การกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
Advertisements

นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการ พลังงาน ว่าด้วยมาตรการป้องกัน แก้ไข และ ติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้ได้รับการยกเว้น.
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4467 ( พ. ศ. 2555) ออกตามความใน พระราชบัญญัติมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4505 ( พ. ศ. 2556) ออกตามความใน พระราชบัญญัติมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์
การดำเนินงาน อาหารแปรรูปในภาชนะพร้อมจำหน่าย (primary GMP)
ระบบคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสุขภาพ (ปรับปรุง )
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
Royal project and Government project พระบิดาแห่งชาวโคนมไทย.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
แผนการตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข กรณีปกติ เขตสุขภาพ ที่ 2.
ทิศทางการนำระบบบริหาร จัดการคลังข้อสอบ และการทดสอบมาตรฐานฝีมือ แรงงาน ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์สู่หน่วย ปฏิบัติ โดย วรรณี โกมลกวิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานกำหนด.
แผนการตรวจรับรอง สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่า ทำงาน โดยศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี วันเวลาหน่วยงานทีมประเมิน 11 กค.59 เช้า - รพท. นภ. บ่าย สสอ. เมือง ศูนย์อนามัย.
ทิศทางการตลาด และ การ สนับสนุนเกษตร อินทรีย์ โดย น. ส. สุทัศนีย์ ราช เรืองระบิน รองอธิบดี กรมการค้าภายใน.
การอุดหนุน งบประมาณ ให้แก่ สถานศึกษาใน สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาขั้น พื้นฐาน.
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
หลักเกณฑ์วิธีที่ดีในการผลิตอาหาร
ชุมชนปลอดภัย.
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก จากต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง
การออกแบบและเทคโนโลยี
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร12
ระบบคุ้มครองผู้บริโภค
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
แนวทางการดำเนินงานเพื่อผู้สูงอายุ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ.
ตอนที่ 1ภาพรวมของการบริหารองค์กร (1-5 กำลังคน)
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
กลุ่มเกษตรกร.
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
2019/4/15 บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการ โครงการเมืองเกษตรสีเขียวในระดับพื้นที่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) 15/04/62.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 7 ธันวาคม 2561
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
การวิเคราะห์ข้อมูล การท่องเที่ยว เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
“ความร่วมมือในการขับเคลื่อนงาน คสจ. และ พชอ.”
การวิเคราะห์ข้อมูล การท่องเที่ยว เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
Supply Chain Management
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
อ. อรนพัฒน์ เหมือนเผ่าพงษ์ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี

ความหมายและความสำคัญของการมาตรฐาน 1. การมาตรฐาน ( Standardization ) องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ISO ( International Organization for Standardization ) ได้ให้คำนิยามของการมาตรฐานไว้ว่าการมาตรฐาน หมายถึงกรรมวิธีในการกำหนดและใช้กฎเกณฑ์ต่างๆเพื่อการพิจารณากิจกรรมเฉพาะอย่างมีระเบียบเพื่อประโยชน์และด้วยความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านเศรษฐกิจส่วนร่วม สภาพในทางปฏิบัติและความต้องการในด้านความปลอดภัย

2. มาตรฐาน ( Standard ) คำนิยามของ ISO “ มาตรฐาน ” คือ ผลที่ได้จากการปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งทางการมาตรฐานที่ได้รับความเห็นชอบจากองค์การ ซึ่งเป็นที่เชื่อถือกัน มาตรฐานอาจอยู่ในลักษณะของ • เอกสารที่ระบุรายการข้อกำหนดต่าง ๆ • หน่วยมูลฐานหรือค่าคงที่ทางกายภาพ • สิ่งสำหรับเปรียบเทียบทางกายภาพ คำนิยามตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 “ มาตรฐาน ” คือ สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพคำนิยามตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ได้กำหนดคำว่า “ มาตรฐาน ” ไว้ว่า“ มาตรฐาน ” คือ ข้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเกี่ยวกับจำนวนแบบ รูปร่าง มิติ วิธีทำ ออกแบบ วิธีเขียนรูป การหีบห่อ การทดลอง วิเคราะห์เปรียบเทียบ ตรวจสอบ ทดสอบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

เครื่องหมายมาตรฐานไอเอสโอ สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (International for Standardization) เป็นองค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานสากลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม ในด้านระบบบริหารคุณภาพและระบบบริหารสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานคุณภาพคืออะไร 3. มาตรฐานพื้นฐาน ( Basic Standard ) หมายถึง ประเภทหนึ่งของมาตรฐานซึ่งมีการกำหนดอย่างกว้าง ๆ ในแต่ละสาขาวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและการนำไปใช้งานที่เกี่ยวข้อง (บางประเทศใช้ Fundamental Standard หรือ General Standard ) ได้แก่ มาตรฐานหน่วยการวัดต่าง ๆ มาตรฐานวิธีปฏิบัติ หรือมาตรฐานการทดสอบ เป็นต้น มาตรฐานคุณภาพคืออะไร

4. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) หมายถึง ข้อกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน เป็นข้อกำหนดที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เหมาะกับสภาพการผลิตของชุมชน เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) นั้นผู้รับรอง คือ สำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จะเป็น ผู้ให้การรับรอง โดยจะมีเงื่อนไขการรับรอง ไม่ ยุ่งยากซับซ้อน และต่างจากการให้การรับรอง เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ของสมอ. จะ แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

ประโยชน์ที่ได้รับจาก มผช. 1.ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความเข้าใจ และมีความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ 2.สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น 3.สินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ต้องการของตลาด 4.ได้รับการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( Product Standard ) หมายถึง มาตรฐานซึ่งมีข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพบางประการ หรือทั้งหมดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ ซึ่งแล้วแต่ความจำเป็นหรือความเหมาะสมในขณะนั้น ๆ โดยมาตรฐานผลิตภัณฑ์นี้จะมีข้อกำหนดที่เป็นคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรงหรือโดยอ้อมของผลิตภัณฑ์ เช่น การกำหนดคำจำกัดความ หรือนิยาม จำนวนแบบ กรรมวิธีในการทำ วิธีวิเคราะห์ หรือการบรรจุ และหีบห่อ เป็นต้น

มอก. เป็นคำย่อมาจาก "มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม ภายใน มอก.แต่ละเล่มประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น

เครื่องหมาย มอก. ที่ สมอ เครื่องหมาย มอก. ที่ สมอ.อนุญาตให้แสดงกับผลิตภัณฑ์ขณะนี้มี 2 เครื่องหมาย คือ 1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เป็นเครื่องหมายที่แสดงกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานไม่บังคับ ผู้ผลิตสามารถยื่นขอใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานได้ด้วยความสมัครใจ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดออกมามากที่สุด โดยปัจจุบันมีกว่า 2,000 รายการ

2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่เศรษฐกิจของประเทศ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย จะต้องผลิต นำเข้าและจำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น ปัจจุบัน สมอ.กำหนดออกมาแล้ว 69 รายการ

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร "Q" กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องหมาย การใช้เครื่องหมาย และการแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานกับสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๕๒ ก วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ โดยมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจาเป็นต้นไป เพื่อกำหนดลักษณะของเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสำหรับแสดงกับสินค้าเกษตร เครื่องหมายรับรองมาตรฐานมี ๒ แบบ ได้แก่ 

มาตรฐานทั่วไป  สำหรับแสดงกับสินค้าเกษตรที่รับได้รับใบรับรองมาตรฐานทั่วไป มีลักษณะเป็นรูปอักษรคิวสีเขียวทรงกลม    ๑.๑ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้า ๑.๒ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานกระบวนการจัดการสินค้าเกษตร ๒. มาตรฐานบังคับ สำหรับแสดงกับสินค้าเกษตรที่รับได้รับใบรับรองมาตรฐานบังคับ มีลักษณะเป็นรูปอักษรคิวสีเขียวทรงกลม อยู่ในกรอบหกเหลี่ยมสีเขียว ๒.๑ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้า ๒.๒ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานกระบวนการจัดการสินค้าเกษตร

ประโยชน์ของการรับรองระบบ งานหน่วยรับรอง (CB) และหน่วยตรวจ (IB) - สร้างความเชื่อมั่น การยอมรับและยกระดับความสามารถในการตรวจสอบรับรองด้านสินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นไปตามข้อกำหนดสากล - สร้างความเท่าเทียมกันขององค์กร (Equivalence) ระหว่างหน่วยรับรองของไทยและสากล - หน่วยรับรองภาคเอกชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบรับรอง และสามารถแบ่งเบาภารกิจภาครัฐด้านการตรวจสอบรับรอง

ผู้ประกอบการ - ลดความซ้ำซ้อนด้านการตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรและอาหารของผู้ประกอบการ ณ ประเทศปลายทาง - ลดอุปสรรคทางการค้า อำนวยความสะดวก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เสริมสร้างความเชื่อมั่น ชื่อเสียง ด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารไทยสู่ตลาดโลก - สามารถเลือกใช้บริการจากหน่วยรับรองที่มีความสามารถเป็นที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับ ผู้บริโภค - มีความเชื่อมั่นในคุณภาพ และความปลอดภัยในสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย

เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งสำนักงานฯ จะกำหนดมาตรฐานโดยเน้นเฉพาะเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญเพื่อให้การคุ้มครองแก่ ผู้บริโภคด้านความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น เตารีด พัดลมไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องหมายที่มีทั้งแบบบังคม และไม่บังคับ หากเป็นแบบ บังคับก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ต้องทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตาม มาตรฐานที่ กำหนดทั้งผู้ทำ ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย

เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติใน การรักษาสิ่งแวดล้อม เช่นการประหยัดน้ำและการไม่ก่อให้เกิด มลพิษในอากาศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และการ รักษาสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศ เช่น เครื่องซักผ้า ประหยัด น้ำ ตู้เย็นที่ไม่ใช้สาร CFC เป็นต้น เครื่องหมายนี้มีทั้งแบบบังคับ และไม่บังคับหากเป็นแบบบังคับก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ ต้อง ทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้งผู้ทำ ผู้นำเข้า และ ผู้จำหน่าย

เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นเครื่องหมายรับรองผลิต ภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติของความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นหรือใช้พร้อมกันได้และไม่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ในระดับหนึ่ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เครื่องรับ-ส่งวิทยุและเครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้นเครื่องหมายนี้มีทั้งแบบบังคับ และไม่บังคับหากเป็นมาตรฐานบังคับ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้า และจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้ มาตรฐานเท่านั้น

HACCP HACCP คือ ระบบการการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (Hazard Analysis and Critical Control Point) หลักการของ ระบบ HACCP หลักการที่ 1 : การวิเคราะห์อันตราย (Conduct a Hazard Analysis) หลักการที่ 2 : กำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Determine the Critical Control Point; CCP) หลักการที่ 3 : กำหนดค่าวิกฤต (Establish Critical Limits) หลักการที่ 4 : กำหนดระบบตรวจติดตามเพื่อควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Establish a System to Monitor Control of the CCP) หลักการที่ 5 : กำหนดการแก้ไข (Establish the Corrective Action) หลักการที่ 6 : กำหนดการทวนสอบ (Establish Procedures for Verification) หลักการที่ 7 : กำหนดระบบเอกสารและการเก็บบันทึกข้อมูล (Establish Documentation and Record Keeping)

ประโยชน์ของการจัดทำระบบ HACCP เป็นหลักประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค โดยมีการควบคุมการผลิตในการผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย เน้นที่การป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่จะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สามารถยกระดับมาตรฐานการผลิตให้กับโรงงาน โดยมีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างมีระบบ เพิ่มอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ สอดคล้องกับข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร และผลิตภัณฑ์ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด โดยเฉพาะคุณภาพด้านความปลอดภัย เป็นระบบคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารที่สามารถขอรับการรับรองได้ เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสู่ระบบคุณภาพ ISO 9000

GMP (Good Manufacturing Practice) หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค GMP เป็นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติ และพิสูจน์จากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารทั่วโลกแล้วว่าสามารถทำให้อาหารเกิดความปลอดภัย เป็นที่เชื่อถือยอมรับจากผู้บริโภค โดยอาศัยหลายปัจจัยที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากยิ่งสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด ได้ทั้งหมด ก็จะทำให้อาหารมีคุณภาพมาตรฐาน และมีความปลอดภัยมากที่สุด

หลักการของ GMP ครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร ระบบการผลิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพ ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึง ระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene) ทั้งนี้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและความปลอดภัย เป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไป เช่น HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) และ ISO 9000 อีกด้วย

ประเภทของ GMP 1. GMP สุขลักษณะทั่วไป หรือ General GMP ซึ่งเป็น หลักเกณฑ์ที่นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับอาหารทุกประเภท 2. GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือ Specific GMP ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไปเพื่อมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยงและความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะมากยิ่งขึ้น ข้อกำหนด GMP สุขลักษณะทั่วไป มีอยู่ 6 ข้อกำหนด ดังนี้ 1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต 2. เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต 3. การควบคุมกระบวนการผลิต 4. การสุขาภิบาล 5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด 6. บุคลากรและสุขลักษณะ

เครื่องหมายอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นองค์กรที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์สุขภาพ (อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง) โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย โดยหากเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เครื่องหมายอาหารและยาจะรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีภาชนะปิดบรรจุสนิท

เครื่องหมายมาตราฐานอาหารฮาลาล สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลแห่งชาติ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพตามศาสนบัญญัติ เพื่อการรับประกันให้ชาวมุสลิมสามารถบริโภคได้อย่างสนิทใจ

สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นองค์กรที่ให้การรับรองเครื่องหมายรับรองมาตรฐานระบบการผลิตทางการเกษตรที่คำนึงถึงการใช้ปัจจัยการผลิตจากสารอินทรีย์ เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติ รักษาสภาพแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ที่อาจก่อให้เกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม

สุขภาพดีเริ่มที่อาหารปลอดภัย (Safe Food Good Health) กระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์กรที่ให้การรับรองเครื่องหมายสุขภาพดีเริ่มที่อาหารปลอดภัย โดยเป็นสัญลักษณ์ให้กับร้านค้า แผงจำหน่ายอาหารสด ตลาดสด และซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อรับรองคุณภาพอาหาร ได้แก่ อาหารสด อาหารแปรรูป อาหารปรุงจำหน่าย พร้อมตรวจสอบสารเคมีปนเปื้อนที่เป็นอันตรายกับสุขภาพ เช่น บอร์แรกซ์ สารพิษตกค้างจากสารเคมี สารฟอกขาว สารเร่งเนื้อแดง เป็นต้น

"เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน" ประโยชน์ของผู้ผลิต ความมั่นใจของผู้บริโภค

คำถามท้ายบท