งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คำนิยาม จริยธรรม: สิ่งที่ควรประพฤติ (ตามข้อกำหนด เพราะทำให้ สังคมเป็นสุข) ศิลธรรม: จริยธรรมที่กำหนดโดยหลักศาสนา คุณธรรม: ธรรมที่ปฏิบัติแล้วเป็นคุณทั้งต่อผู้อื่นและตนเอง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คำนิยาม จริยธรรม: สิ่งที่ควรประพฤติ (ตามข้อกำหนด เพราะทำให้ สังคมเป็นสุข) ศิลธรรม: จริยธรรมที่กำหนดโดยหลักศาสนา คุณธรรม: ธรรมที่ปฏิบัติแล้วเป็นคุณทั้งต่อผู้อื่นและตนเอง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คำนิยาม จริยธรรม: สิ่งที่ควรประพฤติ (ตามข้อกำหนด เพราะทำให้ สังคมเป็นสุข) ศิลธรรม: จริยธรรมที่กำหนดโดยหลักศาสนา คุณธรรม: ธรรมที่ปฏิบัติแล้วเป็นคุณทั้งต่อผู้อื่นและตนเอง จริยธรรมการทำงาน (work ethics) จรรยาบรรณ

2 จริยธรรมวิชาชีพดนตรี Musical ethics โดย ขจร ถ้ำทอง ยุทธกร สริกขกานนท์
ยุทธกร สริกขกานนท์ ประสาน บริบูรณางกูร

3 จริยธรรม Ethics จริยะ+ ธรรมะ =จริยธรรม

4 3. กริยาหรือความประพฤติ ที่ปฏิบัติอยู่เป็นนิจ
จริยะ ความประพฤติ 2. กริยาที่ควรประพฤติ 3. กริยาหรือความประพฤติ ที่ปฏิบัติอยู่เป็นนิจ

5 2. คำสอนที่ถูกต้อง คำสอนที่ดี เช่น คำสอนของศาสนาต่างๆ
ธรรมะ 1. หน้าที่ กฎ หลักเกณฑ์ 2. คำสอนที่ถูกต้อง คำสอนที่ดี เช่น คำสอนของศาสนาต่างๆ 3. ความถูกต้อง สิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่มีเหตุผล 4. ธรรมชาติ ธรรมดา สิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ

6 ความหมายของจริยธรรม จริยธรรม เป็นการกระทำหรือพฤติกรรมที่ถูกต้อง หรือดีงาม

7 ความหมายของจริยธรรม คำว่าจริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฏศีลธรรม ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “ethic” ซึ่งหมายถึง ข้อกำหนดหรือหลักการประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้อง

8 ความหมายของจริยธรรม จริยธรรม คือ หลักเกณฑ์ หรือกฎที่สังคมใช้ตัดสินว่า การกระทำใดเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ควรปฏิบัติ และการกระทำใดที่ไม่ควรปฏิบัติทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

9 จริยธรรมที่กำหนดโดยหลักศาสนา
ศิลธรรม จริยธรรมที่กำหนดโดยหลักศาสนา

10 คุณธรรม หลักธรรมจริยาที่สร้างความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดีทางศีลธรรม มีคุณงามความดีภาย ในจิตใจตนเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขความสบาย เชื่อว่าการกระทำที่ดีย่อมได้รับผลของความดี และการทำความชั่วย่อมได้รับผลของความชั่ว

11 “ วินัย เป็นทั้งจิตสำนึก (นามธรรม) และแนวทางปฏิบัติ (รูปธรรม)
“ วินัย เป็นทั้งจิตสำนึก (นามธรรม) และแนวทางปฏิบัติ (รูปธรรม) เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกิจวัตรของบุคคลที่มีต่อกลุ่ม เป็นกฎระเบียบที่ดีทางสังคมที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างชาติ เป็นเครื่องมือให้บุคคลมีจิตสำนึก และปฏิบัติตามภาระหน้าที่อย่างเคร่งครัด

12 ค่านิยม” การยอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติตามและยึดมั่นในคุณค่าที่ชื่นชม ต่อสิ่งต่าง ๆ ซึ่งอาจกระทำในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และจริยธรรม

13 จรรยาบรรณ หมายถึง การประมวลความประพฤติปฏิบัติในหมู่คณะ หรือกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ การงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

14

15 เหตุใดต้องมีจริยธรรม

16

17 เหตุใดต้องมีจริยธรรม
มนุษย์มีกิเลส มนุษย์มีตัณหา มนุษย์มีความชั่ว โลภะ โทสะ โมหะ

