งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา 485082397-7
การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง กรณีศึกษา : ภูผาเมฆ ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา

2 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นภารกิจหนึ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอนมาจากรัฐบาลส่วนกลาง โดยมีกลุ่มภารกิจต่างๆ จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 2. การคุ้มครองดูแลและการบำรุงรักษาป่า 3. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ และการดูแลรักษา ที่สาธารณะ บทที่ 1

3 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ)
สำหรับขอบเขตการถ่ายโอนนั้น ได้ระบุว่า “เขตพื้นที่ที่เป็น ป่าสงวนแห่งชาติ ยกเว้นพื้นที่อนุรักษ์ ได้แก่ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการอยู่แล้วให้ถ่ายโอนได้ทันทีโดยมีเงื่อนไข คือ พื้นที่ป่าดังกล่าวต้องอยู่ติดกับชุมชนหรือชุมชนได้ดูแลป่านั้นอยู่แล้ว” ป่าชุมชน การป้องกันไฟป่า และควบคุมไฟป่าให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนดำเนินการและสนับสนุนด้านงบประมาณ ป่าชุมชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมดูแลป่าไม้และวางแผนใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนในท้องถิ่นของตน บทที่ 1

4 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ)
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) เป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจโดยการใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การท่องเที่ยวมีความมั่นคงยั่งยืนซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือ สนับสนุนส่งเสริมจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นทางเลือกใหม่ในการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม สร้างรายได้เข้าสู่ตำบล และสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ปกป้องรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมทาง การท่องเที่ยวให้คงอยู่คู่สังคมมนุษย์นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ บทที่ 1

5 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ)
ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) 1. จะต้องมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น 2. จะต้องมีการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวโดยสื่อต่างๆ 3. ช่วยลดผลกระทบต่างๆที่อาจจะมีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. จะต้องให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ บทที่ 1

6 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ)
การมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ จำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง ได้แก่ การมีส่วนร่วมใน การรับทราบข้อมูลข่าวสารทางราชการในเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การร้องเรียนกล่าวโทษผู้กระทำผิดต่อเจ้าพนักงานในกรณีกระทำการละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนทางอ้อม โดยให้ความสำคัญขององค์กรเอกชนที่จดทะเบียนเป็นองค์กรคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม บทที่ 1

7 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ)
สำหรับในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปรางนั้น มีพื้นที่ป่าชุมชนที่มีชื่อว่า “ภูผาเมฆ” ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งอาหาร แหล่งศึกษาเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งกำลังถูกคุกคามจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ หากป่าชุมชนแห่งนี้ได้รับการพัฒนาโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีจิตสำนึกในการดูแลรักษาป่าชุมชน และเป็นการสร้างความร่วมมือกันทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ ก่อให้เกิดการดูแลพื้นที่ป่าชุมชนที่มีศักยภาพสูงสุดและมีความยั่งยืนตลอดไป ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง กรณีศึกษา : ภูผาเมฆ ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง บทที่ 1

8 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษานโยบายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ในด้านนโยบาย ระบบ ความสำคัญ และผลกระทบ 2. เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 4. เพื่อนำเสนอรูปแบบ แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนตามกรอบแนวคิดที่ได้จากการเก็บข้อมูล บทที่ 1

9 ขอบเขตการศึกษา 1. ด้านแนวคิด โดยใช้แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ด้านหน่วยในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 3. ขอบเขตด้านระยะเวลา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม – กันยายน 2551 บทที่ 1

10 วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อวัดทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง บทที่ 1

11 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบระดับการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 2. ทราบปัญหาและข้อคิดเห็นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 3. เป็นแนวทางให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ยั่งยืนต่อไป บทที่ 1

12 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (ต่อ)
4. ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากชุมชนได้อย่างยั่งยืนและถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย ไม่บุกรุก ทำลายป่ารอบข้าง ชุมชน โรงเรียน วัด สามารถใช้ป่าเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศน์ พืชสมุนไพร และสัตว์ต่างๆ 5. เป็นแนวทางแก่หน่วยงานที่สนใจในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้นต่อไป บทที่ 1

13 นิยามศัพท์ 1. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมายถึง การท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปยังแหล่งธรรมชาติ และแหล่งวัฒนธรรมอย่างมีความรับผิดชอบ โดยไม่ก่อให้เกิด การรบกวนหรือทำความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแต่มีวัตถุประสงค์อย่างมุ่งมั่นเพื่อชื่นชมศึกษา เรียนรู้ และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพ พืชพรรณ และสัตว์ป่าตลอดจนลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในแหล่งธรรมชาตินั้นอีกทั้งช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นด้วย บทที่ 1

