การรับรู้สุนทรียภาพในงานดนตรี หน่วยที่ 5 การรับรู้สุนทรียภาพในงานดนตรี
ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้
ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเสียงเป็นการเรียบเรียง ความหมายของดนตรี ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศกหรือรื่นเริง ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเสียงเป็นการเรียบเรียง จากจินตนาการอย่างมีหลักการ เพื่อให้เกิดเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะ สามารถถ่ายทอดอารมณ์ และความรู้สึกจากผู้ประพันธ์สู่ผู้ฟังได้
ประเภทของดนตรี 1. ดนตรีสมัยนิยม Easy Music หรือที่ทางตะวันตกเรียกว่า Popular Music ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป เช่น ดนตรีไทยสากลทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และวงดนตรีสากลทั้งหลายในปัจจุบัน ดนตรีประเภทยนี้จะมีเพลงซึ่งได้รับความนิยมอยู่เวลาหนึ่งก็จะเสื่อมความนิยมลงและก็จะมีเพลงใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ 2. ดนตรีศิลปะ Art Music ดนตรีที่มีแบบแผนซับซ้อนและมีขนาดยาว ต้องใช้ระยะเวลาในการฟัง จัดอยู่ในดนตรีตะวันตกที่เรียกว่า Serious Music อยู่ในรูปแบบดนตรีคลาสสิก ดนตรีร่วมสมัย ดนตรีแจ๊ส และดนตรีตามแบบแผนประเพณี อย่างดนตรีไทย
ขบวนการและตัวแทนศิลปะ ตัวแทนที่เป็นมนุษย์ ได้แก่ คีตกวี หรือนักประพันธ์เพลง เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานหรือถ่ายทอด ตัวแทนที่เป็นเครื่องมือต่าง ๆ ช่วยเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ดนตรีให้กว้างไกลยิ่งขึ้น ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนต์ดนตรี วิดิทัศน์ แผ่นเสียง ซีดี ฯ
ระดับของการฟัง 1. ฟังแบบผ่านหู (Passive Listening) เป็นการฟังโดยมิได้ตั้งใจหรือฟังแบบผ่าน ๆ หู 2. การฟังด้วยความตั้งใจ (Sensuous Listening) การฟังดนตรีประเภทนี้เป็นระดับการฟังที่มีความตั้งใจ ฟังมากขึ้นกว่าระดับที่ 1
ระดับของการฟัง 3. การฟังอย่างเข้าถึงอารมณ์ (Emotional Listening) การฟังดนตรีประเภทนี้ผู้ฟังมีจิตใจและความรู้สึก จดจ่อต่อเพลงที่ตนชอบฟังไปตาม อารมณ์หรือมีปฏิกิริยาต่อเสียงดนตรีมากขึ้นฟังเนื่องจากดนตรีทำให้สนใจและเกิดอารมณ์ ร่วมไปกับอารมณ์ต่าง ๆ ที่เขาคิดว่าเสียงเพลงสื่อออกมา 4. การฟังโดยรับรู้ความซาบซึ้ง (Perceptive Listening) การฟังประเภทนี้เป็นการฟังที่ผู้ฟังเห็นสุนทรีย์ หรือเห็นความงามขององค์ประกอบต่าง ๆ ของเสียงดนตรีโดยตรงซึ่งอาศัยความมีสมาธิ และมีสภาพจิตใจอารมณ์ที่สงบนิ่ง เป็นการเห็น ความงามของการที่องค์ประกอบต่าง ๆนั้นมาสัมพันธ์กันอย่างลงตัวอย่างมีศิลปะ องค์ประกอบพื้นฐานของดนตรี
องค์ประกอบของดนตรี 1. เสียงดนตรี ( Tone) เป็นเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา โดยนำเสียงต่างๆ มาจัดระบบให้ได้สัดส่วน มีความกลมกลืนกัน โดยทั่วไปแล้วเสียงดนตรีจะเกิด จากเสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ 1.1. คุณสมบัติของเสียง - ระดับเสียง Pitch หมายถึงความสูงต่ำของเสียง - ความยาวของเสียง Duration เสียงดนตรีอาจอาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความยาวเสียง
- ความเข้มของเสียง Intensity เสียงอาจจะมีความแตกต่างจากค่อยไปจนถึงดัง คุณสมบัติข้อนี้ทำให้เกิดจังหวะทางด้านดนตรี - คุณภาพของเสียง Quality คุณภาพของเสียงแต่ละชนิดย่อมแตกต่างกันไปซึ่งเกิดจากคุณสมบัติทางกายภาพของการสั่นสะเทือน 1.2 ระบบเสียงในดนตรีไทยและดนตรีสากล ระบบเสียงในดนตรีไทยจะต่างไปจากระบบเสียงในดนตรีสากล เสียงในดนตรีไทยนั้นจะห่าง 1 เสียงเต็มทุกช่วงเสียง แต่เสียงทางดนตรีสากลจะมีช่วงเสียงที่เป็นครึ่งเสียง
2. จังหวะ (Rhythm) หมายถึง การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ อาจกำหนดไว้เป็นความช้าเร็วต่างกัน ในทางดนตรีแล้วนั้น การกำหนดความสั้นยาวของเสียงที่มีส่วนสัมพันกับระยะเวลาในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีจะต้องมีจังหวะเป็นเกณฑ์ ถ้าร้องเพลงหรือเล่นดนตรีไม่ตรงจังหวะ ก็จะไม่มีความไพเราะเท่าที่ควร 2.1. จังหวะในดนตรีสากล - จังหวะเคาะ Beat เป็นจังหวะพื้นฐานที่สม่ำเสมอเท่ากันตลอด - อัตราความเร็ว Tempo หมายถึงความเร็ว เป็นการกำหนดความช้าเร็วของบทเพลงที่ขึ้นกับผู้แต่ง
- ลีลาจังหวะ Rhythmic pattern โดยปกติในทางดนตรีจะมีการจัดกลุ่มจังหวะตบเป็น 2, 3, 4,.... ตามธรรมชาติของความหนักเบาของจังหวะที่ตบขึ้น เนื่องจากจังหวะทางดนตรี การรวมกลุ่มจังหวะทางดนตรีเช่นนี้ว่า ลีลาจังหวะซึ่งเป็นรูปแบบของดนตรีที่กำหนดขึ้นสำหรับบทเพลง แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม 1. กลุ่ม 2 จังหวะ เช่น 2/4 เป็นลีลาจังหวะ March 2. กลุ่ม 3 จังหวะ เช่น 3/4 เป็นลีลาจังหวะ Waltx 3. กลุ่ม 4 จังหวะ เช่น 4/4 เป็นลีลาจังหวะ Slow, Tango, Belero, Cha Cha Cha
2.2 จังหวะในดนตรีไทย - จังหวะสามัญ คือ จังหวะที่ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะไม่มีเครื่องดนตรีที่ให้จังหวะก็ตาม นักดนตรีก็สามารถบรรเลงไปพร้อมกันได้ - จังหวะฉิ่ง เป็นจังหวะที่กำหนดโดยเสียงฉิ่ง จะตีเป็นเสียงฉิ่ง ฉับ ตีสลับกันไปตลอดในอัตราที่สม่ำเสมอ - จังหวะหน้าทับ หมายถึงเกณฑ์การนับจังหวะที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ประเภทหนังซึ่งเลียนเสียงการตีมาจาก “ทับ”เป็นเครื่องกำหนดจังหวะ เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ตะโพน กลองแขก สองหน้า โทน - รำมะนา หน้าทับ
จังหวะ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการบอกถึงอารมณ์และความรู้สึกของบทเพลง เป็นองค์ประกอบที่ผู้ฟังทำความเข้าใจได้ง่ายสุดและเข้าถึงอารมณ์เพลงได้มากที่สุด
3. ทำนอง (Melody) หมายถึง เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงยาว เสียงสั้น ของเครื่องดนตรีหรือเสียงคนร้อง ทำนองของดนตรีหรือบทเพลงนั้นจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ประพันธ์เพลง 3.1 องค์ประกอบของทำนองเพลง ประกอบด้วย - จังหวะของทำนอง (Melodic Rhythm) คือ ทำนองของเพลงที่มีความสั้น-ยาว ของแต่ละเสียงแล้วประกอบกันเป็นทำนองเพลง - มิติ (Melodic dimensions) คือ ทำนองเพลงที่ประกอบด้วยความสั้น – ยาว และช่วงกว้างของเสียง - ช่วงเสียง (Register) ทำนองอาจอยู่ในช่วงเสียงใดช่วงเสียงหนึ่ง - ทิศทางของทำนอง (Direction) ทำนองอาจะเคลื่อนไปในหลายทิศทาง
3.2 ทำนองในดนตรี ในดนตรีสากลจะสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของทำนองได้เด่นชัด แต่ในดนตรีไทยจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างออกไป ซึ่งในทำนองในดนตรีไทยเป็นที่รู้จักกันในคำว่า “ทาง” - แนวการดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด - ระดับเสียงในการบรรเลงของวงดนตรีแต่ละประเภท - ทางที่ผู้ประพันธ์ได้คิดประดิษฐ์แนวทำนองขึ้น นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคำว่าทางอีกลักษณะหนึ่ง คือ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ ทางบรรเลง (แนวการดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ซึ่งมีแนวทางการบรรเลงและเทคนิคแตกต่างกันไป) ทางร้อง (เทคนิคการดำเนินการดำเนินทำนองการขับร้อง ซึ่งมีลีลาและเทคนิคสำหรับการขับร้อง)
4. การประสานเสียง (Harmony) หมายถึง เสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ที่มีระดับเสียงต่างกัน เปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน โดยเสียงที่เปล่งออกมานั้นจะต้องผสมผสานกลมกลืนกันฟังแล้วไม่ขัดหู 4.1 การประสานเสียงในดนตรีสากล - การประสานเสียงสำหรับเครื่องดนตรี เป็นการแต่งทำนองสำหรับเครื่องดนตรีบรรเลง Arranging - การประสานเสียงสำหรับการขับร้อง มีทั้งแบบใช้ขั้นคู่ หรืออาศัยรูปคอร์ดเป็นหลัก เรียกว่า Chorus
4.2 การประสานเสียงในดนตรีไทย - การประสานเสียงในเครื่องดนตรีเดียวกัน เครื่องดนตรีบางชนิดสามารถบรรเลงสอดเสียงพร้อมกันได้ โดยเฉพาะทำเสียงขั้นคู่ (คู่2 คู่3 คู่4 คู่5 คู่6 และ คู่7) - การประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรี คือ การบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สุ้มเสียง และความรู้สึกของเครื่องดนตรีเหล่านั้น ก็ออกมาไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะบรรเลง เหมือนกันก็ตาม - การประสานเสียงโดยการทำทาง การแปรทำนองหลักคือ ลูกฆ้อง “Basic Melody” ให้เป็นทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดเรียกว่า “การทำทาง” ทางของเครื่องดนตรี (ทำนอง)แต่ละชนิดไม่เหมือนกันดังนั้นเมื่อบรรเลงเป็นวงเครื่องดนตรีต่างเครื่องก็จะบรรเลงตามทางหรือทำนองของตน โดยถือทำนองหลักเป็นสำคัญของการบรรเลง
5. พื้นผิว (Texture) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของการประสานเสียงในแนวตั้งกับทำนองในแนวนอน 5.1 พื้นผิวในดนตรีสากล - แบบโมโนโฟนี (Monophony) คือ ดนตรีแนวทำนองแนวเดียว ไม่มีเสียงประสานหรือองค์ประกอบใด - แบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือ ดนตรีที่มีแนวทำนองหลักเป็นแนวที่สำคัญที่สุดในขณะที่แนวอื่นๆ เป็นเพียงแนวประสานเสียงด้วยคอร์ดเข้ามาช่วยให้ทำนองหลักไพเราะขึ้น เช่นเพลงไทยสากล เพลงพื้นบ้าน (Folk Song) เป็นต้น
- แบบโพลิโฟนี (Polyphony) คือ ดนตรีที่ใช้แนวทำนองหลายแนวเพื่อมาประสานกับทำนองหลัก ทำนองหลักจะเป็นแนวที่สำคัญ แต่แนวอื่นๆ ก็เป็นทำนองรองและเป็นแนวประสานเมื่อเล่นจะพบว่าแต่ละแนวเป็นทำนองด้วยเช่นกัน 5.2 พื้นผิวในดนตรีไทย มีลักษณะรูปพรรณแบบเฮทเทอโรโฟนิค คือมีแนวทำนองหลักเดียว เครื่องดนตรีอื่นจะตกแต่งทำนองเพิ่มเติม ซึ่งฆ้องวงใหญ่จะทำหน้าที่ดำเนินทำนองหลัก
6. สีสันของเสียง (Tone Color) คือ คุณสมบัติของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิด รวมถึงเสียงรัองของมนุษย์ซื่งแตกต่างกันไปในเรื่องของการดนตรี สีสันของเพลงอาจเกิดจากการร้องเดี่ยว การบรรเลงเดี่ยวโดยผู้แสดงเพียงคนเดียว หรือการนำเครื่องดนตรีหลายชนิดเสียงร้องมาร่วมบรรเลงด้วยกันก็เกิดเป็นการรวมวงดนตรีแบบต่างๆ ขึ้น 6.1 เสียงร้องของมนุษย์ Human Singing Voices - โซปราโน คือ เสียงสูงสุดของผู้หญิง - เมสโซ โซปราโน คือ เสียงกลาง ๆ ของผู้หญิง ลักษณะของเสียงมีพลัง และไม่สดใสเท่าโซปราโน
6.2 เครื่องดนตรีสากล Western Music Instruments - อัลโต หรือ คอนทรัลโต คือ เสียงต่ำสุดของผู้หญิง ลักษณะมีพลังหนักแน่น - เทเนอร์ คือ เสียงสูงของผู้ชาย - บาริโทน คือ เสียงกลางของผู้ชาย ลักษณะของเสียงต่ำ แต่มีความสดใสกว่าเสียงเบส - เบส คือ เสียงต่ำสุดของผู้ชาย มีลักษณะหนักแน่นฟังดูลึก ๆ ก้องกังวาน 6.2 เครื่องดนตรีสากล Western Music Instruments - เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด เล่นโดยใช้นิ้วกดลงบนลิ้มนิ้วของเครื่องดนตรี ได้แก่ เปียโน เมโลเดียน คีย์บอร์ดไฟฟ้า อิเล็กโทน
- เครื่องสาย เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือนสายที่ใช้เป็นสายโลหะหรือสายเอ็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย แบ่งตามวิธีการเล่นเป็น 2 จำพวก คือ (1) เครื่องดีด ได้แก่ กีตาร์ แบนโจ ฮาร์ป (2) เครื่องสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา - เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องดนตรีประเภทนี้แบ่งตามวิธีทำให้เกิดเสียงเป็น 3 ประเภท คือ (1.) เครื่องลมไม้ที่มีลิ้นเดียว เช่น คาริเนท แซกโซโฟน (2.) เครื่องลมที่มีลิ้นคู่ ได้แก่ โอโบ บาซูน (3.) เครื่องดนตรีที่ไม่มีลิ้น เทียบได้กับขลุ่ยของไทย มี 2 ชนิด คือ ฟลูท ปิกโคโล - เครื่องลมทองเหลือง เป็นเครื่องเป่าอีกชนิดที่มีเสียงดัง กังวาน มีอำนาจ ได้แก่ ฮอร์น หรือ เฟรนฮอรน์ ทรัมเปท ทรอมโบน - เครื่องตี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1.) เครื่องตีที่ไม่มีระดับเสียง ได้แก่ กลองใหญ่ กลองแต๊ก (2.) เครื่องตีมีระดับเสียง ได้แก่ กลองทิมพานี ระนาดฝรั่ง
6.3 เครื่องดนตรีไทย - เครื่องดีด ได้แก่ เครื่องดนตรีที่มีสายเสียงเป็นสะพานวางสาย แล้วใช้ไม้ตัดปลายแหลมทู่ เป็นเครื่องมือดีดสายร่วมกับใช้นิ้วมือซึ่งจะคอยกดปิดเปิดเสียง ตามฐานเสียงระดับต่างๆเครื่องดนตรีประเภทดีด ซึ่งยังคงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ จะเข้ นอกจากนั้นก็เป็น พิณ และ กระจับปี่ - เครื่องสี เป็นดนตรีประเภทสายที่เล่นด้วยวิธีการสี ได้แก่ สะล้อ ซอด้วง ฯลฯ - เครื่องตี (1.) เครื่องตีที่มีหลายระดับเสียง ทำหน้าที่ดำเนินทำนองเพลง ได้แด่ ระนาดเอก ฆ้องวง (2.) เครื่องตีที่มีระดับเดียว หรือมีน้อยระดับเสียง ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะในวงดนตรี ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ กลองชนิดต่าง ๆ - เครื่องเป่า มีทั้งเครื่องดนตรีที่ไม่มีลิ้น ได้แก่ ขลุ่ย และเครื่องดนตรีที่มีลิ้น ได้แก่ ปี่ชนิดต่าง ๆ
7. คีตลักษณ์ (Forms) ลักษณะทางโครงสร้างของบทเพลงที่มีการแบ่งเป็นห้องเพลง (Bar) แบ่งเป็นวลี (Phrase) แบ่งเป็นประโยค (sentence) และแบ่งเป็นท่อนเพลง หรือ กระบวนเพลง (Movement) เป็นแบบแผนการประพันธ์บทเพลง คีตลักษณ์เพลงบรรเลงหรือเพลงร้องในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น - เอกบท (Unitary Form) หรือ วันพาร์ทฟอร์ม (One Part Form) คือบทเพลงที่มีทำนองสำคัญเพียงทำนองเดียวเท่านั้น (A) ก็จะจบบริบูรณ์ เช่น เพลงชาติ เพลงสรรเสริญบารมี เป็นต้น - ทวิบท (Binary Form) หรือ ทูพาร์ทฟอร์ม (Two Part Form) เป็นรูปแบบของเพลงที่มีทำนองสำคัญเพียง 2 กลุ่ม คือ ทำนอง A และ B และเรียกรูปแบบของบทเพลงแบบนี้ย่อ ๆ ว่า AB
คีตลักษณ์ จะเป็นส่วนที่บอกลักษณะโครงสร้างของบทเพลง - ตรีบท (Ternary Form) หรือ ทรีพาร์ทฟอร์ม (Three Part Form) รูปแบบของเพลงแบบนี้จะมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ กลุ่มทำนองที่ 1 หรือ A กลุ่มทำนองที่ 2 หรือ B ซึ่งจะเป็นทำนองที่เปลี่ยนแปลง หรือเพี้ยนไปจากกลุ่มทำนองที่ 1 ส่วนกลุ่มทำนองที่ 3 ก็คือการกลับมาอีกครั้งของทำนองที่ 1 หรือ A และจะสิ้นสุดอย่างสมบูรณ์อาจเรียกย่อ ๆ ว่า ABA - รอนโดฟอร์ม (Rondo Form) รูปแบบของเพลงแบบนี้จะมีแนวทำนองหลัก (A) และแนวทำนองอื่นอีกหลายส่วน ส่วนสำคัญคือแนวทำนองหลักทำนองแรกจะวนมาขั้นอยู่ระหว่างแนวทำนองแต่ละส่วนที่ต่างกันออกไป เช่น ABABA ABACA ABACADA คีตลักษณ์ จะเป็นส่วนที่บอกลักษณะโครงสร้างของบทเพลง ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ การทำความเข้าใจในอารมณ์เพลง
แนวทางในการวิจารณ์ดนตรี 1. รู้จักและมีความรู้ในเรื่องของดนตรี 2.ความเข้าใจในโครงสร้าง รูปแบบ และองค์ประกอบของดนตรี 3. มีประสบการณ์ในการฟังดนตรีที่หลากหลาย 4. มีคุณสมบัติของผู้ฟังที่ดี - มีความละเอียดอ่อน - มีการฝึกฝน - มีการเปรียบเทียบ - ไม่มีอคติ
ขั้นตอนในการพิจารณาผลงานดนตรี ขั้นที่ 1 ใช้ประสบการณ์ตรงทางประสาทสัมผัส แล้วพิจารณาความไพเราะของดนตรีนั้น ๆ ขั้นที่ 2 นำผลงานมาแยกแยะเป็นส่วน ๆ แล้วพิจารณาความไพเราะ ขั้นที่ 3 ใช้หลักการทางดนตรีมาอธิบายความไพเราะในแต่ละส่วนที่แยกแยะไว้ ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบกับหลักการและทฤษฏี เพื่อหาแนวทางในการวิจารณ์ ขั้นที่ 5 เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์ในมุมมองที่ตรงกันข้าม แล้วหาคำตอบ ขั้นที่ 6 พยายามแยกผลงานให้เป็นส่วนย่อยที่สุดและอธิบายแต่ละส่วนเพื่อหาข้อสรุป
การรับรู้สุนทรียภาพทางดนตรี การฟังเป็นหัวใจสำคัญในการรับรู้สุนทรียภาพทางดนตรี 1. การมีเจตคติที่ดีต่อดนตรี 2. มีเป้าหมายในการฟัง 3. มีสมาธิในการฟัง 4. การปล่อยอารมณ์ให้คล้อยตามบทเพลง 5. การศึกษาหาความรู้ก่อนการฟังเพลง 6. การสร้างประสบการณ์ซ้ำ ๆ ในการฟังเพลงบ่อย ๆ