พัฒนาการของการวัดและประเมินผลการศึกษา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3: Expected Value of Random Variable
Advertisements

พัฒนาการของการวัดและประเมินผลการศึกษา
บทที่ 6 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์
โดย อาจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์
Evolutionary Theory Charles Darwin
Criterion-related Validity
ทบทวน ระดับของข้อมูลจากการวัด แบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
Charles Darwin เป็นนัก ธรรมชาติวิทยาได้เดินทางไปสํารวจ และทําแผนที่ของฝั่งของทะเลทวีป อเมริกาใต้ Darwin ได้ประสบการณ์ จากการศึกษาพืชและสัตว์ที่มีอยู่
บทบาทผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษา กรณีศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ในพระอุปถัมภัมภ์ฯ สนิท หฤหรรษวาสิน.
นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค ผลการสำรวจทัศนคติ ความเห็นของประชาชน DDC Poll ครั้งที่ 12 “ เรื่อง … รู้จักและเข้าใจโรคไข้หวัดใหญ่ 31 มีนาคม 2558.
เจ้าของโครงการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้ควบคุมงาน บริษัท แอ็ดวานซ์ คอนซัลแทนต์ แอนด์ ดีไซน์ จำกัด ผู้รับจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด คงมั่นการช่าง.
การควบคุมงานก่อสร้าง ( การทดสอบวัสดุ ). หัวข้อการบรรยาย 1. การเจาะสำรวจชั้นดิน 2. การทดสอบแรงดึงของเหล็ก 3. การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต หมายเหตุ : การบรรยายจะอ้างอิงแบบ.
LOGO แนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาตาม หลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ( ปรับปรุง 2559)
ประวัติเมืองน่าน โดย นาย กันตพล วาทกุลชร
สถิติเบื้องต้นในการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theories)
การวิเคราะห์ข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา
ความหลากหลายทางชีวภาพ และ การอนุรักษ์
แหล่งสารสนเทศ ดร.นฤมล รักษาสุข.
แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
วิชา พุทธปรัชญาเถรวาท THERAVADA BUDDHIST PHILOSOPHY
โครงสร้างอะตอม.
คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต
สถิติที่ใช้ในงาน การวิจัยเชิงปริมาณ
จุดประสงค์การเรียนรู้
บทที่ 15 การตอบสนองของพืช
ประวัติของ ชาลส์ ดาร์วิน และ ผลงาน.
เกริ่นนำงานวิจัยเบื้องต้น
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง Factors Related to Readiness for Hospital Discharge.
ปรัชญาทางการเมือง Political Philosophy
พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
บทที่ 10 สถิติเชิงบรรยาย
เส้นทางสู่ วิชาชีพนักกฎหมาย
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
รายวิชาแหล่งสารสนเทศ หน่วยที่ 5 แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามสาขาวิชา
โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา
แหล่งสารสนเทศ ดร.นฤมล รักษาสุข.
วิวัฒนาการ (evolution)
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ
ข้อมูลประกอบการประชุมผู้บริหารระดับสูง
ความหมายของปรัชญา.
ส่วนรับรองด้านการปศุสัตว์ สพส.
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม (Social & Culture Change)
แนวทางการดำเนินงานเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกร ปี 2559
การออกแบบธุรกิจออนไลน์
คำนิยาม จริยธรรม: สิ่งที่ควรประพฤติ (ตามข้อกำหนด เพราะทำให้ สังคมเป็นสุข) ศิลธรรม: จริยธรรมที่กำหนดโดยหลักศาสนา คุณธรรม: ธรรมที่ปฏิบัติแล้วเป็นคุณทั้งต่อผู้อื่นและตนเอง.
การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์
วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน Wilhelm Conrad Röntgen
ทวีปเอเชีย และ โอเชียเนีย
พระพุทธศาสนา.
ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin)
นางธนตวรรณ ขวัญแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ
การประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้และสังเคราะห์บทเรียน 3 ปี
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวิเคราะห์ข้อมูล เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
Origin Group Present.
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
การวิจัยทางธุรกิจ Business Research
พลวัตความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ :
บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์
Concept behind VSEPR Molecular geometries Lecture 25: VSEPR
การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัย
History of AI – Introduction to Artificial Intelligence
Introduction to Public Administration Research Method
อ.พรพนา ปัญญาสุข วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ผู้วิจัย
ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2555
ตารางแสดงจำนวนบุคลากรแยกตามศูนย์
เนื้อหาที่สำคัญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 พ.ศ มีดังนี้ มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา.
การคิดและกระบวนการคิด
ใบสำเนางานนำเสนอ:

พัฒนาการของการวัดและประเมินผลการศึกษา ประเทศจีนสมัยโบราณมีการสอบเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งข้าราชการและขุนนางระดับต่างๆ นักปราชญ์กรีกโบราณ เช่น โซกราตีส (Socrates) มีการทดสอบความรู้ของนักเรียนโดยการสอบปากเปล่า ในเมืองไทยสมัยก่อนการเรียนการสอนจะเป็นการเรียนกับครูตัวต่อต่อ มีการสอบปากเปล่าและภาคปฏิบัติทีละคน เพื่อวัดและประเมินผลการเรียนว่าใครควรจะสำเร็จการศึกษา

จุดเริ่มต้นของการวัดผลด้านจิตวิทยา เนื้อหาวิชาสาขาจิตวิทยาเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว ประมาณ พ.ศ. 2393 นั้นมีส่วนที่จัดว่าเป็นปรัชญามากกว่าทางด้านวิทยาศาสตร์เช่นปัจจุบัน การศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์และพฤติกรรมของมนุษย์นั้น เรียกว่า วิชา ปรัชญาจริยธรรม (Moral Philosophy) ส่วนใหญ่จะเรียนเกี่ยวกับ จิต (mind) และวิญญาณ (soul) การเรียนวิชาจิตวิทยาในยุคนั้นไม่มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตั้งทฤษฎีทางจิตวิทยาเลย ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า คนเราสามารถวัดผลเกี่ยวกับ ความจำ การลืม สติปัญญาและความเร็วของปฏิกริยาตอบสนองของมนุษย์นั้นถือว่าเป็นเรื่องไร้สาระ และไม่ได้รับความสนใจเลย

ต่อมานักฟิสิกส์และนักสรีรวิทยาได้ร่วมกันทำการทดลองเกี่ยวกับการวัดความสามารถในการจำแนกแยกแยะของประสาทสัมผัสและความเร็วของปฏิกริยาตอบสนองของมนุษย์ในหลายๆ แหล่ง ผลจากการค้นคว้าทดลองดังกล่าวแล้ว เป็นจุดเริ่มต้นให้นักวิชาการในสาขาวิชาจิตวิทยาได้สนใจการวัดผลทางด้านจิตวิทยาของมนุษย์ และได้ตระหนักถึงอิทธิพลของวิชาชีววิทยาและวิชากายวิภาคที่มีต่อสาขาวิชาของตนมากขึ้น

ประมาณ พ.ศ. 2443 นักจิตวิทยาได้พยายามผลักดันให้วิชาจิตวิทยาเป็น แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ โดยได้แยกตัวออกจากสาขาปรัชญา และมีความเกี่ยวพันกับสาขาวิชาชีววิทยามากขึ้น โดยได้เริ่มมีการทำการทดลอง มีการวัดผลสิ่งที่ทำการทดลอง เช่น การวัดพฤติกรรมของมนุษย์ ในช่วงระยะเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่นักจิตวิทยาได้เริ่มพัฒนาเทคนิคการวัดผลชนิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการทดลองทางด้านจิตวิทยา

จุดเริ่มต้นของจิตวิทยาการทดลอง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ได้เริ่มมีการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทดลองทางจิตวิทยา วิชาสรีรวิทยาเชิงการทดลองได้เป็นจุดสนใจในการทำวิจัยของนักวิจัยในห้องทดลองของประเทศเยอรมันและประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป นักสรีรวิทยาเชิงทดลองในช่วงแรกนั้นสนใจการทำงานของประสาทสัมผัสในร่างกายของมนุษย์ เช่น ประสาทสัมผัสทางตา ประสาทสัมผัสทางหู ประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ และความเร็วของการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