18 เหตุใดต้องมีจริยธรรม
มนุษย์มีกิเลส มนุษย์มีตัณหา กามตัณหา วิภวตัณหา ภวตัณหา มนุษย์มีความชั่ว โลภะ โทสะ โมหะ

19 เหตุใดจึงต้องมี จริยธรรม
1. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีแนวการประพฤติ ปฏิบัติต่อกันและกัน 2 โดยธรรมชาติมนุษย์มีแนวโน้มที่จะใฝ่หาความสุข ความสบาย หลีกหนีความทุกข์ยาก ความลำบาก

20 เหตุใดจึงต้องมี “จริยธรรม”
3. ธรรมชาติมนุษย์อาจจะปฏิบัติ ต่อผู้อื่นอย่างเลวร้าย เอารัดเอาเปรียบหาก ตนเองจะได้รับประโยชน์หรือความสุขความสบายเป็นเครื่องตอบแทน 4. การเอารัดเอาเปรียบกัน คนที่แข็งแรงกว่าก็จะเอาเปรียบคนที่อ่อนแอกว่า ผู้ชายก็จะเอาเปรียบผู้หญิง ผู้ใหญ่ก็จะเอาเปรียบเด็ก และคงไม่ต่างอะไรจากสังคมของสัตว์ที่อยู่ด้วย สัญชาตญาณ

21

22 ความหมายของจริยศาสตร์
จริยศาสตร์ หมายถึง ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความประพฤติและการครองชีวิตว่า อะไรดีอะไรชั่ว อะไรถูกหรืออะไรผิด หรืออะไรควรอะไรไม่ควร ตรงกับ คำว่า “ethics” ในภาษาอังกฤษ

23 การสร้างและพัฒนาแนวความคิดทางจริยศาสตร์
ในปัจจุบัน พอจะสรุปได้ว่ามีแนวคิดหลักอยู่ 3 แนวทางคือ 1. แนวคิดที่ยึดหลักคุณธรรม หรือคุณงามความดี แนวคิดที่ยึดหลักของสิทธิ และหน้าที่ แนวคิดที่ยึดหลักของประโยชน์ส่วนรวม

24 1. แนวคิดที่ยึดหลักคุณธรรม หรือคุณงามความดี
1. แนวคิดที่ยึดหลักคุณธรรม หรือคุณงามความดี อริสโตเติ้ล (Aristotle) ปราชญ์เอกชาวกรีก ได้รับแนวคิดมาจากอาจารย์คือเพลโต (Plato) โสเครตีส (Socrates)โดยเน้นที่การ ใช้ปัญญาเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ เรียกว่า practical wisdom แนวความคิดที่ถือว่าความพึงพอใจ เป็นเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ เรียกว่า “สุขนิยม” อริสโตเติ้ลย้ำว่าความความพึงพอใจจะต้องเกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติตนอย่างดีเลิศโดยให้สอดคล้องกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อม การประพฤติอย่างดีเลิศนั้นประกอบด้วยการใช้สติปัญญาคิดหาเหตุผลอย่างดีเลิศ และการเลือกประพฤติปฏิบัติตามคุณธรรม อย่างดีเลิศ ซึ่งทั้งสองประการจะนำความสุขที่แท้จริงมาสู่ผู้ปฏิบัติ

25 2. แนวความคิดที่ยึดหลักสิทธิและหน้าที่
อิมมานูเอล ค้านท์ ปราชญ์ชาวเยอรมัน องค์ประกอบสำคัญที่สุดของการที่จะประพฤติปฏิบัติดีของมนุษย์มี 2 ประการคือ 2.1 good ไwill หมายถึงความตั้งใจดี ความมุ่งสู่ความดีงามและความถูกต้อง good will โดยที่มนุษย์จะปฏิบัติ ตาม อย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น มนุษย์จะช่วยเหลือมนุษย์ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก ก็เพราะเห็นว่าการช่วยเหลือมนุษย์ด้วยกันเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามในตนเอง ไม่ใช่เพราะต้องการสิ่งตอบแทนหรือต้องการคำยกย่องสรรเสริญ Kant เห็นว่า good will นั้นเป็นคุณธรรมที่ไม่ต้องการการพิสูจน์ เป็นสากล ใช้ได้ทุกที่ทุกแห่งในโลก มนุษย์จะทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลก็คือสิ่งนั้นถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยเหตุผลอื่น

