งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต
ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม นางสาวกิตติยา เสทธะยะ พยาบาลวิชาชีพ ระดับชำนาญการ หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

2 ความเป็นมา ความเป็นมา
ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีความชุกของโรคจาก 12.3% ของประชากร ในปีพ.ศ เพิ่มขึ้นเป็น 14% ของประชากร ในปีพ.ศ ในประเทศไทย จากการศึกษา Thai SEEK Study โดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยในปีพ.ศ พบว่ามีความชุกของ CKD ในระยะที่ 1-5 เท่ากับ 17.5% ของประชากร สถานการณ์ในปัจจุบันหลังจากที่มีนโยบายช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต(RRT) มีผู้ป่วยที่ได้รับการทำ RRT ประมาณ 40,000 คน และมีจำนวนผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นถึงประมาณปีละ 12,000 คน โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนผู้ป่วย ESRD ที่มารับบริการ Hemodialysis ปี จำนวน 3,181 ครั้ง 3,253 ครั้ง 3,831 ครั้ง 5,990 ครั้ง และ 6,657 ครั้ง และมีผู้ป่วยมาฟอกเลือดเป็นจำนวนประจำ จำนวน 18 ราย 22 ราย 24 ราย 30 ราย และ 41 ราย ตามลำดับ

3 คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง
ความเป็นมา (ต่อ) การเจ็บป่วยผลกระทบต่อผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรงกระทั่งคุกคาม ต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง

4 ความเป็นมา (ต่อ) จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ต่างกัน พบว่า ผู้ป่วย CKD มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าคนปกติทั่วไป และสำหรับผู้ป่วย CKD มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าผู้ป่วย ESRD และชนิดของการรักษาพบว่าผู้ป่วยที่ทำ Kidney transplantation มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าผู้ป่วยที่ทำ HD และผู้ป่วยที่ทำ CAPD (Avramovic M, Stefanovic V.,2012)

5 ความเป็นมา (ต่อ) จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ต่างกัน พบว่า ผู้ป่วยที่ทำ Hemodialysis และผู้ป่วยที่ทำ CAPD ในประเทศไทยยังไม่พบการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบในลักษณะที่มีการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทำให้การศึกษาพบความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม นอกจากนั้นคุณภาพชีวิตยังส่งผลต่อการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญด้วย (อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา, 2557)

6 ความเป็นมา (ต่อ) แนวคิดในการรักษา เก็บข้อมูล
การรักษาโรค เพียงอย่างเดียว ดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เก็บข้อมูล วิเคราะห์และประเมินผลที่ชัดเจน วางแผน

7 วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา
เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม วิธีการศึกษา การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (cross-sectional analytic study) กลุ่มตัวอย่างประชากร ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทุกรายที่มาทำการฟอกเลือดเป็นประจำ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ณ หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลนครพิงค์ ทั้งหมด จำนวน 42 ราย วิธีการเก็บข้อมูล ผู้ทำการศึกษาจะเข้าพบกลุ่มตัวอย่างทำการสัมภาษณ์ และรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มข้อมูล ด้วยแบบบันทึกข้อมูล

8 เครื่องมือที่ใช้ 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป
1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบประเมินคุณภาพชีวิต ใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิต 9-THAI ได้การศึกษาความเที่ยงตรงในผู้ป่วยคนไทยที่ได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น โดยการคำนวณค่า Intraclass correlation (ICC) ของคะแนนสุขภาพกายและใจได้เท่ากับ 0.79 (ช่วงเชื่อมั่น 95% = ) และ 0.78 (ช่วงเชื่อมั่น 95% = ) ตามลำดับ

9 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยควอไทล์ 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างใช้สถิติ Linear regression แบ่งการวิเคราะห์เป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์โดย Independent t-test หรือ Wilcoxon , s ranksum test ขึ้นกับการกระจายของข้อมูล และเลือกค่า p-value น้อยกว่า 0.20 ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์โดย multivariable linear regression และ ตัวแปรที่เลือก ในตัวแบบสุดท้ายคือตัวแปรที่มี ค่า p-value น้อยกว่า 0.05 ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Stata version 14 การศึกษานี้ได้ผ่านการพิจารณาและรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ในมนุษย์ของโรงพยาบาลนครพิงค์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 เลขที่ ชม /135

10 ผลการศึกษา ลักษณะข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ
ปัจจัย จำนวน (ร้อยละ) เพศชาย 24 (57.1) อายุ (ปี) (ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ±12.33 ดัชนีมวลกาย ( kg./m2) (ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ±4.05 Systolic blood pressure (mmHg.) (ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ±24.42 Diastolic blood pressure (mmHg.) (ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ±17.88 สถานภาพสมรสคู่ 34 (81) สิทธิการรักษาข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 26 (61.9) ระดับการศึกษามัธยม/ปวส./ปวช./อนุปริญญา 16 (38.1) รายได้ของครอบครัวต่อเดือน < 10,000 บาท 19 (45.2) ไม่ได้ทำงาน 24 (57.2) มีโรคร่วม 42 (100) ระยะเวลาที่ทำการฟอกเลือด(เดือน) 20.5,18 การได้รับยา Erythropoietin 8000 IU/wk. 18 (42.8) Hemoglobin (g/dl) (ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 9.55±1.79 Hematocrit (%)(ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 31.03±5.36 Albumin (g/dl) (ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 3.81±0.38 Phosphorus (mg/dl) (ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 4.71±1.60 Kt/V ทำ 2 ครั้ง/สัปดาห์ (N=27) (ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 1.87±0.35 Kt/V ทำ 3 ครั้ง/สัปดาห์ (N=15) (ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 1.78±0.36

11 คะแนนคุณภาพชีวิตด้านกายและด้านใจ ของกลุ่มตัวอย่าง (n=42)
ด้านกาย (ค่ามัธยฐาน,พิสัยควอไทล์) 35.62,38.01  ด้านใจ (ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)  36.95  17.72

12 Correlation coefficient
Correlation coefficient p-value คุณภาพชีวิตด้านใจและด้านกาย 0.66 < 0.001

13 ค่ามัธยฐาน(พิสัยควอไทล์)
ลักษณะข้อมูลพื้นฐานข้อมูล ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและคุณภาพชีวิตด้านกายของกลุ่มตัวอย่าง (n=42) ปัจจัย คุณภาพชีวิตด้านกาย p-value ค่ามัธยฐาน(พิสัยควอไทล์) Diastolic (mmHg.) ≤ 90 > 90 36.79(27.20) 17.13(8.25) 0.033 a รายได้ของครอบครัวต่อเดือน(บาท) 0.011 b < 10,000 15.87(31.14) 10,000-19,999 47.73(26.97) 20,000-29,999 46.43(21.38) 30,000-39,999 39.20(17.40) ≥ 40,0000 53.28(24.57) Hematocrit (%) 0.016 a < 30 21.13(30.89) ≥ 30 48.02(25.56) Albumin (g/dl) 0.045 a < 3.5 16.50(28.75) ≥ 3.5 37.79(33.07) aRanksum test bKruskal-Wallis test

14 ผลการวิเคราะห์ระหว่างปัจจัยและคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง (n=42)
คุณภาพชีวิตด้านกาย Adjusted beta coefficient (95%Cl.) p-value รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน (บาท) 5.15 ( ) 0.004 Hematocrit (%) 13.46 ( ) 0.020

15 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านใจ
เมื่อทำการวิเคราะห์แบบตัวแปรเดี่ยว เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านใจของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พบว่า ไม่มีปัจจัยใดที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านใจของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบแนวโน้มว่ากลุ่มที่มีคุณภาพชีวิตด้านใจสูงกว่า ดังแสดงในตารางถัดไป

16 ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัย* คุณภาพชีวิตด้านใจ p-value ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพศ 0.582 d ชาย 38.28 ± 16.21 หญิง 35.18± 19.90 อายุ (ปี) 0.417 d ≤ 60 34.47±16.77 > 60 39.00±18.59 ดัชนีมวลกาย ( kg./m2) 0.803 e 37.31±15.06 34.81±18.68 41.79±17.98 Systolic (mmHg.) ≤ 140 > 140 41.14±18.65 33.49±16.52 0.167 d Diastolic (mmHg.) ≤ 90 > 90 38.40±17.21 29.90±19.93 0.254 d สถานภาพสมรส 0.947 e โสด 34.62±23.41 คู่ 37.15±17.59 หม้าย/หย่า/แยก 38.55±14.70 สิทธิการรักษา 0.415 e บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 30.10±20.43 40.60±16.90