14 นิยามศัพท์ (ต่อ) 2. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมายถึง การปรับปรุง พัฒนาและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวภูผาเมฆของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 3. ประชาชน หมายถึง ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนครัวเรือนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 4. อายุ หมายถึง อายุนับเป็นปีเต็ม(เศษมากกว่า 6 เดือน คิดเป็น 1 ปี) ในวันที่ตอบแบบสอบถาม บทที่ 1

15 นิยามศัพท์ (ต่อ) 2. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมายถึง การปรับปรุง พัฒนาและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวภูผาเมฆของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 3. ประชาชน หมายถึง ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนครัวเรือนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 4. อายุ หมายถึง อายุนับเป็นปีเต็ม(เศษมากกว่า 6 เดือน คิดเป็น 1 ปี) ในวันที่ตอบแบบสอบถาม บทที่ 1

16 นิยามศัพท์ (ต่อ) 5. ระดับการศึกษา หมายถึง ระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และปริญญาตรีหรือสูงกว่า 6. อาชีพ หมายถึง อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งได้แก่ อาชีพรับจ้าง เกษตรกร ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว ประมง รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และอาชีพอื่นๆนอกเหนือจากนี้ 7. รายได้ต่อเดือน หมายถึง รายได้ทั้งหมดต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม บทที่ 1

17 นิยามศัพท์ (ต่อ) 8. ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หมายถึง ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ใน ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง คิดเป็นปี 9. ผู้นำท้องถิ่น หมายถึง การดำรงตำแหน่งในระดับท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ กำนัน หรือสารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำทางศาสนา นักการเมืองท้องถิ่น และตำแหน่งผู้นำชุมชน อื่นๆ 10. ทัศนคติต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมายถึง ทัศนคติของประชาชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่จัดการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง กรณีศึกษา ภูผาเมฆ ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับทัศนคติสูง ระดับทัศนคติปานกลาง และระดับทัศนคติต่ำ บทที่ 1

18 นิยามศัพท์ (ต่อ) 11. การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การที่ประชาชนหรือกลุ่มคนภายในสังคมได้เข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการทุกขั้นตอนของกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลหรือองค์กรต่างๆโดยใช้ความพยายามหรือใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อเข้าร่วมทั้งทางกิจกรรมใน 4 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านร่วมตัดสินใจ ด้านร่วมปฏิบัติการ และด้านร่วมประเมินผลงาน ซึ่งการร่วมดำเนินการในกิจกรรมต่างๆจะเป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้นและให้เกิดการเรียนรู้ในการนำไปพัฒนาสิ่งต่างๆด้วยตนเอง อีกทั้งทำให้ชุมชนเกิดความเจริญเติบโต ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองในอนาคต บทที่ 1

19 การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว 2. แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 3. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนในระดับท้องถิ่น 4. บทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 5. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 2

20 การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
โดยสรุป จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นั้นมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลากหลายประการทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ที่เข้าไปศึกษาวิจัย ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึง ปัจจัยระดับบุคคล ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ การดำรงตำแหน่งในชุมชน ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่วมคิด ด้านร่วมตัดสินใจ ด้านร่วมปฏิบัติการ และด้านร่วมติดตามและประเมินผล บทที่ 2

21 กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ปัจจัยระดับบุคคล -เพศ - อายุ -ระดับการศึกษา - อาชีพ -รายได้ต่อเดือน -ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ - การดำรงตำแหน่งในชุมชน การมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วน ตำบลวังมะปราง 1. ด้านร่วมคิด 2. ด้านร่วมตัดสินใจ 3. ด้านร่วมปฏิบัติการ 4. ด้านร่วมติดตามและประเมินผล ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บทที่ 3

22 กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย (ต่อ)
ประชากร ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่อยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบล วังมะปราง จำนวน ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่าง 1. การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มประชาชนที่เป็นหัวหน้าครอบครัว โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10 ดังนี้ n = (N)(10/100) = (1571)(.10) = 157.1 ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 157 คน บทที่ 3

