใจและเหมาะสม เช่น อ่านใบงาน จดบันทัก เขียนคำถาม เสนอความเห็น ตรวจให้คะแนนประเมินผลงาน หรือนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 3. ทำแบบทดสอบหลังเรียนเป็นรายบุคคล 4. สรุปผลการทดสอบเป็นคะแนนของกลุ่ม

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ 4. กลุ่มนำเสนอผลงานด้วยวิธีการที่เหมาะสม 5. รูปแบบ GI (Group Investigation) : 1. จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ 2. ทำกิจกรรมใบงานตามที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งประเด็นเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อย และมอบให้สมาชิกแต่ละคนตามความสนใจและความเหมาะสมไปศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่ครูจัดให้ หรือแหล่งอื่นๆ 3. นำผลการสำรวจค้นคว้าของสมาชิกแต่ละคน มาสรุปรวมเป็นผลงานของกลุ่ม 4. กลุ่มนำเสนอผลงานด้วยวิธีการที่เหมาะสม

การจัดการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (Learning Cycle) แบบ 5Es ในทัศนะของโครงการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยาในสหรัฐอเมริกา (BSCS) มีดังนี้ 1. ขั้นสร้างความสนใจ(Engagement Phase) 2. ขั้นสำรวจ (Exploration Phase) 3. ขั้นอธิบายความรู้ (Explanation Phase) 4. ขั้นขยายหรือประยุกต์ใช้ความรู้(Expansion Phase) 5. ขั้นประเมินผลความรู้(Evaluation Phase)

การจัดการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (Learning Cycle) แบบ 7Es ประกอบด้วย 1. ขั้นเตรียมความรู้พื้นฐาน (Eliciting Phase) 2. นำสร้างความสนใจ (Engagement Phase) 3. ขั้นสำรวจ (Exploration Phase) 4. ขั้นอธิบายความรู้ (Explanation Phase) 5. ขั้นคิดขยายความรู้(Elaboration Phase) 6. ขั้นประเมินผลความรู้(Evaluation Phase) 7. ขั้นนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Extension Phase)

การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA ขั้นทบทวนความรู้เดิม 2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ 3. ขั้นทำความเข้าใจข้อมูลความรู้ใหม่ เพื่อเชื่อมโยงกับความรู้เดิม 4. ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม 5. ขั้นสรุปและการจัดระเบียบความรู้ 6. ขั้นการปฏิบัติและแสดงผลงาน 7. ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้

ชนิด/แบบการเรียนรู้ของ Gagne ประกอบด้วย 8 แบบ แบบที่ 1 การเรียนรู้ด้วยสัญญาณ (Signal learning) เป็นการเรียนรู้ระดับพื้นฐานมีลักษณะที่ง่าย โดยผู้เรียนจะมีพฤติกรรมตอบสนองตามเงื่อนไขสัญญาณที่จัดให้ เช่น ลักษณะอาการหรือพฤติกรรมแสดงออกเมื่อเผชิญสิ่งเร้า หรือเหตุการณ์ที่มีอารมณ์แบบต่างๆ แบบที่ 2 การตอบสนองสิ่งเร้า (Stimulus response) เป็นพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนเมื่อได้ยินหรือรับรู้คำสั่ง คำขอร้องให้ปฏิบัติในสถานการณ์ต่างๆ

ชนิด/แบบการเรียนรู้ของ Gagne ประกอบด้วย 8 แบบ แบบที่ 3 การเคลื่อนไหวทางกายแบบต่อเนื่อง (Motor chains) เป็นการเชื่อมโยงทักษะทางกายที่ซับซ้อนของผลการตอบสนองสิ่งเร้าตั้งแต่ 2 ทักษะขึ้นไป เช่น การเขียนอักษรหรือพยัญชนะแต่ละตัวหรือเขียนเป็นคำหรือทักษะการเคลื่อนไหวด้านอื่น แบบที่ 4 ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของข้อความ (Verbal association) เป็นการเชื่อมโยงคำหรือความคิดตั้งแต่สองส่วนขึ้นไป เช่น การแปลความมายหรือคำข้อความสั้นๆ

แบบที่ 5 การจำแนกแบบหลายระดับ (Multiple discriminations) เป็นการตอบสนองในการนำเสนอแนวทางหรือวิธีการที่แตกต่างกัน และแจกแจงด้วยประเด็นที่ไม่เหมือนกันในแต่ละแนวทางหรือแต่ละวิธีการ เช่น การจำแนกความเหมือนและความต่างระหว่างหญ้ากับต้นไม้ แบบที่ 6 การสร้างความคิดรวบยอด (Concept learning) เป็นการนำเสนอผลการตอบสนองสิ่งเร้าตามแบบแผนลักษณะหรือสาระสำคัญของสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่เป็นนามธรรม

แบบที่ 7 การเรียนรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ (Rules learning) เป็นการเชื่อมโยงสถานการณ์ของสิ่งเร้าหรือความคิดรวบยอดตั้งแต่สองประเด็นขึ้นไปเพื่อนำมาใช้อธิบายเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ต้องการด้วยหลักการเหตุผล แบบที่ 8 การเรียนรู้ด้านการแก้ปัญหา (Problem solving learning) เป็นการเชื่อมโยงกฎหรือหลักการที่รู้เข้าใจแล้วมาใช้เป็นองค์ประกอบเพื่อแก้ปัญหาที่เผชิญในสถานการณ์การเรียนรู้

รูปแบบการสอนของ Gagne ประกอบด้วย 9 ขั้น ขั้นที่ 1. กระตุ้นและเสริมสร้างความสนใจของผู้เรียน ขั้นที่ 2. แจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบ ขั้นที่ 3. กระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม ขั้นที่ 4. นำเสนอสิ่งเร้าหรือเสนอเนื้อหาใหม่ ขั้นที่ 5. ให้แนวการเรียนรู้หรือจัดระบบข้อมูลให้มี ความหมาย

รูปแบบการสอนของ Gagne ประกอบด้วย 9 ขั้น ขั้นที่ 6. กระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เรียน ขั้นที่ 7. ให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อเสริมแรงแก่ผู้เรียน ขั้นที่ 8. ประเมินผลการแสดงออกของผู้เรียน เพื่อให้ทราบถึงการบรรลุจุดประสงค์ ขั้นที่ 9. เสริมสร้างความคงทนและการถ่ายโอน การเรียนรู้

แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT Learning Cycle) ในทัศนะของ Kolb เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์สองมิติ คือ การรับรู้ และกระบวนการจัดกระทำข้อมูล โดยการรับรู้ผ่านทางประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม และผ่านทางความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม จำแนกลักษณะผู้เรียน 4 กลุ่ม คือ (๑) ผู้เรียนที่ถนัดจินตนาการ (๒) ถนัดการวิเคราะห์ (๓) ถนัดการใช้สามัญสำนึก และ (๔) ถนัดในการปรับเปลี่ยน

ขั้นการจัดการเรียนแบบ 4MAT 1. ขั้นสร้างคุณค่าและประสบการณ์ที่เรียน 2. ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์ 3. ขั้นปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด 4. ขั้นการพัฒนาความคิดรวบยอด 5. ขั้นลงมือปฏิบัติจากกรอบแนวคิดตามที่กำหนด

ขั้นการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT 6. ขั้นสร้างชิ้นงานที่สะท้อนความเป็นตัวเอง 7. ขั้นวิเคราะห์คุณค่าและประยุกต์ใช้ 8. ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้กับผู้อื่น

รูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) ของ Eggen & Kauchak ประกอบด้วย 1. Assess Knowledge Relative The problem 2. Identify Additional Information Needed 3. Develop and Implement Plan to Gather New Information 4. Use New Knowledge in Problem Solving 5. ตรวจสอบการบรรลุวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหา

ขั้นการจัดการเรียนโดยใช้ทฤษฎี พหุปัญญา 1. ขั้นเตรียมการ โดยวิเคราะห์ผู้เรียน ออกแบบและจัดทำแผนการเรียน โดยจัดทำเป็นแผนบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในลักษณะที่เป็นหน่วยการเรียนรู้ 2. ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน การจัดกิจกรรมการเรียน ขั้นสรุป และวัดประเมินผล

การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน :BBL เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาสมองของนักเรียน โดยพัฒนาสมองทั้งสองซีกอย่างสมดุลและสอดคล้องกับระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน และกระบวนการคิดขั้นสูง โดยใช้วิธีการเรียนที่ส่งเสริมให้นักเรียนแสดงความสามารถด้านการคิด อาทิ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้แบบ4MAT การเรียนรู้โดยใช้พหุปัญญา การเรียนรู้แบบ Constructivism

ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ในทัศนะของ Dean 1. พื้นฐานการดำเนินชีวิตที่บ้าน 2. พื้นฐานทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม 3. ความแตกต่างด้านเพศของผู้เรียน 4. ความมั่นคงปลอดภัยในการเรียนรู้ 5. การจูงใจ

คุณลักษณะของการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ในทัศนะของ Dean 1. ครูจัดเตรียมการเรียนรู้ที่ดีมีคุณภาพ เป้าหมายชัดเจน 2. ผู้สอนมีโอกาสสัมผัส/มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนมากที่สุด 3. สร้างความคาดหวังในระดับสูงให้กับผู้เรียน 4. นำเสนอความรู้ให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการของผู้เรียน 5. จัดโครงสร้างของงานให้เหมาะกับระดับผู้เรียน 6. มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนและกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสม

คุณลักษณะของการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ในทัศนะของ Dean 7. ใช้คำถามระดับสูงเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาการคิด 8. มีการให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสม่ำเสมอทุกระยะ 9. ให้คำชมเชยและการเสริมแรงที่เหมาะสม 10. มีการบันทึกผลการเรียนและความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสม 11. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ดี/มีการสะท้อนผลการทำงานที่ดี และมีการประเมินความก้าวหน้าผู้เรียน

ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ในทัศนะของ Cooper & McIntyre 1. ครูจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ชัดเจน 2. ครูเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานกับบทเรียนใหม่ 3. จัดกิจกรรมเล่าเรื่องประกอบบทเรียน 4. ใช้วิธีการอ่านออกเสียงช่วยในการเรียนรู้ 5. สื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจโดยปรับขยายการใช้ภาษา6. ใช้การอธิบายด้วยคำพูดประกอบการอภิปรายและใช้คำถามที่นำไปสู่คำตอบที่ใช้การวิเคราะห์

ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ในทัศนะของ Cooper & McIntyre 7. สร้างแผนภูมิความรู้ประกอบการบันทึกช่วยความจำ 8. ใช้สื่อและภาพที่เป็นรูปธรรม ประกอบการอธิบาย 9. สร้างกรอบการเขียนและการนำเสนองานที่มีคุณค่า 10. ใช้รูปแบบการนำเสนอข่าวสารความรู้ตามกรอบที่ผู้เรียนจัดทำขึ้น 11. จัดกิจกรรมในรูปแบบของกลุ่มหรือจับคู่ฝึกทักษะทำงาน12. จัดแสดงละคร บทบาทสมมติ เอกสารใบความรู้/ใบงาน

แบบการสอนของครูที่เชื่อมโยงกับแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนในทัศนะของ Dean 1. แบบในสถานการณ์ที่สงบ และเป็นระเบียบ 2. แบบสถานการณ์อึกทึกวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ 3. แบบที่มีการวางแผนงานล่วงหน้า/ปล่อยให้เกิดขึ้นเอง4. แบบที่จัดเตรียมงานให้ผู้เรียนน้อยรายการหรือจัดไว้อย่างหลากหลาย 5. แบบที่เน้นการแข่งขันหรือการช่วยเหลือพึ่งพากัน

แบบการสอนของครูที่เชื่อมโยงกับแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนในทัศนะของ Dean 6. แบบที่เน้นความพิถีพิถันรอบคอบและความพยายามกับแบบที่แสดงออกถึงความตื่นเต้นทุกขณะ 7. แบบที่เน้นความสมบูรณ์แบบ กับแบบที่ง่ายสบาย 8. แบบที่ให้ความสำคัญกับเวลา กับแบบล่าช้านาทีสุดท้าย 9. แบบที่จัดเป็นกลุ่มใหญ่ กับแบบกลุ่มย่อย/รายบุคคล 10. แบบที่เน้นความเป็นทางการกับแบบไม่เป็นทางการ

การจัดการเรียนรู้ที่ดีควรมีลักษณะต่อไปนี้ 1. เข้าใจวิธีการเรียน/แบบการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความหลากหลายแตกต่างกัน 2. รู้และเข้าใจวิธีสอนแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับวิธี/แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน 3. เข้าใจวิธีการที่ผู้เรียนสร้างความคิดและประสบการณ์จากสถานการณ์จริงทางสังคม รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้ 4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะการคิดและแก้ปัญหา เกิดความรู้สึกท้าทายและกระตือรือร้นในการเรียนรู้

แนวคิดทฤษฎีด้านปัญญาที่ประสบความสำเร็จ(Theory of Successful Intelligence) 1. การใช้ความสามารถที่จำเป็นนำมาบูรณาการเพื่อทำให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายภายใต้บริบทที่ต่างกัน 2. การตระหนักถึงจุดเด่นหรือสิ่งที่ตนทำได้ดี รวมทั้งจุดอ่อนที่จะต้องชดเชย 3. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม 4. การสร้างความสมดุลในการใช้ความสามารถด้านการวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และการฝึกปฏิบัติ

การสร้างนิสัยการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ ที่รวบรวมจากผลการวิจัยของ Horace Mann ประกอบด้วย 1. มีความอดทนพยายามทำกิจกรรมต่อเนื่องตราบใดที่ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขจนบรรลุผล 2. ใช้การบริหารจัดการปัญหา ตามเกณฑ์เงื่อนที่ใช้บังคับ 3. รับฟังข้อมูลความเห็นจากบุคคลอื่นด้วยความตั้งใจและรู้สึกเห็นใจ 4. ฝึกการคิดแบบยืดหยุ่น 5. มีการคิดเกี่ยวกับลักษณะการคิดของตนเองซึ่งเรียกว่า Metacognition

การสร้างนิสัยการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ ที่รวบรวมจากผลการวิจัยของ Horace Mann 6. มีความมุ่งมั่นพยายามทำกิจกรรมที่มีความถูกต้องแม่นยำ 7. ถามคำถามและเสนอปัญหาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ 8. ประยุกต์ใช้ความรู้เดิมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เรียนรู้ใหม่ 9. คิดและสื่อสารด้วยวิธีการที่ชัดเจนและถูกต้องแม่นยำ 10. ฝึกรวบรวมข้อมูลผ่านประสาทการรับรู้ทุกด้าน 11. มุ่งเน้นการคิดสร้างสรรค์ และผลด้านนวัตกรรม

การสร้างนิสัยการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ ที่รวบรวมจากผลการวิจัยของ Horace Mann 12. มีการสนองตอบในประเด็นที่ข้อสงสัยและเป็นที่ยอมรับ 13. ปฏิบัติกิจกรรมที่มีความท้าท้ายและความเสี่ยงด้วยความรับผิดชอบ 14. เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีอารมณ์ขัน 15. มีโอกาสฝึกปฏิบัติในการคิดอย่างมีอิสระ 16. เสริมสร้างโอกาสและทางเลือกที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่องออกไปอีก

เงื่อนไขในการเรียนรู้ (Learning Conditions) มีปัจจัยแวดล้อมในชั้นเรียนจำนวนมากที่ส่งผลต่อความสามารถของผู้เรียนในด้านการเอาใจจดจ่อ เพื่อซึมซับและเกิดความคงทนในการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร Rita Dunn and Kenneth Dunn ได้วิเคราะห์เงื่อนไขในการเรียนรู้ของผู้เรียนพบว่า (1) มีความชอบที่จะให้จัดสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม รวมทั้งจัดตกแต่งห้องเรียนด้วยอุปกรณ์ที่ได้เลือกสรรไว้อย่างดีแล้ว

(2) ด้านอารมณ์ของผู้เรียนแต่ละบุคคล มีความเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ การมอบหมายความรับผิดชอบ และความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ (3) ความต้องการด้านสังคมของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้ความสำคัญ/สนใจกับตัวเอง เพื่อน/กลุ่ม ผู้ใหญ่และการเชื่อมต่อประสานกับบุคคลอื่น (4) ผู้เรียนแต่ละบุคคลมีความต้องการทางกาย ต้องการที่จะเคลื่อนไหว การใช้เวลาในแต่ละวัน ท่วงทำนองการเคลื่อนไหวของชีวิตที่เอื้อต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างเงื่อนไขการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเลือกกระทำ ได้แก่ 1 ตัวอย่างเงื่อนไขการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเลือกกระทำ ได้แก่ 1. ผู้เรียนเรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีความเงียบ 2. มีใจจดจ่อในการเรียนเมื่อมีอุณหภูมิอากาศเย็นสบาย 3. ชอบที่จะทำหรือประดิษฐ์สิ่งของด้วยมือตนเอง 4. มีความลำบากที่จะทนนั่งในที่เดิมติดต่อกันในเวลานาน 5. เรียนได้ดีที่สุดเมื่อนั่งที่โต๊ะเรียน 6. สิ่งที่จดจำได้ดีที่สุดคือข้อมูลข่าวสารที่ตนได้อ่าน 7. สามารถที่จะเมินเฉยต่อเสียงรบกวนขณะที่เรียน 8. ชอบที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง 9. สิ่งที่จดจำได้ดีที่สุดคือสิ่งที่รับรู้โดยการได้ยิน 10. สามารถทำการบ้านได้ดีในเวลาบ่าย

รูปแบบการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment) 1. เตรียมข้อมูลให้ผู้เรียนฝึกจำแนก 2. กำหนดข้อตกลงในการทำกิจกรรม 3. เสนอตัวอย่างมโนทัศน์ที่ต้องการสอนและ ที่ไม่ใช่ตัวอย่าง 4. ให้ผู้เรียนระบุคุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์นั้น 5. ผู้เรียนสรุปและให้คำจำกัดความของมโนทัศน์ 6. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายร่วมกันใน กระบวนการคิดหาคำตอบ

รูปแบบการสอน Concept โดยใช้ Deductive and Inductive Approach Deductive Approach ประกอบด้วย ขั้นที่ 1. ครูระบุชื่อและอธิบายความคิดรวบยอด ขั้นที่ 2. ผู้เรียนระบุคุณลักษณะสำคัญของความคิดรวบยอด ขั้นที่ 3. ผู้เรียนยกตัวอย่างประกอบความคิดรวบยอดนั้น ขั้นที่ 4. ผู้เรียนตั้งชื่อความคิดรวบยอดและนิยามความหมายความคิดรวบยอดนั้น

รูปแบบการสอน Concept โดยใช้ Inductive Approach มีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1. ครูกำหนดประเด็นความคิดรวบยอดและผู้เรียนนำเสนอตัวอย่างประกอบที่หลากหลาย ขั้นที่ 2. ผู้เรียนระบุคุณลักษณะร่วมและข้อแตกต่างของความคิดรวบยอดผ่านสมมุติฐาน ขั้นที่ 3. ผู้เรียนสรุปสาระของความคิดรวบยอด ขั้นที่ 4. ผู้เรียนตั้งชื่อความคิดรวบยอดและนิยามความหมายของความคิดรวบยอดนั้น

ความสามารถด้านภาษา (Verbal/Linguistic Intelligence) เป็นความสามารถในการใช้คำและภาษาทั้งในการพูดและเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการสร้างงานเขียนในลักษณะต่าง ๆ ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง และอื่น ๆ การพูดโน้มน้าวใจให้คล้อยตาม การใช้ภาษาเพื่อการอธิบาย การใช้ภาษาเพื่อบอกเล่าประสบการณ์ ส่วนของสมองที่ควบคุมด้านนี้ คือ ส่วน Left temporal lobes และ Frontal lobes ผู้มีความสามารถด้านนี้มักจะประกอบอาชีพเป็น นักเขียน นักการเมือง นักเล่าเรื่อง นักพูด นักประพันธ์ ฯลฯ

ความสามารถด้านการใช้เหตุผลและการคิดเลข (Logical/Mathematics intelligence) เป็นความสามารถในการคิดอย่างสมเหตุสมผล การมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ อย่างชัดเจน การคิดคำนวณ การทดสอบสมมติฐาน ส่วนของสมองที่ควบคุมความสามารถด้านนี้ คือส่วน Left parietal lobes และ right hemisphere ผู้มีความสามารถด้านนี้มักจะประกอบอาชีพเป็น นักสถิติ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ วิชาชีพที่ใช้หลักความเป็นเหตุและผล ฯลฯ

(Musical / Rhythmic Intelligence) ความสามารถด้านดนตรี (Musical / Rhythmic Intelligence) เป็นความสามารถในการรับรู้เสียงดนตรี การแสดงออก การแยกเสียงดนตรี การแต่งเพลง การเข้าใจสีสันของดนตรี ส่วนของสมองที่ควบคุมความสามารถด้านนี้ คือ ส่วน right temporal lobes ผู้มีความสามารถด้านนี้มักจะประกอบอาชีพเป็นนักดนตรี นักร้อง นักประพันธ์เพลง

ความสามารถด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Body / Kinesthetic Intelligence) เป็นความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ หรือมือในการทำงาน เช่น นักกีฬา ศัลยแพทย์ ช่างฝีมือ หรือใช้ร่างกาย ในการแสดงออกถึงความรู้สึก เช่น นักแสดง นักเต้นรำ ส่วนของสมองที่ควบคุมความสามารถด้านนี้ คือ Cerebrellum, Basal ganglia และ Motor Cortex ความสามารถทางด้านนี้มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะที่ต้องใช้เกี่ยวข้องกับการทรงตัว ใช้ความแข็งแรง ทนทาน ความยืดหยุ่น และความรวดเร็ว

ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (Visual / Spatial Intelligence) เป็นความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับทิศทาง ตำแหน่ง รูปร่าง รูปทรง เส้น และสี ส่วนของสมองที่ควบคุมความสามารถด้านนี้ คือ ส่วน posterior region of right hemisphere ผู้มีความสามารถด้านนี้มักจะประกอบอาชีพเป็นไกด์ ศิลปิน มัณฑนากร สถาปนิก ฯลฯ

ความสามารถด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Intelligence) เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของบุคคลอื่นจากสิ่งที่เขาได้แสดงออกจากสีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียง และสามารถแสดงพฤติกรรมโต้ตอบได้อย่างเหมาะสม และเป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เมื่อประสบกับภาวะที่ไม่พอใจ จนทำให้แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม ส่วนของสมองที่ควบคุมความสามารถด้านนี้ คือ temporal lobes และ frontal lobes ผู้มีความสามารถด้านนี้มักจะประกอบอาชีพที่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น หรือต้องทำงานร่วมกับบุคคลอื่น

ความสามารถด้านการรู้จักตนเอง (Intrapersonal Intelligence) เป็นความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ของตนเองทั้งอารมณ์ในภาวะต่าง ๆ ความตั้งใจ แรงจูงใจ ความสามารถของตนเองในด้านต่าง ๆ และความสามารถในการนำข้อมูลเกี่ยวกับตนเองมาปรับใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งการทำงาน ความขัดแย้ง การเล่นและการติดต่อกับบุคคลอื่น ส่วนของสมองที่ควบคุมความสามารถด้านนี้ คือ ส่วน frontal lobes parietal lobes และ limbic system ผู้มีความสามารถด้านนี้มักจะประกอบอาชีพที่ต้องทำงานคนเดียว เช่น เป็นเจ้าของกิจการ

ลักษณะสำคัญของพหุปัญญา 1. ทุกคนมีปัญญาทั้ง 7 ด้าน 2. ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้น ถึงระดับที่ใช้การได้ 3. ปัญญาด้านต่าง ๆ ในตัวบุคคลจะทำงานร่วมกันด้วยวิธีการที่ซับซ้อน 4. ปัญญาแต่ละด้านจะมีการแสดงความสามารถ หลายทาง

EQ : EMOTIONAL QUOTIENT ความสามารถทางอารมณ์ เชาว์อารมณ์ สุขภาพอารมณ์ เชาว์นสมาธิ สติอารมณ์ อารมณ์อัจฉริยะ ปัญญาของอารมณ์ ไอคิวของอารมณ์ ทักษะทางอารมณ์ ความฉลาดรู้ทางอารมณ์ วุฒิภาวะทางอารมณ์

ความหมาย ความสามารถในการรับรู้ และแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมรวมถึงการรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นและสามารถจัดการทางด้านอารมณ์ให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต

EQ จึงเป็นตัวบ่งชี้ความสุขและความสำเร็จของชีวิต งานได้ผล คนก็เป็นสุข การปรับตัว ครองตน ครองคน ครองงาน EQ และ IQ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน แต่จะเสริมและเกื้อกูล / เอื้อต่อกัน

แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ 1. ฝึกให้เด็กรู้คุณค่าความสำคัญของตนตามสภาพ ความเป็นจริง 2. รู้จักแยกแยะอารมณ์ของตนเองว่าดีหรือไม่ดี เพราะอะไร 3. รู้จักปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน บ้าน หน่วยงาน และสังคมที่ถูกต้องเหมาะสม 4. ฝึกให้รู้จักธรรมชาติอารมณ์ของตน 5. ฝึกการจัดการอารมณ์ของตนด้วยวิธีการที่เหมาะสม

6. ฝึกการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม 7. ฝึกระงับอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ 8. ฝึกสร้างแรงจูงใจให้กับตน 9. ฝึกวิเคราะห์อารมณ์โกรธของเพื่อน 10. ฝึกสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 11. ให้ความรักความอบอุ่น และตอบสนองต่อ ความต้องการของเด็กให้ถูกหลัก 12. พูดกับเด็ก อ่านหนังสือ ร้องเพลงให้เด็กฟัง

13. ฝึกเด็กให้รู้จักกิจวัตรประจำวันที่สม่ำเสมอ 14 13. ฝึกเด็กให้รู้จักกิจวัตรประจำวันที่สม่ำเสมอ 14. ส่งเสริมให้เด็กเล่นหรือเรียนด้วยความอยากรู้ อยากเห็นอย่างปลอดภัย 15. เลือกรายการ ทีวีให้ดูอย่างเหมาะสม 16. ฝึกความมีระเบียบวินัยให้กับเด็กที่เหมาะสม 17. ฝึกทักษะในการแก้ปัญหาด้วยตนเองของเด็กให้มาก 18. จัดกิจกรรมให้เหมาะกับความแตกต่างระหว่างบุคคล 19. เอาใจใส่ในตัวเด็กอย่างทั่วถึง และปฏิบัติต่อตัวเด็ก ด้วยความเป็นธรรม

กิจกรรมการออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมและมีคุณภาพ ควรมีลักษณะดังนี้ 1. การเขียนจุดประสงค์ฯ 2. การจัดระบบระเบียบเนื้อหา 3. การวิเคราะห์งานการเรียนรู้ 4. การเข้ารหัสและถอดรหัสองค์ความรู้ 5. การกำหนด/ระบุเงื่อนไขสำหรับการเรียนรู้ 6. การออกแบบ/เสริมสร้างความก้าวหน้าและวิธีการเรียนรู้รายบุคคล 7. การประเมินผลการเรียนรู้

องค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ 1. ผู้เรียน 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 3. วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4. วิธีการวัดและประเมินผล (Jerrold E. Kemp)

องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของแผนการเรียนรู้ที่ได้รับการออกแบบอย่างสมบูรณ์ มีลักษณะดังนี้ 1. ประเมินความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ ประกอบการออกแบบบทเรียน ได้แก่ การกำหนดเป้าหมาย เงื่อนไขข้อจำกัดในการเรียนรู้ และลำดับความสำคัญของเนื้อหา กิจกรรมที่ต้องเรียนรู้ 2. เลือกหัวข้อ/กิจกรรม/งานที่จะปฏิบัติและระบุเป็นตัวบ่งชี้เป้าหมายการเรียนรู้ 3. ตรวจสอบคุณลักษณะของผู้เรียนตามที่มุ่งหวังพัฒนาให้เกิดขึ้นจากการเรียนรู้

องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของแผนการเรียนรู้ที่ได้รับการออกแบบอย่างสมบูรณ์ มีลักษณะดังนี้ 4. ระบุเนื้อหาวิชาและวิเคราะห์องค์ประกอบงานที่สัมพันธ์กับเป้าหมายและจุดประสงค์ 5. เขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการบรรลุ ในรูปของเนื้อหาวิชาและองค์ประกอบของงาน 6. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการทำให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่เขียนไว้

7. เลือกสรรทรัพยากร/แหล่งเรียนรู้สำหรับใช้สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของแผนการเรียนรู้ที่ได้รับการออกแบบอย่างสมบูรณ์ มีลักษณะดังนี้ 7. เลือกสรรทรัพยากร/แหล่งเรียนรู้สำหรับใช้สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ 8. ระบุกิจกรรม/สิ่งสนับสนุนสำหรับใช้เสริมสร้างการพัฒนาการเรียนรู้ 9. เตรียมการประเมินผลการเรียนรู้และผลของบทเรียนตามแผน 10. จัดเตรียมการทดสอบความรู้ผู้เรียนก่อนเรียน