17 ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัย คุณภาพชีวิตด้านใจ p-value ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกันสังคม 31.28±15.73 บุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ 32.75±31.47 ระดับการศึกษา 0.606 e ไม่ได้เรียนหนังสือ 31.42±27.41 ประถมศึกษา 33.37±18.68 มัธยม/ปวส./ปวช./อนุปริญญา 38.65±14.09 ปริญญาตรีขึ้นไป 42.58±18.90 รายได้ของครอบครัว ต่อเดือน (บาท) 0.156 e < 10,000 31.04±19.19 10,000-19,999 37.36±17.76 20,000-29,999 31.90±17.92 30,000-39,999 46.67±7.32 ≥ 40,0000 47.03±13.03 การทำงาน 0.547 e ไม่ได้ทำงาน 38.39±18.92 ทำงานเต็มเวลา 44.05±24.50 ทำงานไม่เต็มเวลา 30.99±10.98 ทำงานบ้าน 32.81±13.86 ระยะเวลาที่ทำการฟอกเลือด(เดือน) 0.438 e < 60 36.07±18.26 60-120 - > 120 42.22±14.20

18 ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัย คุณภาพชีวิตด้านใจ p-value ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Hemoglobin (g/dl) 0.679 d < 10 35.95±17.29 ≥ 10 38.28±18.70 Hematocrit (%) 0.448 d < 30 34.64±17.14 ≥ 30 38.86±18.34 Albumin (g/dl) 0.619 d < 3.5 34.11±12.57 ≥ 3.5 37.62±18.82 Phosphorus (mg/dl) 0.864 e < 2.5 32.86±13.56 > 5.5 37.63±15.92 37.27±22.75 Kt/V ทำ 2 ครั้ง/สัปดาห์ 0.054d < 2.0 30.48±18.15 ≥ 2.0 Kt/V ทำ 3 ครั้ง/สัปดาห์ < 1.2 ≥ 1.2 42.74±15.60 - 38.79±17.94 NA c Spearman’s rank d Independent t-test e ANOVA

19 ความสัมพันธ์ของขนาดยาและคุณภาพชีวิตด้านกายและด้านใจ
ความสัมพันธ์ของขนาดยา Erythropoietin (IU/wk) p-value คุณภาพชีวิตด้านกาย 0.190 0.227 คุณภาพชีวิตด้านใจ 0.135 0.393

20 สรุปผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 42 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.1 มีอายุเฉลี่ย 50.93±12.33 ปี คุณภาพชีวิตด้านกายมีคะแนนค่ามัธยฐานและพิสัยควอไทล์ (38.01) อยู่ในช่วง ,59.30 คะแนน คุณภาพชีวิตด้านใจมีคะแนนค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 36.9517.72 อยู่ในช่วง -6.35,60.11 ซึ่งถือได้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านกายและด้านใจอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

21 สรุปผลการศึกษา สรุปผลการศึกษา
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านกายของกลุ่มตัวอย่าง มี 4 ปัจจัยได้แก่ ค่าความดันโลหิต Diastolic รายได้ของครอบครัวต่อเดือน ระดับ Hematocrit ระดับ Albumin เมื่อควบคุมอิทธิพลและวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยเชิงพหุ พบว่าปัจจัย ที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทางกาย มี 2 ปัจจัยคือ รายได้ของครอบครัวต่อเดือน และค่า Hematocrit

22 สรุปผลการศึกษา สรุปผลการศึกษา
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านใจของกลุ่มตัวอย่าง เมื่อทำการวิเคราะห์แบบตัวแปรเดี่ยว พบว่า ไม่มีปัจจัยใดที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านใจของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคุณภาพชีวิตด้านกายและด้านใจมีความสัมพันธ์แบบแปรผัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทำการทดสอบด้วยสถิติ Pearson correlation ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) มีค่าเท่ากับ 0.66 (p < 0.001) จากผลการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าคุณภาพชีวิตด้านกายและด้านใจมีความสัมพันธ์กัน หากคุณภาพชีวิตด้านกายดีส่งผล ทำให้คุณภาพชีวิตด้านใจดีด้วย

23 ข้อจำกัดในการศึกษาและการนำไปใช้
แม้ว่าการศึกษานี้ได้ทำการศึกษาที่หน่วยไตเทียมโรงพยาบาล นครพิงค์เพียงแห่งเดียวอาจมีจำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่างน้อย ในการศึกษาปัจจัยต่างๆ อย่างไรก็ตามการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยทั้งหมดจะทำให้ได้ข้อมูลมาใช้ปฏิบัติจริง โดยนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และพบสี่ปัจจัย ที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทำให้สามารถนำไปวางแผนจัดการกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์ได้เป็นรายบุคคล

24 กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ
ดร.ภญ.ชิดชนก เรือนก้อน ศูนย์วิจัยเภสัชระบาดวิทยาและสถิติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่หน่วยไตเทียมทุกท่าน ผู้ป่วยโรคไตที่ทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโรงพยาบาลนครพิงค์ทุกท่าน

25


ดาวน์โหลด ppt คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google