ในปี พ.ศ. 2422 เมื่อเริ่มมีห้องปฏิบัติการครั้งแรกที่เมือง Leipzig ในประเทศเยอรมัน โดย Wilhelm Wudnt เป็นผู้จัดตั้งขึ้นนั้น นักจิตวิทยาการทดลองในระยะแรกๆ ส่วนมากจะมุ่งทำการทดลองเกี่ยวกับทางด้านสรีรวิทยา เช่น การวัดประสาทสัมผัสทางตา ทางหู ความเร็วของปฏิกริยาตอบสนอง ต่อมาการทดลองได้ครอบคลุมไปถึงเรื่องที่เกี่ยวกับทางด้านจิตวิทยาโดยเฉพาะ เช่น การวัดการับรู้ ความเร็วในการเรียนรู้ การวัดความสามารถทางสมอง

นับตั้งแต่นั้นมามีการริเริ่มและวิธีการใหม่ๆ ในการทดลองและวิจัย เช่น การคิดสร้างรูปแบบของการวิจัยเชิงทดลอง พัฒนาวิธีการวัดผลและประเมินผลให้ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงและพัฒนาวิธีการทางด้านสถิติ เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการวัดผลและแปลผลการทดลองต่างๆ

การศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลในยุคแรก ในปี พ.ศ. 2402 Charles Darwin ได้เขียนหนังสือชื่อ Origin of Spicies จุดประสงค์ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ก็คือ ต้องการชี้ให้เห็นความแตกต่างและความแปรผันของลักษณะสิ่งมีชีวิตในแต่ละ species ผลงานของ Darwin ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาการวัดผลทางด้านจิตวิทยา กล่าวคือ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ Sir Francis Galton ได้นำความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาตามหลักการของ Darwin (Darwinian Biology) มาประยุกต์เข้ากับเรื่องราวของมนุษย์

Galton พยายามศึกษาหาความแตกต่างระหว่างบุคคล และค้นคว้าเกี่ยวกับลักษณะนิสัยที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เขาได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของมนุษย์ทั้งทางด้านกายภาพและด้านจิตวิทยา แล้วใช้วิธีการทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูลโดยมี Karl Pearson ได้คิดค้นพัฒนาวิธีการทางสถิติ คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson Product Moment Correlation) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับรูปแบบความแตกต่างระหว่างบุคคล

การศึกษาเกี่ยวกับบุคคลที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์ปกติ ในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับที่นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษสนใจเกี่ยวกับเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลนั้น นักจิตวิทยาก็เริ่มหันมาสนใจเกี่ยวกับบุคคลที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์ปกติ ในยุคก่อนนั้น คนที่เป็นโรคประสาทหรือคนที่เป็นโรคจิตจะถูกคุมขังและลงโทษในข้อหาที่ว่าเป็นแม่มดหรือหมอผี ต่อมาได้มีการศึกษาและวิจัยเพื่อที่จะทำความเข้าใจสภาพของคนปัญญาอ่อน คนที่จิตไม่สมประกอบ เพื่อที่จะช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และชีวิตของคนเหล่านี้ให้ดีขึ้น

ประเทศฝรั่งเศสเป็นแหล่งที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้มากที่สุด การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องบุคคลที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์ปรกตินี้เองทำให้ Alfred Binet นักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสและผู้ร่วมงานได้เริ่มสร้างแบบทดสอบวัดสติปัญญา (Intelligence Test) ขึ้นมาเพื่อใช้วัดพฤติกรรมของบุคคลที่ไม่สมประกอบ เช่น ทางด้านปฏิกริยาตอบสนอง ความสามารถทางสมอง เพื่อที่จะลงสรุปเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลเหล่านั้นว่าเหตุใดเขาจึงไม่สามารถที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนธรรมดากับเพื่อนๆ ได้ การศึกษาวิจัยของ Binet นี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา

การสร้างเสริมวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกา นักจิตวิทยาในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีความสนใจและสร้างแบบทดสอบวัดสติปัญญาขึ้นมาเช่นกัน James McKeen Cattell นักจิตวิทยาชาวอเมริกันแต่ได้ไปศึกษาวิชาจิตวิทยาระดับบัณฑิตศึกษากับ Wilhelm Wudnt ที่ประเทศเยอรมัน เป็นบุคคลที่มีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ จิตวิทยาเชิงทดลอง และนอกจากนี้ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับผลงานของ Francis Galton เรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิธีการทางสถิติเป็นอย่างดี ได้เริ่มสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดเกี่ยวกับประสาทสัมผัส และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของบุคคล และนอกจากนี้เขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ในการเรียนและงานภาคปฏิบัติของนักเรียนอีกด้วย