26 2. แนวความคิดที่ยึดหลักสิทธิและหน้าที่
2. 2 free will หมายถึงความสามารถที่จะเลือกได้ โดยไม่ได้ถูกบีบบังคับ เลือกที่จะกระทำดี มิใช่กระทำเพราะถูกบังคับ ล่อลวงหรือหวังผลตอบแทน ถ้าหากปราศจาก free will แล้วการกระทำนั้นก็ไม่มีคุณค่าทางจริยธรรม Kant เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีสติปัญญาที่จะเลือกทำดีหรือทำชั่วได้ (ในกรณีนี้ต่อมามีผู้แย้งว่าแท้ที่จริงมนุษย์ไม่ได้มีความสามารถที่จะเลือกได้เสมอไป เพราะว่าการกระทำบางครั้งถูกกำหนดด้วยปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม) มนุษย์ต้องปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยความเท่าเทียมโดยให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่อาจใช้มนุษย์ด้วยกันเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อื่น

27 3. แนวความคิดเรื่องประโยชน์ส่วนรวม
เจเรมี เบนทัม ปราชญ์ชาวอังกฤษ โดยอธิบายว่า ประโยชน์ หมายถึงความสุข หรือความพึงพอใจ ของคนจำนวนมาก ยิ่งมากยิ่งดีและให้มีระดับของความพึงพอใจสูงที่สุดและนานที่สุด ให้มีความทุกข์ น้อยที่สุดและสั้นที่สุด แนวความคิดนี้จึงมีผู้เรียกว่า “ ประโยชน์นิยม”

28 จริยธรรม คุณธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร

29 จริยธรรม คุณธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
จากการรับรูจากการเรียนการสอน วิชาพื้นฐาน(ศึกษาทั่วไป) หรือ จริยธรรมในวิชาชีพ 2) จากการสอดแทรกในรายวิชาชีพ อาจารย์ที่มีประสบการณ์และเป็นที่ไว้ใจจะมีอิทธิพลต่อจริยธรรมนักศึกษา 3) จากแบบอย่างที่พบเห็น.

30 จริยธรรม คุณธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
4) จากประสบการณ์ตรง กิจกรรมนศ. การได้รับผลกระทบจากการผิดจริยธรรมของผู้อื่น (เช่น การคุยเสียงดัง การโทรศัพท์ การฟังเพลงจากหูฟัง ) 5) จากประสบการณ์รอง การถ่ายทอดประสบการณ์ทางจริยธรรม 6) จากการตกลงเป็นข้อกำหนด เป็นระเบียบ แนวปฏิบัติ ข้อบังคับ ที่ยีดและปฏิบัติร่วมกัน

31 จริยธรรม คุณธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
7 จัดกิจกรรมรูปแบบต่างๆอย่างต่อเนื่อง ประกวดคำขวัญจริยธรรม และ การรณรงค์ การโต้วาที การบรรยายพิเศษ

32

33 จริยธรรมควรอยู่ในสังคมทุกระดับ
ระดับมหาวิทยาลัย การจัดซื้อจัดจ้าง การวิจัย การออกหนังสือพิมพ์ของม.และนักศึกษา พฤติกรรมนักศึกษา (การสอบ การทำโครงงาน การตีพิมพ์ วิทยานิพนธ์) การให้ข้อมูลกับหน่วยงานอื่น (แม้แต่ประวัติการทำงาน) การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ

34

35 จริยธรรมวิชาชีพ วิชาชีพ ( profession )หมายถึง
อาชีพที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ คำว่า”วิชาชีพ” จึงต่างจาก อาชีพตรงที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเป็นพิเศษจนมีความรู้ความชำนาญในระดับสูง ดังนั้นบุคคลสามัญทั่วไปที่ประกอบอาชีพปกติจึงไม่นับว่าเป็นวิชาชีพ คำว่า”วิชาชีพ” มีความหมายในตัวว่าต้องใช้ “วิชา” เพื่อเลี้ยงชีพ

36 เกณฑ์กำหนดในด้านวิชาชีพ
1. เวลาในการประกอบอาชีพ 2. การจัดแผนงานการศึกษาโดยสมาคมวิชาชีพ 3. การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพและการออกกฏหมายรับรองสถานภาพของวิชาชีพ 4. การมีจรรยาบรรณหรือจริยธรรมในวิชาชีพ 5. การมีองค์ความรู้ที่เป็นระบบ