23 กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย (ต่อ)
2. การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1) ใช้วิธีการคัดเลือกแบบแบ่งชั้น (stratified sampling) ดังนี้ ก. ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากครัวเรือน ในตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง โดยแยกออกเป็นหมู่บ้าน จำนวน 11 หมู่บ้าน ข. เลือกตัวอย่างโดยกำหนดสัดส่วนที่เท่ากันจากครัวเรือนทั้งหมด คือ 1571 ครัวเรือน ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ คือ 157 ครัวเรือน คำนวณสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละหมู่บ้าน ดังนี้ S = N/n = 1571/157 = 10 ได้สัดส่วนจำนวนกลุ่มตัวอย่างต่อประชากรเท่ากับ 1 : 10 บทที่ 3

24 กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย (ต่อ)
ค. ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยการสุ่มแบบไม่แทนที่ (Sampling without replacement) ด้วยวิธีการจับฉลากดำเนินการสุ่มทีละหมู่บ้านตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้จนครบตามจำนวนที่คำนวณทุกหมู่บ้าน บทที่ 3

25 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และการดำรงตำแหน่งในชุมชน ซึ่งเป็นคำถามปลายปิดในรูปแบบตรวจรายการ ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการวัดทัศนคติของประชาชนต่อการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 10 ข้อ บทที่ 3

26 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ต่อ)
ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการเสนอแนะปัญหา การมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมด้านร่วมปฏิบัติตามโครงการและการมีส่วนร่วมในการติดตามผลและประเมินผล ตอนที่ 4 แบบสอบถามปัญหาและข้อคิดเห็นของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็น บทที่ 3

27 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content validity) โดยการนำแบบสอบถามทั้งหมดเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ หลังจากผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ผู้วิจัยปรับปรุงแบบสอบถามตามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ บทที่ 3

28 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การหาความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) โดยนำเครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาไปทดลองใช้กับประชาชนตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง จำนวน 30 ราย แล้วนำวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น ดังนี้ แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติของประชาชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .83 แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .96 บทที่ 3

29 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ศึกษาพื้นที่ที่จะดำเนินการเก็บข้อมูลในตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 2. ประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรังในเรื่องการเก็บข้อมูล และนัดหมายกับกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาไว้ล่วงหน้า 3. ผู้วิจัยจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและผู้ช่วยวิจัย จำนวน 2 คน โดยให้ผู้ตอบกรอกแบบสอบถาม และผู้วิจัยนั่งร่วมอยู่ด้วยเพื่อชี้แจงกรณีมีปัญหา 4. ผู้วิจัยตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำตอบในแบบสอบถาม ทุกชุด 5. นำแบบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป บทที่ 3

30 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ (Statistic Package for the Social Science) บทที่ 3

31 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ (ต่อ)
1. สถิติพรรณนา ได้แก่ ปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ การดำรงตำแหน่งในชุมชน ทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบล วังมะปราง โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติ ร้อยละ (percent) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) บทที่ 3

32 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ (ต่อ)
2. สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ 1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ การดำรงตำแหน่งในชุมชนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบล วังมะปราง โดยวิเคราะห์ด้วยค่าไคสแควร์ ( Chi square) 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับ การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง โดยวิเคราะห์ด้วยค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) บทที่ 3

33 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ส่วนที่ 3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่วมคิด ด้านร่วมตัดสินใจ ด้านร่วมปฏิบัติการ ด้านร่วมติดตามและประเมินผล ส่วนที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับการมีส่วนร่วมขอประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ส่วนที่ 5 ปัญหาและข้อคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ บทที่ 4

34 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
เพศ บทที่ 4

35 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
อายุ บทที่ 4

36 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ระดับการศึกษา บทที่ 4

37 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
อาชีพ บทที่ 4

38 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รายได้ต่อเดือน บทที่ 4

39 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น บทที่ 4

40 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
การดำรงตำแหน่งในชุมชน บทที่ 4

41 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 2 ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทัศนคติรายข้อ สูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1. คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง ( X = 3.85, SD = 0.99) 2. คิดว่าการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จำเป็นต้องมีศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ให้บริการอำนวยความสะดวกเบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยว ( X = 3.75, S.D. = 1.02) 3. คิดว่าการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ภูผาเมฆเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ( X = 3.71, S.D. = 0.99) ทัศนคติภาพรวม พบว่า ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.59, S.D. = 0.81) บทที่ 4

42 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 3 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง 1. การมีส่วนร่วมในการเสนอแนะปัญหา อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.98, S.D. = 1.11) 2. การมีส่วนร่วมในการวางแผน อยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.91, S.D. = 1.19) 3. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามโครงการ อยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.51, S.D. = 1.17) บทที่ 4

43 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 3 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง 4. การมีส่วนร่วมในการติดตามผลและประเมินผลส่วนใหญ่การมี ส่วนร่วม อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.01, S.D. = 1.15) ภาพรวม พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.85, S.D. = 1.15) บทที่ 4

44 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปัจจัย X2 p-value เพศ 7.319 .026* ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น 17.023 .030* การดำรงตำแหน่งในชุมชน 11.197 .004* บทที่ 4

45 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 4 ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปัจจัย r p-value ทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 59.173 .000* บทที่ 4

46 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 5 ปัญหาและข้อคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก. ด้านปัญหาในการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พื้นที่จัดการเป็นแหล่งท่องเที่ยวไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านตนเอง 2. ไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง 3. ผู้นำหมู่บ้านไม่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วถึง 4. กิจกรรมของโครงการยังไม่เป็นที่รู้จัก 5. การเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมมีความยากลำบาก 6. คนในครอบครัวไม่ได้สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรม บทที่ 4

47 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 5 ปัญหาและข้อคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้านข้อคิดเห็นของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 1. ควรเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวให้มากกว่าเดิม เช่น บันได เก้าอี้นั่งพักระหว่างขั้นบันได ป้ายบอกทาง ห้องสุขา ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น 2. ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ให้มากกว่าเดิมเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว 3. ควรประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมสู่ประชาชนทั้งในตำบลและภายนอกตำบลให้มากขึ้น บทที่ 4

48 ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 5 ปัญหาและข้อคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้านข้อคิดเห็นของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 4. ควรส่งเสริมให้การจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภายนอก เช่น การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนอนุรักษ์ป่า การจัดอบรมอาสาสมัครพิทักษ์ป่า เป็นต้น 5. ควรจัดสรรสวัสดิการแก่อาสาสมัครที่เข้าร่วมกิจกรรม 6. หน่วยงานของรัฐควรเข้ามามีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมที่ต่อเนื่องและยั่งยืน 7. เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปรางควรมีความรู้เกี่ยวกับ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้มากกว่านี้ บทที่ 4

49 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้
1. ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ที่มีความเชียวชาญหรือเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ควรเข้ามาให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องก่อนการดำเนินกิจกรรมต่างๆในกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดได้ตั้งแต่ขั้นค้นหาปัญหา ค้นหาความต้องการจากประชาชน ตลอดจนขั้นตอนการวางแผนกิจกรรม หากประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นมีความรู้ หรือมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากหลักฐานทางวิชาการก็อาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้ บทที่ 5

50 ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ (ต่อ)
2. ผู้รับผิดชอบหลักหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล ควรพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ให้มีความพร้อมในความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับกระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมให้กับประชาชน และความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 3. ควรมีการขยายกรอบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ครอบคลุมประชาชนทุกหมู่บ้านในตำบล เพราะประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นั้นส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยว จึงควรเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านที่อยู่ห่างออกไปจากแหล่งท่องเที่ยวให้มากขึ้น บทที่ 5

51 ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ (ต่อ)
4. ในกระบวนสร้างการมีส่วนร่วมควรเพิ่มกลุ่มวัยอื่นๆที่ไม่ใช่กลุ่มวัยแรงงาน (หัวหน้าครอบครัว)ในการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา ร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมตัดสินใจ เช่น ควรเพิ่มการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในกลุ่มเยาวชน ในชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกในการหวงแหนธรรมชาติและทรัพยากรทางธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นต้น บทที่ 5

52 ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ข้อเสนอแนะในการทำการศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อค้นหาแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อความยั่งยืน 2. ควรมีการศึกษาถึงความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในระยะติดตาม เช่น 1 ปี 3 ปี 5 ปี เป็นต้น 3. ควรมีการสำรวจความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทุกปี เพื่อค้นหาความต้องการที่เป็นจริงของประชาชนในพื้นที่ 4. ควรศึกษาความสำเร็จของแหล่งท่องเที่ยวอื่นทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัดที่มีลักษณะกิจกรรมในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่คล้ายคลึงกันเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเปรียบเทียบ บทที่ 5

53 วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนนักศึกษาหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นศูนย์ภูเก็ต รุ่นที่ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ดร.ศรีรัช เกตุเมือง ขอขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google