งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ
Assoc. Prof. Dr. Rachanee Sunsern Faculty of Health Sciences, Mae Fah Luang University Assist. Prof. Dr. Wannarat Lawang Faculty of Nursing, Burapha University Dr. Pilasinee Wongnuch

2 บันได 9 ขั้นของกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ
9. สร้างข้อสรุปที่เป็นสาระหลักเพื่อตอบโจทย์วิจัย 8. เชื่อม โยงข้อมูลเพื่อหาแบบแผนและความหมาย 7. แยก แยะและจัดกลุ่มข้อมูล 6. ให้รหัสข้อมูล 5. อ่านทำความเข้าใจและจับประเด็น 4. บันทึกข้อมูลและจัดการแฟ้มข้อมูล 3. เก็บรวบรวมข้อมูล 2. ออกแบบการวิจัย รวมทั้งวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล 1. สกัดโจทย์หรือคำถามการวิจัย

3

4

5

6

7

8

9 ชื่อเรื่อง ทีม คำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย รูปแบบการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (เป็นใคร คุณสมบัติ เข้าถึงได้อย่างไร) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่เราใช้ในการเก็บ

10 เรา...จะเดินไปด้วยกัน ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
วิธีการ/เครื่องมือ

11 ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิธีการ/เครื่องมือ

12

13 แครอท ไข่ เม็ดกาแฟ

14 ตั้งหม้อต้มน้ำทั้งหมด 3 ใบ

15 จากนั้นใส่แครอทลงในหม้อใบแรก

16 ใส่ไข่ไก่ในหม้อใบที่สอง

17 ใส่เม็ดกาแฟที่บดละเอียดแล้วในหม้อใบที่สาม

18 ปล่อยให้ต้มทั้งหมด 15 นาที จากนั้นนำสิ่งที่ได้จากการต้มออกมา

19 ไข่ซึ่งก่อนต้มมีเนื้อในที่อ่อนเหลว บัดนี้เนื้อในกลับแข็ง
แครอทซึ่งก่อนต้มมีเนื้อแข็ง กลับนิ่มลง ไข่ซึ่งก่อนต้มมีเนื้อในที่อ่อนเหลว บัดนี้เนื้อในกลับแข็ง

20 บัดนี้ผงกาแฟได้สลายไปแล้ว
แต่น้ำที่ใช้ต้มกลับมีสี และกลิ่นหอมของกาแฟ

21 เปรียบได้กับชีวิตของคนเรา
ซึ่งไม่ได้ง่ายเสมอไป และไม่ได้ราบรื่นอยู่เสมอ บางครั้งชีวิตก็มีอุปสรรค

22 และเมื่อพบกับอุปสรรค เราจะเป็นอย่างไร
อาจมีบางอย่างที่ไม่เป็นไป ตามที่เราคาดหวัง อาจมีใครที่เขาไม่ปฏิบัติกับ เราอย่างที่เราอยากให้เขาทำ เราอาจจะทำงานหนักแต่ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ และเมื่อพบกับอุปสรรค เราจะเป็นอย่างไร

23 ลองคิดกลับไปที่เรื่องหม้อต้มน้ำ
น้ำเดือดเปรียบเสมือนอุปสรรคในชีวิตของคนเรา

24 เราอาจจะเป็นเหมือนแครอท
ที่ก่อนจะพบกับอุปสรรค มีความเข้มแข็ง และยืนหยัด แต่หลังจากพบกับอุปสรรคแล้ว กลับอ่อนแอปวกเปียก

25 จงอย่าเป็นเหมือนแครอท
รู้สึกเหนื่อยล้า สิ้นหวัง และล้มเลิกความตั้งใจ หมดสิ้นความพยายาม ที่จะต่อสู้ต่อไป จงอย่าเป็นเหมือนแครอท

26 ที่เริ่มต้นด้วยจิตใจที่ อ่อนโยนและอ่อนไหว
เราอาจเป็นเหมือนไข่ ที่เริ่มต้นด้วยจิตใจที่ อ่อนโยนและอ่อนไหว แต่สุดท้ายกลับกลายเป็น คนที่แข็งกร้าน ไร้ความรู้สึก

27 จงอย่าเป็นเหมือนไข่ เกลียดชังผู้อื่น ไม่ชอบตัวเอง
กลายเป็นคนที่ไร้หัวใจ ไร้ความรู้สึกที่อ่อนโยน มีแต่ความขมขื่น จงอย่าเป็นเหมือนไข่

28 แต่ผงกาแฟกลับ ทำให้น้ำเปลี่ยนไป เราอาจจะเป็นเหมือนเม็ดกาแฟ
น้ำเดือดไม่ได้ เปลี่ยนผงกาแฟ แต่ผงกาแฟกลับ ทำให้น้ำเปลี่ยนไป