37 เกณฑ์กำหนดในด้านวิชาชีพ
6. การเป็นที่ยอมรับของสังคม 7. การมีความรอบรู้ในวิชาชีพ 8. การให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ 9. การมีความเป็นอิสระในวิชาชีพ 10. การได้รับการศึกษาตรงตามสาขาที่ประกอบวิชาชีพ

38 เกณฑ์กำหนดในด้านวิชาชีพ
11. การมีผู้คอยสนับสนุนในการประกอบวิชาชีพ 12. การมีการวางแผนล่วงหน้าที่จะประกอบวิชาชีพ 13. การมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเข้าสู่ตลาดของวิชาชีพ 14. การมีความกระตือรือร้นในวิชาชีพ 15. การประพฤติปฏิบัติตามจริยธรรมวิชาชีพ

39 เกณฑ์กำหนดในด้านวิชาชีพ
16. การมีความจงรักภักดีและความผูกพันต่อวิชาชีพ 17. การมองเห็นอนาคตในการประกอบวิชาชีพ 18. การมีความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพของตน

40 เกณฑ์ของการเป็นวิชาชีพ
แพทย์ พยาบาล เภสัชกร วิศวกร ผู้พิพากษาและทนายความ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักหนังสือพิมพ์ รวมทั้ง นักธุรกิจและนักขาย ฯลฯ

41 เกณฑ์ของการเป็นวิชาชีพ
คำว่า “วิชาชีพ” เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วิชาชีพแรกคือวิชาชีพข้าราชการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูประบบข้าราชการให้เป็นวิชาชีพเหมือนกับทางตะวันตก เช่นให้มีการประกอบอาชีพเต็มเวลา ให้มีเงินเดือน และให้มีข้อกำหนดจริยธรรมวิชาชีพข้าราชการขึ้น ข้าราชการที่เข้ารับตำแหน่งสำคัญๆก็จะถูกกำหนดให้มีการสาบานตน และถ้าข้าราชการทำผิดก็จะมีบทลงโทษที่หนักกว่าธรรมดา คำว่าจริยธรรมวิชาชีพ บางตำราจะใช้คำว่าจรรยาบรรณวิชาชีพซึ่งหมายความเหมือนกัน

42 เหตุใดจึงต้องมีจริยธรรมวิชาชีพ

43 เหตุใดจึงต้องมีจริยธรรมวิชาชีพ
ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝน มีความรู้ความชำนาญสูงเกินกว่าคนธรรมดาสามัญ มีโอกาสที่จะใช้วิชาความรู้ของตนเพื่อหาประโยชน์

44 เหตุใดจึงต้องมีจริยธรรมวิชาชีพ
1. เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพยึดถือปฏิบัติอย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้วิชาชีพคงฐานะได้รับการยอมรับและยกย่องจากสังคม 3. เพื่อผดุงเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ

45 จริยธรรม คุณธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
จากการรับรูจากการเรียนการสอน วิชาพื้นฐาน(ศึกษาทั่วไป) หรือ จริยธรรมในวิชาชีพ 2) จากการสอดแทรกในรายวิชาชีพ อาจารย์ที่มีประสบการณ์และเป็นที่ไว้ใจจะมีอิทธิพลต่อจริยธรรมนักศึกษา 3) จากแบบอย่างที่พบเห็น.

46 จริยธรรม คุณธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
4) จากประสบการณ์ตรง กิจกรรมนศ. การได้รับผลกระทบจากการผิดจริยธรรมของผู้อื่น (เช่น การคุยเสียงดัง การโทรศัพท์ การฟังเพลงจากหูฟัง ) 5) จากประสบการณ์รอง การถ่ายทอดประสบการณ์ทางจริยธรรม 6) จากการตกลงเป็นข้อกำหนด เป็นระเบียบ แนวปฏิบัติ ข้อบังคับ ที่ยีดและปฏิบัติร่วมกัน

47 จริยธรรม คุณธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
7 จัดกิจกรรมรูปแบบต่างๆอย่างต่อเนื่อง ประกวดคำขวัญจริยธรรม และ การรณรงค์ การโต้วาที การบรรยายพิเศษ

48 จริยธรรมควรอยู่ในสังคมทุกระดับ
ระดับมหาวิทยาลัย การจัดซื้อจัดจ้าง การวิจัย การออกหนังสือพิมพ์ของม.และนักศึกษา พฤติกรรมนักศึกษา (การสอบ การทำโครงงาน การตีพิมพ์ วิทยานิพนธ์) การให้ข้อมูลกับหน่วยงานอื่น (แม้แต่ประวัติการทำงาน) การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ

49 กรณีศึกษาจริยธรรม การรับบริจาคจากบุคคล ห้างร้าน ที่ประกอบอาชีพอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียของศิลธรรม (เหล้า บุหรี่ ….) การรับของขวัญ (หรือของแถม) จากผู้มีผลประโยชน์ การหารายได้รูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะที่ล่อแหลม เช่น ผลิตไวน์ เช่าที่ดิน การใช้เงินทำวิจัยที่ไม่คุ้มค่าต่อสังคม

50 กรณีศึกษาจริยธรรม การวิจัยที่ล่อแหลม ความเท่าเทียมระหว่างเพศ
เช่น เหล้า บุหรี่ โคลนนิง ความเท่าเทียมระหว่างเพศ เช่น อาจารย์ที่เป็นสามีภรรยากัน หากลูกป่วยต้องให้อ.ชายเป็นผู้เบิก”เท่านั้น” การสร้างอาคารที่หรูหราเกินควร อาจเป็นตย.ที่ไม่ดีแก่นศ. ทำให้นิยมความหรูหรา ฟุ่มเฟือย

51 ตัวอย่างข้อกำหนดจริยธรรม
   ไม่ละเมิดกฎหมาย กฎระเบียบ ของสังคม ไม่ละเมิดข้อตกลง สัญญาที่ให้ไว้ต่อผู้อื่น ไม่เอาเปรียบผู้อื่น: (ค้ากำไรเกินควร, การฉกฉวยโอกาส, ให้บริการน้อยกว่าที่ควร) ไม่ลำเอียง (เพราะความชอบ ความเกลียดส่วนตัว) ไม่กระทำการให้เกิดการถดถอยทางศีลธรรมของสังคมทั้ง โดยตรงและอ้อม

52 ตัวอย่างข้อกำหนดจริยธรรม
   6.  ไม่กระทำการทุจริตหรืออาจก่อให้เกิดการทุจริต ในรูปแบบต่างๆ 7   ไม่ทำร้าย ทำความเดือดร้อน/รำคาญ(เบียดเบียน)ให้ผู้อื่น โดยตรงและอ้อม 8   ไม่ละเมิดสิทธิ ผลประโยชน์ ผู้อื่น ไม่หลอกลวงผู้อื่น ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต

53 คุณธรรมในสถาบันอุดมศึกษาไทย
ข้อกำหนดจริยธรรมมักขึ้นต้นด้วย “ไม่” ข้อกำหนดคุณธรรมนั้นมักขึ้นต้นด้วย “พึง” 1.       พึงเล็งเห็นประโยชน์สังคมเป็นที่ตั้ง 2.       พึงเอื้ออาทรต่อผู้ด้อยโอกาสหรือประสบปัญหา 3.       พึงมีน้ำใจต่อหน่วยงานอื่น 4.       พึงช่วยกันประหยัดงบประมาณชาติ

54 คุณธรรมในสถาบันอุดมศึกษาไทย
5.       พึงโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความรับผิดชอบ 6.       พึงมีจริยธรรมการทำงาน 7. พึงมีระบบเกื้อหนุนพนักงานและนศ 8. ฯลฯ

55 ตัวอย่างจริยธรรมนศ อจ.ปิดประตูห้องเรียนไม่ให้นศ.เข้าเมื่อมาสาย (ห้องใหญ่) ฝึกการตรงต่อเวลา ทำความเดือดร้อนให้สังคม อาจารย์ให้นศ.ออกจากห้องเรียนเมื่อ หลับแบบคอไม่ตรง (ถ้าคอตรงไม่เป็นไร) คุยกันและได้รับการเตือนแล้ว โทรศัพท์มือถือดังในห้อง ให้นศ.ออกจากห้องสอบเพราะถอดรองเท้า ผิดระเบียบห้องสอบ

56 สรุป ประโยชน์ของการมีจริยธรรม

57


ดาวน์โหลด ppt คำนิยาม จริยธรรม: สิ่งที่ควรประพฤติ (ตามข้อกำหนด เพราะทำให้ สังคมเป็นสุข) ศิลธรรม: จริยธรรมที่กำหนดโดยหลักศาสนา คุณธรรม: ธรรมที่ปฏิบัติแล้วเป็นคุณทั้งต่อผู้อื่นและตนเอง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google