งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักศิลปะเพื่องานออกแบบจัดสวน (Principle of Art for Landscape design)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักศิลปะเพื่องานออกแบบจัดสวน (Principle of Art for Landscape design)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักศิลปะเพื่องานออกแบบจัดสวน (Principle of Art for Landscape design)
วิชาไม้ดอกไม้ประดับและการจัดสวน (กญวก 312)

2 พื้นฐานศิลปะและการนำมาใช้ในการออกแบบจัดสวน
องค์ประกอบศิลปะ (art elements) 1. เส้น (line) คือ จุดที่ต่อกันหลายๆจุด ทำให้เกิดรูปแบบ, ทิศทาง, ขนาด และความหมายต่างๆ ให้ความรู้สึกต่างกัน เส้นนอน สงบ เฉยเงียบ กว้าง พักผ่อน ต่ำ เส้นเฉียง เคลื่อนไหว ไม่มั่นคง เร็ว โน้มเอียง ลาดเท เส้นตั้ง มั่นคง แข็งแรง จริงจัง สง่า ทะเยอทะยาน รุ่งเรือง

3 เส้นซิกแซก เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ให้จังหวะกระแทก เคลื่อนไหวรุนแรง เส้นโค้งก้นหอย เคลื่อนไหว คลี่คลาย เติบโต ไม่สิ้นสุด มีพลังเคลื่อนไหว เส้นโค้ง เคลื่อนไหว อ่อนโยน นุ่มนวล ร่าเริง

4 2. รูปร่าง (shape) เกิดจากเส้นที่ลากมาบรรจบกัน เป็นภาพสองมิติ ไม่แสดงปริมาตร
เรขาคณิต ธรรมชาติ รูปร่างบิดเบือนที่เกิดจากการออกแบบ

5 3. รูปทรง (form) มีสามมิติ คือ กว้างx ยาวx สูง กินเนื้อที่ มีปริมาตร

6 4. สี (color) เกิดจากแสง สีกลาง ได้แก่ สีดำ ขาว เทา
สีตรงข้ามในวงจรสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง เช่น เหลือง--ม่วง, ส้ม-น้ำเงิน สีแดง หงุดหงิด รุนแรง แข็งกร้าว ตื่นเต้น สีเหลือง เบิกบาน สดใส เร้าใจ มีชีวิตชีวา สีเขียว ร่มเย็น สงบ พักผ่อน สีน้ำเงิน สงบ มั่นคง เหยือกเย็น อ้างว้าง สีม่วง สงบ ภาคภูมิ สีขาว สว่าง เบา สีเทา สงบ สันโดษ นอบน้อม สีดำ สุขุม ลึกซึ้ง ลึกลับ

7 5. ผิวสัมผัส (texture) เป็นผลมาจากวัสดุที่ใช้ รับรู้ได้จากการมองและการสัมผัส เช่น หยาบ ละเอียด เป็นมัน ขรุขระ

8 6. ที่ว่าง (space) ที่ว่างหนึ่งๆ จะไม่มีความหมาย หากไม่มีการกำหนดรูปร่างหรือรูปทรงขึ้นในที่ว่างนั้น

9 การนำองค์ประกอบต่างๆ มาใช้ตามหลักศิลปะ
สัดส่วน (proportion) เป็นกฎของความสัมพันธ์ของที่ว่าง

10 จังหวะ (rhythm) เป็นการเคลื่อนที่ต่อเนื่องกันขององค์ประกอบศิลปะ

11 ความกลมกลืน (harmony) เกิดจากการใช้องค์ประกอบศิลปะประเภทเดียวกัน ในการจัด เช่น รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว

12 การเน้น (emphasis) ทำให้เกิดจุดเด่นขึ้นในงาน ซึ่งอาศัยหลักความแตกต่าง กับองค์ประกอบรอบๆ

13 ความสมดุลย์ (balance) จะมีแนวแกนเป็นหลัก
Formal (symmetrical) balance Informal (asymmetrical) balance

14 การเขียนแบบและการอ่านแบบ
รูปภาพประกอบการเขียนแบบงานภูมิทัศนสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ ผังพื้น (plan) รูปตัด (section) รูปด้าน (elevation) ทัศนียภาพ (perspective)

15 1. ผังพื้น หมายถึง ภาพสองมิติที่มองจากด้านบนฉากลงมา
หลักการเขียนผังพื้น 1.1 แสดงทิศเหนือ พยายามให้ทิศเหนือชี้ขึ้นด้านบนของกระดาษ

16 1.2 มาตราส่วน ใส่ทั้งเลขและระยะที่เป็นเส้นมาตราส่วน (Graphic scale)

17 1.3 การเขียนอาคาร ให้ใช้เส้นหนาที่สุดแทนขอบผนัง

18 1.4 การเขียนต้นไม้ใหญ่ ควรเป็นเฉพาะเส้นรอบขอบทรงพุ่มด้านนอก ¾ ของขนาดโตเต็มที่และใส่ตำแหน่งศูนย์กลาง

19 1.5 การเขียนไม้พุ่ม สามารถใส่รายละเอียดภายในของพุ่มได้บ้าง ขนาดเส้นเล็กกว่าไม้ใหญ่ ขนาด3/4ของขนาดโตเต็มที่และใส่ตำแหน่งศูนย์กลาง

20 1.6. ไม้คลุมดิน แสดงรูปร่างขอบแปลง ขนาดขอบแปลงเล็กที่สุด

21 1.7 ใส่ระดับขององค์ประกอบถาวร (hardscape) ในสวน เช่น ทางเท้า พื้นนั่งเล่น บ่อน้ำ

22 2. รูปตัด (section)= ภาพสองมิติ ที่แสดงความสัมพันธ์ในระนาบตั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากผังพื้น รูปตัดจะแสดงการเปลี่ยนระดับทั้งบนดินและใต้ดิน เส้นระดับดินต้องแสดงเสมอเพื่อเป็นระดับมาตรฐาน เปรียบเทียบความสูงต่ำของสิ่งที่แสดง

23 3. รูปด้าน (elevation)= ภาพสองมิติ ที่แสดงความสัมพันธ์ในระนาบตั้ง ของบริเวณจากมุมมองภายนอกตามที่ตามองเห็น ซึ่งจะอยู่เหนือระดับดินเท่านั้น เส้นระดับดินจะต้องแสดงเสมอ เพื่อใช้เป็นระดับมาตรฐานเปรียบเทียบกับระดับอื่น

24 4. ทัศนียภาพ (perspective)= ภาพสามมิติ ที่แสดงความกว้าง ยาว ลึก ของบริเวณทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น การเขียนจะไม่ใช้มาตราส่วน แต่จะใช้สัดส่วนแสดงแทน


ดาวน์โหลด ppt หลักศิลปะเพื่องานออกแบบจัดสวน (Principle of Art for Landscape design)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google