29 น้ำเปลี่ยนไปเพราะผงกาแฟ
ทั้งสี กลิ่น และรสชาติ น้ำยิ่งร้อน กาแฟก็ยิ่งมีรสชาติดีขึ้น

30 เราอาจเลือกเป็นเม็ดกาแฟ
เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รู้จักที่จะใช้ประโยชน์จากอุปสรรคที่เราประสบ

31 สร้างสมความรู้ ทักษะ และความสามารถใหม่ๆ มีประสบการณ์มากขึ้น

32 ทำให้สิ่งแวดล้อมรอบข้างดีขึ้น

33 การที่เราจะประสบความสำเร็จได้ เราต้องพยายามอย่างไม่ลดละ
การที่เราจะประสบความสำเร็จได้ เราต้องพยายามอย่างไม่ลดละ ต้องเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่เราทำ ไม่ย่อท้อ มีความอดทน และพากเพียรพยายาม ปัญหา อุปสรรค handle with care

34 จงระลึกไว้เสมอว่าปัญหาและอุปสรรค
ทำให้เราเข้มแข็งขึ้น เก่งขึ้น และแกร่งกล้าขึ้น

35 การตรวจสอบสามเส้า (Triangulation)
ตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งที่มา... 1) หลายๆ คน 2) หลายๆ กลุ่ม (Investigation Triangulation) ตรวจสอบข้อมูลจากนักวิจัย... 1) หลายคนร่วมสังเกตสิ่งเดียวกัน 2) หลายคนที่ร่วมแปลความ ตรวจสอบข้อสรุปจากการเปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่นที่ทำ...เรื่องคล้ายคลึงกันบันทึกสาเหตุและเหตุผล แนวทางในการมองปัญหาของผู้วิจัยอย่างชัดเจน ตรวจสอบข้อสรุปจากผู้เชี่ยวชาญ...หลายๆ คน

36 สาระพามาคุย หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การจัดการและการเตรียมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การเชื่อมโยงข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป การประยุกต์สู่การปฏิบัติ

37 หลักการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

38 การศึกษาเชิงปริมาณ – ตีความ/ให้ความหมายจากตัวเลขหรือผลทางสถิติ
การศึกษาเชิงคุณภาพ - ตีความ/ให้ความหมายจากคำอธิบายที่อยู่เบื้องหลังตัวอักษร ถ้อยคำข้อความ พยายามทำความเข้าใจว่าถ้อยคำ หรือข้อความเหล่านั้นมีความหมายหรือคำอธิบายว่าอย่างไร

39 The Analysis Continuum
Raw Data Descriptive Statements Interpretation การวิเคราะห์ข้อมูลในวิจัยเชิงคุณภาพ... เป็น...กระบวนการจัดระเบียบข้อมูลที่ได้มาและสรุปตีความ เกิดขึ้น...อย่างต่อเนื่องพร้อมๆ กับการเก็บข้อมูล มีการวิเคราะห์ตีความอยู่ตลอดเวลา (เริ่มดำเนินไปเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดการวิจัย) เพื่อ...ตอบประเด็นที่ต้องการรู้หรือสงสัย (บอกอะไร อย่างไร)

40 กรอบเบื้องต้นของการวิเคราะห์แบบย้อนกลับ
4. เริ่ม เริ่ม กระบวนการ วิเคราะห์ย้อนกลับ แนวคำถาม 1. 2. 3. 5. 6. วัตถุประสงค์ เก็บข้อมูล และ วิเคราะห์ ข้อมูล คำถำม/ โจทย์วิจัย กรอบเบื้องต้นของการวิเคราะห์แบบย้อนกลับ กาญจนา ตั้งชลทิพย์, 2560

41 การวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมไปกับการเก็บ
เก็บข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล แยกแยะ และจัดหมวดหมู ค้นหาความสัมพันธ์เชื่อมโยง อธิบาย/ตีความ สรุป (ข้อมูลอิ่มตัว)

42 การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
การจำแนกชนิดข้อมูล-จำแนกข้อมูลเป็นชนิด การเปรียบเทียบข้อมูล-นำข้อมูลมาเทียบปรากฎการณ์โดยจัดชุดเหตุการณ์ (5W1H) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา-วิเคราะห์คุณสมบัติของส่วนประกอบของข้อมูลแต่ละชุด

43 ความหมายการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
การวิเคราะห์เนื้อหา มีหลากหลายแนวทางด้วยกัน แต่หลักเกณฑ์ที่เป็นแกนกลาง และ ใช้ได้ในทุกสถานการณ์ คือ แนวทางที่เรียกว่าวิธีอุปนัย (inductive approach) หลักสำคัญของการวิเคราะห์เนื้อหาคือ การหาความหมาย/คำอธิบายรูปแบบของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น หรือขั้นตอนที่สำคัญ

44 What is the content? What is the analysis?
Information to be explored, learned that include: facts, concepts, key ideas, values, principles, theories, models, etc Skills, procedures Experiences What is the analysis? The process of breaking down a whole into pieces, parts, elements, or components.

45 What is Content Analysis (CA)?
…is a process of breaking down, structuring the kind of learning experiences that the researcher expects the participants to know how to perform. Content analysis Concepts Relations

46 หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
1. การหาแบบแผน (pattern-matching) เป็นการหาข้อมูลซ้ำๆ ในเรื่องเดียวกัน ทิศทางเดียวกัน…จนเป็นแบบแผนขึ้นแบบแผนจะเห็นได้ชัดจากการที่ข้อมูลจากหลายแหล่ง หลายคน โดย อ่านข้อมูลดิบ เพื่อทำความเข้าใจ จับประเด็น สรุปสาระหลักที่ได้ในแต่ละราย แยกแยะ จัดกลุ่มข้อมูล และเชื่อมโยงข้อมูลที่สามารถจับกลุ่มกันได้ อาจมีหลายแบบแผน (พฤติกรรม/สถานการณ์)

47 2. การให้คำอธิบาย (explanation-building)
เป็นการทำความเข้าใจว่าแบบแผนที่พบในขั้นตอนแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม/ปรากฏการณ์นั้นๆ บ้าง (ปรากฏการณ์นั้นเกี่ยวข้องกับปัจจัย/ปรากฏการณ์อื่น) ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับคำถามวิจัย จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ รวมถึงการเตรียมพร้อมของผู้วิจัย

48 ระดับการตีความ/ให้คำอธิบายในการศึกษาเชิงคุณภาพ
ระดับที่ 1: หาเหตุผลของความเชื่อ/การปฏิบัติที่อธิบาย...โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเอง ระดับที่2: หาคำอธิบายเชิงลึกถึงเงื่อนไขที่แผงอยู่...โดยใช้ทักษะและความเชี่ยวชาญของผู้วิจัย วรรณกรรม และประสบการณ์ ที่มีมาก่อน รวมทั้งจากทฤษฎีต่างๆ ระดับที่ 3: ใช้แนวคิด/ทฤษฎีที่มีอยู่แล้วอธิบายปรากฏการณ์ ระดับที่ 4: พัฒนาทฤษฎีใหม่ หรือ ปรับทฤษฏีที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างแบบจำลองเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ กาญจนา ตั้งชลทิพย์, 2560

49 แนวทางการวิเคราะห์เนื้อหา
เป็นการนำเอาชิ้นส่วนข้อมูลย่อยๆ มาพิจารณาต่อกันให้เป็นรูปร่าง หรือเป็นรูปภาพที่สมบูรณ์ โดย นำเอาข้อมูล (data) มาแยกแยะ จัดกลุ่ม เพื่อให้เกิดเป็นแนวความคิด (concepts) นำแนวความคิดเหล่านั้น มาแยกแยะ จัดกลุ่ม และรวมกัน เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ (relationships) หรือรูปภาพที่สมบูรณ์ที่ใช้อธิบายและตอบคำถามการศึกษาวิจัย

50 แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การเปิดรหัส (open coding) การหาแก่นของรหัส (axial coding) การเลือกรหัส (selective coding) การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (development of a logic paradigm)

51 1. การเปิดรหัส (open coding)
ตามหลักการเชิงอุปมาน (inductive) เป็นการนำเอาข้อมูลที่รวบรวมได้จากแหล่งต่างๆ (การสัมภาษณ์ การสังเกต การบันทึก และการสนทนากลุ่ม) มาจำแนกเป็น “หมวด” (category/theme) รวมหมวดกันให้เป็นกลุ่มที่มีความหมาย (meaningful groups) หมวดหลัก (core categories) หมวดย่อย (sub-categories) อาจประกอบด้วย “คุณลักษณะ” (attributes or characteristics) ด้วยก็ได้ * สามารถกำหนดหมวดหลักและหมวดย่อยได้หลายหมวด

52 2. การหาแก่นของรหัส (axial coding)
เป็นการเลือก (select) หมวดหลักมากำหนด “ปรากฏการณ์หลัก” (core phenomenon) กำหนดความสัมพันธ์ของหมวดหลักอื่นที่เหลือเข้ากับปรากฏการณ์หลัก บางหมวดเป็นการกระทำ (action) หรือมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) ที่เกิดขึ้น จนเป็นผลจากปรากฏการณ์หลักนั้น บางหมวดเป็นเงื่อนไขเชิงสาเหตุ (causal conditions) ที่ส่งผลต่อปรากฏการณ์หลัก บางหมวดเป็นเงื่อนไขเชิงสถานการณ์ที่มีอิทธิพลต่อการกระทำ/ปฏิสัมพันธ์ ได้แก่ เงื่อนไขเชิงบริบท (contextual conditions) ที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เงื่อนไขสอดแทรก (intervening conditions) ที่มีลักษณะกว้างขึ้น บางหมวดเป็นผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้น (consequences) จากการการกระทำ/ปฏิสัมพันธ์

