การจัดการการผลิตและการปฎิบัติการ Production and Operations Management อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ
บทที่ 1 ประวัติความเป็นมา และ การวางแผนการผลิต(Production Planning) อ.วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี
ทำไมจึงต้องศึกษาการจัดการการปฏิบัติการ ? ความสำคัญของการจัดการการปฏิบัติการ OM เป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่หลัก 3ประการ (การตลาด การผลิต การเงิน) ศึกษา OM เนื่องจากต้องการทราบวิธีการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อดำเนินการผลิตสินค้าให้คนในสังคม ศึกษา OM เพื่อให้เกิดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายและเอื้อต่อการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อตำแหน่งที่สูงขึ้นของพนักงาน OM เป็นส่วนที่มีต้นทุนสูงขององค์กร โดยหากมีการจัดการที่เหมาะสม องค์กรมีโอกาสที่ได้รับกำไรสูงขึ้น
การจัดองค์การเพื่อการผลิตสินค้าและบริการ ในการผลิตสินค้าและบริการ ทุกองค์การจะดำเนินการหน้าที่หลัก 3 ประการ ได้แก่ ด้านการตลาด (Marketing) ดำเนินการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ที่เกิดขึ้นของลูกค้า ด้านการผลิต (Production) ดำเนินการแปรสภาพทรัพยากรการผลิตต่างๆ ให้ออกมาเป็นสินค้าหรือบริการ ด้านการเงิน (Finance) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุน การใช้เงินทุน การรวบรวม การบันทึกวิเคราะห์ รายงานข้อมูลทางการเงิน
ประวัติความเป็นมาของการจัดการปฏิบัติการ แนวคิดในยุคเริ่มแรก (Early Concepts : ค.ศ.1778-1880) การใช้คนตามความชำนาญเฉพาะด้าน ชิ้นส่วนมาตรฐาน เน้นต้นทุนเป็นหลัก (Cost Focus) ยุคการจัดการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Era : ค.ศ. 1880-1910) แผนภูมิแกนต์ การศึกษาเวลาและความเคลื่อนไหว การวิเคราะห์กระบวนการ ทฤษฎีแถวคอย ยุคการผลิตจำนวนมาก (Mass Production Era : ค.ศ. 1910-1980) การเคลื่อนย้ายชิ้นงานผ่านสายการผลิต การสุ่มตัวอย่างเชิงสถิติ ปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด โปรแกรมเชิงเส้นตรง การวางแผนความต้องการวัสดุ
ประวัติความเป็นมาของการจัดการปฏิบัติการ (ต่อ) ยุคการผลิตแบบลีน (Lean Production Era : ค.ศ.1980-1995) ระบบการผลิตแบบทันเวลา พอดี การประยุกต์คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการคุณภาพโดยรวม รางวัลคุณภาพ การมอบอำนาจให้พนักงาน ระบบบังคับ เน้นคุณภาพเป็นหลัก (Quality Focus)
ประวัติความเป็นมาของการจัดการปฏิบัติการ (ต่อ) ยุคการตอบสนองผู้บริโภคเฉพาะราย (Mass Customization Era : ค.ศ.1995-2010) โลกาภิวัฒน์ อินเตอร์เน็ต การวางแผนทรัพยากรองค์กร องค์การการเรียนรู้ มาตรฐานคุณภาพระหว่างประเทศ การจัดการโซ่อุปทาน ระบบการผลิตแบบคล่องตัว พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เน้นความต้องการลูกค้าเป็นหลัก (Customization Focus)
แนวคิดการจัดการการปฏิบัติการ Eli Whitney (ค.ศ. 1800) เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในยุคเริ่มต้น เกี่ยวกับแนวคิดชิ้นส่วนที่ทดแทนกันได้ (Interchangeable parts) โดยการนำเอาเทคนิค การควบคุมคุณภาพและชิ้นส่วนมาตรฐานมาประยุกต์ใช้จนประสบผลสำเร็จ Frederick W. Taylor (ค.ศ. 1881) เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของการจัดการทางวิทยาศาสตร์ (The Father of Scientific Management) Walter Shewart (ค.ศ. 1924) ได้ให้แนวคิดที่มีความสำคัญ อย่างยิ่งต่อการจัดการการปฏิบัติการ ได้แก่ การควบคุมคุณภาพ และผสมผสานความรู้ทางสถิติเข้ากับการควบคุมคุณภาพ และมีการใช้วิธีสุ่มตัวอย่างทางสถิติ สำหรับการควบคุม
ความหมาย การผลิต (Production) คือ การสร้างสินค้าและบริการ การจัดการการปฏิบัติการ(Operations management; OM) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างมูลค่าในรูปของสินค้าและ บริการโดยอาศัยกระบวนการแปรรูปหรือแปรสภาพปัจจย นำเข้า (inputs) ให้ออกมาเป็นปัจจัยนำออก (outputs)
กิจกรรมการสร้างสินค้าและบริการเกิดขึ้น ในทุกๆ องค์การ ทั้งผลผลิตที่จับต้องได้หรือไม่สามารถจับต้องได้ • กิจกรรมการผลิตที่จับต้องได้ (Tangible product) เช่น โทรทัศน์ Sonyรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ Harley Davidson • กิจกรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้ คือ กิจกรรมการผลิตของธรุกิจที่ให้ การบริการ(Services) เช่น ธนาคาร โรงพยาบาล สายการบิน มหาวิทยาลัย เป็นต้น ตัวอย่างของการให้บริการเช่น การโอนเงินของธนาคาร การจัดที่นั่งผู้โดยสารของสายการบิน หรือ การให้ การศึกษาแก่นักศึกษา
การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operation Management : POM) เป็นการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแนวทางปฏิบัติ และควบคุมกระบวนการแปรรูป (Transformation process) ปัจจัยนำเข้า (input)หรือ ทรัพยากรการดำเนินงานให้เป็นผลลัพธ์ (output) ออกมาในรูปแบบของสินค้า และ/หรือบริการ อย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ
แนวโน้มที่น่าสนใจในอนาคต จาก เป็น มุ่งเน้นท้องถิ่นหรือประเทศ มุ่งเน้นระดับโลก การจัดส่งเป็นกลุ่มจำนวนมาก การจัดส่งสินค้าแบบทันเวลาพอดี การซื้อโดยการประมูลราคาต่ำ การเป็นหุ้นส่วนในห่วงโซ่อุปทาน การวางแผนทรัพยากรองค์กร พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใช้เวลานาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่รวดเร็ว ความร่วมมือทางด้านการออกแบบ สินค้ามาตรฐาน การมุ่งเน้นความต้องการของผู้บริโภคมากราย งานที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน การมอบอำนาจให้พนักงาน การทำงานเป็นทีม และการผลิตแบบลีน
การวางแผนการผลิต การวางแผนการผลิต (Production Planning) เป็นการวางแผนในการจัดการปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น แรงงาน เครื่องจักร วัตถุดิบ กระบวนการผลิต หรือ 4M ( Man Machine Money Method) เพื่อให้ผลผลิตบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยความต้องการของลูกค้า (Customer Demand) การวางแผนการผลิต (Production Planning) มีทั้งแผนการผลิตระยะสั้น และแผนการผลิตระยะยาว
การวางแผนการผลิต (ต่อ) เป็นการวางแผนการผลิตตามช่วงเวลาต่างๆ ภายใน 12 เดือน เช่น แผนการผลิตประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ประจำปี เป็นต้น มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำควบคู่ไปกับการควบคุมการผลิต เพื่อที่จะเฝ้าติดตามและควบคุมสถานะการและระดับการผลิต แผนการผลิต ระยะสั้น เป็นลักษณะการลงทุนเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต เช่น การวางแผนการสร้างหรือขยายโรงงาน การซื้อเครื่องจักร การวางแผนด้านบุคลากร ระยะเวลาเกิน 1ปีขึ้นไป (3-5 ปี) เน้นการเพิ่มกำลังการผลิตและการขยายกิจการ ระยะยาว อ.วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ชนิดของการวางแผนการผลิต ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายชนิด มีจำนวนการผลิตต่อครั้งน้อย เครื่องจักรการผลิตต้องมีความยืดหยุ่นสูง สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายขบวนการ รวมถึงวิธีการผลิตต้องอาศัยทักษะของผู้ปฏิบัติงานสูง ข้อดี คือ ชิ้นงานค่อนข้างที่จะมีราคาสูง 1. แผนการผลิตตามคำสั่ง (Job Order Production Planning)
ชนิดของการวางแผนการผลิต (ต่อ) มีการนำมาใช้หลากหลายในปัจจุบัน มีจำนวนสินค้าน้อยชนิดแต่ผลิตครั้งละจำนวนมากๆ อาศัยการพยากรณ์ที่แม่นยำ ใช้เครื่องจักรเฉพาะทาง ความสำคัญ คือ การจัดความสมดุลของแต่ละหน่วยผลิตต้องมีขนาดเท่ากัน ข้อดี คือ สามารถวางแผนการผลิตได้แม่นยำกว่าการวางแผนการผลิตแบบคำสั่ง 2. แผนการผลิตแบบต่อเนื่องหรือจำนวนมาก (Mass Production Planning)
การวางแผนกระบวนการ เป็นการกำหนดกระบวนการผลิต ลำดับของกระบวนการต่างๆ ในการผลิต โดยวิศวกรกระบวนการจะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์กระบวนการต่างๆ ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และการทำงาน เพื่อให้กระบวนการมีประสิทธิภาพสูงสุด อ.วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ขั้นตอนการวางแผนการผลิต 1.จัดทำแผนความต้องการของลูกค้า (Customer Requirement Planning) 2. จัดทำแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning) 3. การวางแผนการผลิต (Production Planning) 3.1 การวางแผนด้านกระบวนการ (Process Planning) 3.2 การวางแผนด้านเครื่องจักร (Machine Planning) 3.3 การวางแผนด้านแรงงาน (Man Planning) 3.4 การวางแผนการจัดเก็บ (Store Planning) อ.วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
การผลิตและการปฏิบัติการ การผลิตและการปฏิบัติการ หมายถึง หน้าที่ หรือระบบที่ทำการแปลงสภาพปัจจัยนำเข้า เช่น เงินทุน เครื่องจักรฯลฯ ไปสู่ผลผลิตอย่างมีคุณค่าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า กระบวนการแปลงสภาพ เกี่ยวเนื่องกับระบบการไหล 2 ชนิด การไหลของข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่ใช้ทำการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เช่น รหัส เลขฐานสอง (Binary Code) ถ้อยแถลง (Speech) เอกสาร ฯลฯ 2. การไหลของผลิตภัณฑ์ รวมถึงรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนพนักงานใน การนำเข้าสู่กระบวนการการผลิต ส่วนผลผลิตที่ผลิตออกมาโดยเจตนาและมิได้เจตนา - ผลผลิตโดยเจตนา คือ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากกระบวนการรูปลักษณ์ของสินค้า บริการและข้อมูลต่างๆ ผลผลิตที่ได้จะมีคุณค่าต่อลูกค้า - ผลผลิตที่มิได้เจตนา คือ ผลผลิตที่ได้มาโดยธรรมชาติ เช่น มลภาวะ และขยะจากสิ่งแวดล้อม ฯลฯ อ.วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
(Transformation Process) การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ หมายถึง การออกแบบ การดำเนินงาน และการปรับปรุงระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เพื่อกำหนดความสามารถของกระบวนการ การลดความสูญเปล่า และการผลิตซ้ำ รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพและผลิตภาพ การผลิตและการปฏิบัติการถูกกำหนดในกระบวนการแปลงสภาพ ปัจจัยนำเข้า (Input) - วัตถุดิบ (Material) - เครื่องจักร (Machine) - แรงงาน (Labor) - การบริหารจัดการ (Management) - เงินทุน (Capital) กระบวนการแปลงสภาพ (Transformation Process) ผลผลิต (Output) - สินค้า (Goods) - บริการ (Services) Feedback Requirements
กระบวนการแปลงสภาพ บทบาทหน้าที่ (Russell & Taylor, 2011 : 2) รูปลักษณ์ (Physical) ทำเลที่ตั้ง (Location) การแลกเปลี่ยน (Exchange) ด้านสรีรศาสตร์ (Physiological) จิตวิทยา (Psychological) ด้านข้อมูล (Informational) ทำหน้าที่ผลิตและปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ในการขนส่งหรือคลังสินค้า ทำหน้าที่ในการปฏิบัติการค้าปลีก ทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพ ทำหน้าที่สร้างความบันเทิง ทำหน้าที่การติดต่อสื่อสาร
หน้าที่ของการบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ หน้าที่หลัก 4 หน้าที่ขององค์กรในอุตสาหกรรมการผลิต คือ การตลาด (Marketing) การเงิน (Finance) การผลิต (Operation) และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) สำหรับองค์กรส่วนใหญ่ การผลิต คือ เทคนิคงาน หรือจุดศูนย์กลาง (Hub) ขององค์กร ซึ่งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าที่อื่นๆในองค์กรรวมถึงซัพพลายเออร์ ทำหน้าที่ผลิตสินค้าและส่งมอบบริการให้แก่ลูกค้า ข้อมูลการผลิตและการจัดการสินค้าคงคลัง เงินลงทุน การขยายกำบังการผลิต และการวางแผนด้านเทคโนโลยี การวิเคราะห์ต้นทุน การลงทุน และข้อเรียกร้องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัท การเงิน / บัญชี การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การให้บริการ ระยะเวลานำส่งสถานะคำสั่งซื้อ ตารางการส่งมอบ การพยากรณ์ยอดขาย คำสั่งซื้อของลูกค้า การตอบรับจากลูกค้า และการส่งเสริมการจัดจำหน่าย การตลาด คำสั่งซื้อวัตถุดิบ ตารางการผลิตและตารางการส่งมอบข้อกำหนดด้านคุณภาพ การออกแบบ รายละเอียดผลการดำเนินงาน การหาวัตถุดิบได้ง่าย ข้อมูลด้านคุณภาพ ตารางการส่งมอบ การออกแบบ ซัพพลายเออร์ ความต้องการของบุคลากรทักษะการปฏิบัติงาน การประเมินการปฏิบัติงาน การออกแบบงาน การวัดการทำงาน การจ้าง การฝึกอบรมข้อกำหนดด้านกฎหมาย การเจรจาต่อรองของสหภาพแรงงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การผลิต
ผลิตภาพและการแข่งขัน ตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการระดับโลกนั้นมีลูกค้าอยู่จำนวนมาก รวมถึงการแข่งขันอย่างรุนแรง ส่วนของการจัดหาการให้บริการระดับโลก (The Global Outsourcing of Services)มีการแข่งขันตั้งแต่ในสำนักงาน เช่น บัญชี การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่บริการลูกค้า การแข่งขันในระดับประเทศมากกว่าการแข่งขันระหว่างบริษัทด้วยกัน องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) ได้กำหนดว่า การแข่งขัน คือ ระดับการผลิตสินค้าและบริการเพื่อทดสอบตลาดต่างประเทศว่าชาตินั้นๆ ได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดต่างประเทศหรือไม่ การเพิ่มรายได้ประชากรในชาติ ตัวชี้วัดการแข่งขัน ได้แก่ ผลิตภาพ (Productivity) การเพิ่มผลิตภาพเป็นการเพิ่มรายได้ประชาชาติโดยไม่เสี่ยงกับภาวะเงินเฟ้อ ถือเป็นการเพิ่มมาตรฐานในการดำรงชีวิต
ผลิตภาพขององค์กรสามารถคำนวณได้โดย ผลิตภาพ = ผลผลิต ปัจจัยนำเข้า ผลผลิต (Output) สามารถระบุเป็นจำนวนหน่วย หรือ จำนวนเงิน เช่น ยอดขาย ยอดการผลิตสินค้า จำนวนลูกค้าที่มาบริการ จำนวนอาหารที่ส่งมอบ ผลิตภาพแบบ Single-Factor สามารถเปรียบเทียบผลผลิตกับปัจจัยนำเข้า เช่น ชั่วโมงแรงงาน การลงทุนอุปกรณ์ การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบ หรือพื้นที่ตารางฟุต ผลิตภาพแบบ Multifactor มีความสัมพันธ์กัลป์ผลผลิตในการรวมกับปัจจัยนำเข้า เช่น (แรงงาน+เงินทุน) หรือ (แรงงาน+เงินทุน+พลังงาน+วัตถุดิบ) เงินทุน (Capital) สามารถรวมคุณค่าของอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก สินค้าคงคลัง และที่ดินเข้าไว้ด้วยกัน ผลิตภาพแบบ Total Factor สามารถเปรียบเทียบจำนวนของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตกับปัจจัยนำเข้าทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตสินค้า
สูตรประเภทของผลิตภาพต่างๆ สามารถเขียนได้ดังนี้ ผลิตภาพแบบ Single-Factor 1. ผลิตภาพ = ผลผลิต หรือ ผลิตภาพ = ผลิตผล หรือ ผลิตภาพ = ผลผลิต แรงงาน วัตถุดิบ เงินทุน ผลิตภาพแบบ Multifactor 2. ผลิตภาพ = ผลผลิต แรงงาน + วัตถุดิบ + ค่าแรง หรือ ผลิตภาพ = ผลผลิต แรงงาน + พลังงาน + ค่าโสหุ้ย ผลิตภาพแบบ Total Factor 3. ผลิตภาพ = การผลิตสินค้าและบริการ ปัจจัยนำเข้าทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตสินค้า
กลยุทธ์การผลิต กลยุทธ์ คือ การทำพันธกิจที่บริษัทได้กำหนดไว้ให้บรรลุผล ช่วยให้องค์กรมีการตัดสินใจอย่างมั่นคง และรักษาการเคลื่อนไหวทางธุรกิจขององค์กรในทิศทางที่ถูกต้อง การผลิตและการจัดการห่วงโซ่ บทบาทสำคัญอย่างยิ่งสำหรับกลยุทธ์ระดับองค์กร
วิสัยทัศน์และพันธกิจ (Operations Strategy) การวางแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์และพันธกิจ กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy) กลยุทธ์การเงิน (Financial Strategy) กลยุทธ์การผลิต (Operations Strategy) กลยุทธ์ระดับองค์กร เสียงจากธุรกิจ (Voice of Business) เสียงจากลูกค้า (Voice of Customer)
การกำหนดกลยุทธ์ 1. การกำหนดงานหลัก (Primary Task) 2. การประเมินสมรรถนะหลัก (Core Competencies) 3. กำหนดผู้ชนะการตัดสินใจซื้อและกำหนดรอบคัดเลือกการตัดสินใจซื้อ (Order Winners and Order Qualifiers) รอบคัดเลือกการตัดสินใจซื้อ (Order Qualifiers) 4. การวางตำแหน่งของบริษัท 5. การปรับใช้กลยุทธ์ (Strategy Deployment)
การจัดลำดับความสำคัญในการแข่งขันกับความสามารถในการผลิต 1. ต้นทุน (Cost) 2. คุณภาพ (Quality) คุณภาพที่เหมาะสม (Consistent Quality) คุณภาพระดับดีเยี่ยม (Superior Quality) เวลา/การส่งมอบ (Time/Delivery) 3. ความยืดหยุ่น (Fiexibility) Customization Postponement Mass Customization Variety Volume Flexibility
คำถามท้ายบทที่ 1 กิจกรรมในการบริหารการผลิตและการปฏิบัติการประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย ผู้จัดการฝ่ายผลิตและปฏิบัติการจะต้องมีทักษะใดบ้างในการทำงาน จงอธิบายระบบบริหารการผลิต พร้อมยกตัวอย่างประกอบ การกำหนดกลยุทธ์จะต้องสอดคล้องกับ 5 ขั้นตอนพื้นฐานได้แก่อะไรบ้าง จงอธิบาย กลยุทธ์การผลิตแบบยืดหยุ่นประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย