งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์
มารี กูรี และ เรเดียม

2 บทนำ ศตวรรษที่ 20 ได้รับการขนานนามว่าเป็น “โลกยุคอะตอม” ในระยะเริ่มต้นนักวิทยาศาสตร์พยายามค้นคว้าหาว่าอะตอม (ในยุคนั้นทราบกันว่าเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของสสาร ) จะสามารถแยกย่อยให้เป็นอนุภาคที่เล็กกว่านั้นได้หรือไม่ในที่สุด ในปี 1919 นักวิทยาศาสตร์ก็ประสบความสำเร็จในการแตกอะตอมความรู้ในเรื่องนี้นำไปสู่การผลิตระเบิดอะตอม....ระเบิดมหาประลัย อำนาจการทำลายล้างสูง และก่อให้เกิดให้

3 มารี กูรี เป็นหนึ่งในคณะผู้บุกเบิกในการวิจัยเรื่องกัมมันตภาพรังสีเธอเป็นผู้ค้นพบเรเดียม ซึ่งเปล่งกัมมันตภาพรังสีออกมาโดยธรรมชาติในขณะที่อะตอมแตกตัว เธอศึกษาค้นคว้าวิจัยในยุคที่ยังไม่มีใครรู้จักมหันตภัยของกัมมันตภาพรังสี ต้องดิ้นรนทำงานด้วยความขาดไร้ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนสนับสนุน หรือการยอมรับนับถือจากสังคมรอบด้าน ทำงานหนักสายตัวแทบขาดทั้งๆที่ป่วยไข้ในระดับที่ไม่มีมนุษย์คนไหนทานทนได้ และต้องฝืนกระแสความเชื่อประจำยุคนั้นที่ว่า ผู้หญิงไม่มีทางเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้

4 ในท้ายที่สุด มารีกูรี ก็ประกาศศักดิ์ศรีนักวิทยาศาสตร์ให้ผู้คนประจักษ์กันทั่วโลก เธอได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง เธอรณรงค์หาทุนเพื่องานวิจัยทิ้งไว้ให้เป็นมรดกคนรุ่นหลัง ผลงานวิจัยของมารี กูรี และคณะ ไขปริศนาดำมืดเรื่อง อะตอมและกัมมันตภาพรังสี จนส่งแสงเรืองรองให้คนรุ่นหลังได้รู้จักและเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

5 มารี กูรี ชีวิตมารี กูรี วันที่ 7 พฤศจิกายน 1867 เด็กหญิงมาเรีย ซาโลมี สโกล์ดอฟสกาถือกำเนิดบนถนนเฟรตา ในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ บิดามารดาของเธอเป็นครู ทั้งคู่มีลูกอยู่ 4คน คือ โซเฟีย โบรนิสลาวา ( โบรเนีย) เฮเลนา และบุตรชาย โจเซ็ฟ มารี สโกล์ดอฟสกา เกิดในบ้านเลขที่ 16 ถนนเฟรตา กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ อาคารหลังนี้ ได้รับการบูรณะเพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงผลงานและชีวิตของมารี กูรี

6 ชีวิตครอบครัวในวอร์ซอ
การศึกษาของ มาเรียลูกๆทุกคนได้รับการศึกษาชั้นดี ได้รับการเอาใจใส่จากบิดามารดาในปี 1876 โซเฟีย พี่สาวคนโตของมาเรียเสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ อีกสองปีถัดมา มารดาของเธอเสียชีวิตในปี 1883 มาเรียเรียนจบชั้นมัธยม เธอลมป่วยด้วยอาการที่เธอบรรยายไว้ว่า “ความเหนื่อยล้าจากการเรียนและการเติมโต” เธอเดินทางไปพักฟื้นรักษาตัวที่บ้านญาติในชนบทหนึ่งปีเต็ม

7 แรงบันดาลใจจากยอดนักวิทยาศาสตร์
มารีเริ่มอ่านผลงานของยอดนักวิทยาศาสตร์หลายคน แม้ทางการรัสเซียจะสั่งห้ามคนโปแลนด์อ่านหนังสือหาความรู้ เช่น ชาร์ลส ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เขียนเรื่องวิวัฒนาการ และการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในหนังสือชื่อ On The Origin of Species ( 1859 ) ออกุสต์ กงต์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เขียนหนังสือชื่อ Positive Philosophy ดาร์วินปฏิเสธการดำรงอยู่ของพระเจ้า

8 การศึกษาในปารีส ของมารี
มารี เข้าเรียนในซอร์บอนน์ ( มหาวิทยาลัยปารีส) เรียนกับอาจารย์คณิตศาสตร์และฟิสิกส์ชั้นยอดในยุคนั้น เช่น พอล อะเพล์ และเกเบรียวลิปป์แมนน์

9 การวิจัยและการแต่งงาน
เมื่ออายุได้ 27 ปีมารีพบปิแอร์ กูรี ในงานเลี้ยงที่บ้านของนักฟิสิกส์ชาวโปแลนด์ ปิแอร์เขียนจดหมายรักและเล่าเรื่องการทดลองฟิสิกส์ส่งมาให้มารี เป็นนิจ ในปีถัดมา วันที่ 26 กรกฎาคม 1895 ทั้งสองแต่งงานกันในเมืองเซอร์เมืองเล็กๆ บ้านเกิดของปิแอร์ใกล้นครปารีส มารี สโกล์ดอฟกา เปลี่ยนมาเป็นกูรี ปิแอร์กูรี เกิดในปารีส1859 ได้รับการศึกษาจากบิดานายแพทย์แม้เป็นเด็กนักเรียนอายุเพียง 14 ปี เขารู้แน่แก่ใจว่าหลงใหลวิชาคณิตศาสตร์ ในปี1878 เขาทำงานเป็นผู้ช่วยปฏิบัติการมหาวิทยาลัยปารีส ปิแอร์กับฌากส์ พี่ชายศึกษาเรื่องความร้อน ผลึก สภาวะแม่เหล็กและไฟฟ้า อีกสี่ปีถัดมา เขาดำรงตำแหน่งอาจารย์ที่ปรึกษาที่เอกอล เดอ ฟิสิกส์ ( มหาลัยฟิสิกส์ )

10 ทั้งสองดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ด้วยการขี่จักรยานท่องประเทศฝรั่งเศสร่วมกัน สูดอากาศบริสุทธิ์ ชื่นชมทัศนียภาพชนบทที่เงียบสงบและปลีกตัวไปจากงานหนักในห้องปฏิบัติการและห้องสมุด

11 ผลงานของสามีภรรยา ปี 1895 ปิแอร์ กูรีได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากผลงานการศึกษาเรื่องสภาวะแม่เหล็ก ได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์มารีมาทำงานร่วมกับสามีที่มหาวิทยาลัยฟิสิกส์ เธอศึกษาเรื่อง คุณสมบัติของม่เหล็กของโลหะผสมหลายชนิด และเขียนบทความชิ้นแรกในจำนวนหลายชิ้นส่งไปตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์

12 ลำแสงและรังสี ลำแสงเจาะทะลวง แสง

13 ลำแสงและรังสี ในระหว่างนั้น ในเดือนพฤศจิกายน 1895 วิลเฮลม์ เรินต์เกน นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันค้นพบ “ ลำแสงเจาะทะลวง ” รังสีที่มองไม่เห็นด้วยตา เปล่งออกจากหลอดไฟฟ้าในการทดลองของเขา เขาเรียกรังสีนี้ว่า “รังสีเอกซ์”เนื่องจากไม่ทราบว่า รังสีนี้คืออะไรมาจากที่ใด หรือมีผลอย่างไร (X เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่าในวิชาคณิตศาสตร์ ) รังสีนี้สามารถเจาะทะลวงผ่านเนื้อหนังและสารอื่นๆ แต่จะไม่ส่องผ่านสารเนื้อแน่นแข็ง เช่นกระดูกหรือโลหะ

14 ในปี 1896 อองตวน อองรี แบ็กเกอแรล ( ) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ค้นพบรังสีเจาะทะลุทะลวงอีกประเภทหนึ่ง ผิดแผกแตกต่างไปจากรังสีของเรินต์เกน ซึ่งเกิดจากกระแสไฟฟ้า รังสีของแบ็กเกอแรลดูเหมือนจะเปล่งออกมาตามธรรมชาติจากยูเรเนียม แบ็กเกอแรลทิ้งแร่ยูเรเนียมไว้ในลิ้นชักหุ้มห่อด้วยกระดาษอัดรูป อีกหลายวันต่อมา กระดาษอัดรูปขุ่นมัวเป็นฝ้า มารีกำลังมองหาหัวข้อวิทยานิพนธ์เพื่อทำปริญญาเอก ตกลงใจเลือกรังสีปริศนาที่แบ็กเกอแรลค้นพบเป็นหัวข้อที่จะทำการวิจัย

15 วิลเฮลม์ เรินต์เกน ค้นพบ รังสีเอกซ์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์มหาวิทยาลัยเวอร์ซบูร์ก เยอรมนี เขาไม่ได้ปริปากบอกใครนานถึง 2 เดือน ทำงานวิจัยอย่างหนักทั้งวันทั้งคืนเพื่อหาความกระจ่างในการค้นพบครั้งนี้ ภาพรังสีเอกซ์แรกสุดของโลก (ล่าง) เป็นภาพมือของภรรยา สวมแหวนที่นิ้วนาง เรินต์เกนเป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1901

16 มาตรศักย์ไฟฟ้าสถิตของกูรี
การค้นพบเรเดียม มาตรศักย์ไฟฟ้าสถิตของกูรี ปิแอร์และฌากส์ กูรี เป็นผู้ประดิษฐ์มาตรศักย์ไฟฟ้าสถิตเพื่อใช้ตรวจวัดว่าสารมีการปล่อยรังสีออกมาหรือไม่หากสารนั้นมีการปล่อยกัมมันตภาพรังสี อากาศรอบข้างจะมีประจุไฟฟ้า ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นจะตรวจวัดไฟฟ้าโดยมาตรศักย์ไฟฟ้าสถิตเครื่องนี้

17 ปิแอร์ และมารีกูรี ถ่ายภาพร่วมกันในห้องปฏิบัติการ ในปี 1898 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เธอพยายามสกัดแร่ยูเรเนียมเพื่อค้นปริศนาของกัมมันตรังสี ในวันที่ 12 กันยายน อีแรน กูรี ลืมตาดูโลก อีกไม่กี่เดือนถัดมามารี กูรี ตีพิมพ์บทความทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรก คือ คุณสมบัติทางแม่เหล็กของเหล็กกล้า

18 การเปล่งรังสีส่วนเกิน
แหล่งที่จะหายูเรเนียมได้มาจากสินแร่พิตช์เบลนด์ นอกจากนี้ มารียังพบว่าสินแร่คาลโคไลต์ ก็มียูเรเนียมเช่นกัน ในปี 1898 มารีทดสอบ และคำนวณจนแน่ใจได้ว่าทั้งที่พิตช์เบลนด์และคาลโคไลต์ เปล่งรังสีได้มากกว่า ปริมาณ ยูเรเนียมที่มีอยู่ในนั้น นั่นก็หมายความว่า จะต้องมีสารอื่นปะปนอยู่ในสินแร่...ต้นตอของการเปล่งรังสีมากเกินปกติ

19 การแยกยูเรเนียม คลิกเข้าไปดูวีดิโอ

20 ค้นหาสารลึกลับ หน้ากระดาษจากสมุด บันทึกในห้องปฏิบัติการ
กัมมันตรังสี หน้ากระดาษจากสมุด บันทึกในห้องปฏิบัติการ ของมารีมีสมการคณิตศาสตร์ คำนวณหาพลังงานของ การเปล่งรังสี

21 มารีเริ่มกระบวนการทางเคมีเพื่อสกัดหาสารปริศนา งานนี้ต้องใช้แรงกายหนักหนาสาหัส เธอต้องร่อนสินแร่ บดให้ละเอียด นำไปต้ม กรอง แล้วกลั่นผ่านไฟฟ้าเข้าไปในสารละลายเพื่อแยกสลายด้วยไฟฟ้า มารีและผู้ช่วยตรวจสอบเนื้อสาร และความบริสุทธิ์ มารีนำส่วนที่เปล่งรังสีสูงสุดมาสกัดให้บริสุทธิ์ต่อไปท้ายที่สุด เธอก็สามารถสกัดสารบริสุทธิ์ชนิดใหม่ ธาตุใหม่ที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อนด้วยความตื่นเต้น เธอเรียกธาตุใหม่นี้ว่า “พอโลเนียม”

22 เรืองรองในความมืด พอโลเนียมเป็นธาตุกัมมันตรังสีรุนแรงชนิดแรกที่มีการสกัดให้บริสุทธิ์ การแผ่รังสีเข้มข้นจนอากาศรอบข้างส่งแสงเรืองรองก้อนพอโลเนีรยมร้อนจัดจนแทบจะแตะไม่ได้ จากงานวิจัยของมารี เธอพบว่า การแผ่รังสีของพอโลเนียมแม้จะรุนแรง แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกัมมันตภาพรังสีจากสินแร่พิตช์แบลน์ด์ เธอสกัดต่อไปเพื่อค้นหาธาตุใหม่จนพบ “เรเดียม”ชื่อที่ตั้งจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า radius ซึ่งมีความหมายว่า “ลำแสง”อย่างไรก็ตาม มีเรเดียมเพียงน้อยนิดในพิตช์เบลนด์ หากต้องการตัวอย่างเรเดียม ก็ต้องสกัดพิตช์เบลนด์กองมหึมา

23 การแข่งขันผลิตเรเดียม
นับจากปี1899 มารีเริ่มงานใหญ่ สกัดเรเดียมบริสุทธิ์ให้ได้ เพื่อพิสูจน์การดำรงอยู่จริงของธาตุชนิดนี้ ปิแอร์ยังคงบรรยายในชั้นเรียน และปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ แต่ในท้ายที่สุด ก็หันมาสนใจวิจัยเรื่องกัมมันตภาพรังสี ปิแอร์เข้ามารับหน้าที่วิเคราะห์ตัวอย่างที่มารีสกัดออกมาได้ในแต่ละขั้นตอน

24 รถบรรทุกเดินทางเข้าปารีสหลายเที่ยว ขนสินแร่กัมมันตภาพรังสีจากโบฮีเมีย ( ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเชโกสโลวะเกีย ) และจากเหมืองในคองโก ( อาณานิคมของเบลเยียม ) ในแอฟริกา มารีเป็นผู้ดำเนินการกระบวนการทางเคมีสกัดสินแร่คราวละถัง กระบวนการสกัดทางเคมีผิดพลาดคลาดเคลื่อนเกือบทุกระยะในยุคนั้น ยังไม่มีผู้ใดทราบถึงมหันตภัยของการทำงานกับสารกัมมันตรังสี นับจากช่วงวัยกลางคน มารีป่วยไข้เกือบตลอดเวลา อาการที่ปรากฏเหมือนเช่นวัณโรค หลังจากที่ให้กำเนิดอีแรนลูกสาวคนโต เธอรู้สึกไม่สบาย เหนื่อยง่าย และปวดตามเนื้อตัว ซึ่งก็เป็นผลจากพิษของรังสีนั่นเอง มือของเธอแข็งทื่อจนแทบขยับไม่ได้ นิ้วแตกเป็นแผลพุพองในขณะที่ทำงานผสมและต้มสารกัมมันตรังสี ในอีกหลายปีถัดมา แม้แต่สมุดบันทึกและโต๊ะเก้าอี้ภายในห้องปฏิบัติการก็ยังมีสารกัมมันตรังสีเข้มข้น

25 นับเป็นเรื่องแปลกประหลาดมากที่มารีสามารถทำงานหนักได้อย่างต่อเนื่อง ในสภาพร่างกายเช่นนั้น
( น่าอัศจรรย์ใจที่เธอสามารถพักผ่อนหลังจากการทำงานในห้องปฏิบัติการด้วยการขี่จักรยานในชนบท ) ยิ่งเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่เธอมีอายุยืนยาว ในขณะที่เพื่อนร่วมงานในห้องปฏิบัติการหลายคนล้มตายไปตั้งแต่อายุยังน้อย

26 ชุดป้องกันกัมมันตภาพรังสี
อันตราย ! กัมมันตรังสี ในปัจจุบัน เราทราบกันดีแล้วว่ากัมมันตภาพรังสีเป็นภัยต่อมนุษย์ ในยุคของกูรี ภยันตรายของกัมมันตภาพรังสีเพิ่งจะมีผู้สังเกตเห็น สองสามีภรรยาไม่ยอมเชื่อว่ากัมมันตภาพรังสีจะมีอันตราย มารียอมรับในบั้นปลายของชีวิต ในปัจจุบัน หากต้องทำงานเกี่ยวข้องกับกัมมันตภาพรังสี จำเป็นต้องสวมชุดป้องกันรัดกุม ชุดป้องกันกัมมันตภาพรังสี

27 สตรีหมายเลขหนึ่งในโลกวิทยาศาสตร์
ในบั้นปลายชีวิต มารี กูรีกล่าวว่า ช่วงการทำงานหนักของชีวิตหลายปี สกัดเรเดียมบริสุทธิ์นั้นถือเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดมนชีวิตของเธอ มารีใส่ใจดูแลครอบครัวและบ้านพัก แต่ก็ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในห้องปฏิบัติการ ในหมู่ผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการ มีอองเดร เดอบิแอร์น(ลูกศิษย์ของปิแอร์) และกุลตาฟ เบมงต์ มารีเป็นนักวิจัยละเอียดรอบคอบ ตั้งมาตรฐานความสะอาดไว้สูงมากในห้องปฏิบัติการ หรือ “เพิง” หลังวิทยาลัยฟิสิกส์ มารีทำงานหนักอย่างไม่น่าเชื่อในห้องปฏิบัติการและห้องทำงานบนถนนโลมงด์(ภาพขวามือ)เธอเหนื่อยล้าป่วยเป็นไข้เป็นนิจนิ้วมือแตกเป็นแผลผุพองเนื่องจกกัมมันตภาพรังสีเผาเนื้อเยื่อ ในตอนแรกสองสามีภรรยาคิดว่าเนื่องจากทำงานหนักเกินปกติ

28 มารีได้ทำการวิจัยอีกสาขาหนึ่งร่วมกับแบ็กเกอแรลและ ฟริตซ์ จีเซล นักวิทยาศาสตร์อีกคน ในปี 1899
อองรี แบ็กเกอแรล นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสยืนอยู่ข้างแม่เหล็กขนาดใหญ่ แบ็กเกอแรลร่วมทำการวิจัยกับครอบครัวกูรี ในปี 1896 เขาค้นพบการแผ่รังสีของยูเรเนียม ทั้งสามช่วยกันพิสูจน์ได้ความจริงว่า การแผ่รังสีเบตาหรืออนุภาคเบตา(หน้า 21)ของยูเรเนียมนั้นแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงพวยอิเล็กตรอนพุ่งออกมาด้วยความเร็วสูง ผลงานวิจัยของแบ็กเกอแรลนำไปสู่การผลิตหลอดฟลูออเรสเซนต์ และหน่วยหนึ่งในวิชาฟิสิกส์การแผ่รังสีตามความเชื่อของเขา

29 ครอบครัวกูรีพักผ่อนในสวนของบ้านที่บูเลอวาร์ด เคลเลอร์มาน สองสามีภรรยาโปรดปรานการปลูกต้นไม้ประดับและการดูนกในช่วงนี้ สองสามีภรรยาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจนได้ขึ้นปกวารสารวิทยาศาสตร์ ในปี ซึ่งแสดงภาพห้องปฏิบัติการวิจัยค้นหาเรเดียม

30 หนึ่งในสิบของกรัม ในปีถัดมา ครอบครัวกูรีย้ายไปบ้านหลังใหม่ที่บูเลอวาร์ดเคล เลอร์มานในปารีส เออแชน บิดาของปิแอร์ย้ายมาอยู่ร่วมบ้าน เพื่อดูแลอีแรน ปิแอร์ละทิ้งงานวิจัยเรื่องผลึก หันมาศึกษาคุณ สมบัติของการแผ่รังสีของาสรกัมมันตรังสีเพื่อหาเงินมาจุน เจือครอบครัว และเป็นทุนทำงานวิจัย ปิแอร์และมารีต้องรับ สอนพิเศษเพิ่มเติมไปจากงานบรรยายในชั้นเรียน มารีเป็นครู พิเศษสอนวิชาฟิสิกส์ในโรงเรียนสตรีที่เมืองแซเวรอส์ ปิแอร์ รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่สถาบันโพลีเทคนิคแม้ชื่อ เสียงของสองสามีภรรยากูรีจะกระฉ่อนไปทั่วโลกแล้ว แต่ มหาลัยซอร์บอนน์ก็ยังไม่ยอมรับทราบไม่อนุมัติเงินทุนเพื่อ ทำการวิจัยในต้นทศวรรษ 1900 สองสามีภรรยากูรีส่งตัวอย่าง สารกัมมันตภาพรังสีบริสุทธิ์ที่สกัดได้ ไปยังห้องปฏิบัติการต่าง ประเทศ ผลลัพธ์ก็คือ การวิจัยเรื่องสารกัมมันตภาพรังวีรุดหน้า ไปหลายเท่าตัว เนื่องจากมีนักวิทยาศาสตร์คณะใหญ่มา ช่วยทำการค้นคว้า

31 ในท้ายที่สุด เมื่อลุถึงปี 1902 มารี กูรีสกัดเรเดียมบริสุทธ์ในรูปของเกลือเรเดียมได้ 0.1 กรัม...เกล็ดเล็กจิ๋ว (สินแร่พิตช์เบลนด์ 7 ตัน สกัดเรเดียมบริสุทธ์ได้เพียง 1 กรัม) แม้จะน้อยนิด แต่ก็มากพอจะทำการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมี มารีประกาศผลงานวิจัยให้ทราบทั่วกันในวารสารวิทยาศาสตร์ ผลสำเร็จงดงามถือเป็นจุดรุ่งโรจน์ถึงขีดสุดในการทำวิจัยของเธอ

32 บำเหน็จแห่งความเหนื่อยยาก
ปิแอร์ได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาที่ราชสมาคม ในลอนดอน ปิแอร์และมารีได้รับการต้อนรับในฐานะแขกเกียรติยศ ขณะที่อยู่ในอังกฤษ มารีคบหาเป็นเพื่อนสนิทกับเออร์ธา แอร์ตัน ภรรยาของศาสตราจารย์ของชาวอังกฤษ และได้รู้จักเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด นักฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งในระยะเวลาต่อมาเป็นหัวหน้าทีมวิจัยแตกอะตอมได้เป็นผลสำเร็จมารีกับปิแอร์ได้รับ เหรียญเดวีจากราชสมาคมแห่งประเทศอังกฤษเมื่อสองสามีภรรยา กูรี ย้อนกลับมาฝรั่งเศส มารีก็ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากซอร์บอนน์ครอบครัวกูรีประสบความผิดหวังเศร้าสร้อยเมื่อมารีตั้งท้องครั้งที่สองแต่ทว่า ลูกเสียชีวิตหลังคลอดได้ไม่นาน

33 นางฟ้าเรืองแสง ในปี 1904 ลูอี้ ฟูลเลอร์ นักเต้นชาวอเมริกันในปารีสใช้หลอดไฟฟ้าประดับอาภรณ์ให้ส่องแสงสุกสว่างเธอเขียนจดหมายมาขอเรเดียมจากมารี เพื่อนำไปประดับอาภรณ์ให้เรืองรอง มารีปฏิเสธแต่ก็ชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ของลูอี้ “นางฟ้าเรืองแสง”เดินทางมาเยือนครอบครัวกูรีถึงบ้านพัก นำช่างไฟมาติดตั้งหลอดไฟฟ้าประดับอาภรณ์ เต้นรำเพื่อครอบครัวกูรีโดยเฉพาะ อีฟลูกสาวคนเล็กของมารีจ้องมองการแสดงไม่วางตา มารีกับลูอี้กลายเป็นเพื่อนสนิท

34 นางฟ้าเรืองแสง ในปี 1904 ลูอี้ ฟูลเลอร์ นักเต้นชาวอเมริกันในปารีสใช้หลอดไฟฟ้าประดับอาภรณ์ให้ส่องแสงสุกสว่างเธอเขียนจดหมายมาขอเรเดียมจากมารี เพื่อนำไปประดับอาภรณ์ให้เรืองรอง มารีปฏิเสธแต่ก็ชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ของลูอี้ “นางฟ้าเรืองแสง”เดินทางมาเยือนครอบครัวกูรีถึงบ้านพัก นำช่างไฟมาติดตั้งหลอดไฟฟ้าประดับอาภรณ์ เต้นรำเพื่อครอบครัวกูรีโดยเฉพาะ อีฟลูกสาวคนเล็กของมารีจ้องมองการแสดงไม่วางตา มารีกับลูอี้กลายเป็นเพื่อนสนิท

35 รางวัลโนเบล ในปีเดียวกันนั้นเอง มารีกับปิแอร์ กูรี และอองรี แบกเกอแรล ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์(ปีที่สาม)ร่วมกัน ในงานวิจัยเรื่อง กัมมันตภาพรังสี เป็นเรื่องน่าเศร้าที่สองสามีภรรยากูรีป่วยไข้จนไม่สามารถเดินทางไปรับรางวัลทรงเกียรตินี้ได้ที่ประเทศสวีเดน ผลของรางวัลโนเบลให้ทั้งความสมหวังและความเบื่อหน่าย มารีภูมิใจในงานที่ทำ ภูมิใจที่เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเกียรติยศระดับโลกในฐานะนักวิทยาศาสตร์ ในฐานะสตรีคนหนึ่งมารี กูรีเชื่อมั่นเสมอว่า สตรีก็มีสิทธิ์เท่าเทียมกับบุรุษทุกทาง

36 โรงงานผลิตเรเดียมแห่งแรกของโลกตั้งที่โนเจ-ซูร์-มาร์น ประเทศฝรั่งเศสเรเดียมบริสุทธิ์จะเป็นโลหะขาวแวววาวในระยะแรก ถือว่าเป็นมหัศจรรย์ต่อมาก็รู้จักมหันตภัยของเรเดียมทีละน้อยผู้คนที่ทำงาเกี่ยวข้องกับเรเดียมมักจะล้มป่วยและเสียชีวิต

37 ความสำเร็จ ในปี 1904 มารีให้กำเนิดอีฟ ลูกสาวอีกคน ปิแอร์ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ และได้ห้องปฏิบัติการใหม่ใหญ่โตกว้างขวางกว่าเดิม การค้นพบเรเดียมคุณสมบัติข้อหนึ่งของเรเดียมคือ ส่องแสงสว่างเรืองรองในความมืด และใช้รักษาโรคบางอย่างได้

38 การสูญเสีย ในวันที่ 19 เมษายน ครอบครัวกูรีต้องประสบความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ปิแอร์กำลังครุ่นคิดอย่างหนักในระหว่างที่เดินทางไปตามถนนสายหนึ่งของปารีส และก้าวข้ามถนนโดยมองไม่เห็นรถม้าขนาดใหญ่ที่แล่นมาอย่างรวดเร็ว รถม้าชนปิแอร์จนเสียชีวิต

39 เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (1871-1937)
นักฟิสิกส์ระดับแนวหน้าในศตวรรษที่ 20 ชาวอังกฤษ เกิดในประเทศนิวซีแลนด์เป็น ผู้เสนอแนะแบบจำลองของอะตอม ในปี 191และแตกอะตอมในปี 1919 ผลงานของเขาได้ความรู้จากการวิจัย ของมารี กูรี

40 สร้างมาตรฐานใหม่ มารีเศร้าโศกเสียใจเป็นล้นพ้นเมื่อสูญเสียปิแอร์ ผู้เป็นสามี เธอเขียนจดหมายรักถึงสามีในขณะที่ร่างของเขาตั้งอยู่ในบ้านรอพิธีฝัง เธอปลอบประโลมตนเองประดุจว่าสามียังไม่ได้จากเธอไปไหน เมื่อเวลาผ่านไปได้หนึ่งเดือน เธอหวนกลับคืนสู้ห้องปฏิบัติการ เธอตกลงใจรับตำแหน่งของปิแอร์ และกลายเป็นศาสตราจารย์สตรีคนแรกที่สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ในปี 1908

41 มารีหาบ้านใหม่ในเมืองเซอซ์ บ้านเกิดปิแอร์
มารี กูรี กับลูกสาวทั้งสอง อีแรน(ขวามือ)และอีฟ มารีจะสอนหนังสือลูกสาววันละ 1 ชั่วโมง เนื้อหาเรื่องดนตรี การทำครัววิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ในระยะต่อมาลูกสาวทั้งสองเข้าโรงเรียน “เอกชน”ร่วมกับลูกศาสตราจารย์คนอื่นๆพ่อแม่ของเด็กเหล่านี้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาสอนหนังสือ

42 รางวัลโนเบลครั้งที่สอง
มารี กูรี ตีพิมพ์หนังสือหนา 971 หน้า เรื่อง “แทรตเต เดอ ราดิโออักติวิเต” (Traite de Radioactiviteหรือ Treatise on Radioactivity) ในปี เป็นปีทองแห่งความสำเร็จอีกครั้งเมื่อมารี กูรี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในฐานะเป็นผู้สกัดเรเดียมบริสุทธิ์

43 อะตอม อะตอมเปรียบเสมือนระบบสุริยะ...ย่อส่วนจนเล็กจิ๋ว มีดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ อะตอมขนาดใหญ่ที่สุดก็ยังเล็กเกินกว่าจะมองเห็นได้แม้ใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง

44 ดวงอาทิตย์กลางอะตอมก็คือ นิวเคลียส ประกอบด้วยอนุภาค 2 ชนิดคือ โปรตอน(ประจุบวก) และนิวตรอน(เป็นกลาง)
ดาวเคราะห์ทีโคจรโดยรอบก็คือ อิเล็กตรอน(ประจุลบ) โดยปกติแล้ว อิเล็กตรอนเหมือนกับโปรตอน จะมีจำนวนเท่ากันอะตอมจึงเป็นกลางเสมอ(ประจุหักล้างกัน) ธาตุทางเคมีแต่ละธาตุ ไม่ว่าจะเป็นออกซิเจน คาร์บอน หรือเรเดียม จะมีจำนวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนเฉพาะตัวเสมอ

45 กัมมันตภาพรังสี คือ การแผ่รังสีตามธรรมชาติ หรือการแผ่พลังงานออกจากตัวอะตอมบางตัว เกิดขึ้นเมื่อจำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสไม่สมดุลกัน เมื่อเกิดการแผ่รังสี สารกัมมันตรังสีจะเปลี่ยนรูปหรือสลายกลายเป็นสารชนิดใหม่

46 กัมมันตภาพรังสี องค์ประกอบใหญ่ๆ 3 ประเภท
องค์ประกอบใหญ่ๆ 3 ประเภท -อนุภาคแอลฟา แต่ละอนุภาคประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอย่างละ 2 ตัว - อนุภาคเบตา คล้ายคลึงกับอิเล็กตรอน มีขนาดเล็กกว่าอนุภาคแอลฟา 7,000 เท่าตัว เจาะทะลวงสารได้ดีกว่า -รังสีแกมมา มิใช่อนุภาคหากแต่เป็นคลื่นแสง “เล็กจิ๋ว” จนส่องผ่านสารใดๆ ได้โดยไม่ไปกระทบอะตอมใดๆเลย สารกัมมันตรังสีแต่ละชนิดแผ่รังสีแต่ละประเภทในสัดส่วนไม่เท่ากัน หากเป็นเรเดียม แม้จะต่างชนิดกันก็ยังแผ่รังสีออกมาครบทั้งสามองค์ประกอบ

47 กัมมันตภาพรังสี องค์ประกอบใหญ่ๆ 3 ประเภท
องค์ประกอบใหญ่ๆ 3 ประเภท - อนุภาคแอลฟา แต่ละอนุภาคประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอย่างละ 2 ตัว - อนุภาคเบตา คล้ายคลึงกับอิเล็กตรอน มีขนาดเล็กกว่าอนุภาคแอลฟา 7,000 เท่าตัว เจาะทะลวงสารได้ดีกว่า - รังสีแกมมา มิใช่อนุภาคหากแต่เป็นคลื่นแสง “เล็กจิ๋ว” จนส่องผ่านสารใดๆ ได้โดยไม่ไปกระทบอะตอมใดๆเลย สารกัมมันตรังสีแต่ละชนิดแผ่รังสีแต่ละประเภทในสัดส่วนไม่เท่ากัน หากเป็นเรเดียม แม้จะต่างชนิดกันก็ยังแผ่รังสีออกมาครบทั้งสามองค์ประกอบ

48 สิทธิเลือกตั้งของสตรี
ปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มรการรณรงค์เพื่อสิทธิเลือกตั้งของสตรีในยุโรป ทั้งสตรีและบุรุษต่อสู้กันทุกวิถีทางเพื่อให้สตรีมีสิทธิ์เลือกตั้ง ในบางประเทศมีเพียงผู้ชายเท่านั้นที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง มารี กูรี ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวแต่ความสำเร็จของเธอกลายเป็นจุดสำคัญที่สตรีชูประเด็นในการต่อสู้ ในภาพครั้งนี้นางเอมมีลีน แพงเฮิร์สต์นักรณรงค์เพื่อสิทธิสตรีผู้มีชื่อเสียงกำลังถูกทางการจับกุมในลอนดอนในปี 1914

49 ห้วงทรมาน ในปี มารีไม่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศฝรั่งเศส หลายคนเชื่อว่า เหตุผลก็เพียงเธอเป็นสตรี ทั้งนี้เพราะผลงานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสุดยอดของโลก ชีวิตส่วนตัวของเธอมีเรื่องทรมานใจ เนื่องจากหนังสือพิมพ์ขุดคุ้ยว่าเธอมีความสัมพันธ์กับ ปอล ลองเจอแวง เพื่อนนักฟิสิกส์จนเป็นเหตุให้เลอเจอแวงละทิ้งภรรยามารีเศร้าเสียใจมากจนล้มป่วย หลังจากรักษาตัวจนหายดีแล้ว เธอเดินทางไปพักฟื้นกับเพื่อนชื่อ เฮอร์ธา แอร์ตัน ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อย้อนกลับมาในปารีสในปี เธอได้รับมอบห้องปฏิบัติการสร้างขึ้นมาเพื่อการวิจัยรังสีโดยเฉพาะจากสถาบันปาสเตอร์ ปีกหนึ่งใช้วิจัยเรื่องการแผ่รังสีโดยเฉพาะ อีกปีกหนึ่งจะใช้วิจัยกัมมันตภาพรังสีเพื่อประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ คลินิกเรเดียมผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด คลินิกบางแห่งอ้างว่าเรเดียมเป็นยามหัศจรรย์ รักษาโรคร้ายได้หลายอย่าง สถาบันเรเดียมก่อตั้งขึ้นมาเพื่อวิจัยการประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์ และหนทางการใช้งานกัมมันตภาพรังสีเลอค่า ในปี สถาบันเรเดียมในมหาวิทยาลัยปารีสก่อสร้างแล้วเสร็จในปีเดียวกันนั้นก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

50 ผ่านพ้นสงคราม ในช่วงสงคราม มารี กูรีอุทิศตนเต็มที่เพื่อช่วยเหลือทหารบาดเจ็บ เธอรณรงค์หาทุนจัดซื้อเครื่องฉายรังสีเอ็กสำหรับโรงพยาบาล เพื่อตรวจหากระสุนและสะเก็ดระเบิดฝังใน เธอศึกษากายวิภาคศาสตร์ในเวลาว่างและสอนอีแรน เพื่อให้ช่วยงานเธอได้ มารีเปิดโครงการฝึกอบรมการใช้เครื่องฉาย รังสีเอ็กซ์

51 ปลายสงครามโลกครั้งที่ 1ในปี มารีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันเรเดียมแห่งปารีส อีแรนร่วมงานกับเธอเพื่อศึกษาอนุภาคแอลฟาที่ได้จากพอโลเนียม (หน้า 21) สถาบันเรดียมกลายเป็นศูนย์กลางระดับโลกในการศึกษาฟิสิกส์ การแผ่รังสีและเคมีการแผ่รังสีใน สมัยที่มารีเป็นผู้อำนวยการสถาบันการ ศึกษาจะเน้นหนักไปทางที่ผลทาง สารเคมีของสารกัมมันตภาพ รังสี และการประยุกต์ใช้งานในวงการแพทย์

52 มารี และอีแรม ลูกสาว อุทิศตน
เพื่อช่วยเหลือทหารบาดเจ็บใน สงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเต็มที่ และมารีตระเวนขอให้ผู้มีฐานะ สละเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ช่วย ชีวิตทหาร

53 รถแวนในภาพมีชื่อเล่นว่า “ กูรีน้อย” เป็นหน่วยรังสีเอ็ก
เคลื่อนที่ออกตระเวนรักษาทหารในแนวหน้า ตรวจหา กระดูกหักและกระสุนฝังใน มารีขอทุนรณรงค์ติดตั้ง เครื่องฉายรังสีเอ็กได้ถึง คัน

54 มารี กูรีคล้องแขนประธานาธิป
ดีเพื่อพยุงตัวในระหว่างตระเวน เยือนสหรัฐฯในปี1921 ทาง ซ้ายมือมารีคือ มารี เมโลนีย์ เพื่อนนักข่าวผู้เผยแพร่ข่าวและ จัดกำหนดการในการเยือนที่ต่างๆ มารี กูรี ป่วยไข้ไม่สบาย อย่างหนักจนต้องลดการเดิน ทางให้สั้นลงภาพถ่ายล่างถ่าย ไว้หลังเดินทางกลับจากสหรัฐฯ

55 ท่องต่างประเทศ รณรงค์หาทุน
ท่องต่างประเทศ รณรงค์หาทุน ในปี 1921 เมี่ออายุได้ 52 มารีกูรีมีเพื่อนนักข่าวชาวอเมริกันชื่อ มารีเช่นกันมารี เมโลนีย์เสนอช่วยเหลือปรับปรุงภาพลักษณ์ของนักวิทยาศาสตร์และจัดกำหนดการในการเยือนสหรัฐฯ เพื่อหาทุนสำหรับสถาบันเรเดียม แม้การได้ยินและการมองเห็นของมารีจะเสื่อมลงไปมาก เธอก็ยินดีที่จะช่วยเหลืองานของสถาบันเต็มที่ อาการป่วยของเธอบีบบังคับให้เธอต้องเดินทางกลับฝรั่งเศษ คนอเมริกันและบริษัทหลายแห่งบริจาคเงิน ตัวอย่างสารกัมมันตภาพรังสี เครื่อง มืออุปกรณ์วิจัยหลายอย่างให้กับสถาบันเรเดียมมหาวิทยาลัยหลายแห่งมอบปริญญาดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์ให้มารี องค์การแห่งสตรีอเมริการวบรวมเงินเพื่อซื้อเรเดียม 1 กรัมมอบหมารี (มูลค่านับแสนเหรียญ) เพื่อเชิด ชูเกียรติและผลงานของสตรีนักวิทยาศาสตร์ประธานาธิบดีวอร์เรน ฮาร์ดิง เป็นตัวแทนมอบเรเดียมให้มารี กูรี ในปี 1922มารี กูรีได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสมาคมแพทยศาสตร์แห่ง ประเทศฝรั่งเศษ

56 มหันตภัยที่มองไม่เห็น
ในทศวรรษ ภยันตรายของสารกัมมันตภาพรังสีที่มีต่อเนื้อเยื่อมนุษย์ และสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ก็เริ่มเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น เครื่องสำอางและยารักษาโรคมหัศจรรย์ที่ใช้เรเดียมเป็นส่วนประกอบ เช่น ครีมลอกหน้าเรเดียม มีภัยยิ่งกว่าใช้ประโยชน์ นักวิทยาศาสตร์ที่เคยช่วยสอนงานสองสามีภรรยากูรีในระยะต้น เจ็บป่วยล้มตายไปหลายคน ในท้ายที่สุด ก็ประจักความจริงว่าสารกัมมันตภาพรังสีเผาเนื้อเยื่อ ก่อให้ เกิดอาการป่วยไข้เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อและเป็นสาเหตุของมะเร็ง ผู้ที่สัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสีจะต้องสวมชุดป้องกันอย่างดี

57 ชีวิตบั้นปลาย มารีควบคุมการวิจัยในสถาบันเรเดียมในปารีส เธอเดินทางท่องไปทั่วโลกเพื่อรณรงค์หาทุนสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ เธอเดินทางไปเยือนเบลเยียม บราซิล สเปน และเชโกสโลวะเกีย เมื่อย้อนกลับไปเยือนสหรัฐฯอีกครั้งในปี เฮนรี ฟอร์ดมอบรถยนต์ให้เป็นของขวัญ 1 คันมารีได้พบประธานาธิบดีฮูเวอร์ในทำเนียบขาว เธอแบ่งเงินบริจาคส่วนหนึ่งส่งไปมอบให้สถาบันเรเดียมทีเพิ่งจะสร้างแล้วเสร็จในวอร์ซอ มารี กูรีเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก อีฟลูกสาวคนเล็กเฝ้าดูแลรักษาพยาบาลจนถึงช่วงสุดท้าของชีวิต มารี กูรี เสียชีวิตในวันที่ 4 กรกฎาคม ที่เมืองซองแซลเลอมอซ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผู้บุกเบิกการวิจัยกัมมันตภาพรังสีและนักวิทยาศาสตร์คนแรกของโลกต้องทนทุกข์จากพิษรังสีนานกว่าครึ่งชีวิต !

58 คดีคนงานทาสารเรืองแสง
ในปี 1927 – 28 มีคดีครึกโครมในสหรัฐฯ คนงานสตรี5 คนผู้ทำหน้าที่ทาสีเจือเรเดียมบนหน้าปัดนาฬิกาเจ็บป่วยเกือบถึงชีวิต สตรีทั้ง 5 เชื่อว่าการป่วยไข้น่าจะเกิดจากการได้สัมผัสกับสารกัมมันตรังสีจึงยื่นฟ้องบริษัท ยูเอสเรเดียมผู้เป็นนายจ้าง และขอเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล คดีนี้พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ทั่วโลก มารี กูรีเขียนจดหมายให้คำเสนอแนะว่า ควรจะกินตับวัวดิบ บรรษัท ยูเอสเรเดียม กล่าวแก้ว่า สารเรืองแสงที่ใช้ทาหน้าปัดนาฬิกามิได้เป็นต้นเหตุแต่ก็ขอประณีประนอมยอมความจ่ายเงินชดเชยให้แต่โดยดี

59 มารีและปิแอร์ กูรีได้รับการเชิดชูเกียรติประวัติและการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ในดวงตราไปรษณียากรของหลายประเทศวงรีคล้ายดาวทางมุมขวาเป็นแผนภาพของอะตอม

60 ผลงานของมารี กูรี การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ขอองมารี กูรี (เรเดียม) ปัจจุบันนี้ไม่ใคร่จะได้ใช้งานกันแล้ว แม้แต่ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่ทว่ากระบวน การสกัดสารให้บริสุทธิ์ และธรรมชาติของการแผ่รังสี ยังมีคุณประ โยชน์ใหญ่หลวง ช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของอะตอม และกัมมันต ภาพรังสีได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

61 ระเบิดอะตอม ผลงานของมารี กูรี, เออร์เนส รัทเทอร์ฟอร์ด, แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์,อ็อตโตฮาน และนักวิทยสาสตร์คนอื่น ๆ ช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของอะตอมได้ดียิ่งขึ้น เข้าใจมากจนทราบว่า อะตอมสามารถยิงให้แตกเป็นเสี่ยงหรือนำมาหลอมรวมกันได้ ซึ่งทั้งสองทางหากจุดสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมจะให้พลังงานความร้อน แสง แล ะ3 พลังงานรูปแบบอื่นๆในปริมาณมหาศาล ในปี ระเบิดอะตอมอำนาจการทำลายล้างมหาศาลถูกทิ้งลงจากเครื่องบินทำลายเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่นจนทลายราบยุติสงครามโลกครั้งที่สองได้ในทันที ระเบิดอะตอมอาศัยการแตกอะตอมเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ในปัจจุบันนี้ สหรัฐฯและรัสเซียมีระเบิดไฮโดรเจนที่มีอำนาจการทำลายล้างสูงกว่าอีกหลายเท่าตัว...มีมากพอที่จะระเบิดโลกให้เป็นผุยผงได้หลายครั้ง

62 ผลลัพท์น่าสะพรึงกลัวจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ผลลัพท์น่าสะพรึงกลัวจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์...ระเบิดอะตอมลูกที่สองที่สหรัฐฯทิ้งลงถล่มเมืองนางาซากิประเทศ ญี่ปุ่นในปี กัมมันตภาพรังสีแผ่กระจายครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง แต่ก็ทำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติในอีกไม่กี่วันถัดมา

63 ผลงานของอีเรนและเฟรเดริก
ครอบครัวกูรียังคงทำงานวิจัยต่อไป ในปี อีแรน ลูกสาวของมารี กูรีได้รับปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์จาก งานวิจัยรังสีแอลฟาที่เปล่งออกมาจากโทโสเนียมมารีไม่ได้ไปร่วมงานนี้เพื่อเปิดโอกาสให้อีแรได้รับเกียรติสูงสุดนี้อย่างเต็มที่ในปีถัดมา อีแรนแต่งงานกับเฟรเดริก โชลิโย นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสผู้ช่วยในห้องปกิบัติการของมารี ทั้งสองร่วมทำงานในสถาบันเรเดียมในปารีสซึ่งก็มีผลงานการค้นพบกัมมันตภาพรังสีเทียมในปี (เกิดขึ้นเมื่อสารที่มิได้เป็นสารกัมมันตรังสีถูกระดมยิงโดยรังสีที่แผ่จากสารกัมมันตภาพรังสี จากนั้นจะกลายเป็นสารกัมมันรังสีไปด้วย) ทั้งสองทดลองระดมยิงอะลูมิเนียมด้วนรังสีแอลฟาจากฟอโลเนียม อะลูมิเนียมกลายเป็นฟอสฟอรัสรูปหนึ่ง ในปี สองสามีภรรยา โชลิโย-กูรีได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมีร่วมกัน ผลงานของลิโย-กูรีเป็นฐานนำไปสู่การค้นพบนิวตรอน...อนุภาคของอะตอมโดยเจมส์ แชดวิก นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษในปี 1932

64 ฝรั่งเศส รู้จักกันในตอนที่โชลิโยเป็นผู้ช่วยให้องปฏิบัติการของ
อีแรน บุตรีของมารี และเฟรเดริก โชลิโย นักฟิสิกส์ชาว ฝรั่งเศส รู้จักกันในตอนที่โชลิโยเป็นผู้ช่วยให้องปฏิบัติการของ มารี กูรี

65 พลังงานนิวเคลียร์ คลิกดูวีดีโอ
พลังงานนิวเคลียร์ คลิกดูวีดีโอ ในปี จากความรู้ที่ได้จากผลงานของครอบครัวกูรี และนักวิทยาศาสตร์อีหลายคน เอนริโค เฟร์มี นักฟิสิกส์สร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อทดลองเครื่องแรกของโลกที่มหาวิทยาลัยชิคาโกประเทศสหรัฐอเมริกาถัดจากนั้น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็เกิดขึ้นทีละแห่งสองแห่ง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิง เมื่อนิวเครียสของยูเรเนียมแตกตัวก็จะให้พลังงานความร้อนสูง ต้มน้ำให้เดือด ไปหมุนกังหันเกิดไฟฟ้า อนุภาคที่เกดจากการแตกตัวของอะตอมแรก ก็จะไปแตกนิวเครียสของยูเรเนียมอะตอมอื่นไปเรื่อยๆ....ต่อเนื่องเหมือนลูกโซ่ ในขนาดเท่ากัน ก้อนยูเรเนียมจะให้ความร้อนได้มากกว่าก้อนถ่านหินกว่า 2,000,000 เท่า !

66 กระบวนการนี้ต้องควบคุมด้วยความระมัดระวังรอบคอบเพื่อให้การแตกตัวดำเนินไปในอัตราเร็วสม่ำเสมอ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ยิ่งไปกว่านั้นเชื้อเพลิงยูเรเนียมที่ใช้งานแล้วจะเหลือเป็นกากกัมมันตรังสี ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดที่จะกำจัดสารพิษไปให้สิ้นเพื่อไม่ให้เป็นภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในรัสเซีย ปี 1986 แสดงให้เห็นชัดว่า กัมมันตภาพรังสียังเป็นมหันตภัยร้ายแรงคุกคามมนุษย์ หากไม่มีผลงานตลอดชีวิตของมารี กูรี และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆแล้ว เราก็จะไม่มีทางเข้าใจถึงกระบวนการของอะตอม และภยันตราที่เกิดตามมาได้เลย

67 เอนรีโค เฟร์มี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี จากการค้นพบว่าสารจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไรถ้าถูกระดมยิงด้วยอนุภาคอะตอม

68 แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกอีกคนหนึ่งเสีย
ชีวิตในปี ส่วยงานใหญ่เน้นหนักที่การพิสูจน์ทฤษฎีโดยใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ยิ่งไปกว่าการทำงานในห้องปฏิบัติการเหมือนครอบครัวกูรีนักวิทยาศาสตร์ทั้งประเภทชอบคิดคำนวณและการทำงานให้องปฏิบัติการ ช่วยให้ความรู้เรื่องอะตอม การแผ่รังสี และพลังแห่งธรรมชาติกระจ่างยิ่งขึ้น

69 ผ่านพ้นสงคราม 1850-1875 1876-1900 1901-1925 1926-1950 วิทยาศาสตร์
การสำรวจ 1859 ปีเกิดของปีแอร์ กูรี 1867 มารี กูรีถือกำเนิดใน ชื่อมาเรีย สโกล์ ดอฟสกา จอร์จ สโตนีย์บัญ ญัติศัพท์“อิเล็กตรอน” สำหรับอนุภาคที่ยังไม่มี ใครค้นพบแต่เขา เชื่อว่า มีอยู่จริง 1856 ริชาร์ด เบอร์ตัน และ จอห์น สปีก ออกจาก ประเทศ อังกฤษ เพื่อ เดินทางไป ค้นหาต้น้ำ ไนล์ 1869 เปิดคลองสุเอช ซึ่งเชื่อม ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับ ทะเลแดงและมหาสมุทร อินเดีย 1886 อัลเฟรด โนเบลนักเคมี(ผู้ ก่อตั้งรางวัลโนเบล)ค้น พบ ดินระเบิดไร้ควัน 1893 วิลเลียม แรมซีย์ค้นพบ ธาตุใหม่แก๊สเฉื่อยอาร์กอน 1881 เริ่มงานขุดคลองปานามา ในอเมริกากลาง 1890 ค้นพบหลุมศพของพระ นางคลีโอพัตราในอียิปต์ 1893 ฟริดต์ยอฟ แนนเส็เดิน เรือ จากนอร์เวไปยังขั้ว โลกเหนือ 1902 รัทเทอร์ฟอร์ดและซอร์ดดี ตีพิมพ์ผลงานเรื่องThe Cause and Nature of Radioactivity 1906 ปิแอร์ กูรีเสียชีวิต 1921 เฟรเดอริก แบนติง และ ชาล์สเบสต์ร่วมกันวิจัย ค้นพบวิธีรักษาโรคเบา หวานด้วย อินซูลิน 1901 ค้นพบตัว “โอกาปิ” ใน แอฟริกาสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมขนาด ใหญ่ตัวสุดท้าย เท่าที่มีการค้นพบ 1915 เปิดคลองปานามาด้วยพิธี ยิ่งใหญ่(แม้จะเดินเรือผ่าน คลองมาแล้วเกือบปี) 1930 คาร์ล ลันด์ชไตเนอร์ ได้รับรางวัลโนเบล จากค้นพบหมู่เลือด ของมนุษ์ มารี กูรีเสียชีวิต มาตรวัดแผ่นดินไหว คิดค้นโดย ชาร์ล ริค เตอร์ 1926 ริชาร์ด เบิร์ด บินเดี่ยว ข้ามขั้วโลกเหนือได้ เป็นคนแรกของโลก 1933 คลองทะเลขาว ความ ยาว225 กิโลเมตร เชื่อมทะเลขาว และทะเลบอลติก

70 การเมือง ศิลปะ 1853 เกิดสงครามไคร เมียในคาบสมุทร บอลข่าน ทะเลดำ 1861 เจ้าชายแอลเบิร์ต พระสวามีของพระ ราชินีวิกตอเรีย สิ้นพระชนม์ 1852 อัลเฟรด เทนนีสัน เขียนกวี นิพนธ์ Ode on the Death of the Duke of Willington เพื่อ ไว้อาลัยดยุคแห่ง เวลลิงตันซึ่ง ถึงแก่ อนิจกรรมในปีนั้น 1862 วิกเตอร์ ฮิวโกเขียน หนังสือ Les Miserrsbles 1865 ลูอิส แคร์รอลล์ ตีพิมพ์ หนังสือ Alice in Wonderland 1878 สนธิสัญญาเบอร์ลิน ให้เอกราชแก่โรมา เนีย เซอร์เบีย และ มอนเตมีโกร 1894 ญี่ปุ่นทำสงคราม กับจีน 1900 เกิดกบฏนักมวยใน จีน 1891 อาร์เธอร์ โคแนน ดอยล์ ตีพิมพ์หนัง สือ “การผจญภัย ของเชอร์ล็อกโอล์ม” 1893 อันโตนิน วอร์ชาร์ก เขียนซิมนีชุด”โลก ใหม่ From the New World 1896 เอช. จี เวล์สเขียน นิยายสญอง ขวัญเรื่อง The I land of Doctor Moreau เกิดปฏิวัติการ เปลี่ยนแปลงการ ปกครองในจีน จีนเปลี่ยนเป็น สาธารณรัฐ 1914 เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติ เบนิดต มุสโสลินี กุมอำนาจในอิตาลี นักร้องอิตาเลียนผู้ ยิ่งใหญ่ เอนริโค คารูโซ ร้องเพลง อัดแผ่นเสียงครั้ง แรกสุด 1910 วงดนตรีผิวดำจาก เมืองเมมฟิสมลรับ เทนเนสซีเผยดนตรี ไปสู่ผู้ฟังในวงกว้าง 1913 ซีซิล บี. มิลล์ สร้าง ภาพยนตร์ เรื่องแรก The Squaw Man 1926 การประท้วงนัด ห ยุดงานครั้งใหญ่ ทั่วประเทศอังกฤษ เกิดสงครามกลาง เมืองในสเปน เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 1945 ทิ้งระเบิดอะตอม 2 ลูกในญี่ปุ่นสงคราม โลกครั้งที่2 ยุติ 1928 วอลต์ ดิสนีย์เขียน การ์ตูนมิกกี้เม้าส์ 1935 จอร์จ เกิร์ชวินเขียน โอเปรา Porgy and Bess ปาโบล ปิกัสโซ เขียนภาพ Guernica


ดาวน์โหลด ppt การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google