53 3. การเลือกรหัส (selective coding)
เป็นการเลือกรูปแบบความสัมพันธ์ที่จัดทำได้ในขั้นตอนการหาแก่นของรหัส (axial coding) สามารถนำกรอบแนวแนวคิดตอนต้นมาพิจารณาร่วม 4. การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุผล เป็นอธิบายถึง “กระบวนการ” ตามประเด็นของการวิจัย สามารถตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุผล โดยผู้ทรงคุณวุมิ ทำให้ได้ ข้อสรุป (conclusion) ทฤษฎี (theory)

54 กรอบแนวคิด (แบบหลวมๆ)
สภาพร่างกายผู้ดูแล –เกิดโรคใหม่ -โรคเก่ากำเริบ -กิจวัตรเปลี่ยนแปลง กรอบแนวคิด (แบบหลวมๆ) สภาพจิตใจ –เครียด -ซึมเศร้า -เบื่อหน่าย ผลกระทบต่อผู้ดูแล ด้านเศรษฐกิจ –การประกอบอาชีพ -รายได้ ด้านจิตวิญญาณ –การทดแทนบุญคุณ -เวรกรรม

55 การจัดการและการเตรียม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

56 การเตรียมข้อมูล แกะออกมาทุกคำพูดที่บันทึกเทป
พยายามเขียนบันทึกข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ที่เทปไม่ได้บันทึกไว้ จัดกลุ่มข้อมูลจากการถอดเทป จัดรูปแบบการเรียบเรียงข้อมูลที่ถอดจากเทป (นิยมเนื้อที่ด้านขวาสุดของกระดาษ หรือตาราง) พิจารณาเรื่องจรรยาบรรณ: การรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล

57 ขั้นตอนของการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
อ่านและจับประเด็น :อ่านข้อมูลดิบอย่างละเอียด จนเข้าใจและจับประเด็นหลักๆ ได้ เปลี่ยนประเด็นเป็นรหัส : เปลี่ยนประเด็นหลักเหล่านั้นให้เป็นรหัส (หรือสาระโดยสรุปของแต่ละข้อความ) ไว้ท้ายข้อความ จัดกลุ่มข้อมูล : แยกแยะจัดกลุ่มข้อมูล รวมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลที่สามารถจับกลุ่มสาระ (ความหมาย) หรือแนวคิด (concept) ได้ เชื่อมโยงแนวคิด: เชื่อมโยงแนวคิดต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อหาแบบแผนความสัมพันธ์/แนวเรื่อง (theme) หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขยายความเชื่อมโยง : ขยายขอบข่ายของความเชื่อมโยง เพื่อให้เห็นภาพรวมของเรื่องหรือปรากฏการณ์ที่ศึกษา หาความหมาย: ตีความและหาความหมายหรือ คำอธิบายของแบบแผนความสัมพันธ์/ปรากฏการณ์ หาข้อสรุป: หาข้อสรุปที่เป็นสาระหลักของผลการวิเคราะห์ ตีความ และการหาความหมาย

58 References Andrew S. & Halcomb E.J. (2007) mixed methods research is an effective method of enquiry for community health nursing. Contemporary Nurse, 23, 145–153. Andrew S. & Halcomb E.J. (2009). mixed methods research for nursing and the health sciences. Blackwell Publishing . Creswell J.W. (2009) Research Design: Qualitative, Quantitative and mixed methods Approaches. Thousand Oaks, California: Sage Publications. Creswell J.W., Plano Clark V.L., Gutmann M.L. & Hanson W.E. (2003) Advanced mixed methods research designs. In Tashakkori A. & Teddlie C. (eds.) Handbook of mixed methods in Social and Behavioral Research, pp. 209–240. Thousand Oaks, California: Sage Publications. Mack, N., Woodsong, C., MacQueen, K. M., Guest, G., & Namey, E. (2005). Qualitative research methods: A data collectors field guide. Maxwell, J.A. (2008). Qualitative Research Design: An Interactive Approach Thousand Oaks, CA: Sage Nettleton S. & Watson J. (1998) Introduction. In Nettleton S. and Watson J. (eds.) The Body in Everyday Life, pp. 1–24. London: Routledge. Shilling C. (2003) The Body and Social Theory. London: Sage Publications. กาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2560). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. การอบรมระยะสั้น ปี 2560 การวิจัยเชิงคุณภาพ” วันที่ มีนาคม 2560 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา


ดาวน์โหลด ppt การวเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google