บุคคลที่ได้ช่วยสร้างเสริมเกี่ยวกับวิชาการวัดผลและประเมินผลการศึกษาอีกผู้หนึ่งคือลูกศิษย์ของ Cattell ชื่อ E.L. Thorndike เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว Thorndike มีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนา แบบทดสอบมาตรฐานทางการศึกษา ผลงานของ Thorndike และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียมีส่วนทำให้การวัดผลทางการศึกษาที่เป็นปรนัยแพร่หลายในอเมริกา

ผลงานของ Alfred Binet ก็ได้รับความสนใจอย่างมากในอเมริกา ใน พ. ศ ผลงานของ Alfred Binet ก็ได้รับความสนใจอย่างมากในอเมริกา ใน พ.ศ. 2459 Lewis Terman ได้แปลแบบทดสอบสติปัญญาของ Binet เป็นภาษาอังกฤษ และได้ดัดแปลงให้เข้ากับสภาพของคนอเมริกัน โดยให้ชื่อแบบทดสอบว่า Stanford-Binet Intelligence Test

พัฒนาการเกี่ยวกับวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาในประเทศไทย การวัดและประเมินผลการศึกษาของเมืองไทยในสมัยก่อนนั้น มักจะเป็นการสอบปากเปล่า เช่น ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสอบพระภิกษุเป็นเปรียญ โดยให้แปลภาษาบาลี เป็นภาษาไทย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5-6 การวัดและประเมินผลการศึกษาเปลี่ยนแปลงจากการสอบปากเปล่า เป็นการสอบข้อเขียนให้นักเรียนเขียนตอบลงในกระดาษ ลักษณะข้อสอบในสมัยนั้นเป็นอัตนัย หรือแบบความเรียง

ในสมัยรัชกาลที่ 7 เริ่มมีการพัฒนาระบบการศึกษารวมทั้งการวัดและประเมินผลในประเทศไทยให้ทันสมัยอย่างจริงจัง จากหลักฐานที่ค้นพบแบบทดสอบเชาวน์ ของพระยาเมธาธิบดี โดยนายยุทธ เดชคำรณ ปรากฏว่าแบบทดสอบฉบับที่ค้นพบนี้ลักษณะข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบ มีคำอธิบายชี้แจงวิธีตอบเช่นเดียวกับแบบทดสอบมาตรฐานในปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร.ชวาล แพรัตกุล ผู้ซึ่งได้ศึกษาแบบทดสอบเชาวน์ ของพระยาเมธาธิบดีอย่างละเอียด ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า แบบทดสอบฉบับนี้อาจจะเป็นแบบทดสอบประเภทปรนัยฉบับแรกของเมืองไทย และประมาณว่าสร้างขึ้นในระหว่าง พ.ศ. 2470-2475

สำหรับการเคลื่อนไหวในด้านการวัดผลการศึกษาของเมืองไทยนั้น จุดเริ่มต้นที่สาขาวิชานี้ได้รับความสนใจจากนักการศึกษาเริ่มขึ้นในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สำนักงาน USOM ของสหรัฐอเมริกาได้ส่งนักวิชาการมาช่วยเมืองไทยทางด้านการศึกษามีการอบรมวิธีการเขียนข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ

ต่อมาในช่วงปี พ. ศ. 2500 มหาวิทยาลัยอินเดียนาได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ คือ W ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2500 มหาวิทยาลัยอินเดียนาได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ คือ W.H.Fox มาก่อตั้งคณะวิจัยเพื่อทำการวิจัย และสร้างแบบทสอบที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร หลังจากนั้นได้มีการส่งนักการศึกษาคนไทยไปเรียนวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่สหรัฐอเมริกา คือ ศาสตราจารย์ ดร.ชวาล แพรัตกุล

ในปี พ.ศ. 2504 หลังจากที่สำเร็จการศึกษาแล้ว และนับว่าเป็นคนไทยคนแรกที่จบวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ดร.ชวาล ได้ร่วมงานกับ ดร.มล.ตุ้ย ชุมสาย จัดตั้งสำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยาขึ้นในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และต่อมา ในปี พ.ศ. 2508 ได้ทำการเปิดสอนวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาในระดับปริญญาโทและประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาเฉพาะ เป็นแห่งแรกของเมืองไทย ในปัจจุบันสถาบันที่ทำการสอนวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาในระดับปริญญาโทอีกแห่งหนึ่งคือ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย